Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด   
( โรคหลังอักเสบแองคัยโรสซิ่ง , ANKYROSING SPONDILITIS )

ดัดแปลงจากเอกสารของ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย


1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึดคืออะไร ?

โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึดเป็นกลุ่มโรคข้ออักเสบที่มีการอักเสบของกระดูกสันหลังร่วมกับมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเป็นไปนาน ๆ จะมีกระดูกงอกออกมาเชื่อมกระดูกสันหลัง ข้อสะโพกให้ติดกัน เกิดความพิการตามมา


2. สาเหตุของโรคนี้คืออะไร?

สาเหตุของโรคนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม


3. ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคนี้?

โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่

พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 10-20 เท่า โดยเฉพาะช่วงอายุ 20-30 ปี


4. อาการและอาการแสดงของโรคนี้มีอะไรบ้าง?

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน

มีอาการมากในตอนเช้า และ อาการจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือได้ออกกำลังกาย

เมื่อกระดูกสันหลังอักเสบนาน ๆ จะมีหินปูนมาจับบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน หลังจะแข็ง ก้มไม่ได้

ในบางรายอาจมีการเชื่อมกันของกระดูกซี่โครง ทำให้หายใจลำบาก อาจมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก หรือ มีการอักเสบของเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้า

บางรายเมื่อเป็นนาน ๆ อาจมีอาการนอกระบบข้อ เช่น ปอดอักเสบ หรือหัวใจอักเสบได้


5. แพทย์จะให้การวินิจฉัยโรคนี้อย่างไร?

แพทย์จะอาศัยการซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกาย

การถ่ายภาพรังสีมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัย โดยจะพบการอักเสบและเชื่อมติดกันของข้อ โดยเฉพาะกระดูกกระเบนเหน็บ และ กระดูกสันหลัง



6. การรักษา

   1. การรักษาทางยา

   โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวดีขึ้นและสามารถทำกายบริหารได้

   ปัจจุบันได้มียาในกลุ่มใหม่ ๆ ที่อาจช่วยให้โรคสงบได้ แต่มีราคาค่อนข้างแพง ผลข้างเคียงมาก ต้องรับประทานติดต่อเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด

   2. การบริหารร่างกาย

   มีความสำคัญมาก นอกจากจะทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันข้อติดอีกด้วย ขณะบริหารอาจปวดมากขึ้น แต่ต้องพยายามอดทนบริหารต่อไป ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ให้ข้อได้เคลื่อนไหว

   3. ปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ

   โดยต้องพยายามให้หลังตรงอยู่เสมอ เช่น ควรนั่งพิงพนักหลังตรง ยืนเดินให้หลังตรง

   ควรนอนหงายบนพื้นแข็ง ไม่ควรนอนตะแคง และ ไม่ควรหนุนหมอนสูงเพราะทำให้คอก้มมากเกินไป

   4. การผ่าตัด

   เช่น ผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม ข้อเข่าเทียม ผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อแก้ไขอาการหลังโก่ง


7. การดำเนินโรค

โรคนี้จะมีการดำเนินโรคอยู่นานประมาณ 10 ปี ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง เมื่อเป็นไปนาน ๆ จนกระดูกเชื่อมติดกัน อาการปวดจะลดลง แต่จะเกิดความพิการตามมา โดยเฉพาะอาการคอแหงนไม่ได้ หลังโก่ง สะโพกงอ

ซึ่งถ้าเกิดข้อติดผิดรูปขึ้นแล้วการรักษามักจะได้ผลไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นถ้าสามารถรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ แต่ก็จะช่วยบรรเทาอาการและลดความพิการที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง



วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17


แนะนำ ไทยเอเอสคลับ  ข้อมูลความรู้เยอะมากกกกกกก
https://www.thaiasclub.org/
https://www.facebook.com/pg/thaiasclub/notes/



...............................

มีผู้โพสกระทู้เกี่ยวกับโรคนี้ ... เลยขอนำมาเก็บไว้เป็นข้อมูล แบ่งกันอ่าน แล้วก็เอาไว้ติดตามกันต่อ ...

https://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7400020/L7400020.html#11


