Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)




โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ
( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)


ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ เรื้อรัง (chronic microtrauma) และจัดเป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse disorder)
พบบ่อยในเด็กช่วงอายุ10-15 ปี ( เด็กผู้ชายอายุ12-15ปี เด็กผู้หญิง อายุ8-12ปี ) ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีกิจกรรมมากในชีวิตประจำวัน เมื่อเด็กเจริญเติบโตเต็มที่ (เด็กผู้ชาย อายุ 16 ปีขึ้นไป เด็กผู้หญิง อายุ 14 ปี ขึ้นไป) มักจะหายไปได้เอง(ไม่เจ็บ) แต่อาจยังมีปุ่มกระดูกนูนอยู่  ประมาณ 90% มักจะมีอาการดีขึ้นหรือหายเจ็บหลังจากเริ่มมีอาการ 1-2 ปี
ก้อนนูนที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง (tibial tuberosity) ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเข่าข้างเดียว แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้าง (ประมาณ 20-50 %)
อาการเจ็บที่ปุ่มกระดูก จะมีอาการเป็นๆ หาย ๆ มักมีอาการเจ็บมากขึ้นเวลาทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น นั่งคุกเข่า นั่งยอง เดินขึ้นบันได วิ่ง หรือ กระโดด แต่ถ้าอยู่นิ่ง ๆ มักไม่เจ็บ เดินได้ปกติ (ไม่กะเผลก)แต่ถ้ามีอาการปวดมากทันที เดินกะเผลก อาจต้องนึกถึง โรคอื่น เช่น avulsion fractures, Sinding-Larsen and Johansson syndrome เป็นต้น
 

 
การวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ แต่อาจตรวจเพิ่มเติม ในกรณีที่มีอาการปวดมาก รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือ เพื่อแยกโรคอื่น เช่น เนื้องอกกระดูก การติดเชื้อในกระดูก  เป็นต้น
การตรวจร่างกาย พบก้อนนูน กดเจ็บ ที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง เคลื่อนไหวข้อได้ปกติ ไม่มีข้อบวมแดงร้อน (โครงสร้างร่างกายอย่างอื่นจะต้องปกติ )
 
แนวทางรักษา
1.วิธีไม่ผ่าตัด
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและแนวทางรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง เข้าใจและสบายใจ การรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ส่วนก้อนนูน แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ขณะที่มีอาการเจ็บ ควรลดกิจกรรมและประคบเย็นบริเวณที่เจ็บ นานครั้งละ20-30 นาที ทุก 2 – 4 ชั่วโมง แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับให้งดกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมดเพราะจะทำให้เกิดผลทางด้านจิตใจต่อเด็ก เพียงแต่แนะนำให้เลี่ยงหรือลด กิจกรรมที่ทำให้เจ็บมากขึ้นก็เพียงพอ
  • ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ (เอนเสด)
  • ใส่สายรัดเข่าใต้ลูกสะบ้า  (knee strap with protective padding ) หรือใส่เฝือกชั่วคราว (slap or knee brace) 2-4 อาทิตย์แต่ควรถอดออกบริหารกล้ามเนื้อบ่อย ๆ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อลีบและข้อติด
  • ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นขาด แต่ถ้าเจ็บมากให้ฉีดยาชา เพื่อบรรเทาอาการ
  •  วิธีบริหารกายภาพบำบัด  stretching & strengthening (quadriceps, hamstrings, calf muscles) 
    1. ยืดกล้ามเนื้อน่อง– มือดันผนังพยุงตัว ขาข้างเจ็บอยู่ทางด้านหลัง เข่าเหยียดตรง ฝ่าเท้าติดกับพื้น ขาอีกข้างอยู่ข้างหน้าแล้วงอเข่าลง  ค้างไว้ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

    2. ยืดกล้ามเนื้อหน้าขา ยืนตรง เอามือจับข้อเท้าขาข้างเจ็บ ดึงให้เข่างอมากที่สุด ค้างไว้ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

    3. นอนหงาย เข่าเหยียดตรง ยกขาสูงขึ้นมากที่สุด เกร็งค้างไว้ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

    4. นอนคว่ำ เข่าเหยียดตรง ยกขาสูงขึ้นมากที่สุด เกร็งค้างไว้ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง

2. วิธีผ่าตัด 
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเช่น ปวดเรื้อรัง ปวดมากจนมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน รักษาแล้วไม่ดีขึ้น มีปุ่มกระดูกนูนหรือก้อนถุงน้ำ ขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสวยงาม เป็นต้น

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
https://emedicine.medscape.com/article/1993268-treatment
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/osgood-schlatter-disease-knee-pain/
https://www.uptodate.com/contents/osgood-schlatter-disease-tibial-tuberosity-avulsion
https://familydoctor.org/condition/osgood-schlatter-disease/
https://www.sportsmedtoday.com/osgoodschlatter-disease-va-14.htm


***********************************

วิธีบริหาร เข่า     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5

ปวดเข่า     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-05-2008&group=5&gblog=13

ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-01-2009&group=5&gblog=42

 


Create Date : 28 พฤษภาคม 2551
Last Update : 7 เมษายน 2565 14:41:32 น. 0 comments
Counter : 27030 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]