Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease



หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก

LCP , Perthes disease , Legg Perthes disease , Legg-Calve'-Perthes disease

ในประเทศอเมริกา พบ 1 ต่อ 1200 ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

พบบ่อยในเด็กอายุ 4 - 8 ปี ( 2 – 14 ปี) พบในเด็กชาย มากกว่า เด็กหญิง ( 4 : 1 )

พบเป็นทั้งสองข้าง ร้อยละ 10



สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีประวัติในครอบครัว ร้อยละ 1.6 – 20

เชื่อว่า เกิดจากเส้นเลือดตีบ จากสาเหตุอะไรก็ตาม ทำให้หัวสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้เนื้อกระดูกภายในส่วนหัวตาย และ ยุบตัวลง


อาการ

ปวดตึงที่ ขาหนีบ ต้นขา หรือ เข่า เดินกระเผลก เนื่องจากขาสองข้างไม่เท่ากันและหัวสะโพกผิดรูป

ช่วงแรกจะเป็น ๆ หาย ๆ บางช่วงก็จะปวดมาก บางครั้งก็ไม่ปวด แต่เดินกะเผลก

อาการมักไม่สัมพันธ์กับลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในภาพเอกซเรย์


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

• เอกซเรย์ธรรมดา

• เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

• ฉีดสีเข้าข้อสะโพก


ปัจจัยทีมีผล ต่อ ผลการรักษา

• อายุของเด็กเมื่อเริ่มเป็นโรค อายุยิ่งน้อย ผลการรักษายิ่งดี โดยเฉพาะ อายุน้อยกว่า 5 ปี

• อ้วน ถ้าน้ำหนักมาก ผลก็มักไม่ค่อยดี

• บริเวณที่เนื้อหัวกระดูกสะโพกตาย ถ้ามีบริเวณกว้าง หัวกระดูกสะโพกก็จะมีโอกาสผิดรูปมากขึ้น ผลไม่ค่อยดี

• ข้อสะโพกเคลื่อน ในขณะที่ยืนลงน้ำหนัก ถ้ามีข้อสะโพกเคลื่อน ผลการรักษาก็จะไม่ดี

• การเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ถ้าเคลื่อนไหวได้น้อย ผลก็จะไม่ค่อยดี



แนวทางรักษา

ไม่ผ่าตัด เช่น

นอนพัก

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ

กายภาพบำบัด ใส่เฝือก (4–6 อาทิตย์) ใส่กายอุปกรณ์ (18–24 เดือน) หรือ ใช้อุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา ถ้าปวดมาก อาจต้องดึงนาน 2-4 อาทิตย์ เมื่ออาการปวดลดลงและเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้ดีขึ้น ก็ให้เดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน




ผ่าตัด

มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของหัวสะโพก เช่น ผ่าตัดกระดูกสะโพก กระดูกต้นขา หรือ กระดูกเชิงกราน




ผลการรักษา ในระยะยาว ค่อนข้างได้ผลดี

ผู้ป่วยร้อยละ 60 สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ

โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มเป็นอายุน้อยกว่า 5 ปี ( ถ้าอายุมากกว่า 9 ปี ได้ผลดีเพียง 10-15 %)

เด็กชาย จะมีผลการรักษาดีกว่า เด็กหญิง



อ้างอิง


//orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00070&return_link=0

//emedicine.medscape.com/article/826935-overview

//www.wheelessonline.com/ortho/legg_calve_perthes_disease

//www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001264.htm

//www.patient.co.uk/doctor/Legg-Calve-Perthes-Disease.htm
//www.orthoseek.com/articles/perthes.html

//www.peds-ortho.com/perthes.html

//www.eorthopod.com/public/patient_education/6624/perthes_disease.html





แถม ...

ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด ในผู้ใหญ่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-08-2008&group=5&gblog=37








 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 19:32:58 น.   
Counter : 10195 Pageviews.  

มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma





เนื้องอกกระดูก ชนิด ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT )

ไจแอนท์ เซล = เซลขนาดใหญ่
ทูเมอร์ = เนื้องอก
ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ = เนื้องอกที่มีเซลขนาดใหญ่

เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจมีการทำลายเนื้อกระดูก หลังจากรักษาแล้วกลับมาเป็นซ้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ปอด (3 %) ซึ่งมักพบใน 3 – 5 ปี

ในอเมริกาและยุโรป พบได้ 5 % ของเนื้องอกกระดูกทั้งหมด(แบบร้ายแรงและไม่ร้ายแรง) และ 21 % ของเนื้องอกกระดูกแบบไม่ร้ายแรง

พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน1.3-1.5:1

พบบ่อยในช่วงอายุ 30 – 40 ปี

ตำแหน่งที่พบ มักอยู่ส่วนปลายของกระดูก 50% พบในบริเวณเข่า รองไปก็เป็น ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า กระดูกก้นกบ

ผู้ป่วยมักมาด้วย อาการปวด บางรายมาด้วยมีกระดูกหัก ( 11 – 37 % )



การวินิจฉัย


เอกซเรย์ปกติ เอกเรย์คอมพิเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจชิ้นเนื้อ


แนวทางรักษา


การผ่าตัด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด มีหลายวิธี เช่น ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก ตัดกระดูกออกทั้งชิ้น ไปจนถึง ตัดอวัยวะ

ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก มีข้อดีคือ กระดูกและอวัยวะใกล้เคียงเดิม แต่ ข้อเสียคือ มีโอกาสเป็นซ้ำ 10 – 29 %

ถ้าผ่าตัดไม่ได้ จึงจะใช้วิธี ฉายแสง ฉีดสารอุดเส้นเลือด

หลังการรักษา 2 - 5 ปี ต้องมาตรวจซ้ำเป็นระยะ เพื่อตรวจร่างกาย เอกซเรย์กระดูก เอกซเรย์ปอด โดยเฉพาะถ้ามีอาการปวด บวม บริเวณที่ผ่าตัด ต้องรีบมาพบแพทย์ เพราะอาจแสดงว่า กลับมาเป็นเนื้องอกซ้ำอีก


ผลการรักษาค่อนข้างดี

ยกเว้น ถ้าแพร่กระจายไปที่ปอด มีโอกาสทำให้เสียชีวิต 16 – 25 % ซึ่งจะรักษาด้วย วิธี ผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด และยาอินเตอร์เฟรอน ( interferon alpha)



อ้างอิง ..

https://emedicine.medscape.com/article/1255364-overview

https://www.bonetumor.org/tumors/pages/page106.html

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00080


สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้องอกของกระดูก

เมื่อมะเร็ง...แพร่กระจายไปที่กระดูก ! นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ
https://www.healthtoday.net/thailand/disease/disease_81.html

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
https://www.chulacancer.net/
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งกระดูก
https://www.chulacancer.net/patient-knowledge.php

โรคมะเร็งกระดูก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/knowledge/bone_cancer

เวบหาหมอ.com
https://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81/

Bone Tumors and Tumorlike Conditions: Analysis with Conventional Radiography1
https://radiology.rsnajnls.org/cgi/content/figsonly/246/3/662

Welcome to our Bone Tumor Pathology
https://www.umdnj.edu/tutorweb/introductory.htm


***************************************


เครดิตภาพ https://medthai.com/มะเร็งกระดูก/

สืบเนื่องจากข่าวนักกีฬาเป็นมะเร็งกระดูกต้นขามีผู้สอบถามทั้งที่คลินิกและส่งข้อความมาสอบถาม เพราะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า " เกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาขาหักแล้วกลายเป็นมะเร็ง " พ่อแม่หลายท่านเลยกังวลจะห้ามไม่ให้ลูกเล่นกีฬา ... แต่ในความเป็นจริงคือ " เป็นมะเร็งกระดูกอยู่แล้วพอเกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาทำให้กระดูกหัก " ...ไม่ต้องกังวลเรื่องการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุทำให้กลายเป็นมะเร็ง