ผมป่วยเป็นโรคASมา4ปีกว่าครับ ตอนนี้หายแล้ว ใครที่เป็นก็ติดต่อมาได้ ผมยินดีช่วย

ผมป่วยเป็นโรคASมา4ปีกว่าครับ ตอนนี้หายแล้ว ใครที่เป็นก็ติดต่อมาได้ ผมยินดีช่วย

ผม ชื่อไมน์ครับ เป็นโรคAS (Ankylosing Spondylitis) มาเกือบ5 ปี เป็นตั้งแต่อายุ15แต่มารู้ว่าเป็นโรคนี้ตอนเมื่อปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้รักษามาทุกที่ ยาที่เกี่ยวกับพวกแก้อักเสบ คลายกล้ามเนื้อ แก้ปวด ก็กินมาหมด รักษามาทุกทางตั้งแต่ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ตอนแรกหมอบอกว่าเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบ แต่ตอนหลังมันทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากเดินเป๋แล้ว ก็ปวดเข่า ปวดหัวไหล่ หลังแข็ง แล้วก็อาการตาพร่า(ตอนที่ตาพร่าไม่รู้ว่าเกี่ยวกับโรคที่เป็น) ผมรักษาอาการที่ตาจนหาย แต่เรื่องโรคกระดูกไม่หาย ตอนแรกผมไปนวดบ่อยมาก แล้วก็ฝังเข็ม ก็ไม่หาย ไปหาหมอมากี่คนก็บอกว่าผ่าตัดไม่ได้ จนผมไปเจอคุณหมอสัตยาที่ท่าแพ คลินิก ท่านวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรคไรเตอร์ซินโดรม เลยแนะนำไปหาคุณหมอวรวิท (โรงพยาบาลสวนดอก) ที่วรวิทคลินิคคุณหมอท่านเก่งมากครับ ผมมีโอกาสได้รู้ว่าโรคที่ผมเป็นคือโรคAS ก็เพราะท่าน เพียงแต่ผมไม่มีเงินที่จะซื้อยาที่ฉีดพวกยาอีเทอนาเซพ , พามิโดเนด ก็เลยไม่ฉีดครับ เพราะสงสารพ่อกับแม่ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อผม บังเอิญว่ามีคนแนะนำให้ผมลองกินยาสมุนไพรครับก็เลยทานดูจนตอนนี้ไม่เป็นไร เลย ไปเช็คเลือดก็ปกติดี ถ้าใครสนใจก็ติดต่อผมได้ที่เบอร์0820266947 ,0811665512หรือส่งเมลล์มาที่cadlamine@hotmail.com ครับ ถือว่าช่วยเหลือกันได้ก็ช่วยครับ ผมยินดีเพราะผมก็อยากให้คนที่ทรมานแบบเดียวกับผมหายเหมือนกัน

จากคุณ : cadlamine - [ 8 ม.ค. 52 15:47:29 ]


ความคิดเห็นที่ 1

น้ำใจงาม ขอให้สุขภาพแข็งแรงต่อไปครับ

จากคุณ : เต้าหยินไม้แห้ง (เต้าหยินไม้แห้ง) - [ 8 ม.ค. 52 16:01:42 ]


ความคิดเห็นที่ 2

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ เมือหายเป็นปกติแล้วจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่การงานให้สำเร็จลุล่วงต่อไป

จากคุณ : มิตร - [ 8 ม.ค. 52 16:09:12 A:91.64.69.155 X: TicketID:173614 ]



ความคิดเห็นที่ 3

ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้ว่า จขกท.โกหก นะครับ เพียงแต่ อยากจะให้ข้อมูลอีกด้าน ของการแพทย์ในปัจจุบันนี้ ...

ส่วนใครจะเชื่อไม่เชื่อ อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละท่าน ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปัจจุบัน ได้มียาในกลุ่มใหม่ ๆ ที่อาจช่วยให้โรคสงบได้ แต่มีราคาค่อนข้างแพง ผลข้างเคียงมาก ต้องรับประทานติดต่อเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด

.... ปัจจุบัน ยังไม่มีผลงานวิจัย หรือ ข่าวทางการแพทย์ว่า สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาด ...

ผม จึงอยากจะขอให้ จขกท. ติดต่อ กับ อ.สัตยา หรือ อ.วรวิทย์ หรือ จะเป็นหมอที่ไหน ก็ได้ เพื่อจะได้ร่วมกันเผยแพร่ อย่างน่าเชื่อถือ แล้วก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ทั่วทั้งโลก ...

ถ้า จขกท. ไม่สนใจเรื่องรายได้เป็นเงินทอง รับรองว่า ได้รับชื่อเสียง และ ผลบุญ มากมายมหาศาลอย่างแน่นอน ... ถือว่าได้ช่วยเหลือ คนป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ให้หายขาด ...

ปล.

หลาย ๆ ท่าน อ่านแล้วจะรู้สึกคุ้นกับข้อความนี้ ... เหมือนเดิมเป๊ะ ๆ ...
เคยคุยกับเรื่องนี้ หลายรอบแล้ว ... ก็เข้ามาคุยกันอีกที ... แบบเดิม ๆ ขอร้อง จขกท. แบบเดิม ๆ ....

จากคุณ : หมอหมู - [ 8 ม.ค. 52 18:16:24 ]


ความคิดเห็นที่ 4

เวอร์ชั่นเดิมมีลงรูปด้วยนี่

จากคุณ : natefang - [ 8 ม.ค. 52 21:53:59 ]


ความคิดเห็นที่ 5

เป๊ะๆ มาตั้งแต่กลางปีที่แล้วเลยนะเนี่ย

จากคุณ : dog mulder - [ 8 ม.ค. 52 21:58:33 ]


ความคิดเห็นที่ 6

เวอร์ชั่นเดิมมีรูปลงด้วยคะ

จากคุณ : cheatoneself - [ 8 ม.ค. 52 22:24:14 ]


ความคิดเห็นที่ 7

ขายของหรือเปล่า? เห็นโพ๊สบ่อย ไม่มีรายละเอียด

จากคุณ : บลูเรย์ - [ 8 ม.ค. 52 23:21:33 ]


ความคิดเห็นที่ 8

อาการที่เล่ามาไม่เหมือน AS ที่ผมรู้จักเลยครับ

จากคุณ : kkcontrol - [ 9 ม.ค. 52 00:58:40 ]


ความคิดเห็นที่ 10

มีคนจำได้หลายคนเหมือนกัน ...

ยังไง ก็รบกวน จขกท. ด้วยนะครับ จะได้ช่วยเหลือคนอื่น ถือว่าทำบุญนะครับ ...


จากคุณ : หมอหมู - [ 9 ม.ค. 52 18:58:54 ]


ความคิดเห็นที่ 11

หลังจาก เข้ามาโพส ผ่านไป ๑ อาทิตย์ แล้ว ...... จขกท. ก็ไม่กลับมากระทู้นี้อีกเลย ...

ไม่เป็นไร ครั้งนี้ ก็จะเก็บข้อมูลเอาไว้ เผื่อคร่าวหน้า จขกท. มาโพส อีก ก็จะเอานำไปให้อ่านอีกรอบ ... เผื่อจะลืม ...

