Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปวดหลัง

ปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ และเป็นอาการที่ทำให้ต้องหยุดพักงานมากที่สุด เกือบทุกคนจะเคยมีอาการปวดหลังและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะป้องกัน รักษาอาการปวดหลังให้หายได้อย่างถาวร

อาการปวดหลัง จะพบได้ 3 แบบ ซึ่งอาจพบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง หรือ พบร่วมกันหลาย ๆ แบบก็ได้ …

1. ปวดเฉพาะบริเวณแผ่นหลัง หรือ เฉพาะบริเวณสะโพก

2. ปวดร้าวลงไปที่ขา ร่วมกับอาการขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ซึ่งแสดงว่ามีการกดทับของเส้นประสาท

3. ปวดที่หลังหรือสะโพก ร่วมกับ อาการปวดร้าวลงไปที่ขา ขาชา และ ขาอ่อนแรง



อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36








สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย

•    สาเหตุที่พบบ่อย

-    กล้ามเนื้อ(เส้นเอ็น)อักเสบ จากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือ อ้วน มักจะเป็นเรื้อรัง เป็นๆหายๆ

-    กล้ามเนื้อเคล็ด(กล้ามเนื้อฉีกขาด) จากการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง หรือ อุบัติเหตุ มักจะเป็นเฉียบพลันทันที

-    พังผืดยึดกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท จะมีจุดกดเจ็บชัดเจนที่หลังหรือสะโพก และอาจมีร้าวลงขาร่วมด้วย

-    หมอนรองกระดูกแตก(เคลื่อน) มักพบในผู้ที่ก้มตัวยกของหนักมากเกินไป หรือ บิดเอี้ยวตัวขณะยกของ

-    กระดูกสันหลังเสื่อม มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี อาจมี กระดูกสันหลังเคลื่อน(เลื่อน) ร่วมด้วย

-    อวัยวะภายใน เช่น ไตอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ปอดติดเชื้อ หัวใจขาดเลือด เป็นต้น

-    สาเหตุอื่น เช่น ความเครียด โรครูมาทอยด์ เกาต์ ติดเชื้อในกระดูก เนื้องอกมะเร็งกระดูก กระดูกสันหลังคด

    กระดูกสันหลังแตกหัก กระดูกแตกยุบตัวจากโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลังยึดติด (AS)  เป็นต้น


•    แนวทางวินิจฉัย

ส่วนใหญ่วินิจฉัยได้จากการถามประวัติและตรวจร่างกาย ไม่ต้องถ่ายภาพรังสี(เอกซเรย์) ยกเว้น อาการมาก หรือ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น แต่ เอกซเรย์ทั่วไป จะเห็นเฉพาะกระดูก ไม่เห็นกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก เส้นประสาท        บางกรณีจึงต้อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(ซีที) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าสันหลัง (มัยอีโลแกรม)

•    แนวทางรักษา

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
หยุดพักการใช้หลัง หลีกเลี่ยงยกของหนัก นอนพักแต่ไม่ควรนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้

ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน เช่น น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบ 10 - 15 นาที หรือ ประคบร้อน 4 นาที สลับเย็น 1 นาที อาจใช้ ครีมนวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรง

ยา เช่น ยาบรรเทาปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาสร้างกระดูกอ่อน ยาชะลอความเสื่อม

กายภาพบำบัด เช่น นวด ดึงหลัง อบหลัง บริหารกล้ามเนื้อ เครื่องรัดหลัง(ไม่ควรใส่นานเพราะกล้ามเนื้อจะลีบ)

การผ่าตัด ถือว่า เป็นทางเลือกสุดท้าย ใช้ใน ผู้ที่มีอาการมาก และ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ดีขึ้น


 
•    อาการปวดหลังที่ควรไปพบแพทย์

1.    ปวดรุนแรง ปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  รับประทานยาและนอนพัก แล้วอาการไม่ดีขึ้น

2.    มีการกดทับเส้นประสาท ทำให้มี ปวดร้าวจากสะโพกลงไปที่ ขา ปวดแสบร้อน ขาชา ขาอ่อนแรง

3.    ไม่สามารถ กลั้นอุจจาระ กลั้นปัสสาวะ (อุจจาระราด ปัสสาวะราด)

4.    มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีก้อน ไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้อาเจียน ปวดบวมตามข้อ


 

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 



..................................................

