Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?








หลาย ๆ คน คงเคยยิน เกี่ยวกับ กระดูกงอก หรือ แคลเซี่ยมเกาะ กันบ้างแล้ว และก็คงเกิดคำถามในใจ ว่า กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระดูกงอก เกิดขึ้นได้อย่างไร ...

กระดูกงอก เกิดจาก ความพยายามตามธรรมชาติของร่างกาย ที่จะซ่อมแซมรักษาส่วนที่บาดเจ็บ ฉีกขาด มีการอักเสบ หรือ มีการเสื่อมสภาพ โดยมีแคลเซี่ยมมาเกาะในบริเวณนั้น ถ้าแคลเซี่ยมเกาะกันมากเข้าก็จะกลายเป็น กระดูกงอกขึ้นมา ...

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งแปลก หรือ เป็นสิ่งเลวร้ายอะไรที่ เอกซเรย์ แล้วเห็นว่ามีกระดูกงอก


ถ้าพบว่า มีกระดูกงอก จะต้องรักษา โดยการผ่าตัด เอากระดูกงอกนั้นออกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า ...


๑. กระดูกงอก เป็นปลายเหตุ

มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการอักเสบ การบาดเจ็บ แล้วร่างกายก็ตอบสนอง พยายามรักษาตัวเอง เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกสันหลังเสื่อมในระยะข้อหลวม กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นต้น ...

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอก ออกไป นอกจาก จะไม่ดีขึ้น แล้วยังอาจ แย่ลงกว่าเดิมเสียอีก


๒. กระดูกงอก เป็นต้นเหตุ

กระดูกงอก ทำให้เกิดการอักเสบ อาการปวด เนื่องจาก กระดูกงอกที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายนั้น มีขนาดใหญ่มากเกินไป จนไปกดเบียดเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น...

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป ก็จะทำให้ดีขึ้น

ดังนั้น เมื่อเอกซเรย์ พบว่า มีกระดูกงอก ก็ต้องแยกให้ได้ก่อนว่า กระดูกงอกนั้น เป็นต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ ของอาการที่เป็นอยู่ ... ไม่ใช่ว่า เห็นกระดูกงอก แล้วต้องผ่าตัดออก ทุกครั้งไป ... กระดูกงอก ก็มีทั้งเป็น พระเอก และ เป็นผู้ร้าย ... ต้องคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนเสมอ


คำถามที่พบบ่อย

๑. ทานแคลเซี่ยมเยอะ ๆ ทำให้มีกระดูกงอก ???

ไม่เป็นความจริง .....

จากการศึกษาพบว่าในผู้ที่กินยาเม็ดแคลเซียมน้อยกว่าวันละ 2 กรัม ไม่พบว่ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น และ ไม่ทำให้เกิดกระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น (กระดูกงอกมักเกิดจากข้อเสื่อม ไม่เกี่ยวกับยาเม็ดแคลเซียม)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-02-2008&group=4&gblog=19


๒. สลายกระดูกงอก ด้วย ยากิน หรือ การนวด ???

ไม่เป็นความจริง ......

ไม่มียากิน ยาฉีด ที่ใช้สลายกระดูกงอก และ การนวด ก็ไม่สามารถทำให้กระดูกที่งอกนั้นหาย ...


๓. คนที่มีกระดูกงอก แสดงว่า เป็นโรค ต้องหาหมอเพื่อรักษา ???

ไม่เป็นความจริง .....

จากการศึกษา โดยนำผู้สูงอายุ ที่ไม่มีอาการผิดปกติ มาเอกซเรย์ พบว่า ผู้ที่อายุมากกว่า ๖๐ ปี เกือบครึ่งพบมีกระดูกงอกตามข้อต่าง ๆ และในผู้ที่อายุมากกว่า ๗๐ ปี เกือบทั้งหมด พบมีกระดูกงอก

สรุปง่าย ๆ ว่า ถ้าพบกระดูกงอก แต่ไม่มีอาการผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา




 

Create Date : 16 กันยายน 2551   
Last Update : 16 กันยายน 2551 15:56:50 น.   
Counter : 50437 Pageviews.  

ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???






ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ???


ข้อที่มักพบมีเสียงลั่นได้บ่อย เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า หลัง และ คอ


สาเหตุ

๑. แก๊ส ในข้อ

น้ำไขข้อ จะมีก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และ คารบอน ไดอ๊อกไซค์ เมื่อดัดข้อ ฟองก๊าซเล็ก ๆ เหล่านี้ ก็จะถูกบีบให้แตก ทำให้เกิดเสียงลั่นในข้อ ซึ่งถ้าจะทำให้เกิดเสียงดังอีกก็ต้องรอเวลาสักพัก เพื่อให้เกิดฟองก๊าซเล็ก ๆ อีก

๒. การเสียดสีของ เส้นเอ็น หรือ กระดูก

เมื่อเคลื่อนไหวข้อ ดัดข้อ ก็จะเกิดการเสียดสีของ เส้นเอ็นกับเส้นเอ็น หรือ เส้นเอ็นกับกระดูก เส้นเอ็นอาจเคลื่อนออกจากตำแหน่ง ทำให้ได้ยินเสียงลั่น สามารถทำซ้ำได้บ่อย เมื่อเคลื่อนไหวข้อก็จะมีเสียงลั่นทุกครั้ง

๓. ผิวข้อที่ไม่เรียบ

เนื่องจาก ข้ออักเสบเรื้อรัง หรือ ข้อเสื่อม ก็จะมี กระดูกงอก และ มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้ผิดข้อไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อ ก็จะมีเสียงลั่นในข้อ




อันตรายหรือไม่ ???

ถ้า ไม่มีอาการปวด บวม หรือ ร้อน บริเวณข้อ ก็ถือว่า “ ปกติ “ ไม่เป็นอันตราย

มีรายงานวิจัยศึกษา ในคน ๓๐๐ คน ซึ่งดัดนิ้วมานาน ๓๕ ปี พบว่า ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ อาจเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ทำให้ ข้อบวม ได้ และ บางราย ก็จะมีอาการ กำมือแล้วไม่ค่อยมีแรง


//www.loc.gov/rr/scitech/mysteries/joint.html

//www.abc.net.au/science/k2/homework/s95607.htm




 

Create Date : 01 กันยายน 2551   
Last Update : 1 กันยายน 2551 18:12:04 น.   
Counter : 65283 Pageviews.  

ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด








ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด


พบใน เพศชาย มากกว่า เพศหญิง

อายุเฉลี่ย 40 ปี (12-70 ปี)

ประมาณ ร้อยละ 20 จะเป็นทั้งสองข้าง


สาเหตุ

1. เกิดขึ้นเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิด ได้ชัดเจน

2. เกิดจากสาเหตุ หรือโรคอื่น ที่นำมาก่อน เช่น อุบัติเหตุ กระดูกสะโพกหัก ข้อสะโพกหลุด การฉายรังสีเพื่อรักษาโรค ใช้ยาสเตียรอยด์ โดยเฉพาะจากยาลูกกลอน ยาชุดแผนโบราณ ยาชุดแก้ปวด ดื่มสุรา กระดูกพรุน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น


อาการและอาการแสดง


ในระยะแรก จะมีอาการเจ็บปวดข้อสะโพก เดินลำบาก เดินกะเผลก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

ในระยะท้ายของโรคจะมาด้วยอาการของข้อเสื่อมสภาพ เช่น เจ็บบริเวณขาหนีบด้านหน้าหรือบริเวณสะโพก รู้สึกขัดๆ ฝืดๆ บริเวณสะโพกหรือเดินไม่คล่องในตอนเช้า บางรายอาจมีอาการปวดเข่า ปวดหลัง ร่วมด้วย



แนวทางรักษา

ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการ ยังไม่มีกระดูกยุบตัวมาก แพทย์จะเริ่มรักษาด้วย ยา เพื่อลดความเจ็บปวด ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว การออกกำลังกายที่เหมาะสม ทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการเจ็บปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบข้อสะโพก ใช้ไม้เท้าหรือไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดิน ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อสะโพก

