Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)

ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)b>


คำชี้แจง :

ข้อมูลต่อไปนี้ ไม่ได้ทดแทนการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์ ไม่ได้บอกว่ายานี้ปลอดภัย เหมาะสม หรือ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่คุณเป็นอยู่

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยานี้ เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงสูง ไม่แนะให้ซื้อยาใช้เอง ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และ ต้องตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าเกิดผลข้างเคียงบ้างหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเจาะเลือดครั้งแรกก่อนให้ยา และ อาจเจาะเลือดตรวจ ทุก 3 – 6 เดือนหลังจากได้รับยา



ข้อบ่งชี้การใช้ยา :

ยานี้ใช้ในโรคมะเร็งบางชนิด โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน หรือ โรคข้ออักเสบที่เป็นรุนแรง ซึ่งถ้าใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง จะใช้ปริมาณยาสูงมากกว่าปริมาณที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบหลายสิบเท่า


การใช้ยา :

ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรปรับเพิ่ม หรือ ลดยาเอง ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หลังรับประทานยา

สำหรับโรครูมาตอยด์ โดยส่วนใหญ่จะรับประทานยา 3 เม็ดต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจแบ่งเป็น ครั้งละเม็ดวันเว้นวัน หรือ จะรับประทานครั้งเดียว 3 เม็ดเลยก็ได้ แต่ควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น 3 เม็ดเช้าวันจันทร์ หรือ 1 เม็ดเช้าวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เป็นต้น ในผู้ที่มีอาการมาก อาจเพิ่มยามากขึ้น ซึ่งก็มีผลข้างเคียงมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นแพทย์จึงจะปรับยาเป็นระยะเพื่อให้ยาในปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่จะควบคุมอาการได้ ถ้าอาการดีขึ้นจะลดปริมาณยาลง


ผลข้างเคียง :

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หรือ วิงเวียนศีรษะได้ ถ้ามีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ควรบอกแพทย์ ถ้ามีอาการต่อไปนี้: เจ็บคอ แสบในปาก ท้องเสีย มีไข้ มีเลือดออกผิดปกติ อุจจาระมีสีดำ ปัสสาวะมีสีดำ ผื่นคัน ผิวหนังมีสีเปลี่ยนไป มีจ้ำเลือด หรือ รู้สึกแสบร้อนผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ปวดในกระดูก


อาการแพ้ยา :

ผื่น คัน บวม มีไข้ หายใจขัด ถ้ามีอาการดังกล่าวควรบอกแพทย์ทันที


ข้อควรระวัง :

ควรบอกแพทย์เกี่ยวกับความเจ็บป่วยในอดีต โดยเฉพาะ โรคไต โรคตับ โรคปอด และ โรคอีสุกอีใส

อาจเกิดอาการแพ้แสงแดด ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดแรง ๆ ใส่หมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว

หลังสัมผัสกับยา ควรล้างมือเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตาหรือจมูกโดยไม่ได้ล้างมือ

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการได้รับวัคซีน ระหว่างรับประทานยา

งดการดื่มแอลกอฮอล์

ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้กำลังให้นมบุตร ถ้าสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ทันที


ปฏิกิริยากับยาอื่น :

ควรบอกแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เช่น ยาซัลฟา หรือ ยาปฏิชีวนะ; ยาบำรุงเลือด (folic acid); ยากันชัก (phenytoin) ; ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ( brufen naproxen aspirin); ยาโรคหัวใจ (digoxin) ; ยาโรคหอบหืด ( theophylline ) ; ยาเพิ่มการขับกรดยูริกในโรคเก๊าท์ (probenecid) หรือ ยาอื่น ๆ ที่มีผลต่อตับ เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน


ผลข้างเคียงเมื่อได้รับยามากเกินไป :

คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องเสีย หรือ อ่อนเพลียมาก


เมื่อลืมทานยา :

ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาในครั้งต่อไปเอง


การเก็บยา :

เก็บยาในอุณหภูมิห้อง (15-30 องศาเซนเซียส) หลีกเลี่ยงแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2551 19:17:01 น. 1 comments
Counter : 8628 Pageviews.  

 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4

โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7

โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9

โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1

เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php

เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php


โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:23:57:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]