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

 




Create Date : 13 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:56:40 น. 11 comments
Counter : 64762 Pageviews.  

 
กำลังปวดหลังอยู่เลย เฮ่อออ



โดย: เผือกหางหงอก วันที่: 13 มิถุนายน 2551 เวลา:19:26:12 น.  

 
น่าจะเป็นเพราะนั่งทำคอมพ์นานๆ.. แต่ยังไม่หนักขนาดนั้น (ซื้อกอเอี๊ยะมาแปะ...??) ปวดไหล่มากกว่าปวดหลังค่ะ รู้สึกว่าไหล่แข็ง.. เป็นเพราะเลือดเดินไม่ดีเลยเป็นก้อนรึเปล่า.. ไม่รู้ทำไงดีคะ.. T^T


โดย: Warabimochi วันที่: 13 มิถุนายน 2551 เวลา:20:34:32 น.  

 
ตอนนี้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอยู่ค่ะ ทำกายภาพมาได้ 1 เดือนครึ่งแล้ว สาเหตุล่าสุดที่มีอาการ น่าจะเป็นจากการอุ้มลูก ซึ่งน้ำหนักแค่ 9 โลเองค่ะ พออุ้มจากพื้น รู้สึกเหมือนเส้นประสาทวิ่งแปลบจากเอวลงขาเลยค่ะ เป็นขาขวา เหยียบพื้นไม่ได้เลย ปวดมากๆ ทีแรกเลยตัดสินใจจะผ่าตัด เพราะคิดว่าน่าจะหายดีกว่าทำกายภาพซึ่งต้องใช้เวลา แต่หลังจากที่มีคนทักท้วงเยอะเรื่องการผ่าตัดเลย
ชลอไว้ก่อนค่ะ อีกอย่างหมอยังบอกเองว่า 50/50 เลยอึ้งไปเลยไม่กล้าผ่าตัดค่ะ ตอนนี้อาการก็ดีขึ้นระดับหนึ่งค่ะ แต่ไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ ถ้าเลิกกายภาพแล้วจะเหมือนเดิมหรือไม่


โดย: แม่น้องแปงแปง (แม่น้องแปงแปง ) วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:13:19:10 น.  

 

ขอโทษด้วยนะครับ ไม่ได้ย้อนกลับมาดู ..

คุณ เผือกหางงอก ..( ชื่อแปลกมั๊ก ๆ )

... ลองดูแลบริหาร ตามข้อแนะนำก่อนละกันนะครับ ถ้าไม่ดีขึ้น ก็คงตอ้งไปพบหมอกระดูกและข้อ ให้ตรวจดูซะหน่อยนะครับ ...


คุณWarabimochi ...

.... พอดีเรื่องปวดไหล่ ยังไม่ได้เอามาลง .. รอสักพักนะครับ .. หรือจะแวะไปดูในเวบโน้นก่อนก็ได้ครับ ..

//www.forumtown.net/phanomgon-about35.html


คุณแม่น้องแปงแปง ..

... ถ้าอาการพอทนได้ แล้วรู้สึกว่า ดีขึ้น ก็รอก่อนดีกว่าครับ ยังไม่ต้องผ่า ลองดูแลตนเองบริหารไปก่อน ส่วนใหญ่ใช้เวลาค่อนข้างนานครับ เฉลี่ย ๖ เดือน ถึง ๒ ปี ครับ ..

... การกายภาพบำบัด ก็จะช่วยบรรเทาอาการ ก็ต้องบริหาร กล้ามเนื้อให้แข็งแรงด้วย ลองไปอ่านดูนะครับ

วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17


ขอให้ทุกท่านอาการดีขึ้น เร็ว ๆ นะครับ ...

ขอบคุณที่แวะมาแจม


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:17:30:40 น.  

 
รัก,และ,คิดถึง,เสมอ,นะ


แวะเอาน้ำเย็นมาฝากค่ะ.........

กำลังปวดหลังพอดี ปวดมากพอสมควร เวลานั่งเก้าอี้ ต้องพยายามยืดหลังให้ตรงแล้วเอากำปั้นเข้าไปรองระหว่างเอวกับเก้าอี้

เคยปวดหลังมากขนาดนั่งแล้วลุกไม่ขึ้น เวลานอนก็ลุกลงจากเตียงเกือบไม่ได้ ปวดชนิดน้ำตาล่วงเลยค่ะ ไปโรงพยาบาลหมอฉีดยาให้เข็มนึง แล้วก็ให้ยามาทานด้วย เห็นว่าเป็นเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออักเสบ

สงสัยจะเริ่มแก่แล้วค่ะ หลังกะเข่านัดกันมาป่วย....เฮ้อ


โดย: คุณน้ำตาล วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:02:47 น.  

