Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???


คงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าเป็น กระดูกทับเส้น หรือ เป็น หมอนรองกระดูกทับเส้น .... หลาย ๆ คนอาจยัง งง ๆ ว่า มันคืออะไร กันแน่ ...???

คำว่า " เส้น " นี้ อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เข้าใจไม่ตรงกันว่า หมายถึง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นเลือด หรือ เส้นประสาท กันแน่ ???

เท่าที่พบ ก็สามารถตีความหมายได้ทุกอย่างเลย เพียงแต่ ก็ต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมว่า มีอาการเป็นอยางไร .. เช่น

ถ้าปวดไหล่ ปวดสะบัก ..แล้วพูดว่า " ปวดเส้น " หรือ " เส้นจม " แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น ..

ถ้าปวดเป็นแนว ตามเส้นเลือดดำ ซึ่งพบบ่อย ๆ จากการอักเสบของหลอดเลือดดำ หลังจากการฉีดยาเข้าเส้น หรือ ให้น้ำเกลือ ... แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง เส้นเลือด

ถ้ามีอาการปวด ร่วมกับอาการ ชา อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ .. แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง เส้นประสาท



กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น จึงหมายถึง การกดทับเส้นประสาท บริเวณหลัง (กระดูกสันหลัง ) ... ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กระดูกเสื่อม หมอนรองกระดูกแตก กระดูกแตก เนื้องอก เส้นเลือดโป่งพอง เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ ลักษณะอาการ ก็จะคล้าย ๆ กัน คือ ปวดร้าวจากหลัง สะโพก ร้าวลง ขา มีอาการชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมด้วย .. ส่วนว่าจะมีอาการแบบไหนเด่นกว่า ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ..(ดังรูป)



อาการปวด ก็อาจปวดมาก เป็น ส่วน ๆ หรือ จะปวด เป็นแนวยาว ลงมาจากสะโพก ถึง น่อง ถึงเท้า เลยก็ได้ ...


แต่จะมีลักษณะที่พอจะแบ่งแยกได้ว่า อาการนั้น เกิดจาก เส้นประสาทเส้นไหน ถูกกดทับ (ดังรูป) เช่น

เส้นประสาท ส่วนเอว เส้นที่ ๔ ( L 4 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านใน

เส้นประสาท ส่วนเอว เส้นที่ ๕ ( L 5 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านนอก

เส้นประสาท ส่วนก้นกบ เส้นที่ ๑ ( S 1 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านนอก ร้าวไปถึง นิ้วเท้าด้านนอก




ที่นี้ ก็คงพอเข้าใจตรงกันแล้วนะครับว่า " ปวดเส้น กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น " หมายถึงอะไร ...

แถม เรื่อง กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/


อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
https://www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
https://www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
https://www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html


 สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)  https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) 
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs   

..............................................

๑๙ พค. ๖๖ ... กระทู้คำถาม ที่พบบ่อย ในพันทิบ ห้องสวนลุมพินี ..คัดลอกนำมาฝากกัน ..

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีโอกาสกลับมาเดินได้ไหมคะ ?

เรื่องคือ พ่อเคยตกจากหลังคาได้ประมาณปีกว่า ตอนนั้นเราทำงานอยู่ต่างจังหวัด เลยไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วแกก็ไม่ยอมไปหาหมอ พอช่วงหลังๆ มาเริ่มมีอาการปวดหนักขึ้น ตั้งแต่ช่วงเอวไปขา บางทีจนถึงขั้นเดินงอตัว ไปหาหมดดูภาพเอ็กซเรย์ กระดูกสันหลังช่วงล่างงอจนกระดูกนู้นออกมา  หมอเลยแนะนำให้ผ่าตัด เพราะทำอะไรไม่ได้แล้ว

แต่ด้วยที่เป็นชาวนา คนต่างจังหวัด แกไม่อยากผ่า เพราะกลัวว่าจะเดินไม่ได้ ลูกทุกคน ญาติ ก็ช่วยกันพูดแล้ว ก็เหมือนเดิม

