Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด








ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด


พบใน เพศชาย มากกว่า เพศหญิง

อายุเฉลี่ย 40 ปี (12-70 ปี)

ประมาณ ร้อยละ 20 จะเป็นทั้งสองข้าง


สาเหตุ

1. เกิดขึ้นเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิด ได้ชัดเจน

2. เกิดจากสาเหตุ หรือโรคอื่น ที่นำมาก่อน เช่น อุบัติเหตุ กระดูกสะโพกหัก ข้อสะโพกหลุด การฉายรังสีเพื่อรักษาโรค ใช้ยาสเตียรอยด์ โดยเฉพาะจากยาลูกกลอน ยาชุดแผนโบราณ ยาชุดแก้ปวด ดื่มสุรา กระดูกพรุน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น


อาการและอาการแสดง


ในระยะแรก จะมีอาการเจ็บปวดข้อสะโพก เดินลำบาก เดินกะเผลก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

ในระยะท้ายของโรคจะมาด้วยอาการของข้อเสื่อมสภาพ เช่น เจ็บบริเวณขาหนีบด้านหน้าหรือบริเวณสะโพก รู้สึกขัดๆ ฝืดๆ บริเวณสะโพกหรือเดินไม่คล่องในตอนเช้า บางรายอาจมีอาการปวดเข่า ปวดหลัง ร่วมด้วย



แนวทางรักษา

ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการ ยังไม่มีกระดูกยุบตัวมาก แพทย์จะเริ่มรักษาด้วย ยา เพื่อลดความเจ็บปวด ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว การออกกำลังกายที่เหมาะสม ทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการเจ็บปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบข้อสะโพก ใช้ไม้เท้าหรือไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดิน ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อสะโพก

ถ้าอาการมากขึ้น และ หัวกระดูกสะโพกยุบตัวมากขึ้น อาจต้องรักษาโดย การผ่าตัดเจาะหัวกระดูกสะโพก ผ่าตัดเสริมกระดูกเข้าไปในหัวกระดูก หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก

แต่ส่วนใหญ่ โรคจะดำเนินต่อเนื่อง หัวสะโพกจะยุบลงไปอีก จนต้อง ผ่าตัดเชื่อมข้อสะโพก (ในคนอายุน้อย ) หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกสะโพกเทียม ถ้าข้อสะโพกเสื่อมมาก อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ( ผ่าตัดเปลี่ยนทั้ง เบ้าสะโพก และ หัวกระดูกสะโพก) แต่มีข้อจำกัดคืออายุการใช้งาน ของหัวสะโพกเทียม ประมาณ 10 -15 ปี


แพทย์อาจนัดตรวจ นัดเอกซเรย์ เป็นระยะ ( ทุก 6 เดือน – 1 ปี ) เพราะ ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเป็นมากขึ้น และบางครั้ง ก็จะมีอาการเพิ่มขึ้นในข้อสะโพกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยได้ในระยะแรก ๆ การรักษาจะได้ผลดีกว่า

ถ้ามีข้อสงสัย กรุณาสอบถาม ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ที่รักษาท่านอยู่ อีกครั้ง

....................

แถม ..

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก (Total Hip Replacement)
//goo.gl/07QhC7
//www.jointdee.info

โรคของข้อสะโพกที่พบบ่อย / การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อ
//www.phraehospital.go.th/or/THA.html

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่ำตัดเปลี่ยน. ผิวข้อสะโพกเทียม.
//med.tu.ac.th/orthotu/images/pdf/peoplepdf/advisethr.pdf

วิดิทัศน์ การดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและสำหรับญาติผู้ดูแล
https://youtu.be/6YluQcaGc38




Create Date : 01 สิงหาคม 2551
Last Update : 19 มีนาคม 2558 22:47:17 น. 4 comments
Counter : 19904 Pageviews.  

 
เข้ามาหาความรู้ค่ะ

วันก่อนไปตรวจร่างกาย พบว่าเตี้ยลง 1 ซม. เริ่มสยองละ


โดย: ป้ามด วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:11:15:23 น.  