 
ขอบคุณค่ะ คุณหมอน่ารักมากที่สละเวลามาให้ความรู้
อาการของตัวเองน่าจะคล้ายกับคุณ Warabimochi เพราะนั่งพิมพ์คอมโน้ตบุค ซึ่งแป้นพิมพ์สูง ต้องเกร็งไหล่ แถมขับรถไกลทุกวัน และในการนั่งและยืนไม่ถูกสุขนิสัยต้องอีก


โดย: ลัดดา (ลัดดา ) วันที่: 30 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:58:43 น.  

 
สวัสดีค่ะ อยากขอถามหน่อยนะคะ คือว่ามีอาการปวดหลัง เคยเป็นๆหายๆ แล้วก็มาเป็ฯมากเมื่อปีที่แล้วค่ะ เอ็กซ์เรย์พบว่า หมอนรองกระดูกแคบไป ไปพบหมอมาหลายที่ค่ะ บางคนว่าไม่เป็นไรมาก ว่ายน้ำก็พอ บางคนว่าต้องคอยกายบริหาร แต่ตอนแก่อาจแย่ และก็ได้ไปพอหมอ (จัดกระดูก) ได้ทำกายภาพบำบัด และหมอแนะนำให้ออกกำลังกาย ไปฟิตเนสเพื่อจะกล้ามเนื้อหน้าท้อง ฯลฯ จะได้แข็งแรง

ตอนนี้ก็ดีขึ้นมาก คือไม่มีอาการเจ็บปวดแล้ว แต่ว่าตอนตื่นนอนตึงๆ คือเอาหมอนรองก็ไม่รู้สึกดีขึ้นค่ะ แต่ก็พยายามรองอยู่ แต่ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่ค่อยเป็นไร แต่ว่าถ้าต้องยืนนานๆเดินนาน บางทีก็ตึงๆ

อยากถามว่า คือว่าไม่ได้ไปทำกายภาพบำับัดแล้ว แต่ว่ายังพยายามไปฟิตเนสอยู่อาทิตย์ละสองครั้่ง (เล่นตามเครื่องที่มีเทรนเนอร์จัดให้ว่าเหมาะกับคนมีปัญหาเรื่องหลังค่ะ) ไม่ทราบว่าพอไหม หรือว่าควรกลับไปทำกายภาพบำบัดดีคะ ซักอาทิตย์ล่ะครั้่งหรือไรทำนองนี้ดีไหมคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โดย: lily (Convallaria majalis ) วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:1:16:48 น.  

 
ขอโทษนะคะ ไม่ได้ตั้งใจจะโพสสองครั้งเลย แต่ว่ากดส่งไปสี่ห้าครั้ง มันฟ้องว่าไม่ได้อ้ะค่ะ ที่ซ้ำกันลบทิ้งก็ได้นะคะ


โดย: Convallaria majalis วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:1:18:01 น.  

 


อาการปวดหลังเกิดได้บ่อยมากไม่น้อยกว่าปวดหัว พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้แรงงานในประเทศอุตสาหกรรม จะต้องเคยปวดหลังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัยตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป ที่น่าเป็นห่วงคือนับวันแนวโน้มจะมีผู้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น และจากการรักษาผู้ป่วยมานาน พบว่าอาการปวดหลังมีสาเหตุมากมาย

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับหลัง
สาเหตุจากการทำงาน การยกของหนัก
นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมงทำให้ปวดหลัง และปวดคอได้ด้วย
จากการเล่นกีฬา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก หมอนรองกระดูกสันหลัง จนปวดหลัง
สาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น การอักเสบของข้อต่อ กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม
สาเหตุจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียงกับกระดูกสันหลัง เช่น ไต ตับ ตับอ่อน ลำไส้ อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
การติดเชื้อ อย่างเช่นวัณโรคกระดูกสันหลัง
ในผู้สูงวัย อาจมาจากกระดูกเปราะบาง กระดูกหักยุบ
หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนเคลื่อนกดทับรากประสาทสันหลัง
และที่ร้ายสุด คือเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูกสันหลัง



อาการปวดหลังที่พบบ่อย

มีตัวอย่างผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยอาการ ปวดหลัง หรือมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของคุณไม่น้อย ลองฟังดู
ผู้ชายอายุ 35 ปี ก้มยกของหนัก เกิดเสียงดังที่หลังแล้วมีอาการปวดหลังเสียวร้าวลงขา เดินไม่ถนัด ขาชาและอ่อนแรง เป็นอะไรได้บ้าง

ผู้ที่ทำงานก้มยกของ หนัก ไม่ระมัดระวังจะมีการเลื่อน หรือการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลัง เนื้อหมอนรองกระดูกจะเคลื่อนเข้าไปในท่อไขสันหลัง แล้วกดทับรากประสาทสันหลัง ทำให้ปวดร้าวลงขา น่อง เท้าข้างนั้น พยาธิสภาพเช่นนี้มักเกิดที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ที่ข้อต่อกระดูกสันหลังระดับ L4-L5,L5-S1 ต้องวิเคราะห์แยกโรคว่าไม่ใช่เกิดจากภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เนื้องอกกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังหักยุบ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกันได้ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด และเอ็กซเรย์ หรืออาจต้องทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)จะวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง



วัยรุ่นชายอายุ 17-20 ปี หรืออาจมากกว่านี้ มีอาการปวดหลังและหลังค่อย ๆ ค่อมลง เป็นโรคอะไร

อาจเป็นโรครูมาติสซั่มชนิด หนึ่ง ทางการแพทย์เรียกว่า Ankylosing Spondylitis พบมากในวัยรุ่นเพศชาย เมื่อเกิดโรคนี้จะมีอาการอักเสบที่ข้อต่อกระดูกซี่โครงกับกระดูกสันหลังส่วน หน้า ข้อกระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังทั้งด้านหน้าและหลัง ระยะแรก ๆ ของโรคจะมีอาการปวดหลัง บางรายโรคลุกลามถึงข้อสะโพกจนทำให้ข้อสะโพกแข็งได้ และเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายคอจะงอเงยไม่ขึ้น หลังโก่งงอ ตัวแข็ง หายใจได้ไม่เต็มที่ และแทบไม่มีอาการปวดหลังให้ปรากฏเลย กระดูกสันหลังจะแข็งหมดตั้งแต่กระดูกคอถึงกระดูกบั้นเอว



หญิงวัย 65 ปี รูปร่างท้วม มีอาการปวดหลัง เมื่อลุกเดินไปได้ 50-100 เมตรจะมีอาการปวดหลังร้าวลงสะโพกไปจนถึงน่องจนต้องหยุดพัก เมื่ออาการดีขึ้นแล้วลุกเดินต่อก็จะเป็นอีก แต่เมื่อหยุดพักจะหาย เป็นอาการที่สลับกันเรื่อย ๆ เกิดจากอะไร

เกิดจากข้อต่อ กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อหลวม ไม่มั่นคง และเกิดการเลื่อนของกระดูกสันหลังปล่องหนึ่ง(โดยเฉพาะที่ระดับ L4-L5)ไปทางด้านหน้า ทำให้ช่องไขสันหลังตีบแคบ ประสาทสันหลังถูกบีบรัด จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงไปทางด้านหลังสะโพก โคนขา น่อง หรืออาจปวดถึงปลายเท้า โรคที่พบบ่อยคือ degenerative spondylolisthesis อาการเช่นนี้อาจเกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่านี้ได้ แต่พยาธิสภาพของโรคไม่เหมือนกัน กล่าวคือส่วนหลังของกระดูกสันหลังเกิดแยก ทำให้ส่วนหน้าของกระดูกเลื่อนไปทางด้านหน้า เป็นผลให้ท่อไขสันหลังตีบและเกิดการกดรัดประสาทสันหลังได้



วัณโรคกระดูกสันหลัง เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไร

เกิดจากเชื้อวัณโรคชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นวัณโรคปอด หรือที่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมาเชื้อแพร่กระจายไปที่กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังทางระบบท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ เข้าสู่ส่วนหน้าของกระดูกสันหลังส่วนที่อยู่ติดกับหมอนรองกระดูกสันหลัง แล้วเข้าไปทำลายกระดูกและหมอนรองกระดูก เมื่อถูกทำลายมากเข้าจะทำให้กระดูกยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูก หมอนรองกระดูกเลื่อน และเมื่อเข้าสู่ช่องไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลัง จนทำให้เป็นอัมพาตที่ขา แต่ถ้าเป็นวัณโรคที่กระดูกและเกิดมีพยาธิสภาพเช่นเดียวกันก็จะทำให้เกิด อัมพาตที่แขนได้