เลยอยากถามเป็นความรู้ค่ะว่า ถ้าผ่าแล้วยังจะสามารถเดินได้ไหม ไม่ต้องถึงขั้นใช้ชีวิตปกติ หรือถ้าไม่ผ่า ในอนาคตมีโอกาสเป็นหนักว่านี้ไหมคะ แล้วมีวิธีที่จะพูดให้พ่อยอมผ่าตัดได้ไหมคะ

สมาชิกหมายเลข 3717574


๑. โดยทั่วไป แพทย์ใน รพ.รัฐ ถ้าไม่หนักจริง ๆ จะไม่แนะนำให้ผ่า .. เพราะ มีผู้ป่วยจำนวนมาก (รอคิวผ่าตัดยาวหลายเดือน บางครั้งเป็นปี ?)

๒. ถ้าแนะนำให้ผ่าตัด แสดงว่า อาการมาก และ ปล่อยไว้ น่าจะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม

๓. การผ่าตัดมีความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ ดีขึ้นกว่าก่อนผ่า แต่มีส่วนน้อยที่เดินไม่ได้หรือเสียชีวิต  .. ถ้าเทียบก็อาจคล้ายกับ ขับรถยนต์ ส่วนใหญ่ปลอดภัย ส่วนน้อยที่เกิดอุบัติเหตุ (ต่อให้เราระมัดระวังแล้ว) หมอ ไม่สามารถรับรองได้ว่า ผ่าตัดแล้วหาย ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ .. แต่ หมอ จะพยายามให้ดีที่สุด

๔. ไม่ว่า เลือกทางไหน (ผ่า หรือ ไม่ผ่า) ก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย .. เลือกทางที่ (แพทย์ ผู้ป่วย ญาติ) เห็นพ้องต้องกันว่า ผลดี มากกว่า ผลเสีย

๕. พาไปพบ พูดคุยกับ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้ว ตอนไป รพ. ก็ได้ ว่า เป็นอย่างไร ก่อนผ่า หลังผ่า ฯลฯ

๖. ถ้าพยายามทุกอย่างแล้ว แต่ ไม่ยอมผ่า่ตัด จริง ๆ .. ญาติ ลองเข้าไปสอบถามแพทย์ว่า ถ้าปล่อยไว้ ไม่ผ่าตัด จะเป็นอย่างไร ? เพราะ โดยทั่วไปแล้ว กระดูก(แตกหรือเสื่อม) แล้วกดทับเส้นประสาท กดทับไขสันหลัง ... ทรมาน อาจเดินไม่ได้ แต่ ไม่ทำให้เสียชีวิต

ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7
คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6
ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด    www.thaispine.com/Decision_point.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามก่อนผ่า ที่พบบ่อย    https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/frequently-asked-questions-before-receiving-spine-surgery

หมอหมู
https://pantip.com/topic/42022770
 


Create Date : 28 กรกฎาคม 2551
Last Update : 19 พฤษภาคม 2566 15:24:15 น. 15 comments
Counter : 99558 Pageviews.  

 


โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:44:34 น.  

 
ความอ้วนมีผลกับอาการปวดหลังหรือเปล่าคะ ปวดหลังเฉพาะด้านขวาร้าวลงมาถึงก้นกบด้านขวาค่ะ อาการปวดจะเป็นมากตอนเวลาหลังรับประทานอาหารเย็นค่ะ


โดย: พริกแดง (พริกสีแดง ) วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:02:53 น.  

 
แวะมาอ่านคะ

ขอบคุณมากคะ


โดย: ต้นข้าว_ต้นนั้น วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:08:29 น.  

 

ขอบคุณที่แวะมาแจม นะครับ ...

สำหรับคุณ พริกแดง
ความอ้วนก็มีผลต่ออาการปวดหลังเหมือนกันครับ แต่อาการของคุณเหมือนกับเป็นกลุ่ม กล้้ามเนื้ออักเสบ นะครับ .. ถ้าเป็นบ่อย ๆ ก็ควรไปตรวจดีกว่าครับ จะได้รู้ว่าเป็นอะไรแน่ ..


