Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรครูมาตอยด์ในเด็ก

โรครูมาตอยด์ในเด็ก

ดัดแปลงจากเอกสาร ของสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย



โรครูมาตอยด์ในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้อที่มีจำนวนกว่า 50 โรค พบได้ในเด็ก แต่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่จากการศึกษาพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด และพันธุกรรม

โรครูมาตอยด์ในเด็กจะเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง อาจมีข้ออักเสบอยู่นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ในบางรายอาจเป็นไปตลอดชีวิต ในขณะที่บางรายอาจโชคดีที่โรคสามารถสงบลงได้หรือสามารถควบคุมโรคได้

อาการและอาการแสดง อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามอาการนำเริ่มต้นของโรคดังนี้

1. กลุ่มที่มีไข้สูง พบได้น้อย เด็กจะมีข้ออักเสบร่วมด้วย อาจมีตับม้ามโต มีปอดอักเสบและหัวใจอักเสบร่วมด้วย

2. กลุ่มที่มีข้ออักเสบหลายข้อ จะมีอาการและอาการแสดงคล้ายโรครูมาตอยด์ในผู้ใหญ่

3. กลุ่มที่มีข้ออักเสบ 2-3 ข้อ ในกลุ่มนี้ถ้าเป็นเด็กหญิงอายุน้อยจะมีโอกาสเกิดตาอักเสบทำให้ตาบอดได้ ในขณะที่ถ้าเป็นเด็กชายและอายุมาก อาจมีกระดูกสันหลังอักเสบร่วมด้วยได้


การวินิจฉัยโรค

ส่วนใหญ่แพทย์มักจะวินิจฉัยได้จาก ประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักไม่ช่วยในการวินิจฉัย แต่ช่วยแยกโรคที่คล้ายโรครูมาตอยด์ในเด็กออกไป การตรวจหารูมาตอยด์ในเลือดจะให้ผลลบ

การตรวจทางภาพรังสีอาจช่วยบอกความรุนแรงของโรคและพยาธิสภาพที่ข้อถูกทำลาย

แนวทางรักษา

1. การรักษาทางยา เช่น แอสไพริน ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดีอาจต้องพิจารณาใช้เกลือทองคำ (gold salt) ในการรักษา แต่ยานี้มีผลข้างเคียงมาก ควรใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

2. การบริหารร่างกาย จะช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่ติดขัด และเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

3. การผ่าตัด เป็นหนทางสุดท้ายที่นำมาใช้รักษา และจะพิจารณาในรายที่ข้อถูกทำลายอย่างมาก มีการผิดรูปไป หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในข้อ เป็นต้น

4. การตรวจตา เด็กโรครูมาตอยด์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีข้ออักเสบเพียง 2-3 ข้อ อาจมีปัญหาตาอักเสบได้ ซึ่งถ้าเป็นเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ เด็กจึงควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

5. การดูแลจากครอบครัว ครอบครัวจะมีส่วนสำคัญมากในการช่วยการดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์ พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้ความรัก ส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษา ได้ออกกำลังกาย ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง
บางครั้งเด็กอาจมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากเขาคิดว่าเขามีร่างกายไม่สมบูรณ์เช่นเด็กคนอื่น หรือ คิดว่าเขามีความผิดอะไร ทำไมจึงต้องเป็นเขาที่เป็นโรคนี้ เป็นต้น พ่อและแม่จะต้องให้กำลังใจ ปลอบโยนให้เขายอมรับความจริง

6. การดูแลจากโรงเรียน ถึงแม้เด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์ จะมีความผิดปกติทางร่างกาย และ อาจมีรูปร่างเล็กกว่าเด็กคนอื่นในอายุที่เท่ากัน แต่สมองของเด็กเหล่านี้จะปกติ ครูจะต้องช่วยดูแลเด็ก ให้ความอบอุ่น คอยส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม ควบคุมการรับประทานยา และรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน เพื่อให้พ่อแม่และแพทย์ทราบ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงและให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป



Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2551 18:31:46 น. 1 comments
Counter : 7276 Pageviews.  

 


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4

โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7

โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9

โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1

เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php

เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php



โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:23:57:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]