การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ VERTEBROPLASTY ( VP )
ดัดแปลงจาก //www.kawin.co.th
กระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกสูญเสียมวลกระดูกไป ทำให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรงและเป็นผลให้เกิดการแตกหักง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหัก ได้บ่อย เช่น ข้อสะโพก ข้อมือ และ กระดูกสันหลัง
อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก ในเพศหญิงมี 40% เพศชาย 13%
อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสันหลังยุบ ในเพศหญิง 16% ชาย 5% พบกระดูกสันหลังยุบอย่างน้อย 1 ครั้ง ในเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี พบ 18% แต่ถ้าอายุมากกว่า 65 ปี จะพบถึง 27%
ในอดีต การรักษา กระดูกสันหลังยุบ คือ นอนพักนิ่งๆ ลดการเคลื่อนไหว ร่วมกับ ยาแก้ปวด (ชนิดฉีดหรือกิน แล้วแต่ความรุนแรงของความเจ็บปวด) ใส่เฝือกพยุงหลัง สุดท้ายคือรักษาด้วยการผ่าตัด
VERTEBROPLASTY (VP) คืออะไร
VP คือ วิธีฉีดซีเมนต์ยึดกระดูกเข้าไปในตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ เพื่อเสริมกระดูกโดยตรง ช่วยลดอาการปวดหลังและป้องกันกระดูกสันหลังปล้องนั้นไม่ให้เกิดการหักยุบอีก
โดยทั่วไป 1 ปล้อง กระดูกสันหลังจะใช้ซีเมนต์ประมาณ 4-12 ซีซี
VP ให้ผลดีอย่างไร
ช่วยลดอาการปวดหลังและสามารถให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังฉีด
2-3 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วย 65% สามารถหยุดการใช้ยาแก้ปวดได้ บางรายหายจากความเจ็บปวดหลังเลย
75% ของผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
VP ไม่สามารถแก้ไขภาวะหลังค่อมจากกระดูกผุได้ แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้หลังค่อมมากขึ้น
VP ใช้รักษากระดูกสันหลังปล้องที่หักยุบเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการหักยุบของปล้องอื่นในอนาคต
วิธีการทำ VP
VP เป็นวิธีการใช้เข็มขนาด 11-13 gauge แทงเข้าตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ อาจผ่านทางตัวกระดูกสันหลังโดยตรงหรือผ่านทางก้านของกระดูกสันหลัง ให้ปลายเข็มอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้า 1/3 ของตัวกระดูก ตำแหน่งของเข็มจะถูกกำหนดโดยเครื่องเอกซเรย์โดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจได้รับยาชาเฉพาะที่ ยาฉีดให้หลับหรือยาสลบก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
สารซีเมนต์ที่ใช้ยึดกระดูกมีคุณสมบัติคล้ายกาวหรือ epoxy หลังฉีด ซีเมนต์จะแข็งตัวภายในเวลา 10-20 นาที
อันตรายของการทำ VP
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ 1-3% ในรายกระดูกสันหลังยุบ และ 7-10% ในรายของมะเร็งกระดูกสันหลัง
1. เสียเลือด
2. การติดเชื้อ
3. ปวดรุนแรงมากขึ้น
4. การรั่วซึมของสารซีเมนต์ตามรอยแตกออกไปนอกตัวกระดูกสันหลัง เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลังและหลอดเลือดหรือรากประสาท ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องทำการฝ่าตัดเอาซีเมนต์ออกแต่อย่างใด
5. กระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลังหัก
6. ไข้
ผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการทำ VP
1. มีอาการปวดหลังเรื้อรังเกินกว่า 6 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุจากกระดูกสันหลังหักยุบ
2. เมื่อให้การรักษาแบบอนุรักษ์มาแล้วไม่ได้ผล
3. เคลื่อนไหวลำบาก ปวดมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว หรือ ยืน เดิน นั่งนาน ไม่ได้
4. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 70 ปี แต่ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะกระดูกพรุน ก็อาจจำเป็นต้องใช้ VP ช่วย
ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะต่อการทำ VP
1. กระดูกสันหลังยุบ และ กระดูกติดสนิทแล้ว ซึ่งมักจะไม่มีอาการปวด
2. หมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อน
3. มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง
4. กระดูกสันหลังแตก และ มีการกดทับของไขสันหลังหรือเส้นประสาท