ถ้าอาการมากขึ้น และ หัวกระดูกสะโพกยุบตัวมากขึ้น อาจต้องรักษาโดย การผ่าตัดเจาะหัวกระดูกสะโพก ผ่าตัดเสริมกระดูกเข้าไปในหัวกระดูก หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก

แต่ส่วนใหญ่ โรคจะดำเนินต่อเนื่อง หัวสะโพกจะยุบลงไปอีก จนต้อง ผ่าตัดเชื่อมข้อสะโพก (ในคนอายุน้อย ) หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกสะโพกเทียม ถ้าข้อสะโพกเสื่อมมาก อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ( ผ่าตัดเปลี่ยนทั้ง เบ้าสะโพก และ หัวกระดูกสะโพก) แต่มีข้อจำกัดคืออายุการใช้งาน ของหัวสะโพกเทียม ประมาณ 10 -15 ปี


แพทย์อาจนัดตรวจ นัดเอกซเรย์ เป็นระยะ ( ทุก 6 เดือน – 1 ปี ) เพราะ ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะเป็นมากขึ้น และบางครั้ง ก็จะมีอาการเพิ่มขึ้นในข้อสะโพกอีกข้างหนึ่ง ซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยได้ในระยะแรก ๆ การรักษาจะได้ผลดีกว่า

ถ้ามีข้อสงสัย กรุณาสอบถาม ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ที่รักษาท่านอยู่ อีกครั้ง

....................

แถม ..

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก (Total Hip Replacement)
//goo.gl/07QhC7
//www.jointdee.info

โรคของข้อสะโพกที่พบบ่อย / การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อ
//www.phraehospital.go.th/or/THA.html

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่ำตัดเปลี่ยน. ผิวข้อสะโพกเทียม.
//med.tu.ac.th/orthotu/images/pdf/peoplepdf/advisethr.pdf

วิดิทัศน์ การดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและสำหรับญาติผู้ดูแล
https://youtu.be/6YluQcaGc38




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2551   
Last Update : 19 มีนาคม 2558 22:47:17 น.   
Counter : 19904 Pageviews.  

กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???


คงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าเป็น กระดูกทับเส้น หรือ เป็น หมอนรองกระดูกทับเส้น .... หลาย ๆ คนอาจยัง งง ๆ ว่า มันคืออะไร กันแน่ ...???

คำว่า " เส้น " นี้ อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เข้าใจไม่ตรงกันว่า หมายถึง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นเลือด หรือ เส้นประสาท กันแน่ ???

เท่าที่พบ ก็สามารถตีความหมายได้ทุกอย่างเลย เพียงแต่ ก็ต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมว่า มีอาการเป็นอยางไร .. เช่น

ถ้าปวดไหล่ ปวดสะบัก ..แล้วพูดว่า " ปวดเส้น " หรือ " เส้นจม " แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น ..

ถ้าปวดเป็นแนว ตามเส้นเลือดดำ ซึ่งพบบ่อย ๆ จากการอักเสบของหลอดเลือดดำ หลังจากการฉีดยาเข้าเส้น หรือ ให้น้ำเกลือ ... แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง เส้นเลือด

ถ้ามีอาการปวด ร่วมกับอาการ ชา อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ .. แบบนี้ เส้น ก็จะหมายถึง เส้นประสาท



กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น จึงหมายถึง การกดทับเส้นประสาท บริเวณหลัง (กระดูกสันหลัง ) ... ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กระดูกเสื่อม หมอนรองกระดูกแตก กระดูกแตก เนื้องอก เส้นเลือดโป่งพอง เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ ลักษณะอาการ ก็จะคล้าย ๆ กัน คือ ปวดร้าวจากหลัง สะโพก ร้าวลง ขา มีอาการชา และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมด้วย .. ส่วนว่าจะมีอาการแบบไหนเด่นกว่า ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ..(ดังรูป)



อาการปวด ก็อาจปวดมาก เป็น ส่วน ๆ หรือ จะปวด เป็นแนวยาว ลงมาจากสะโพก ถึง น่อง ถึงเท้า เลยก็ได้ ...