 

แบบนี้ ป้ามด ต้องระวังแล้วครับ อาจเป็นโรคกระดูกพรุนก็ได้ ..

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=27-02-2008&group=4&gblog=15
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์สามารถบอกได้โดยอาศัยหลาย ๆ วิธีประกอบกันทั้งจาก …

• ประวัติความเจ็บป่วย แต่โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักจะปกติดี จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ลื่นหกล้ม หรือ ตกจากเก้าอี้ เป็นต้น ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อยในโรคกระดูกพรุน คือบริเวณ กระดูกข้อมือ กระดูกหัวไหล่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และ กระดูกส้นเท้า

• ผู้สูงอายุที่มีหลังโก่ง หรือความสูงลดลง ซึ่งเกิดจากกระดูกสันหลังค่อย ๆ ยุบตัวลง โดยความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้วเมื่อเทียบกับความสูงที่สุดช่วงอายุ 25-30 ปี ( ความสูงที่สุด มีค่าเทียบเท่ากับ ความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง )


ยังไง ก็ลองสอบถามหมออีกครั้งนะครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:11:15:55 น.  

 
เพิมเติมจาก เวบไทยคลินิก

//www.thaiclinic.com/medbible/hip_arthroplaty.html

การผ่าตัดผิวข้อสะโพกแบบใหม่


โรคข้อสะโพกในวัยทำงานที่พบบ่อยได้แก่ ข้อสะโพกเสื่อม (Osteoarthritis,OA), ข้อสะโพกขาดเลือด(Avascular Necrosis, AVN), ข้อสะโพกพัฒนาการผิดปกติ (Developmental Hip Dysplasia,DDH)

ในคนไทยพบข้อสะโพกขาดเลือดได้บ่อยสุด ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณการดิ่มเหล้า การใช้สารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

ส่วนสาเหตุของข้อสะโพกเสื่อมในวัยทำงานของคนไทย ที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคข้อสะโพกขาดเลือด ข้อสะโพกรูมาตอยด์ ข้อสะโพกขาดเลือดและเสื่อมจากภาวะไตวาย หรือได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ในวัย 40-65 ปี ผู้หญิงไทยยังพบข้อสะโพกเสื่อมที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อสะโพกพัฒนาการผิด ปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่มีอาการในวัยก่อนชรา


การรักษาในอดีต ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จะพยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนข้อสะโพก เนื่องจากอายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียมในวัยทำงานสั้นกว่าการเปลี่ยนข้อ สะโพกเทียมในวัยชรามาก ประมาณกันว่า หากเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในวัยทำงาน อายุการใช้งานอยู่ได้ประมาณ 10 ปี แต่ถ้าเปลี่ยนในวัยชรา (อายุมากกว่า 60-65 ปี) อายุการใช้งานจะอยู่ได้เท่าตัว คือ มากกว่า 20 ปีขึ้นไป


สาเหตุที่อายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียมในวัยหนุ่มสาวสั้น เพราะ ข้อสะโพกเทียมแบบดั้งเดิมเป็นข้อต่อแบบหัวโลหะชนกับเบ้าพลาสติกทางการแพทย์ (Ultra High Molecular Weight Polyethylene, UHMWPE) ซึ่งมีข้อดีที่ข้อต่อลื่นไหลดี (Low friction) และทนทาน

แต่เนื่องจากว่าวัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่มีการใช้งานสะโพกหนักมาก แม้ว่าจะเป็นการใช้ตามปกติในชีวิตประจำวันก็ตาม การสึกหรอของพลาสติกเกิดขึ้นได้เร็วและมาก เศษชิ้นส่วน(Debris)จากเบ้าพลาสติกที่สึกหรอนั้น เมื่อปริมาณสะสมมากขึ้น จะกระตุ้นให้ร่างกายจะกำจัดโดยกระบวนภูมิคุ้มกัน ผ่านการทำงานของเม็ดเลือดขาว และมีผลข้างเคียงให้เนื้อเยื่อโดยรอบสะโพก รวมทั้งกระดูกยึดเกาะกับข้อสะโพกเทียมละลายตัว (Osteolysis)


การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเดิม

ข้อสะโพกเทียมที่ใส่อยู่จะเกิดอาการหลวมจากการละลายการยึดเกาะของกระดูกได้ เร็วกว่าปกติ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยวัยทำงานเมื่อใช้งานไปได้ 5-10 ปี จะมีการปวดสะโพกอีก และศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ จึงจำเป็นแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่(Revision Surgery) ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่นี้ ผลการรักษาและอายุการใช้งานจะแย่กว่าการผ่าตัดครั้งแรกมาก หมายความว่า อายุการใช้งานหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่นี้ น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้เป็นเพราะกระดูกรอบข้อสะโพกเหลือน้อยกว่ากรณีการผ่าตัดครั้งแรกมาก เนื่องการการหลอมละลายของกระดูก (Osteolysis) และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกมีพังผืดอันเป็นผลมาจากการผ่าตัดครั้งแรก


การรักษาแบบใหม่

การผ่าตัดแบบใหม่เพื่อใช้ในวัยทำงานได้รับการพัฒนาขึ้น ครั้งแรกในเบอริมิงแฮม ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ 1991 และได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก ช่วยให้ผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายหนักได้ ข้อสะโพกแบบใหม่นี้เป็นแบบโลหะชนกับโลหะ แทนที่จะเป็นโลหะชนกับพลาสติกทางการแพทย์

นอกนี้หัวสะโพกมีขนาดใหญ่เท่ากับหัวสะโพกเดิมของผู้ป่วย (ข้อสะโพกคนไทยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40-52 มิลลิเมตร) ซึ่งข้อสะโพกเทียมดั้งเดิมจะมีขนาดหัวสะโพกเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 28 มิลลิเมตร ทำให้การหลุดของสะโพกในข้อสะโพกเทียมแบบใหม่ยากกว่าในข้อสะโพกเทียมแบบดั้ง เดิม หัวสะโพกใหญ่จะหลุดยากกว่า หัวสะโพกเล็ก

ผู้ป่วยข้อสะโพกในวัยทำงานที่เป็นชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก (ทั่วโลกมีมากกว่า 1 แสนข้อในปัจจุบัน) ที่รับการรักษาด้วยข้อสะโพกแบบใหม่นี้ ประทับใจในผลการรักษามาก ทำให้เกิดความนิยมอย่างรวดเร็วมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นข้อสะโพกเทียมเบอร์มิงแฮม

สำหรับในประเทศไทย เริ่มมีการรักษาแบบใหม่แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายนัก แต่ผลการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งแพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมกันวางแผนการรักษา เพราะถ้าหากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบดั้งเดิมไปแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนใจมาผ่าตัดข้อสะโพกแบบใหม่นี้ได้เลย

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.thaibhr.org

พ.ต.ท. นพ. วิโรจน์ ลาภไพบูลย์พงศ์
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขา ข้อสะโพกและข้อเข่า


โดย: หมอหมู วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:11:00:48 น.  

 

จากกระทู้ในห้องสวนลุม

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9863826/L9863826.html#11

ความคิดเห็นที่ 7

การรักษา

จุดมุ่งหมายในการรักษาภาวะหัวกระดูกต้นขาตาย จากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง คือ การพยายามจะหยุดยั้งการดำเนินของโรคไม่ให้ดำเนินต่อไปจนเกิดความเสียหายต่อ ข้อสะโพก

ส่วนของหัวกระดูกต้นขาที่ตายแล้วไม่สามารถจะทำให้กลับมาเป็นปกติได้อีก

ในรายที่เป็นมากแล้วการรักษาจะเป็นการทดแทนข้อที่เสียไป เพื่อลดอาการปวดและการใช้งานได้

การพิจารณาว่าจะให้การรักษาชนิดใดจะต้องคำนึงถึงขนาดของรอยโรค ระยะของโรค การยุบตัวของหัวกระดูกต้นขาว่ายุบมากหรือน้อยเพียงใด และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา

โดยมีแนวทางการรักษาดังนี้

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

1.1 การให้ยาเพื่อลดการตายของกระดูก เพื่อให้โอกาสฟื้นตัวของกระดูกมีมากขึ้น การให้ยาในกลุ่มการยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือด เป็นต้น ในกรณีที่มีไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคอ้วน ต้องบำบัดรักษาภาวะดังกล่าวเพื่อช่วยลดการเสี่ยงในการเกิดโรค

1.2 ลดการใช้งานของข้อและกระดูกจะช่วยให้มีการฟื้นตัวของกระดูกส่วนที่ตายและลดการลงน้ำหนัก จะป้องกันการผิดรูปมากขึ้น

1.3 การใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา แต่ยังอยู่ในขั้นวิจัยศึกษา


2. การรักษาโดยการผ่าตัด

2.1 การเจาะรูระบายเพื่อลดความดันในโพรงกระดูกของหัวกระดูกต้นขา (core decompression) โดยใช้สว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร เจาะรูจากกระดูกต้นขาเข้าไปยังส่วนหัวกระดูกส่วนที่ตาย เพื่อลดความดันในโพรงกระดูกและเป็นช่องทางเพื่อให้เส้นเลือดลอดเข้าไปในส่วน ที่ตายอีกทางหนึ่ง ใช้รักษาผู้ป่วยในระยะที่ 1 และ 2 ของโรค สามารถหยุดการดำเนินของโรคได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ (อารีศักดิ์ โชติวิจิตร , 2547 : 250)

2.2 การปลูกกระดูก (bone graft) โดยใช้กระดูกคอร์ทิคอล (cortical bone) หรือกระดูกแคนเซลลัส (cancellous bone) ในการทำโดยใช้กระดูกที่เตรียมมาใส่เข้าไปในช่องที่เจาะบริเวณปุ่มกระดูกต้น ขา เข้าไปหาส่วนของหัวกระดูกต้นขาที่ตายและยุบตัว เพื่อเป็นตัวค้ำยันไม่ให้หัวกระดูกต้นขาทรุดลงมา โดยเป็นวิธีการรักษาในผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 1 , 2 และ 3 ของโรค

2.3 การตัดต่อกระดูก (osteotomy) คือ การผ่าตัดจัดให้ส่วนของหัวกระดูกต้นขาหมุนหลบส่วนที่รับน้ำหนักออกไป และเอาส่วนของหัวกระดูกที่ยังดีอยู่หันเข้ามาไว้แทน เป็นวิธีการรักษาในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 3 ของโรค

2.4 การปลูกกระดูกฟิบูลาร์โดยใช้เส้นเลือดร่วมด้วย (vascularizied fibular bone graft) เป็นการผ่าตัดที่พยายามนำเส้นเลือดส่วนที่เกิดการอุดตันของหัวกระดูกต้น ขากลับมาใช้ใหม่ โดยใส่กระดูกฟิบูลาร์ที่มีเส้นเลือดหุ้มอยู่ใส่เข้าไปในช่องที่เจาะ จากบริเวณปุ่มกระดูกต้นขา ไปสู่ส่วนหัวกระดูกที่ตาย เป็นวิธีการรักษาในผู้ป่วยระยะที่ 2 , 3 และ 4 ของโรค

2.5 การผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกต้นขาแล้วใส่ข้อเทียม (hemiarthroplasty) เป็นการผ่าตัดเอาหัวกระดูกต้นขาที่ตายออกไปแล้วใส่ข้อเทียมแทน การผ่าตัดนี้ไม่ได้เปลี่ยนส่วนที่เป็นเบ้าสะโพก ใช้รักษาในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ 3 ของโรค และเบ้าสะโพกยังมีสภาพที่ดีอยู่

2.6 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อ (total hip arthroplasty) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนทั้งหัวกระดูกต้นขาและเบ้าสะโพก เป็นวิธีการรักษาในผู้ป่วยระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรค



ปล.กระดูกที่ตายไปแล้วไม่สามารถกลับคืนมาได้

จากคุณ : vapium
เขียนเมื่อ : 30 ต.ค. 53 20:10:58





โดย: หมอหมู วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:11:02:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]