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคกระดูก มักเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือความต้านทานของร่างกายต่ำ ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาก ๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นวัณโรคกระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังได้มาก แม้ในปัจจุบันจะมียารักษาวัณโรคให้หายขาดได้ แต่ในกรณีที่เป็นจนถึงขั้นอัมพาตต้องผ่าตัดรักษา ซึ่งนอกจากจะช่วยชีวิตแล้วยังแก้ไขความพิการของหลังด้วย




ผู้ป่วยบางคนปวดหลัง แพทย์แนะนำผ่าตัดและให้ใส่โลหะยึดดามกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดกระดูกสันหลัง และยึดตรึงด้วยโลหะที่ประกอบด้วยสกรูแกนโลหะ มีการทำค่อนข้างแพร่หลาย บางรายไม่มีความจำเป็นต้องยึดตรึงด้วยโลหะ รายที่ต้องยึดตรึงด้วยโลหะเพราะกระดูกสันหลังเลื่อน หรือเพราะกระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท จึงมีความจำเป็นต้องผ่าตัดตัดกระดูกและข้อ รวมทั้งหมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทสันหลังออก แล้วดามกระดูกสันหลังด้วยโลหะพร้อมกับทำการตรึง(spinal fusion)กระดูกส่วนนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคง ป้องกันการเลื่อนของกระดูก และไม่ให้รากประสาทถูกกดทับอีกต่อไป ซึ่งอัตราการผ่าตัดในโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีเพียงประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น




มีความจำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยปวดหลังด้วยการผ่าตัดทุกรายหรือไม่

อาการ ปวดหลังที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับคนที่ปวดหลังทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่าเป็นมากแค่ไหน ซึ่งหากรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือโรคลุกลามมากขึ้นก็จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนมากหรือแตกกดทับรากประสาทสันหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชาไม่มีแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วัณโรคกระดูกสันหลัง เนื้อกระดูกถูกทำลายมากจนเป็นอัมพาต เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเลื่อนทับกดประสาทสันหลังจนมีอาการขาชา ไม่มีแรง เป็นต้น



ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดหลัง

มีหลายอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานหนัก ก้มยกของหนักโดยไม่ระวังตัว จะทำให้กล้ามเนื้อหลังปริขาดเคล็ดยอก หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อน หรือผู้ที่นั่งทำงานนาน ๆ ลักษณะท่าทางไม่ถูกต้อง เช่น ก้มตัวมากอยู่นาน ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ สมัยนี้จะเกิดกับผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตลอดจนนักกีฬามีแนวโน้มทำให้เป็นโรคปวดหลัง เช่น กระโดดสูง ยกน้ำหนัก เทนนิส รวมทั้งกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรักบี้ เป็นต้น การสูบบุหรี่ อ้วนน้ำหนักตัวมากเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีอาการปวดหลังได้



ดูแลตัวเองเมื่อมีอาการปวดหลัง

ถ้าปวดหลังจากการยกของหนัก หรือเอี้ยวบิดตัวแรง ๆ เพื่อหยิบของแนะนำให้พักผ่อน ไม่ควรก้มยกของหนักหรือหิ้วของหนักอีก รับประทานยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน แต่ถ้าไม่ได้ผล ปวดมากขึ้น ปวดเสียวร้าวลงขา ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลัง แพทย์มักแนะให้ทำกายภาพบำบัดร่วมกับรับประทานยา แต่ถ้าอาการปวดรุนแรงมากจนมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย อาจต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าช่องไขสันหลัง และถ่ายภาพรังสีดูหรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)ในกรณีที่หมอนรองกระดูก สันหลังเคลื่อนทับรากประสาทสันหลัง ถึงขั้นนี้อาจต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแทน

มีวิธีการป้องกันการปวดหลังอื่น ๆ อีก เช่น ลดปัจจัยเสี่ยง หยุดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักตัว การก้ม ยกของหนัก การดึงหรือดันของหนักต้องทำด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และต้องดูแลตนเองให้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ก็จะป้องกันการปวดหลังได้อย่างดี.