สรุปว่า "การเล่นกีฬา หรือ อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็งกระดูก"ช่วยกันสนับสนุนเด็ก ๆ ให้เล่นกีฬากันต่อไปอย่างสบายใจ

เชิญแวะไปอ่านเรียนรู้ร่วมกัน เวลามีข่าว จะได้เข้าใจ ไม่ตกใจทุกข์ใจเพราะข่าวคลาดเคลื่อน

https://medthai.com/มะเร็งกระดูก/

https://haamor.com/th/มะเร็งกระดูก/

https://www.thairath.co.th/content/287643

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/512587

เด็กสาวนักบัลเล่ต์วัย15แม้ต้องเสียขาด้วยโรคมะเร็ง แต่เธอก็ไม่ย่อท้อ

https://women.kapook.com/view158716.html

เอกสารประกอบการสอนไฟล์เอกสารword

https://www.med.cmu.ac.th/dept/pediatrics/04-divisions_home_thai/08-hema-onco-home/panja-book/chap12ab.doc

**********************************************





ที่มาเฟสดร่าม่าแอดดิก https://www.facebook.com/DramaAdd/posts/10156623604518291

เป็นเรื่องที่ หมอกระดูกและข้อ สักวันต้องได้เจอ .. หวังว่า เรื่องแบบนี้ น่าจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ
ปล. ปัจจุบันมีความรู้ทางการแพทย์ในอินเตอร์เนตเยอะแยะ เชื่อถือได้บ้าง เชื่อไม่ได้บ้าง .. แต่ที่เห็นเป็นข่าวมักไม่น่าเชื่อถือ กลับเชื่อ ?



ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์ เป็นเรื่องโกหกแต่เชื่อ ?    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-12-2012&group=7&gblog=170
ยาหมอแสง ความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป ... กระทู้ แนะนำ ใน พันทิบ ๘กพ.๖๑     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2018&group=27&gblog=34

FW mail ... รวมสินค้า (แหกตา) โดนแล้วจะตาแหก...   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-01-2010&group=7&gblog=46
ภัยจากนามบัตร แถม ยาป้าย ( ใครที่มีสุตรยาป้าย ถ้าได้ผลจริง มีคนให้เงินล้าน ไม่ต้องไปป้ายข้างถนน)   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-02-2009&group=7&gblog=13






 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 6 มิถุนายน 2561 21:47:20 น.   
Counter : 16461 Pageviews.  

ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy







มีคนคำถามเกี่ยวกับเรื่องปวดเข่า และ การส่องกล้องข้อเข่า .. ทางเมล์

ผมเลยนำคำตอบมาลงไว้ด้วย เผื่อใครสนใจ ...

การส่องกล้อง มีจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ ๒ ข้อคือ ..

๑. เพื่อช่วย วินิจฉัยโรค เช่น

........ เส้นเอ็นขาด หมอนรองกระดูกเข่าขาด กระดูกแตก เป็นต้น ..

......... เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่า เป็นอะไร ก็จะพิจารณาอีกครั้งว่า จะผ่าตัดรักษา ผ่านกล้องเลยหรือไม่ หรือว่า ส่องกล้องเสร็จแล้วก็ต้องผ่าตัดวิธีอื่น ร่วมด้วย


๒. เพื่อ การรักษา หรือ บรรเทาอาการ เช่น

.......... เส้นเอ็นขาด หมอนรองกระดูกฉีกขาด ก็ผ่าตัด เย็บซ่อมผ่านกล้อง

........... ข้อเข่าเสื่อม ก็ผ่าตัด ทำความสะอาดข้อ ตัดกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อที่อักเสบ ออกมา เพื่อบรรเทาอาการ

...........กระดูกแตกเข้าข้อ ก็ส่องเข้าไปดูว่า เมื่อผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่แล้ว ผิวข้อเรียบเสมอกันหรือไม่ ..