จากคุณ : หมอหมู - [ 14 ม.ค. 52 19:42:41 ]


...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 11 กันยายน 2562 14:36:10 น.   
Counter : 32035 Pageviews.  

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

กล้ามเนื้อหลังอักเสบ

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น ก็สามารถให้การรักษาได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) กระดูกสันหลัง

แต่ถ้าอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ หลังจากให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก บางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง



สาเหตุ

กล้ามเนื้ออักเสบ มักจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไปหรือเกิดจากท่าทางของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยกของหนักขึ้นจากพื้นในท่าก้มหลัง ดันของหนัก นั่งก้มหลังทำงานนาน ๆ นั่งขับรถเป็นเวลานาน อ้วนเกินไปหรือ ขาดการออกกำลังกาย มักจะมีอาการปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ แต่ในบางครั้งอาจมีอาการปวดหลังมากขึ้นทันทีก็ได้

กล้ามเนื้อเคล็ด หรือ กล้ามเนื้อฉีกขาด (ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อร่วมด้วย) มักเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือ อุบัติเหตุ มักจะเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ทันทีทันใด

เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือ กล้ามเนื้อเคล็ด จะมีอาการ ปวดหลัง หลังแข็งเกร็ง ขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ อาจมีอาการตัวเอียง หลังคด เดินลำบาก แต่มักจะไม่มีอาการปวดร้าวลงขา ชา หรือ อ่อนแรง (ไม่มีการกดทับเส้นประสาท)



แนวทางการรักษา

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลัง ในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบาย แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืด ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้มากขึ้น และหายช้ากว่าปกติ ยิ่งกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 - 15 นาที หรือ อาจจะประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้

อาจใช้ครีมนวดแก้ปวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ดึงหลัง อบหลังโดยใช้ความร้อนลึก(อัลตร้าซาวน์) หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เป็นต้น


อาการปวดหลังที่ควรไปพบแพทย์


- มีอาการปวดรุนแรง ปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบและนอนพัก แล้วอาการไม่ดีขึ้น

- มีการกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการ ชาขา ขาอ่อนแรง ปวดร้าวจากหลังหรือสะโพกลงไปที่ขา โดยเฉพาะถ้ามีอาการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ (อุจจาระปัสสาวะราด) ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

- มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีก้อน มีไข้ มีปัสสาวะแสบขัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน



วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




...............................

ปวดหลัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

//www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

//www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

//www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

//www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

//haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

//www.doctor.or.th/article/detail/1289






 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 9 พฤษภาคม 2558 16:23:28 น.   
Counter : 49828 Pageviews.  

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น ก็สามารถให้การรักษาได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์กระดูกสันหลัง

แต่ถ้าอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ หลังจากให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก ในบางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง



อาการ และอาการแสดง

หมอนรองกระดูก จะทำให้เกิดความยืดหยุ่น และรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง ทำให้หลังมั่นคงแข็งแรง แต่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ เช่น ก้มหลังยกของหนัก หรือ ยกของแล้วเอี้ยวตัว เป็นต้น ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกแตกออก ทำให้เกิดปวดหลัง หลังแข็ง ก้มหลังหรือเอี้ยวตัวไม่ได้

ถ้าหมอนรองกระดูกที่แตกออกมาไปกดทับเส้นประสาท ก็จะมีอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36



แนวทางการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะดีขึ้นจากวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นมากจนต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดมักจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะดีขึ้น ( เฉลี่ย 6 เดือน – 2 ปี )

มีแนวทางการรักษาคือ

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลัง ในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบาย แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืด ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้มากขึ้น และหายช้ากว่าปกติ ยิ่งกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 - 15 นาที หรือ อาจจะประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
อาจใช้ครีมนวดแก้ปวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ดึงหลัง อบหลังโดยใช้ความร้อนลึก(อัลตร้าซาวน์) หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เป็นต้น


แนวทางการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากและรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีการกดทับเส้นประสาททำให้ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรผ่าตัด เพราะ ผลผ่าตัดจะดีมากในช่วงแรก ( ได้ผลดีขึ้นประมาณ 80 - 90 % ) แต่ หลังจากผ่าตัดไปแล้วหลาย ๆ ปี อาจจะเกิดอาการปวดหลังซ้ำจากกระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเลื่อน ซึ่งการรักษาจะยากมากขึ้น และ ผลของการรักษามักจะไม่ค่อยดีมากนัก




วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
 แถม จากเวบ หมอชาวบ้าน ..
 

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน


ข้อมูลสื่อ
นิตยสารหมอชาวบ้าน 184
สิงหาคม 2537
แนะยา-แจงโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

https://www.doctor.or.th/article/detail/3626


 

ข้อน่ารู้
1. สันหลังของคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อยๆกว่า 30 ชิ้นเรียงต่อกันเป็นแนวยาวจากต้นคอจรดก้นกบ โดยมีแผ่นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “หมอนรองกระดูกสันหลัง” (intervertebral disc) คั่นกลางรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่ หมอนรองกระดูกนี้มีลักษณะยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้บ้าง มิใช่แข็งทื่อเหมือนท่อไม้


ภายในโพรงของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังบรรจุอยู่และมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลัง เรียกว่า “รากประสาท” ซึ่งอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
บางคนอาจมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกไปรบกวนหรือกดทับถูกรากปะสารทดังกล่าว ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกคลื่อน” (herniated disc) บ้างก็เรียกว่า “โรคประสาทถูกกด”

