|
|
|
|
|
|
|
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
|
|
|
|
|
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ที่พบได้บ่อยที่สุดของบริเวณมือและข้อมือ โดยมี
- ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น
- ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่
-ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ
ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจจะ เป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ
พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี
อาการ
มีก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเมื่อย หรือปวดข้อมือบ้างเล็กน้อย เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ
ถ้ากระดกข้อมือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น
ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต
แนวทางรักษา
1. วิธีไม่ผ่าตัด
ในรายที่ก้อนใหญ่แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการและไม่กังวล ก็อาจปล่อยไว้โดยไม่ต้องผ่าออก เพราะก้อนถุงน้ำนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายและไม่กลายเป็นเนื้องอกร้ายแรง(มะเร็ง)
ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และมีอาการปวด ก็ควรลดการใช้ข้อมือ ให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ สักพักอาการปวดมักจะดีขึ้น ถ้ามีอาการปวดมากอาจจะรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือ ใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์
2. วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก
ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก ๆ ก็อาจกดให้ก้อนแตกออก แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็ควรใช้วิธีใช้เข็มเจาะก้อนแล้วดูดน้ำที่อยู่ภายในก้อนออก อาจจะฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อก้อนแตกหรือเมื่อดูดน้ำในก้อนออก ก้อนก็ยุบหายไป
แต่วิธีนี้มีโอกาสที่จะเกิดก้อนซ้ำขึ้นมาใหม่ ประมาณ 35 - 70 %
3. วิธีผ่าตัด
แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัดเอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ ก็จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ มิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้
ถ้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5 - 15 %
การดูแลหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัดพันผ้าและใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ไว้ 10 – 14 วัน
- ยกแขนสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบวม
- เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังการผ่าตัด แล้วทำแผลวันละครั้งจนถึงวันตัดไหม ( ประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด )
Create Date : 18 กรกฎาคม 2551 |
Last Update : 9 เมษายน 2562 14:12:13 น. |
|
9 comments
|
Counter : 97207 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: whitelady วันที่: 18 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:43:02 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:37:13 น. |
|
|
|
โดย: อ้อม (aom_msw01 ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:25:46 น. |
|
|
|
โดย: garfield07 (garfield07 ) วันที่: 12 เมษายน 2553 เวลา:10:19:14 น. |
|
|
|
โดย: คุณแม่น้องพร้อมบุญ (น้องพร้อมบุญ ) วันที่: 28 มิถุนายน 2553 เวลา:14:21:07 น. |
|
|
|
โดย: ชะเอมหวาน วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:21:32:29 น. |
|
|
|
โดย: ชิชะมะระจิ้มขี้ (ชิชะมะระจิ้มขี้ ) วันที่: 25 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:16:32 น. |
|
|
|
| |
|
|
หมอหมู |
|
|
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]
|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
มาเก็บเอความรู้ดีๆค่ะ
ขอบคุณมากนะค่ะ