ดังนั้น การส่องกล้องข้อเข่า ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันได้มาก ขึ้นอยู่กับว่า ทำไปเพื่ออะไร มีวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องใช้ ... ถ้าส่องเข้าไปเฉย ๆ ก็อาจแค่ระดับหมื่น แต่ถ้าต้องผ่าตัดผ่ากล้อง ราคาอาจเป็นแสน ...

ค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องข้อเข่า ใน รพ.เอกชน ก็จะค่อนข้างแพงครับ หลายหมื่นบาท แต่ละแห่งก็จะไม่เท่ากัน ต้องสอบถามที่ รพ.เอกชน นั้น ๆ แล้วละครับว่าคิดเท่าไหร่ ..

แต่ อาจต้องเตรียมสำรอง เพิ่มเอาไว้ด้วย เผื่อ ส่องเข้าไปแล้วอาจต้องทำการผ่าตัดในเข่าเพิ่มเติม ก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น กว่าที่ รพ.ได้แจ้งเอาไว้เบื้องต้น นะครับ

ถ้าไม่เช่นนั้น ก็คงต้องลองปรึกษาแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ) ที่ รพ.รัฐ ซึ่งปัจจุบันนี้เกือบทุกแห่งก็สามารถทำได้แล้ว ประหยัดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร หรือ ถ้ามีสิทธิบัตรทอง ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยนะครับ



ส่วนเรื่อง ส่องกล้องเข่า ก็ค้นในเนต มีเวบที่น่าสนใจ ลองแวะไปอ่านดูนะครับ ...

//www.bangkokhospital.com/tha/KnessMicroscope.aspx

//www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/arthroscope.php

//www.tuvayanon.net/2injf5.html

//www.elib-online.com/doctors47/ortho_knee001.html

//www.doctor.or.th/node/1335




เพิ่มเติม ....

ข้อเข่าเสื่อม

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-05-2008&group=5&gblog=15

ปวดเข่า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2008&group=5&gblog=13




 

Create Date : 15 มกราคม 2552   
Last Update : 17 มิถุนายน 2552 16:38:56 น.   
Counter : 25718 Pageviews.  

ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )




ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต

( Growing Pain or benign limb pain of childhood )


พบประมาณ 25 – 40 % ของเด็กปกติ

พบบ่อยในช่วงอายุ 3 - 5 ปี และ ช่วงอายุ 8 - 12 ปี ( ส่วนใหญ่ จะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น )



สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

อาจเกิดเนื่องจาก การเจริญเติบโตของกระดูกที่ยืดยาวเร็วกว่ากล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนื้อ หรือ มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากเกินไป อากาศเย็น


อาการ

จะมีอาการปวดตึง ที่กล้ามเนื้อน่อง ข้อพับเข่า หรือ ต้นขา ( บริเวณข้อ ไม่ปวด ไม่บวม ) นานประมาณ 30 นาที – 2 ชั่วโมง

มักมีอาการในช่วงเย็น หรือ ก่อนนอน แต่ในบางครั้งอาจมีอาการหลังจากนอนหลับไปแล้ว ทำให้เด็กต้องตื่นกลางดึก แต่พอบีบนวดสักพัก ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น นอนหลับได้ พอตื่นนอนตอนเช้าก็จะเดินวิ่งได้เหมือนปกติ

ความรุนแรง ของ อาการปวด แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และ แตกต่างกันในแต่ละวัน บางวันก็ปวดมาก บางวันก็ปวดน้อย บางช่วงก็อาจหายไปนานหลายเดือนแล้วกลับมาเป็นใหม่


แนวทางการวินิจฉัย

มีอาการปวดตึงที่กล้ามเนื้อ น่อง ข้อพับ หรือ ต้นขา แต่ ไม่มี อาการ บวม แดง ร้อน ไม่มีข้อบวม