เรื่อง : ศ.เกียรติคุณ นพ.เจริญ โชติกวณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ข้อมูล : //www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=817




โดย: หมอหมู วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:09:17 น.  

 
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
//www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html



การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
- See more at: //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/herniated-disc#sthash.O0hq21dQ.051zXd3I.dpuf
สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มกราคม 2557 เวลา:15:27:39 น.  

 
เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?
โพสโดย Fon เมื่อ 1 พฤษภาคม 2548 00:00
ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 313-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 313
เดือน/ปี: พฤษภาคม 2548
คอลัมน์: คนกับงาน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

//www.doctor.or.th/article/detail/1289



เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?

ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลายแห่งทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าคนงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยของโรงงาน หลายท่านได้เข้ามาคุยกับผู้เขียนว่า คนทำงานยกขนอยากจะใช้เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ในขณะทำงาน โอกาสผู้เขียนจึงขอเสนอความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้เข็มขัดรัดหลังในงานยกขน

เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ที่ใช้ในคนทำงานดัดแปลงมาจากเฝือกพยุงเอว (Lumbo sacral Support) ที่ใช้ในทางการแพทย์ มีจุดประสงค์ในการใส่เพื่อประคองหลังในกรณีที่ปวดหลังมาก กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดส่วนหลัง

การใส่มีผลให้บริเวณแผ่นหลังกระชับกระตุ้น การทำงานของเส้นประสาทที่รับความรู้สึกอื่นๆ นอกจากเส้นประสาทรับความเจ็บปวด ทำให้ผู้ใส่มีอาการปวดลดลง และที่สำคัญช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรงลงไปหลังผ่าตัดหรือมีอาการเจ็บมาก และทำให้มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวที่น้อยลง
เมื่อใส่เฝือกพยุงเอวจะรู้สึกแน่นกระชับที่หลังและสบายเหมือนกับกล้ามเนื้อหลังไม่ได้ทำงาน

ข้อเสียของการใส่เฝือกพยุงเอวระยะยาว คือ การที่มีกล้ามเนื้อรอบลำตัวทำงานลดลง และผู้ใส่ติดการใช้ไม่สามารถถอดออกได้ เพราะกลัวเจ็บมากขึ้น ในทางการแพทย์จะให้ผู้ป่วยเลิกใส่เฝือก พยุงเอวเร็วที่สุด เพราะมีผลเสียดังกล่าว

เข็มขัดรัดหลังมีมากกว่า ๗๐ ชนิดในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะรัดบริเวณหน้าท้องและหลังส่วนล่าง มีความกว้างน้อยกว่าเฝือกพยุงเอว มีทั้งแบบแขวนกับไหล่เพื่อไม่ให้เลื่อนลง บางชนิดมีการเป่าลมเข้า ภายในตัวเข็มขัดเพื่อให้รัดได้กระชับยิ่งขึ้น เข็มขัดรัดหลังเป็นที่นิยมมากในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา คนงานในบางประเทศใส่เหมือนเป็นเครื่องป้องกันเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ขณะทำงาน

มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า คนงานที่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่ได้มีปัญหาปวดหรือบาดเจ็บของหลังน้อยกว่าคนงานที่ไม่ได้ใส่ ซ้ำยังทำให้การบาดเจ็บรุนแรงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลังเสียอีก

ผู้ที่ใช้เข็มขัดรัดหลังเป็นประจำอ้างว่าการใส่เข็มขัดรัดหลังจะช่วยให้มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อลำตัวทำงานลดลง แต่การคำนวณทางชีวกลศาสตร์พบว่าแรงดันในช่องท้องกลับมีผลทำให้แรงกดที่กระดูกสันหลังมากขึ้นและอาจนำไปสู่อาการปวดหลังได้

การศึกษาโดยการวัดคลื่นกล้ามเนื้อไฟฟ้า พบว่า การทำงานของกล้ามเนื้อหลัง ขณะยกของแบบใส่และไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังจะพอๆ กัน

การเคลื่อนไหวของลำตัวของผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลังจะลดลงในทิศทางด้านข้างและการหมุนตัว แต่การบาดเจ็บของหลังขณะทำงานมักอยู่ในท่าก้มร่วมกับการหมุนตัว เข็มขัดรัดหลังไม่ได้ป้องกันให้ผู้ใส่ก้มตัวเลย