2. โรคนี้มักพบในคนอายุ 20-40 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักเกิดกับคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง หรือคนที่แบกของหนัก หรือมีอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก

3. ตำแหน่งที่พบบ่อยก็คือ หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ หรือระดับบั้นเอว ทำให้มีการกดทับถูกเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณน่องและปลายเท้า ทำให้มีอาการปวดร้าวจากแก้มก้นลงไปที่น่องหรือปลายเท้า ร่วมกับอาการปวดหลัง

4. โรคนี้นอกจากทำให้เกิดอาการเจ็บปวดน่าทรมานแล้ว หากปล่อยไว้นานๆก็อาจทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้ ดังนั้นหากมีอาการน่าสงสัย ก็ควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ



รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นอื่น

คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักจะมีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา (จากแก้มก้นลงไปที่น่องหรือปลายเท้า) ข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย อาจมีประวัติว่ายกของแล้วปวดขึ้นฉับพลันทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่งหรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาตามมาได้


สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ เช่น

1. โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง เกิดจากการนั่ง นอน หรือยกของผิดท่าทำให้ปวดยอกกล้ามเนื้อหลัง โดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย การนวดหรือประคบด้วยความร้อนจะช่วยให้ทุเลา

2. กระดูกสันหลังเสื่อม พบในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดหลัง ก้มหรือเอี้ยวตัวลำบาก อาจมีอาการปวดขัดในข้อเข่าร่วมด้วย ในรายที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อนไปกดทับถูกรากประสาท ก็อาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

3. เนื้องอกของไขสันหลัง จะมีอาการปวดหลังและปวดร้าวลงขาแบบเดียวกับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน แต่จะพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี อาการปวดจะเป็นเรื้อรัง แล้วต่อมาจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขา ซึ่งจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นอัมพาต บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ผู้ที่มีอาการปวดหลัง ควรไปพบแพทย์โดยเร็วเมื่อมีอาการ
1. ปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย
2. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3. ปวดหลังนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นๆหายๆเรื้อรัง

แพทย์จะทำอะไร

แพทย์อาจทดสอบโดยการให้คนไข้เหยียดขาตรงตั้งฉาก ถ้าหากมีการกดทับถูกรากประสาทจริง คนไข้จะไม่สามารถทำได้
นอกจากนี้แพทย์อาจต้องตรวจเอกซเรย์กระดูกสันหลัง หรือตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่รุนแรง อาจรักษาด้วยการให้คนไข้นอนพักบนที่นอนแข็งตลอดวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ อาจให้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ซึ่งใช้รักษาอาการข้ออักเสบ(ยานี้อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลได้) ยาคลายกล้ามเนื้อ
ถ้าหากไม่ได้ผลอาจต้องรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด เช่น การนวด การดึงหรือถ่วงที่เชิงกราน การกระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า เป็นต้น



ถ้าหากทำทุกวิธีแล้วยังไม่ทุเลา อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไข ซึ่งมักจะได้ผลดี

โดยสรุป อาการปวดหลังส่วนใหญ่เกิดจากโรคปวดกล้ามเนื้อหลังและกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วยก็พึงสงสัยว่าอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน การรักษาอย่างถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ และการดูแลตนเองอย่างจริงจังจะช่วยให้หายขาดได้

การดูแลรักษาตนเอง
ทุกครั้งที่มีอาการปวดหลัง จะต้องสังเกตว่ามีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วยหรือไม่
ถ้าไม่มี ก็อาจเกิดจากโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง (สำหรับคนอายุน้อย) หรือกระดูกสันหลังเสื่อม (สำหรับผู้สูงอายุ) ควรดูแลรักษาตนเองดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ปวดหลัง เช่น การก้มลงยกของ การอุ้มเด็กหรือแบกของหนัก การนอนบนที่นอนนุ่มเกินไป การนั่งหรือยืนตัวงอ ตัวเอียง หรือการใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น
2. ถ้ายังไม่ทุเลาให้ใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวดหรือประคบด้วยน้ำร้อน หรือใช้นิ้วมือคลึงนวด
3. ถ้ายังไม่หายให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
4. ถ้ามีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นๆหายๆเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์


แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาร่วมด้วย ก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าหากแพทย์ตรวจพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน นอกจากรับการรักษาจากแพทย์ (เช่น กินยา ทำกายภาพบำบัด) แล้ว ก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้
1. นอนพักบนที่นอนแข็งหรือบนพื้นแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่มีอาการมาก ควรนอนพักตลอดวัน(ลุกเฉพาะช่วงกินอาหารและเข้าห้องน้ำ) สัก 2-3 วัน การนอนจะลดแรงกดดันที่มีต่อหมอนรองกระดูกให้เหลือน้อยที่สุด (การนั่งจะมีแรงกดดันมากที่สุด)
2. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ปวดหลัง
3. เมื่ออาการทุเลาแล้ว ให้บริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง โดยขอให้แพทย์ผู้รักษาสอนท่าบริหารที่เหมาะกับคนไข้แต่ละราย

..................................
 