การดูแลหลังการทำ VP
- หลังทำ VP มักให้นอนหงายราบ 2-3 ชั่วโมง
- อาจทำ VP เป็นกรณีผู้ป่วยนอก ซึ่งผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังฉีด VP 2-3 ชั่วโมง ในกรณีที่บ้านใกล้หรือนอนพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน การอยู่โรงพยาบาลเหมาะกับในรายสูงอายุมากๆ
- มักทำ CT scan ซ้ำ หลังทำ VP
- หลังทำ VP มักจะมีอาการปวดบริเวณบาดแผลรอบเข็มภายใน 24 ชั่วโมงแรก อาจใช้น้ำแข็งประคบหรือยาแก้ปวด พาราเซตตามอล หรือ ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ น้อยรายที่จะต้องใช้ยาแก้ปวดชนิดแรงๆ
- อาจมีอาการท้องอืด ถ้าท้องไม่อืดให้กินอาหารอ่อนได้ตามปกติ
- อาการเจ็บหลังจะหายไปทันทีหรือ 2-3 วัน หลังทำ VP หากเกิน 3 วันแล้ว ยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ ให้ติดต่อแพทย์
- แพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ เพื่อติดตามผลการรักษาในวันที่ 2 หรือ 7 หลังการฉีด
วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17
แถม ....
มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย //www.topf.or.th กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15 กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง ... ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ //taninnit-osteoporosis.blogspot.com/ แบบทดสอบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน //www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=21 การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONEDENSITOMERY) //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16 ยาเม็ดแคลเซียม //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19 การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=21
Create Date : 24 มิถุนายน 2551 |
Last Update : 8 พฤษภาคม 2558 15:17:47 น. |
|
5 comments
|
Counter : 16706 Pageviews. |
|
 |
|
ในเวบนี้ จะมีรูปภาพ วิธีการฉีดซีเมนต์ ด้วยนะครับ ... ผมคัดลอกมาเฉพาะข้อความ เท่านั้น ..
//www.pantown.com/board.php?id=16178&area=3&name=board6&topic=30&action=view
การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก (Vertebroplasty)
เกิดศิริ ธรรมนำสุข พย.บ.
งานการพยาบาลรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เกิดศิริ ธรรมนำสุข.การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะ ทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย. 2008, 1 : 20-23
คำนำ
โรค กระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกระดูกบางลง และมีโอกาสที่กระดูกสันหลังหักยุบโดยง่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังอย่างมาก แม้จะมีแนวทางการรักษาให้วิธี เช่น การนอนพัก การใช้ยาแก้ปวด การใส่เสื้อเกราะพยุงหลังและการทำกายภาพบำบัด แต่ในผู้ป่วยบางรายยังไม่อาจบรรเทาอาการปวดได้
การรักษาแนวทางใหม่ที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดได้ ได้แก่ การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลังที่หลังยุบ (Vertebroplasty) ซึ่งเป็นการรักษาแนวใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกจะซ่อมบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้กระดูก สันหลังยุบตัวมากขึ้น อาการปวดจะดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังการฉีดซีเมนต์ ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปกติผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังหักยุบ (Fracture/collapse) จากกระดูกบางมักไม่แสดงอาการในตอนแรก อาการจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่มีบางรายที่เกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลันจนขยับตัวและลุกเดินไม่ได้
แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะตรวจร่างกาย ซักถามอาการและส่งตรวจทางรังสีเพื่อวินิจฉัย เพื่อดูกายภาพของกระดูกสันหลังและวินิจฉัยรอยโรคและตำแหน่งของกระดูกสันหลัง ที่ยุบตัว การตรวจวินิจฉัยดังกล่าว ได้แก่ การถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกสันหลัง การตรวจกระดูกสันหลังด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอหรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เมื่อพบโรคแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะส่งต่อผู้ป่วยให้รังสีแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษา ด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก ซึ่งทางรังสีแพทย์จะให้คำปรึกษาและให้ผู้ป่วยลงนามยินยอมรับการรักษาก่อน
1. การเตรียมตัวก่อนการฉีดซีเมนต์
ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีและมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
2. ขั้นตอนการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก
การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกจะกระทำในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ (Lumbar block) โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนคว่ำหน้าเนื่องจากเป็นท่าที่ใช้ในการฉีดซีเมนต์ขณะที่ทำการรักษา อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แพทย์จะกรีดผิวหนังเป็นรอยเล็กๆ เพื่อสอดเข็มผ่านกล้ามเนื้อไขสันหลังจนปลายเข็มอยู่ตำแหน่งกระดูกสันหลังข้อที่หักยุบ ซีเมนต์ที่ฉีดเข้าไปในกระดูกสันหลังจะแข็งตัวภายใน 10-20 นาที ซีเมนต์ที่แข็งตัวจะยึดกระดูกสันหลังเหมือนเกราะภายใน จึงเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกสันหลังที่หักยุบ
เข็มฉีดซีเมนต์มีลักษณะกลวงขนาดหลอดกาแฟ
ส่วนซีเมนต์มีลักษณะคล้ายกาวหรือยาสีฟันซึ่งเป็นส่วนผสมของโพลีเมธิลเมธาคริ เลต (Poly methyl methacrylate) (PMMA) และผงแบบเรียมกับสารละลาย
3. ผลของการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก
การฉีดซีเมนต์เข้าไปที่ตัว กระดูกสันหลังจะช่วยยืดและเสริมกระดูกให้แข็งแรง การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกไม่ช่วยแก้ไขกระดูกสันหลังที่โก่งงอที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน เพียงแต่ช่วยไม่ให้หลังโก่งงอมากขึ้น ลดความเจ็บปวดจากการที่กระดูกสันหลังยุบ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหยุดหรือลดการใช้ยาแก้ปวดอย่างเห็นได้ชัดและกลับมาทำ กิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
4. การปฏิบัติตัวภายหลังการได้รับการฉีดซีเมนต์
ผู้ป่วยอาจเจ็บบริเวณรอยเข็มที่ถูกแทง ให้ใช้แผ่นประคบความเย็นเพื่อลดอาการปวด นอนพักบนเตียง 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์แข็งตัวและสังเกตอาการต่ออย่างต่อเนื่อง จากนั้นผู้ป่วยสามารถยืนหรือเดินได้เล็กน้อยโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลย
5. ภาวะแทรกซ้อน
การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยและเพียงชั่วคราวได้แก่ มีไข้ อาการปวดรุนแรง 2-3 ชั่วโมงหลังทำเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากซีเมนต์แข็งตัว
ซีเมนต์กระดูกที่ฉีดเข้าไปอาจมีการซึมออกจาก กระดูกสันหลัง เล็กน้อยซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรง นอกเสียจากซีเมนต์จะหลุดเข้าไปในตำแหน่งที่อันตราย เช่น ช่องไขสันหลัง (spinal canal)
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ กระดูกสันหลังหรือซี่โครงหัก ภาวะเลือดออกปวดหลังเพิ่มขึ้นและอาการทางระบบประสาท เช่นอาการชา อัมพาต ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยมาก
6. ข้อจำกัดในการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก
1. ผู้ป่วยกระดูกสันหลังยุบจากกระดูกบางซึ่งยึดติดไปแล้ว หรือใช้การรักษาตามอาการแล้วได้ผล
2. มีการตอบสนองกระดูกสันหลัง, การติดเชื้อในกระแสเลือด
3. มีการยุบตัวของกระดูกสันหลังมากกว่า 80-90%
4. กระดูกสันหลังหักนานกว่า 1 ปี
5. มีปัญหาการจับตัวของลิ่มเลือดที่ไม่ได้รักษาเพราะอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ
บรรณานุกรม
1.//www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=vertebro&bscp=1
2.Predey TA., Sewall LE. Smith SJ. Percutaneous Vertebroplasty: New Treatment for Vertebral Compression Fractures. American Family Physician, 2002;1-7