การใส่เข็มขัดรัดหลังมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการทดลองใส่เข็มขัดรัดหลังในขณะยกของ นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดรัดหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น การที่ความดันช่องท้องที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเลือดไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นความดันเลือดที่สูงอยู่แล้วในคนทำงานหนักจะยิ่งสูงขึ้น

ผลระยะยาวของการใส่เข็มขัดรัดหลังเป็นเวลานานๆ ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่การที่มีความดันในช่องท้องสูงอยู่นานๆ อาจมีผลทำให้เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร และมีหลอดเลือดขอดที่ขาและถุงอัณฑะได้ แต่ผลระยะยาวนี้ต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต

คนทำงานจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อใส่เข็มขัดรัดหลังทำงาน แต่ความมั่นใจนี้มีผลเสีย เพราะคนทำงานจะรู้สึกว่าตัวเองมีความปลอดภัยแล้ว จะยกวัตถุโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับช่วงที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลัง

มีการศึกษาพบว่า น้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ขณะใส่เข็มขัดรัดหลังจะเพิ่มประมาณร้อยละ ๑๙ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เกินความสามารถของผู้ยก สอดคล้องกับสถิติที่พบว่าผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลัง ถ้ามีอาการบาดเจ็บจากการทำงานจะบาดเจ็บรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใส่

ข้อแนะนำสำหรับการใส่เข็มขัดรัดหลัง
เข็มขัดรัดหลังมีประโยชน์ในคนทำงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสภาพกลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรกของการได้รับการบาดเจ็บ หรือใส่เพื่อลดอาการเจ็บที่เกิดซ้ำ ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ผู้ใส่ต้องได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการยกวัตถุที่ถูกต้องการจัดสภาพการทำงานที่เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่ควรจะยกได้ในขณะนั้น และชีวกลศาสตร์เบื้องต้นของการยกวัตถุ ในคนงานทั่วไปที่ไม่มีประวัติบาดเจ็บไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดรัดหลัง นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วยังทำให้คนทำงานประมาทไม่ระวังเวลาทำงาน

การที่ผู้ประกอบการคิดว่าการให้คนทำงานใส่เข็มขัดรัดหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงานนั้นต้องอาศัยการปรับปรุงสภาพงานเป็นสำคัญ ตราบใดที่คนทำงานจะต้องยกวัตถุหนักเกินกำลังของตัวเอง ต้องยกวัตถุหนักจากพื้น และต้องบิดตัวขณะยกไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

กล้ามเนื้อลำตัวกับการป้องกันอาการปวดหลัง
ร่างกายจะมีกล้ามเนื้อที่เป็นเข็มขัดรัดหลังโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะอยู่ลึกและเกาะกับกระดูกสันหลัง แรงหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เพียงร้อยละ ๒๐ ของแรงหดตัวสูงสุดจะช่วยทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น ดังนั้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่การทำงานในช่วงที่ควรจะทำ เช่น หดตัวขณะที่กระดูกสันหลังมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในขณะยกวัตถุ พบว่า ในคนที่มีอาการปวดหลังอยู่นานๆ กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะทำงานน้อยมากหรือไม่ทำงานเลยขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ต้องมีการฝึกออกกำลังที่เรียกว่าการออกกำลังเพื่อความมั่นคงของลำตัว (trunk stabilization exercise) จึงจะทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานได้ตามปกติ การฝึกออกกำลังแบบนี้ในคนทำงานจะสามารถป้องกันการบาดเจ็บของหลังได้ดี และที่สำคัญไม่ต้องสิ้นเปลือง ซื้อเข็มขัดรัดหลังมาใช้เพราะธรรมชาติให้มาอยู่แล้ว

การออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของลำตัวเป็นการใช้การควบคุมทางกาย (motor control) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อทำงานในขณะอยู่นิ่งก่อน แล้วจึงฝึกในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของแขนขา จนในที่สุดกล้ามเนื้อนี้จะทำงานในขณะทำงาน เช่น การยกวัตถุ ดึง ดัน แบก หาม

อย่าลืมว่าถ้าไม่ปวดหลังก็ไม่ต้องใช้เข็มขัดรัดหลัง จัดสภาพงานให้เหมาะสม อย่าออกแรงเคลื่อนย้ายวัตถุหนักเกินกำลัง เท่านี้ท่านจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บของหลัง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเข็มขัดรัดหลังเลย




โดย: หมอหมู วันที่: 9 พฤศจิกายน 2557 เวลา:22:34:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]