แต่จะมีลักษณะที่พอจะแบ่งแยกได้ว่า อาการนั้น เกิดจาก เส้นประสาทเส้นไหน ถูกกดทับ (ดังรูป) เช่น

เส้นประสาท ส่วนเอว เส้นที่ ๔ ( L 4 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านใน

เส้นประสาท ส่วนเอว เส้นที่ ๕ ( L 5 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านนอก

เส้นประสาท ส่วนก้นกบ เส้นที่ ๑ ( S 1 ) ถูกกดทับ ก็จะปวดมากที่ น่องด้านนอก ร้าวไปถึง นิ้วเท้าด้านนอก




ที่นี้ ก็คงพอเข้าใจตรงกันแล้วนะครับว่า " ปวดเส้น กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น " หมายถึงอะไร ...

แถม เรื่อง กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/


อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
https://www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
https://www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
https://www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html


 

สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)  https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) 
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
https://www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs   

..............................................

๑๙ พค. ๖๖ ... กระทู้คำถาม ที่พบบ่อย ในพันทิบ ห้องสวนลุมพินี ..คัดลอกนำมาฝากกัน ..

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีโอกาสกลับมาเดินได้ไหมคะ ?

เรื่องคือ พ่อเคยตกจากหลังคาได้ประมาณปีกว่า ตอนนั้นเราทำงานอยู่ต่างจังหวัด เลยไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วแกก็ไม่ยอมไปหาหมอ พอช่วงหลังๆ มาเริ่มมีอาการปวดหนักขึ้น ตั้งแต่ช่วงเอวไปขา บางทีจนถึงขั้นเดินงอตัว ไปหาหมดดูภาพเอ็กซเรย์ กระดูกสันหลังช่วงล่างงอจนกระดูกนู้นออกมา  หมอเลยแนะนำให้ผ่าตัด เพราะทำอะไรไม่ได้แล้ว

แต่ด้วยที่เป็นชาวนา คนต่างจังหวัด แกไม่อยากผ่า เพราะกลัวว่าจะเดินไม่ได้ ลูกทุกคน ญาติ ก็ช่วยกันพูดแล้ว ก็เหมือนเดิม

เลยอยากถามเป็นความรู้ค่ะว่า ถ้าผ่าแล้วยังจะสามารถเดินได้ไหม ไม่ต้องถึงขั้นใช้ชีวิตปกติ หรือถ้าไม่ผ่า ในอนาคตมีโอกาสเป็นหนักว่านี้ไหมคะ แล้วมีวิธีที่จะพูดให้พ่อยอมผ่าตัดได้ไหมคะ

สมาชิกหมายเลข 3717574


๑. โดยทั่วไป แพทย์ใน รพ.รัฐ ถ้าไม่หนักจริง ๆ จะไม่แนะนำให้ผ่า .. เพราะ มีผู้ป่วยจำนวนมาก (รอคิวผ่าตัดยาวหลายเดือน บางครั้งเป็นปี ?)

๒. ถ้าแนะนำให้ผ่าตัด แสดงว่า อาการมาก และ ปล่อยไว้ น่าจะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม

๓. การผ่าตัดมีความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ ดีขึ้นกว่าก่อนผ่า แต่มีส่วนน้อยที่เดินไม่ได้หรือเสียชีวิต  .. ถ้าเทียบก็อาจคล้ายกับ ขับรถยนต์ ส่วนใหญ่ปลอดภัย ส่วนน้อยที่เกิดอุบัติเหตุ (ต่อให้เราระมัดระวังแล้ว) หมอ ไม่สามารถรับรองได้ว่า ผ่าตัดแล้วหาย ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ .. แต่ หมอ จะพยายามให้ดีที่สุด

๔. ไม่ว่า เลือกทางไหน (ผ่า หรือ ไม่ผ่า) ก็มีทั้ง ข้อดี ข้อเสีย .. เลือกทางที่ (แพทย์ ผู้ป่วย ญาติ) เห็นพ้องต้องกันว่า ผลดี มากกว่า ผลเสีย