หมอนรองกระดูกเคลื่อน


นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
 

ข้อมูลสื่อ

นิตยสารหมอชาวบ้าน 338
มิถุนายน 2550
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ


หมอนรองกระดูกเคลื่อน
https://www.doctor.or.th/article/detail/1249


โรคนี้พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว และวัยกลางคนที่ทำงานหนัก พบได้น้อยในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน* เป็นโรคที่พบ ได้บ่อยในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน ทำให้มีอาการปวดหลังและปวดขาเรื้อรัง ซึ่งสร้างความรำคาญ ความทุกข์ทรมาน และความวิตกกังวลให้ผู้ป่วยและญาติ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอันตรายร้ายแรง สามารถให้การดูแลรักษาให้อาการทุเลาและกลับมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติได้ ส่วนน้อยที่เป็นรุนแรง ถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด


ชื่อภาษาไทย     หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ชื่อภาษาอังกฤษ   Herniated disk, Herniated intervertebral disk
สาเหตุ
เกิดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมตามอายุ  มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเส้นใยชั้นเปลือกนอก ปล่อยให้เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนตรงกลางซึ่งมีลักษณะ คล้ายวุ้นแตก (rupture) หรือเลื่อน (herniation) ออกมากดทับรากประสาทและเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ รากประสาท ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีประวัติการบาดเจ็บชัดเจน อาจเกิดจากแรงกระทบเพียงเล็กน้อยจากการทำกิจวัตรประจำวันหรือจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ส่วนน้อยเกิดหลังจากได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เล่นกีฬา อุบัติเหตุ ยกหรือเข็นของหนัก

ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือสูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากมีออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกน้อยลง จึงเสื่อมได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือทำอาชีพที่ต้องเข็นหรือยกของหนักก็เสี่ยงต่อการเกิดแรงกระทบต่อหมอนรองกระดูกทำให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น
อาการ
ขึ้นกับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนและเส้นประสาทที่ถูกกด ส่วนใหญ่พบที่หมอนรองกระดูกบริเวณเอว (พบบ่อยในกลุ่มอายุ ๓๕-๔๕ ปี) ส่วนน้อยพบที่บริเวณคอ (พบบ่อยในกลุ่มอายุ ๔๐-๕๐ ปี) อาจมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันรุนแรง หรือค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติเกิดอาการหลังได้รับบาดเจ็บหรือยกของหนัก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่ามีเหตุกำเริบจากอะไร

รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน จะมีอาการปวดตรงกระเบนเหน็บ ซึ่งจะปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาจากบริเวณแก้มก้นลงมาถึงน่องหรือปลายเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลามีการเคลื่อนไหว เวลาก้ม นั่ง ไอ จาม หัวเราะ หรือเบ่งถ่าย ในรายที่เป็นมากเท้าจะไม่ค่อยมีแรงและชา อาจถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ไม่ได้ หรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่ มักพบเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้ง ๒ ข้าง

รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน จะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ ปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขน และปลายมือ มักมีอาการเวลาแหงนคอไปด้านหลัง หรือหันศีรษะไปข้างที่เป็น ถ้าเป็นมาก แขนและมืออาจมีอาการอ่อนแรง

การแยกโรค
อาการปวดรากประสาท (ปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงแขนหรือขา) เนื่องจากรากประสาท ถูกกดทับ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น  "โพรงกระดูกสันหลังแคบ" (spinal stenosis) มีอาการปวดหลังและปวดร้าวและชาลงขาข้างหนึ่ง แบบเดียวกับหมอนรองกระดูกเคลื่อน แต่มักพบในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปี (อาจเริ่มเป็นตั้งแต่อายุ ๔๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ อาจไม่มีอาการแสดงก็ได้) เกิดจากกระดูก   สันหลังเสื่อมตามอายุ และมีการหนาตัวของเอ็นรอบๆ โพรงกระดูกสันหลัง (spinal canal) ทำให้มีการตีบแคบของโพรงดังกล่าว ซึ่งจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ใช้เวลานานเป็นแรมปีหรือหลายปี จนในที่สุดเกิดการกดทับรากประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลังผ่านโพรงดังกล่าว ผู้ป่วยมักมีอาการปวดน่องเวลาเดินไปสักครู่ และทุเลาเมื่อหยุดพักร่วมด้วย อาการปวดหลังมักจะทุเลาเวลาก้มหรือนั่ง            

  "เนื้องอกไขสันหลัง" และมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่ไขสันหลัง (เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) ก็จะทำให้มีอาการปวดคอหรือปวดหลัง และปวดร้าวและชาลงแขนหรือ    ขา แต่จะมีอาการแขนหรือขาอ่อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ภายในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไข้เรื้อรัง น้ำหนักลดร่วมด้วย
 อื่นๆ เช่น  วัณโรคกระดูกสันหลัง อุบัติเหตุทำให้กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
 การวินิจฉัย
 เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ และการ ตรวจร่างกาย ที่สำคัญได้แก่ การทดสอบเหยียดขาตรงตั้งฉาก โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วจับเท้าข้างที่สงสัยค่อยๆ ยกขึ้น โดยให้หัวเข่าเหยียดตรง จะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงตั้งฉาก (ทำมุม ๙๐ องศา) กับพื้นได้เช่นคนปกติ หรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างที่ปกติ เช่นได้เพียง ๗๐ องศา หรือ ๔๕ องศา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียวตามหลังเท้าจนไม่สามารถฝืนทนเหยียดเท้าให้ตั้งฉากกับพื้น

แพทย์มักจะทำการยืนยันการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์กระดูกหลัง ถ่ายภาพกระดูกหลังด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography)
การดูแลตนเอง
ผู้ที่มีอาการปวดคอหรือปวดหลังเรื้อรัง หรือพบว่ามีอาการเสียวๆ แปลบๆ ปวดร้าวหรือชาลงแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ๒ ข้าง หรือมีอาการบาดเจ็บที่คอหรือหลัง ควรไปปรึกษาแพทย์

ถ้าพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อน ก็ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอิริยาบถและกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดกำเริบ ปรับท่าทางในการทำงานและการขับรถให้เหมาะสม
  • หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้    แข็งแรงด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
  • ลดน้ำหนักตัว
  • ขณะที่มีอาการปวดให้นอนหงายบนที่นอนแข็ง กินยาบรรเทาปวดและใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบ
  • การรักษา

