|
 |
|
 |
 |
|
 |
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
 |
|
|
 |
|
บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุของผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นภายในบ้าน ซึ่งอาจทำให้เกิดกระดูกหักได้แม้ว่าจะหกล้มเบา ๆ
ดังนั้นบ้านที่มีผู้สูงอายุอยู่ ควรมีการปรับปรุงหรือออกแบบให้มีสภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีความผิดปกติของร่างกาย ทั้งที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรือการเสื่อมสภาพของร่างกายตามธรรมชาติ
มีข้อแนะนำในการออกแบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับผู้สูงอายุดังนี้
1.พื้นบ้านและทางเดิน
ควรเป็นระดับเดียวกัน และใช้วัสดุที่เปียกน้ำแล้วไม่ลื่น
ไม่ควรทำพื้นต่างระดับหรือธรณีประตู และไม่ทิ้งสิ่งกีดขวางให้เกะกะ ทางเดิน เพราะอาจจะเกิดการสะดุดล้มได้
2.บันได
ควรจัดให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องใช้บันไดหรือใช้ให้น้อยที่สุด
บันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ด้าน บันไดแต่ละขั้นควรสูงน้อยกว่า 15 ซม. และมีความลึกของบันไดมากกว่า 30 ซม. และใส่ยางกันลื่นบริเวณขอบบันได
3. ราวจับ
ควรมีตลอดแนวทางเดิน ราวจับควรมีลักษณะกลม มีขนาดที่จับได้พอเหมาะ และควรอยู่สูงพอที่จะจับได้ถนัด (ประมาณ 75 ซม.จากพื้น)
ภายในห้องต่าง ๆ ทุกห้องควรมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัวเวลาลุกยืนหรือเดิน
4. แสงสว่าง ภายในบ้านโดยเฉพาะ ห้องน้ำ ทางเดินและบันไดควรจัดให้มีความสว่างที่เพียงพอ ไม่มืด แต่ก็ ไม่ควร สว่างจ้าเกินไปเพราะทำให้ตาพร่าได้
5. เฟอร์นิเจอร์
ควรมีความสูง–ต่ำที่พอเหมาะ การจัดวางสิ่งของก็ไม่ควรวางสูงจนต้องเขย่งขาหรือต่ำจนต้องก้มหรือคุกเข่าเพื่อหยิบของ
ควรใช้เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดบ้าน เช่น ใช้ไม้ถูพื้น แทนการนั่งถูพื้น ควรยืนรีดผ้าแทนการนั่ง ของใช้ในตู้ที่ใช้บ่อยควรวางในระดับที่หยิบได้พอดี
ควรให้ผู้สูงอายุนอนบนเตียงและนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงระดับหัวเข่า
6. ห้องน้ำ
เป็นห้องที่สำคัญและมักจะเป็นสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
พื้นห้องน้ำควรเป็นระดับเดียวกัน ไม่มีธรณีประตูหรือพื้นต่างระดับ และ ผ้าเช็ดเท้าควรจะไม่หนาเกินไปเพราะอาจทำให้สะดุด หรือ เหยียบแล้วลื่นได้
วัสดุที่ปูพื้นห้องน้ำก็ต้องไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ
ควรใช้โถนั่งหรือชักโครก
ควรมีที่นั่งเพื่อนั่งเวลาอาบน้ำหรือสระผม
มีราวจับช่วยพยุงตัว
ก็อกน้ำควรเป็นแบบคันโยกโดยใช้มือดึงหรือดันเพื่อปิด-เปิดน้ำ ไม่ควรเป็นแบบลูกบิดหรือแบบหมุน
ไม่ควรลุกเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน ควรใช้กระโถนหรืออุปกรณ์ขับถ่ายข้างเตียงจะดีกว่า
7. ประตู
ควรเป็นแบบเลื่อน ซึ่งเปิด-ปิดโดยใช้แบบมือจับดึงหรือดัน ไม่ควรใช้ลูกบิด
ประตูควรกว้างพอสำหรับการเข้าออกพร้อมกัน 2 คน เผื่อว่าจะต้องมีคนช่วยพยุง หรือ กว้างพอที่จะเข็น รถเข็นเข้าออกได้สะดวก
8. ในห้องและทางเดินควรมีสวิตซ์ฉุกเฉินเป็นระยะ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
 อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์
1. ปวดหลัง และมีอาการปวดร้าวจากหลังหรือสะโพก ลงไปที่น่อง หรือ ขา ร่วมกับมีอาการชา อ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาด้านที่ปวด หรือ ร่วมกับอาการปัสสาวะไม่ออก หรือ มีอาการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้
2. ปวดเข่า ร่วมกับมีอาการเข่าบวม มีไข้
3. มีอาการปวดมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
4. คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติ อาจจะมีอาการปวด หรือไม่มีอาการปวดร่วมด้วย
5. อาการผิดปกติอื่น ๆ ที่เป็นนานมากกว่า 2 อาทิตย์ แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ เป็นแย่ลงกว่าเดิม

ผู้สูงอายุควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้หกล้ม" -------------------------------------
การหกล้มหรือการเดินไม่มั่นคงหรือสูญเสียการทรงตัวนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่เนื่องจากระบบการควบคุมการทรงตัวของผู้สูงอายุจะเสื่อมสภาพไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น และการเสื่อมถอยลงในลักษณะของมวลกระดูกที่ลดลงหรือเรียกว่า ภาวะกระดูกพรุน หากสองประเด็นปัญหานี้โคจรมาพบกันก็คงลงเอยด้วยการเกิดกระดูกหัก ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของผู้สูงวัยเป็นอย่างยิ่ง
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม? 1 พิจารณาจากประวัติการหกล้มในปีที่ผ่านมาหรือประวัติเสียการทรงตัว ทำให้การเดินไม่มั่นคงเหมือนที่เคยเป็น
2 ตรวจประเมินความสามารถในการทรงตัว ซึ่งแพทย์สามารถทำได้โดยวิธีง่ายๆ คือ ความสามารถในการยืนขาเดียว ,ยืนต่อส้นควรทำได้นานกว่า 30 วินาที ในขณะทดสอบควรต้องระวังการหกล้มด้วย หากไม่สามารถทำได้เกิน 30 วินาที แสดงว่าท่านเป็นผู้ที่มีการทรงตัวบกพร่อง และมีโอกาสเกิดการหกล้ม
หากท่านเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัวและมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ เช่น โรคทางระบบประสาท การมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจน หรือกรณีเป็นต้อที่มีผลต่อการมองเห็น และการกะระยะ การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาท รวมถึงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย เช่น พื้นลื่น พื้นต่างระดับ แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ สายไฟหรือของระเกะระกะที่อยู่ตามพื้น
การฝึกการทรงตัว 1 การยืนย่ำเท้าอยู่กับที่เหมือนทหารเดินสวนสนาม 2 การฝึกยืนย่อเข่าเล็กน้อยแล้วเหยียดเข่าขึ้น 3 การฝึกยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลง 4 การฝึกยืนเอื้อมให้ไกลที่สุดโดยไม่ล้ม
เมื่อทำได้ดีขึ้น ให้เพิ่มเป็นการฝึกเดินเขย่งปลายเท้า เดินส้นเท้า เดินไปด้านข้าง เดินถอยหลัง และเดินต่อส้น เป็นต้น โดยขณะเริ่มทำ ควรหาที่เกาะที่มั่นคงก่อน เช่น โต๊ะ หรือ เก้าอี้ไม่มีล้อ เพื่อป้องกันการหกล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะฝึก
ที่มา แพทยสภา #ผู้สูงอายุ #หกล้ม #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สื่อสารองค์กรMedCMU
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official) https://www.facebook.com/medcmuth/posts/5451768954861416

.................................
Create Date : 21 มีนาคม 2551 |
Last Update : 21 สิงหาคม 2565 13:56:32 น. |
|
5 comments
|
Counter : 2938 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ดา ดา วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:19:46:36 น. |
|
|
|
โดย: Liege วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:20:55:34 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:17:35:07 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 1 กรกฎาคม 2558 เวลา:23:13:40 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา:16:28:24 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
ขอบคุณๆ