โดย: หมอหมู วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:11:13:38 น.  

 
ขอบคุณครับคุณหมอหมู
สำหรับความรู้ต่างๆที่ได้รับมาครับผม


โดย: สงสัย ใจดี วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:13:32:16 น.  

 
วันนี้ว่าง
ก็เลยแวะเข้ามา... เก็บความรู้ใส่ตระกร้าออกไป

ขอบคุณมากนะคะ
ปวดหลัง กะไหล่อยู่พอดีค่ะ



โดย: คิดถึงหมอเสมอค่ะ (คุณน้ำตาล ) วันที่: 16 ธันวาคม 2551 เวลา:16:00:29 น.  

 
คุณหมอคะ...โรคนี้เกิดจากการวิ่งได้มั้ยคะ?


โดย: สาวประเภทสวย วันที่: 25 มีนาคม 2552 เวลา:0:29:05 น.  

 
เรียนปรึกษาคุณหมอค่ะ
1. ปวดร้าวขาขวา MRI พบหมอนรองกระดูกข้อที่ 4-5 ปลิ้น
2. รับยา 2 เดือน ไม่ปวดขา ใช้อุปกรณ์พยุงหลัง
3. การเดินเมื่อไม่ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง จะเหมือนไม่มั่นใจ
ในการเดิน คิดว่าอุปทานเกี่ยวกับกลัวกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไม่คงตัว
4. การก้มตัว งอตัว ทำไม่ได้ อุปทานว่าเหมือนหลังส่วนเอวจะฉีกขาด
5. เดือนนี้รับประทานยาวิตามิน 1-6-12 เช้า-เย็น
เพราะอาการชายังไม่หายไป
แบบว่า ตัดสินใจไม่ถูกค่ะว่าจะทำอย่างไรต่อไป


โดย: แมวมาหาที่ฝนเล็บให้แหลมคม วันที่: 12 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:56:51 น.  

 
อ่า เป็นเช่นนี้นี่เอง


โดย: kuddle วันที่: 24 สิงหาคม 2555 เวลา:1:50:02 น.  

 
อ่าเพิ่งมาเจอ รบกวนสอบถามครับ

ผมหมอนรองกระดูกเคลื่อนมาหลายปีแล้วคับ ทับเส้นประสาทจนต้องเข้าโรงพยาบาลไปก็หลายครั้ง ได้แต่ทำกายภาพ ไม่หายสักที แบบนี้จะทำไงให้หายดีคับ ต้องผ่าไหมคับ


โดย: yutcmri วันที่: 7 สิงหาคม 2556 เวลา:6:45:38 น.  

 
Like ให้เป็นคนที่ 70
อุ้มขออนุญาตยืมภาพเพื่อไปประกอบให้เพื่อนโหวตได้ง่ายค่ะ
ขอบคุณนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 29 กันยายน 2556 เวลา:19:27:25 น.  

 
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
//www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html



การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
- See more at: //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/herniated-disc#sthash.O0hq21dQ.051zXd3I.dpuf
สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มกราคม 2557 เวลา:15:25:29 น.  

 
โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ภัยร้ายซ่อนเงียบ รู้ก่อนรักษาทัน!!!
Pawin สิงหาคม 14, 2021 1 min read
้herniated disc

หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาทหรือบางท่านอาจจะเรียกด้วยชื่อต่างๆกันดังที่กล่าวในตารางข่างล่างนี้ จริงๆล้วนแล้วมีความหมายที่คล้ายๆกันครับ
หมอนรองกระดูกปลิ้น
หมอนรองกระดูกเคลื่อน
หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกเสื่อม

ปกติหมอนรองกระดูกเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังปล้องบนและปล้องล่าง ธรรมชาติสร้างมาเพื่อช่วยในการรับน้ำหนักของร่างกายโดยมีความสามารถในการยืดหยุ่นขณะใช้ชีวิตประจำวันในท่าทางต่างๆเช่นการก้มตัว,การแอ่นตัว,การบิดตัว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหมอนรองกระดูกมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หมอนรองกระดูกเราเปรียบเสมือนกับยางรถยนต์ ถ้าในช่วงอายุหนุ่มสาวอายุ 20-50 ปีก็เปรียบเสมือนยางรถยนต์ใหม่ที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นรับแรงกระแทกได้ดี ส่วนเมื่ออายุมากขึ้น 50 ปีขึ้นไป ยางรถของเราจะเสื่อม ความสามารถในการรับแรงกระแทกและความยืดหยุ่นจะน้อยลงโดยส่วนประกอบตรงใจกลางของหมอนรองกระดูกจะมีลักษณะเป็นของที่มีความหนืดคล้ายเจลลี่เหนียวๆ ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเส้นใยที่ขึงล้อมหน้าหลังเปรียบเสมือนขอบยางรถยนต์ ซึ่งธรรมชาติสร้างมาเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนที่เป็นเจลลี่แตกออกมา เพราะฉะนั้นความหมายของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเปรียบเสมือนยางรถยนต์แตก เจลลี่ที่อยู่ด้านในนั้นจะไหลออกมากดเหรือเบียดเส้นประสาที่อยู่บริเวณนั้นๆก่อให้เกิดอาการปวดหลังหรือสะโพกแล้วร้าวไปที่ขานั่นเองครับ

ภาพซ้ายคือหมอนรองที่คุณภาพดี
ภาพขวาคือหมอนรองที่แตกและมีของภายในออกมากดเบียดไขประสาท

สาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

ซึ่งสาเหตุ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่เกิดจาก อุบัติเหตุที่หลังรวมไปถึงการใช้งาน เช่น ยกของหนักเกินไป, ยกของผิดท่าซึ่งสามารถหาวิธียกที่ถูกวิธีได้จากบทความก่อนหน้าครับ ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเป็นได้กับทุกคนครับ ยิ่งเมื่อคุณทำงานโดยอยู่ในท่าที่ผิดสรีระหรือผิดสุขลักษณะก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังนำมาก่อน ซึ่งถ้าคุณสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ ก็จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวครับ แต่ถ้าคุณยังปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลใส่ใจ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจจะกลายมาเป็นเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ง่ายกันเลยทีเดียวครับ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

ลองเช็คกันดูครับว่าคุณอยู่ในปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวหรือไม่ ถ้าคุณอยู่ในปัจจัยเสี่ยงนี้ คุณควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วนครับถ้าคุณไม่รู้จะเปลี่ยนแบบไหน หรือเปลี่ยนยังไงก็สามารถที่จะปรึกษาหมอได้ครับ

ยกของหนักซ้ำๆ
เล่นกีฬาหนักๆ
นั่งทำงานนานๆหรือคนที่เป็น office syndrome บ่อยๆ เริ้อรัง
ติดการเล่นมือถือโดยการก้มหน้า
ขับรถนานเกิน 1 ชม.ต่อวัน
มีการก้มเงยหลังบ่อย

เมิ่อมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์
อาการสำคัญและอาการแสดงของ ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ที่ควรมาตรวจพบแพทย์ เพราะนั่นหมายความว่าคุณอาจเป็น หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาทแล้ว

ปวดหลัง เรื้อรังเกิน 3 เดือน
ปวดหลัง เวลานั่งนานหรือยืนนาน เป็นทุกครั้งที่ทำกิจกรรม
ปวดหลังร้าวลงขา ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือ 2 ข้าง อาจมี อาการปวดขาเด่นกว่าปวดหลังก็ได้ อาการปวดเป็นตอนนั่งนานหรือยืนนาน จะหาจุดที่เจ็บได้ไม่ชัดเจน จะรู้สึกเหมือนร้าวๆลงไปขา บางคนอาจมีอาการลงถึงปลายเท้า หรือชาฝ่าเท้า
อาการชาลักษณะเป็นแถบๆ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นแถบหลังต้นขาลงไปยังน่องและเท้าหรือเป็นแถบข้างขาต้นขาไปยังด้านนอกของปลายขา
อาการอ่อนแรง เป็นอาการที่ควรมาพบแพทย์เร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที อาการอ่อนแรงจะไม่เป็นการอ่อนแบบทันทีทันใดเหมือนกับอาการของอัมพฤษ อัมพาต์จากโรคของหลอดเลือดสมองตีบ แต่จะเป็นการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางมัด เช่น กระดกนิ้วโป้งเท้าไม่ขึ้น กระดกข้อเท้าลำบาก เตะขาไม่ออก หรือบางรายอาจทดสอบโดยการเทียบความแข็งแรงกับขาอีกขาหนึ่งได้เช่นกัน
อาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ และอาจมีอาการชารอบๆรูก้น เป็นอาการที่ควรต้องพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะหมายถึงมีการกดทับที่ไขประสาทไปมากแล้ว ต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหลังจากการซักประวัติและตรวจร่างกายของ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