 

 ระยะแรกแพทย์จะให้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน ได้แก่ การให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์เป็นหลัก ซึ่งนอกจากช่วยบรรเทาปวดแล้ว ยังลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ รอบๆ รากประสาท ทำให้อาการทุเลาได้ ในรายที่มีการตึงตัวหรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพมร่วมด้วย

ในรายที่มีอาการเกิดขึ้นฉับพลันและปวดรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักในท่านอนหงายบนที่นอนแข็งตลอดเวลา (ลุกเฉพาะกินอาหารและเข้าห้องน้ำ) ๑-๒ วัน จะช่วยให้อาการทุเลาได้เร็ว ไม่ควรนอนติดต่อนานหลายวัน อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ

ในบางรายแพทย์อาจให้การรักษาทางกายภาพ- บำบัด (เช่น ประคบด้วยความเย็นและความร้อน ใช้     น้ำหนักถ่วงดึง) กระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) การฝังเข็ม เป็นต้น

ในบางรายแพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่ "เสื้อเหล็ก" หรือ "ปลอกคอ"

ในรายที่มีอาการปวดมากและไม่สามารถบรรเทาด้วยยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์และยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้น เช่น โคเดอีน (codeine) กาบาเพนทิน (gabapentin) เป็นต้น บางรายอาจให้เพร็ดนิโซโลน หรือฉีดสตีรยอด์เข้าบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ รากประสาทที่อักเสบเพื่อลดการอักเสบ

ในรายที่ให้การรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด ๓-๖ เดือนแล้วไม่ได้ผล ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อน (เช่น กล้ามเนื้อลีบ หรืออ่อนแรง มีอาการชามาก ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้) ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อปลดเปลื้องการกดรากประสาท และอาจเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังให้     แข็งแรงในรายที่มีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง (spondylolisthesis) การผ่าตัดมีหลายวิธีรวมทั้งวิธีใช้กล้องส่อง (laparoscopic surgery)
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยให้รากประสาทถูกกดรุนแรงอาจทำให้ขาชา เป็นแผลติดเชื้อง่าย กล้ามเนื้อ ขาลีบ ขาอ่อนแรง เดินลำบาก ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ หรือกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้
การดำเนินโรค
ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะหายปวดและกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สำหรับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไม่รุนแรง อาการมักจะดีขึ้นภายใน ๔-๖ สัปดาห์ เนื่องจากหมอนรองกระดูกที่ไหลเลื่อนออกมาข้างนอก มักจะยุบตัวลงจนลดแรงกดต่อรากประสาทไปได้เอง

โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีประมาณร้อยละ ๑๐-๒๐ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้ผลดี แต่มีประมาณร้อยละ ๑๐ ที่อาจมีอาการปวดเรื้อรังต่อไป ในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่นานก่อนผ่าตัด อาการก็อาจไม่ดีขึ้นหลังผ่าตัด
การป้องกัน
๑. หมั่นออกกำลังกาย (เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
๒. ระวังรักษาอิริยาบถ (ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน ท่ายกของ) ให้ถูกต้อง
๓. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เข็นของหนัก การนอนที่นอนที่นุ่มเกินไป
๔. ควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกิน
๕. ไม่สูบบุหรี่ อาจทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็ว
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว และวัยกลางคนที่ทำงานหนัก เช่น แบกหาม ยกของ เข็นของหนัก และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่หลังจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ พบได้น้อยในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป

 




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:58:51 น.   
Counter : 52977 Pageviews.  

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ





การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ   VERTEBROPLASTY ( VP )

ดัดแปลงจาก //www.kawin.co.th

กระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกสูญเสียมวลกระดูกไป ทำให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรงและเป็นผลให้เกิดการแตกหักง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหัก ได้บ่อย เช่น ข้อสะโพก ข้อมือ และ กระดูกสันหลัง

อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
ในเพศหญิงมี 40% เพศชาย 13%

อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสันหลังยุบ
ในเพศหญิง 16% ชาย 5%
พบกระดูกสันหลังยุบอย่างน้อย 1 ครั้ง ในเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี พบ 18% แต่ถ้าอายุมากกว่า 65 ปี จะพบถึง 27%

ในอดีต การรักษา กระดูกสันหลังยุบ คือ นอนพักนิ่งๆ ลดการเคลื่อนไหว ร่วมกับ ยาแก้ปวด (ชนิดฉีดหรือกิน แล้วแต่ความรุนแรงของความเจ็บปวด) ใส่เฝือกพยุงหลัง สุดท้ายคือรักษาด้วยการผ่าตัด


VERTEBROPLASTY (VP) คืออะไร

VP คือ วิธีฉีดซีเมนต์ยึดกระดูกเข้าไปในตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ เพื่อเสริมกระดูกโดยตรง ช่วยลดอาการปวดหลังและป้องกันกระดูกสันหลังปล้องนั้นไม่ให้เกิดการหักยุบอีก

โดยทั่วไป 1 ปล้อง กระดูกสันหลังจะใช้ซีเมนต์ประมาณ 4-12 ซีซี



VP ให้ผลดีอย่างไร

ช่วยลดอาการปวดหลังและสามารถให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังฉีด

2-3 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วย 65% สามารถหยุดการใช้ยาแก้ปวดได้ บางรายหายจากความเจ็บปวดหลังเลย

75% ของผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น

VP ไม่สามารถแก้ไขภาวะหลังค่อมจากกระดูกผุได้ แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้หลังค่อมมากขึ้น