ถ้าบีบนวด ใช้ครีมนวด หรือ ประคบด้วยความร้อน ก็จะดีขึ้น

ตื่นนอนตอนเช้า จะหายเป็นปกติ เดินวิ่งได้เหมือนปกติ

การวินิจฉัยได้จาก ประวัติ และ การตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้อง เจาะเลือด เอกซเรย์


แนวทางการรักษา

เวลานอน ให้ สวมกางเกงนอนขายาว และ สวมถุงเท้า

บีบนวดเบา ๆ หรือ ใช้ครีมนวด ประคบด้วยความร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น ร่วมด้วยก็ได้

ค่อย ๆ ยืดขา เหยียดงอข้อเท้า ข้อเข่า

ถ้ามีอาการปวดมาก ให้ รับประทานยา พารา



ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้ไปพบแพทย์

มีอาการปวดมาก มีอาการบวมแดงในบริเวณที่ปวด เวลาจับ หรือ นวด แล้วปวดมากขึ้น

หลังจากตื่นนอนตอนเช้า แล้วอาการไม่ดีขึ้น

มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อบวมแดงร้อน มีไข้ เดินกะเผลก เบื่ออาหาร เป็นต้น




//www.oknation.net/blog/print.php?id=34865

//kidshealth.org/parent/general/aches/growing_pains.html

//www.kidspot.com.au/article+149+34+Growing-Pains.htm

//www.kidspot.com.au/article+150+34+Causes-of-growing-pains.htm




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2551   
Last Update : 9 ธันวาคม 2551 18:19:44 น.   
Counter : 21473 Pageviews.  

กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???







กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ???

ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???

ด้วยอิทธิพลของระบบการตลาดในบ้านเรา ที่มีโฆษณาเยอะแยะมากมาย ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งระบบ ขายตรง เกี่ยวกับ แคลเซี่ยม จนทำให้เกิดความเข้าใจ คลาดเคลื่อนว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ...

ซึ่งไม่ถูกต้องนัก... เพราะ ถ้าพูดถึง กระดูก ยังจะต้องแบ่งให้ละเอียดลงไปว่า ที่พูดนั้น หมายถึง กระดูก ชนิดไหน ... ชนิด กระดูกแข็ง หรือ กระดูกอ่อน

กระดูกแข็ง เป็นส่วนที่เป็น แกนค้ำจุนโครงสร้าง จะมีความแข็งแรง ซึ่งมี แคลเซี่ยม เป็นส่วนประกอบ

ถ้าขาดแคลเซี่ยม ก็จะทำให้เกิด โรคกระดูกพรุน (กระดูกโปร่งบาง กระดูกผุ )

การรักษา คือ เสริมแคลเซี่ยม

กระดูกอ่อน พบได้มากที่บริเวณ ผิวข้อต่อ เป็นส่วนที่ ทำให้ข้อ เคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น มีส่วนประกอบเป็น น้ำและโปรตีน

ถ้าผิดปกติ ก็จะทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม (กระดูกเสื่อม)

การรักษา คือ ทานยาสร้างกระดูกอ่อน (กลูโคซามีน ซัลเฟต) หรือ ยาชะลอความเสื่อม (ไดอะเซรีน ซัลเฟต)


ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษา ก็ต้องรู้ก่อนว่า เป็นโรคของกระดูกแข็ง (กระดูกพรุน) หรือ โรคของกระดูกอ่อน (กระดูกเสื่อม) เพื่อที่ จะได้เลือกวิธีรักษาได้ถูกต้องเหมาะสม กับโรคที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เหมารวมว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม อย่างที่พูดกัน..



อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม ..

โรคกระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=27-02-2008&group=4&gblog=15

การวัดความหนาแน่นของกระดูก
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=16

แคลเซี่ยม
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=19

โรคข้อเสื่อม
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-04-2008&group=5&gblog=12

โรคข้อเข่าเสื่อม
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15




 

Create Date : 18 กันยายน 2551   
Last Update : 18 กันยายน 2551 15:25:15 น.   
Counter : 12450 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]