Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง







ถาม

โรงเรียนให้ใช้กระเป๋านักเรียนเป็นแบบเป้สะพายหลังแต่กระเป๋าเขาหนักมาก จะมีผลกับกระดูกมากน้อยอย่างไรไหมคะ ?

ตอบ

ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลังกระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลง อีกด้วยนะครับ

มีคำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อการใช้เป้สะพายหลัง

1.วิธีเลือกซื้อกระเป๋าเป้สะพายหลัง

- กระเป๋ามีน้ำหนักเบา

- ความกว้างกระเป๋าต้องไม่กว้างกว่าไหล่และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไม่สูงเกินไหล่

- สายสะพายไหล่ หุ้มเบาะทั้งสองเส้นควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. เพื่อกระจายแรงที่กดลงบนไหล่

- ควรมีสายคาดบริเวณเอวจะช่วยให้กระเป๋ากระชับกับแผ่นหลัง ไม่แกว่งไปมาขณะเดินหรือวิ่ง

2.ควรคล้องสายสะพายไหล่ทั้ง 2 เส้นและปรับสายสะพายให้กระชับพอดีเพื่อให้กระเป๋าแนบหลังและก้นกระเป๋าอยู่สูงกว่าเอวถ้ามีสายรัดบริเวณเอวก็ควรใช้ด้วย

3.น้ำหนักกระเป๋า ไม่ควรเกิน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หรือถ้าเด็กสะพายกระเป๋าแล้วเดินโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่า น้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป

 4.จัดสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุดให้อยู่ชิดบริเวณกลางหลังมากที่สุดและจัดวางให้น้ำหนักกระจายทั่วกระเป๋า









Create Date : 02 มิถุนายน 2560
Last Update : 2 มิถุนายน 2560 15:18:21 น. 1 comments
Counter : 7401 Pageviews.  

 
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
· 31 กรกฎาคม ·

📣📣 กรมการแพทย์ แนะเด็กไทยไม่ควรแบกกระเป๋านักเรียนเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว
.
แพทย์ชี้การสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก แนะน้ำหนักที่สามารถสะพายได้ไม่ควรเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว แนะควรใช้กระเป๋าลากหากต้องสะพายเป็นเวลานาน
.
🧑🧑 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า จากข่าวที่ออกมาว่าเด็กมีอาการกระดูกสันหลังคดเกิดจากการสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก
.
👦👧 จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเด็ก ปกติเด็กควรสะพายกระเป๋านักเรียนน้ำหนักไม่เกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก
.
👦👧 หากมีเด็กน้ำหนัก 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าที่เด็กสามารถถือได้ต้องไม่เกิน 3 กก.เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากระเป๋านักเรียน 1 ใบ มีน้ำหนักสูงถึง 4 - 6 กก. การที่ต้องแบกกระเป๋าใบใหญ่ ทั้งหนักและนานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก รวมถึงการทรงตัวที่ไม่ดีนักเนื่องจากอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว อีกทั้งกำลังแขนขายังไม่แข็งแรงการแบกกระเป๋าใบใหญ่และน้ำหนักมาก อาจทำให้เด็กล้มง่าย เดินลำบากมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บทั้งจากการล้มและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแบกกระเป๋า
.
🎒🎒 กระเป๋านักเรียนที่ใช้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ และแบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) ซึ่งแบบมือถือไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานานอาจเกิดการบาดเจ็บ และเสียสมดุลร่างกายได้มากกว่าแบบแขวนหลัง
.
🧑🧑 นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน เพิ่มเติมว่า โรคกระดูกสันหลังคด เป็นการคดงอหรือบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปด้านข้างทำให้เสียสมดุล
.
📌📌 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
.
1⃣ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุพบบ่อยถึง 80% ในเด็ก แบ่งตามอายุที่เริ่มเป็น คือ 0-3 ปี 4-10 ปี และ 11-18 ปี พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากว่าเด็กผู้ชาย
.
2⃣ กลุ่มที่ทราบสาเหตุ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ท้าวแสนปม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น เด็กสมองพิการ โปลิโอ กลุ่มสาเหตุนี้จะทำให้กระดูกสันหลังคดมาก
.
💥💥 สังเกตอาการโรคกระดูกสันหลังคดได้ โดยลำตัวของเด็กจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อเด็กยืนหันหลังจะสังเกตเห็นความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก ระดับแนวกระดูกสะโพกที่ไม่เท่ากัน รวมถึงหน้าอก ซี่โครงด้านใดด้านหนึ่งยื่นออกมาด้านหน้า หรือให้เด็กยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มตัวมาทางด้านหน้าใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้นจะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
.
🎒🎒 หากกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน หรือต้องแบกเป็นเวลานานควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง ขอแนะนำให้ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-13 ปี หากกระดูกสันหลังผิดรูป ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากันควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันและให้การรักษาต่อไป

#nnt #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #กรมการแพทย์ #เป้นักเรียน #น้ำหนักกระเป๋า #PRD12



โดย: หมอหมู วันที่: 2 สิงหาคม 2562 เวลา:13:45:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]