X-ray กระดูกสันหลัง เป็นการดูภาพส่วนกระดูกหลังของเราว่ามีลักษณะสรีระที่ผิดแปลกไปหรือมีการเคลื่อนของกระดูกหรือไม่ การเอ็กเรย์จะไม่สามารถดูส่วนของหมอนรองกระดูกได้ ส่วนของหมอนรองกระดูกของเราจะเห็นเป็นลักษณะเงาช่องว่างสีดำ โดยหมอจะเพียงแต่ตาดการได้แค่ว่าถ้าช่องระหว่างช่องนั้นดูสั้นกว่าปล้องบนและล่าง หมายความว่าส่วนนั้นอาจโดนกดบีบจากกระดูกตัวบนและตัวล่างต่อมันซึ่งอาจทำให้เกิดการเค้นหมอนรองจนเกิดการปลิ้นไปกดทับไขประสาทด้านหลังก็ได้

MRI หรือการเข้าอุโมงค์ จะใช้ดูทั้งหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทซึ่งช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำรวมถึงวางแผนการรักษาในกรณีที่จะผ่าตัดได้ด้วย

ส่วนใหญ่แล้วจะต้องทำทั้ง Xray และ MRI ควบคู่กัน ไม่สามารถเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพื่อประกอบกันให้ได้การวินิจฉัยและหาสาเหตุของการปวดได้อย่างแม่นยำที่สุดนั่นเองครับ

มักดูในส่วนกระดูกเป็นสำคัญ ดูหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทไม่ได้

จากภาพ MRI แสดงถึงหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท

แนวทางการรักษา โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

รักษาที่อาการ ไม่ใช่รักษาที่ภาพ Xray หรือ MRI
หากอาการไม่สัมพันธ์กับการตรวจวินิจฉัย ให้เอาอาการเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำมาซึ่งการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ไม่ใช่ว่าโรคทางกระดูกสันหลังจะต้องจบด้วยการผ่าตัดเสมอไป ยังมีทางเลือกอีกมากมายก่อนที่จะไปถึงการผ่าตัด ถ้าอาการปวดมาไม่นานหรือปวดน้อย แค่การทานยาก็มักจะเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากอาการเป็นมากและเริ่มนานเป็นเดือนๆ การกายภาพมักจะช่วยได้ผลดี สิ่งที่เน้นมากๆสำหรับการกายภาพคือการออกกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งมีความสำคัญมากในกระบวนการรักษา รวมไปถึงการยืดกล้ามเนื้อ

ถ้าอาการเป็นหนักแต่ภาพจาก mri มีการกดเบียดไขประสาทไม่เยอะ อาจเลือกวิธีการฉีดยาเข้าโพรงประสาทได้เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวดได้อย่างดี แต่มีข้อเสียคือด้วยระยะการออกฤทธิ์ยาจะอยู่ที่ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพและการตอบสนองของยาในร่างกายแต่ละคน ซึ่งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดหมอจะกล่าวให้ฟังอีกบทแยกบทหนึ่งครับ