VP ใช้รักษากระดูกสันหลังปล้องที่หักยุบเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการหักยุบของปล้องอื่นในอนาคต


วิธีการทำ VP

VP เป็นวิธีการใช้เข็มขนาด 11-13 gauge แทงเข้าตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ อาจผ่านทางตัวกระดูกสันหลังโดยตรงหรือผ่านทางก้านของกระดูกสันหลัง ให้ปลายเข็มอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้า 1/3 ของตัวกระดูก ตำแหน่งของเข็มจะถูกกำหนดโดยเครื่องเอกซเรย์โดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจได้รับยาชาเฉพาะที่ ยาฉีดให้หลับหรือยาสลบก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม

สารซีเมนต์ที่ใช้ยึดกระดูกมีคุณสมบัติคล้ายกาวหรือ epoxy หลังฉีด ซีเมนต์จะแข็งตัวภายในเวลา 10-20 นาที



อันตรายของการทำ VP

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ 1-3% ในรายกระดูกสันหลังยุบ และ 7-10% ในรายของมะเร็งกระดูกสันหลัง

1. เสียเลือด

2. การติดเชื้อ

3. ปวดรุนแรงมากขึ้น

4. การรั่วซึมของสารซีเมนต์ตามรอยแตกออกไปนอกตัวกระดูกสันหลัง เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลังและหลอดเลือดหรือรากประสาท ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องทำการฝ่าตัดเอาซีเมนต์ออกแต่อย่างใด

5. กระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลังหัก

6. ไข้



ผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการทำ VP

1. มีอาการปวดหลังเรื้อรังเกินกว่า 6 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุจากกระดูกสันหลังหักยุบ

2. เมื่อให้การรักษาแบบอนุรักษ์มาแล้วไม่ได้ผล

3. เคลื่อนไหวลำบาก ปวดมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว หรือ ยืน เดิน นั่งนาน ไม่ได้

4. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 70 ปี แต่ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะกระดูกพรุน ก็อาจจำเป็นต้องใช้ VP ช่วย



ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะต่อการทำ VP

1. กระดูกสันหลังยุบ และ กระดูกติดสนิทแล้ว ซึ่งมักจะไม่มีอาการปวด

2. หมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อน

3. มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง

4. กระดูกสันหลังแตก และ มีการกดทับของไขสันหลังหรือเส้นประสาท



การดูแลหลังการทำ VP

- หลังทำ VP มักให้นอนหงายราบ 2-3 ชั่วโมง

- อาจทำ VP เป็นกรณีผู้ป่วยนอก ซึ่งผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังฉีด VP 2-3 ชั่วโมง ในกรณีที่บ้านใกล้หรือนอนพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน การอยู่โรงพยาบาลเหมาะกับในรายสูงอายุมากๆ

- มักทำ CT scan ซ้ำ หลังทำ VP

- หลังทำ VP มักจะมีอาการปวดบริเวณบาดแผลรอบเข็มภายใน 24 ชั่วโมงแรก อาจใช้น้ำแข็งประคบหรือยาแก้ปวด พาราเซตตามอล หรือ ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ น้อยรายที่จะต้องใช้ยาแก้ปวดชนิดแรงๆ

- อาจมีอาการท้องอืด ถ้าท้องไม่อืดให้กินอาหารอ่อนได้ตามปกติ

- อาการเจ็บหลังจะหายไปทันทีหรือ 2-3 วัน หลังทำ VP หากเกิน 3 วันแล้ว ยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ ให้ติดต่อแพทย์

- แพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ เพื่อติดตามผลการรักษาในวันที่ 2 หรือ 7 หลังการฉีด




วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




แถม ....

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย

//www.topf.or.th

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง ... ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

//taninnit-osteoporosis.blogspot.com/

แบบทดสอบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

//www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=21

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONEDENSITOMERY)

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16

ยาเม็ดแคลเซียม

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=21





 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 พฤษภาคม 2558 15:17:47 น.   
Counter : 17391 Pageviews.  

กระดูกสันหลังเสื่อม

กระดูกสันหลังเสื่อม


แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าเกิดจากอะไรได้จากการซักถามประวัติความเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย เท่านั้น โดยไม่ต้องถ่ายภาพรังสี(เอ๊กซเรย์) กระดูกสันหลัง

แต่ถ้าอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ หลังจากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก บางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง


อาการ และอาการแสดง ซึ่งอาจแบ่งอาการของกระดูกสันหลังเสื่อม เป็น

ระยะข้อต่อหลวม เมื่อข้อเสื่อมถึงจุดหนึ่ง ความแข็งแรงของเส้นเอ็นจะลดลง หมอนรองกระดูกสันหลังยุบลง ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวมากขึ้น (ข้อต่อหลวม) กล้ามเนื้อหลังก็จะต้องเกร็งตัวเพื่อไม่ให้กระดูกเคลื่อนไหวมากเกินไป เมื่อกล้ามเนื้อเกร็งตัวอยู่นาน ๆ ก็จะเกิดอาการปวดหลัง

ซึ่งในช่วงแรกมักจะมีอาการเวลาขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนแล้วจะลุกขึ้น แต่ถ้าเป็นนานหรือข้อต่อหลวมมาก ก็จะมีอาการตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว (แต่ถ้านอนนิ่ง ๆ จะไม่ปวด ) บางครั้งจะมี กระดูกสันหลังเคลื่อนไปด้านหน้า ร่วมด้วย ทำให้การรักษายากขึ้นและอาจต้องผ่าตัดใส่สกูรดามกระดูก