การปฎิบัติตัวและการดูแลตัวเอง เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้ ห้ามก้มหลังยกของ, ห้ามยกของหนัก, ห้ามเอี้ยวหรือบิดตัว(จะพบบ่อยตอนหยิบของที่เบาะหลังรถ), ไม่ควรท้องผูก, ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลการน้อยกว่า 32 (กดดูวิธีการคำนวณได้) ,ไม่ควรนั่งนานเกิน 1 ชม. กรณีต้องนั่งทำงานนานต้องมีวิธีการนั่งและเก้าที่ถูกต้อง, หมั่นฝึกบริหารกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น, หมั่นยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลังและก้นให้บ่อย, สุดท้ายมีถ้าใครคิดว่าทำถูกต้องแล้ว หมอยังเชื่อว่ามีคนส่วนใหญ่ที่ถึงแม้ว่าทำตามที่หมอบอกแล้วแต่ก็ยังมีจุดที่ผิดอยู่ หมอยังมี 3 เทคนิคลดปวดหลัง ที่คนส่วนใหญ่รู้แล้วแต่เข้าใจผิด มาให้อ่านกัน ครับ

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก คือการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่แตกออกมาทับเส้นประสาทออก ซึ่งจะทำให้อาการปวดชาขาหายไปและอ่อนแรงที่ขาดีขึ้น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการส่องกล้อง แผลขนาดเพียงแค่ 1 ซม. ใช้เวลาฟื้นตัวน้อยมาก ผ่าเสร็จสามารถเดินกลับบ้านได้เลยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันเพราะเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆของการผ่าตัดจากสมัยก่อนที่ต้องเปิดแผลยาวและใช้เวลาฟื้นตัวนาน

ออกกำลังกายแกนกล้ามเนื้อกลางลำตัว ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ส่วนใหญ่หมอจะแนะนำทำช่วงเช้า เย็น ก่อนอาบน้ำครับ

การผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในปัจจุบัน

แผลเล็กประมาณ 1 ซม.
เจ็บน้อย
ฟื้นตัวไว นอน รพ. ไม่เกิน 1 วัน
ประสิทธิภาพดี ผลแทรกซ้อนน้อย
กลับบ้านแล้วใช้ชิวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม
ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชม.
กลับมาเดินได้แบบปกติ

โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท เป็นแล้วหายไหม

หมอนรองที่ปลิ้นออกมาแล้ว ไม่สามารถกลับเข้าที่เดิมของมันได้ครับ แต่จริงๆแล้วร่างกายของเรานั้นมีความน่ามหัศจรรย์ตรงที่ว่า ถ้าหากมีหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาแล้ว บางครั้ง ร่างกายของเราสามารถที่จะกำจัดส่วนนั้นได้ครับ แต่หมอย้ำว่าไม่ทุกคนนะครับที่ร่างกายจะกำจัดได้ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับรูปแบบของหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกหรือปลิ้นออกมาด้วย ซึ่งในกรณีนี้ ต้องปรึกษาแพทย์ครับ ถึงจะทราบว่าตัวหมอนรองกระดูกนั้นสามารถหายได้เองหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการหายชนิดนี้จะกินเวลาอยู่ในช่วง 1 ปีครับ ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถทานยาหรือกายภาพแล้วอาการอยู่ในจุดที่สามารถทนได้และใช้ชิวิตประจำวันต่อไปได้ บางท่านก็สามารถเลือกที่จะรอดูอาการต่อไปได้ครับ แต่ถ้าอาการเป็นมามากกว่า 1 ปีแล้ว โอกาสที่จะหายจากวิธีการนี้ก็จะลดลงครับ บางคนอาจใช้วิธีการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อลดอาการปวดในช่วง 6 เดือนได้ เพื่อรอดูอีกสักหน่อยครับ


ที่มา
โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ภัยร้ายซ่อนเงียบ รู้ก่อนรักษาทัน!!!
Pawin สิงหาคม 14, 2021
//mattspine.com/disc-introduction/

นพ.ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย
Spine by Dr.Matt



โดย: หมอหมู วันที่: 22 ตุลาคม 2564 เวลา:14:17:50 น.  

 
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มิถุนายน 2565 เวลา:14:55:43 น.  

 
๑๙ พค. ๖๖ ... กระทู้คำถาม ที่พบบ่อย ในพันทิบ ห้องสวนลุมพินี ..คัดลอกนำมาฝากกัน ..

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีโอกาสกลับมาเดินได้ไหมคะ ?

เรื่องคือ พ่อเคยตกจากหลังคาได้ประมาณปีกว่า ตอนนั้นเราทำงานอยู่ต่างจังหวัด เลยไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วแกก็ไม่ยอมไปหาหมอ พอช่วงหลังๆ มาเริ่มมีอาการปวดหนักขึ้น ตั้งแต่ช่วงเอวไปขา บางทีจนถึงขั้นเดินงอตัว ไปหาหมดดูภาพเอ็กซเรย์ กระดูกสันหลังช่วงล่างงอจนกระดูกนู้นออกมา หมอเลยแนะนำให้ผ่าตัด เพราะทำอะไรไม่ได้แล้ว

แต่ด้วยที่เป็นชาวนา คนต่างจังหวัด แกไม่อยากผ่า เพราะกลัวว่าจะเดินไม่ได้ ลูกทุกคน ญาติ ก็ช่วยกันพูดแล้ว ก็เหมือนเดิม

เลยอยากถามเป็นความรู้ค่ะว่า ถ้าผ่าแล้วยังจะสามารถเดินได้ไหม ไม่ต้องถึงขั้นใช้ชีวิตปกติ หรือถ้าไม่ผ่า ในอนาคตมีโอกาสเป็นหนักว่านี้ไหมคะ แล้วมีวิธีที่จะพูดให้พ่อยอมผ่าตัดได้ไหมคะ

สมาชิกหมายเลข 3717574


๑. โดยทั่วไป แพทย์ใน รพ.รัฐ ถ้าไม่หนักจริง ๆ จะไม่แนะนำให้ผ่า .. เพราะ มีผู้ป่วยจำนวนมาก (รอคิวผ่าตัดยาวหลายเดือน บางครั้งเป็นปี ?)

๒. ถ้าแนะนำให้ผ่าตัด แสดงว่า อาการมาก และ ปล่อยไว้ น่าจะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม

๓. การผ่าตัดมีความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ ดีขึ้นกว่าก่อนผ่า แต่มีส่วนน้อยที่เดินไม่ได้หรือเสียชีวิต .. ถ้าเทียบก็อาจคล้ายกับ ขับรถยนต์ ส่วนใหญ่ปลอดภัย ส่วนน้อยที่เกิดอุบัติเหตุ (ต่อให้เราระมัดระวังแล้ว) หมอ ไม่สามารถรับรองได้ว่า ผ่าตัดแล้วหาย ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ .. แต่ หมอ จะพยายามให้ดีที่สุด

๔. ไม่ว่า เลือกทางไหน (ผ่า หรือ ไม่ผ่า) ก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย .. เลือกทางที่ (แพทย์ ผู้ป่วย ญาติ) เห็นพ้องต้องกันว่า ผลดี มากกว่า ผลเสีย

๕. พาไปพบ พูดคุยกับ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้ว ตอนไป รพ. ก็ได้ ว่า เป็นอย่างไร ก่อนผ่า หลังผ่า ฯลฯ

๖. ถ้าพยายามทุกอย่างแล้ว แต่ ไม่ยอมผ่า่ตัด จริง ๆ .. ญาติ ลองเข้าไปสอบถามแพทย์ว่า ถ้าปล่อยไว้ ไม่ผ่าตัด จะเป็นอย่างไร ? เพราะ โดยทั่วไปแล้ว กระดูก(แตกหรือเสื่อม) แล้วกดทับเส้นประสาท กดทับไขสันหลัง ... ทรมาน อาจเดินไม่ได้ แต่ ไม่ทำให้เสียชีวิต

ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ??? https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7
คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6
ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" .... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด //www.thaispine.com/Decision_point.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามก่อนผ่า ที่พบบ่อย https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/frequently-asked-questions-before-receiving-spine-surgery

หมอหมู
https://pantip.com/topic/42022770


โดย: หมอหมู วันที่: 19 พฤษภาคม 2566 เวลา:15:25:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]