ระยะข้อติดแข็ง (กระดูกงอก) ซึ่งเกิดจากร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูนมายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ข้อต่อหลวมก็จะหายไป

แต่ ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จนกดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการ ปวดร้าวลงไปที่ขา ขาชา ขาอ่อนแรง โดยมักมีอาการเมื่อเดินไปได้สักระยะหนึ่ง จะปวดและชาขามากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดินไม่ไหวต้องหยุดเดินและเมื่อนั่งพักสักครู่อาการจึงจะดีขึ้น เดินต่อได้ ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรค ถ้ายิ่งโรครุนแรงมาก ระยะทางที่เดินได้ก็จะสั้นลง


อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36



แนวทางการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลัง ในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบาย แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 - 15 นาที หรือ อาจจะประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
อาจใช้ ครีมนวดแก้ปวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบี ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน

การทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ดึงหลัง อบหลังโดยใช้ความร้อนลึก(อัลตร้าซาวน์) หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) เป็นต้น การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง



แนวทางการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน เช่น ปวดมากและรักษาแล้วไม่ดีขึ้น เป็นต้น

ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรผ่าตัด เพราะ การผ่าตัดจะได้ผลดีในช่วงแรก ( โอกาสดีขึ้นประมาณ 60-80 %) แต่หลังจากผ่าตัด หลาย ๆ ปี อาจเกิดอาการปวดหลังขึ้นมาซ้ำอีก ซึ่งการรักษาจะยากมากและผลการรักษามักไม่ค่อยดีนัก



วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

........................................................

๑๙ พค. ๖๖ ... กระทู้คำถาม ที่พบบ่อย ในพันทิบ ห้องสวนลุมพินี ..คัดลอกนำมาฝากกัน ..

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีโอกาสกลับมาเดินได้ไหมคะ ?

เรื่องคือ พ่อเคยตกจากหลังคาได้ประมาณปีกว่า ตอนนั้นเราทำงานอยู่ต่างจังหวัด เลยไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วแกก็ไม่ยอมไปหาหมอ พอช่วงหลังๆ มาเริ่มมีอาการปวดหนักขึ้น ตั้งแต่ช่วงเอวไปขา บางทีจนถึงขั้นเดินงอตัว ไปหาหมดดูภาพเอ็กซเรย์ กระดูกสันหลังช่วงล่างงอจนกระดูกนู้นออกมา  หมอเลยแนะนำให้ผ่าตัด เพราะทำอะไรไม่ได้แล้ว

แต่ด้วยที่เป็นชาวนา คนต่างจังหวัด แกไม่อยากผ่า เพราะกลัวว่าจะเดินไม่ได้ ลูกทุกคน ญาติ ก็ช่วยกันพูดแล้ว ก็เหมือนเดิม

เลยอยากถามเป็นความรู้ค่ะว่า ถ้าผ่าแล้วยังจะสามารถเดินได้ไหม ไม่ต้องถึงขั้นใช้ชีวิตปกติ หรือถ้าไม่ผ่า ในอนาคตมีโอกาสเป็นหนักว่านี้ไหมคะ แล้วมีวิธีที่จะพูดให้พ่อยอมผ่าตัดได้ไหมคะ

สมาชิกหมายเลข 3717574


๑. โดยทั่วไป แพทย์ใน รพ.รัฐ ถ้าไม่หนักจริง ๆ จะไม่แนะนำให้ผ่า .. เพราะ มีผู้ป่วยจำนวนมาก (รอคิวผ่าตัดยาวหลายเดือน บางครั้งเป็นปี ?)

๒. ถ้าแนะนำให้ผ่าตัด แสดงว่า อาการมาก และ ปล่อยไว้ น่าจะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม

๓. การผ่าตัดมีความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ ดีขึ้นกว่าก่อนผ่า แต่มีส่วนน้อยที่เดินไม่ได้หรือเสียชีวิต  .. ถ้าเทียบก็อาจคล้ายกับ ขับรถยนต์ ส่วนใหญ่ปลอดภัย ส่วนน้อยที่เกิดอุบัติเหตุ (ต่อให้เราระมัดระวังแล้ว) หมอ ไม่สามารถรับรองได้ว่า ผ่าตัดแล้วหาย ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ .. แต่ หมอ จะพยายามให้ดีที่สุด

๔. ไม่ว่า เลือกทางไหน (ผ่า หรือ ไม่ผ่า) ก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย .. เลือกทางที่ (แพทย์ ผู้ป่วย ญาติ) เห็นพ้องต้องกันว่า ผลดี มากกว่า ผลเสีย

๕. พาไปพบ พูดคุยกับ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้ว ตอนไป รพ. ก็ได้ ว่า เป็นอย่างไร ก่อนผ่า หลังผ่า ฯลฯ

๖. ถ้าพยายามทุกอย่างแล้ว แต่ ไม่ยอมผ่า่ตัด จริง ๆ .. ญาติ ลองเข้าไปสอบถามแพทย์ว่า ถ้าปล่อยไว้ ไม่ผ่าตัด จะเป็นอย่างไร ? เพราะ โดยทั่วไปแล้ว กระดูก(แตกหรือเสื่อม) แล้วกดทับเส้นประสาท กดทับไขสันหลัง ... ทรมาน อาจเดินไม่ได้ แต่ ไม่ทำให้เสียชีวิต

ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7
คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6
ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด    www.thaispine.com/Decision_point.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามก่อนผ่า ที่พบบ่อย    https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/frequently-asked-questions-before-receiving-spine-surgery

หมอหมู
https://pantip.com/topic/42022770




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 19 พฤษภาคม 2566 15:24:42 น.   
Counter : 21355 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]