๕. พาไปพบ พูดคุยกับ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้ว ตอนไป รพ. ก็ได้ ว่า เป็นอย่างไร ก่อนผ่า หลังผ่า ฯลฯ

๖. ถ้าพยายามทุกอย่างแล้ว แต่ ไม่ยอมผ่า่ตัด จริง ๆ .. ญาติ ลองเข้าไปสอบถามแพทย์ว่า ถ้าปล่อยไว้ ไม่ผ่าตัด จะเป็นอย่างไร ? เพราะ โดยทั่วไปแล้ว กระดูก(แตกหรือเสื่อม) แล้วกดทับเส้นประสาท กดทับไขสันหลัง ... ทรมาน อาจเดินไม่ได้ แต่ ไม่ทำให้เสียชีวิต

ควรบอก หรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7
คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6
ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด    www.thaispine.com/Decision_point.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามก่อนผ่า ที่พบบ่อย    https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/frequently-asked-questions-before-receiving-spine-surgery

หมอหมู
https://pantip.com/topic/42022770
 




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 19 พฤษภาคม 2566 15:24:15 น.   
Counter : 99168 Pageviews.  

โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )






โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )


ดัดแปลงจากเอกสารของ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

โรคนี้เป็น ความผิดรูปของ นิ้วหัวแม่เท้า ที่เอียงออกด้านนอกเข้าหานิ้วชี้ และ โคนนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าด้านในแยกออกจากนิ้วอื่น ทำให้ปลายเท้าแบนกว้างขึ้น โคนนิ้วหัวแม่เท้าโตมาก เมื่อเป็นมากขึ้นปลายนิ้วหัวแม่เท้าจะซ้อนใต้นิ้วเท้า

เมื่อนิ้วเท้าเอียงไปทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่างๆ ของนิ้วเท้า ผิดแนวไป ก็จะเป็นตัวเสริมทำให้ผิดรูปเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แรงกระทำต่อข้อนิ้วเท้าเปลี่ยนไปโดยตำแหน่งเคลื่อนไปทางด้านนอก มีการอักเสบของข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า



สาเหตุ

ส่วนใหญ่เป็นจากการใส่รองเท้าบีบรัดปลายเท้า (รองเท้าส้นสูงปลายแหลม) ทำให้โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิง

กรรมพันธุ์ หรือ ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง เป็นต้น

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ



การวินิจฉัยโรค

ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้า มักเป็นในวัยกลางคนขึ้นไป มีประวัติใส่รองเท้าส้นสูงปลายรองเท้าแหลมบีบปลายเท้า

ประวัติครอบครัวที่เป็นมักพบใน กลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย (10-19 ปี)

ตรวจพบนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เข้าหานิ้วชี้โคนนิ้วด้านในบวม เจ็บ ปลายเท้ากว้าง เมื่อเป็นมากขึ้นนิ้วหัวแม่เท้าซ้อนใต้นิ้วชี้ร่วมกับมีบิดเอียง บางรายบริเวณที่เสียดสีกดกับรองเท้าหรือ พื้นผิวหนังจะหนาตัว นิ้วเท้าอื่นอาจผิดรูปร่วมด้วย

เอ็กซเรย์ในท่าต่างๆ ของเท้าและข้อเท้า เพื่อดูมุมที่ผิดรูปไป รวมถึงความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกัน



แนวทางการรักษา

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ ในรายที่มีอาการไม่มาก ข้อผิดรูปไม่มาก สามารถดึงหรือดันแก้ไขได้ ไม่มีข้อเสื่อม

แนวทางการรักษา ด้วยวิธีไม่ผ่าตัด เช่น

• ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ ปลายรองเท้ากว้างใส่แล้วพอขยับนิ้วเท้าได้บ้าง ไม่บีบรัดนิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่ม

• หลีกเลี่ยงรองเท้าปลายแหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว

• การนวด การยืด การแช่ น้ำอุ่น หรือ ประคบด้วยความเย็น อาจช่วยให้อาการปวดลดลงได้

• การใช้กายอุปกรณ์ เฝือกอ่อน หรือ พันผ้ารัดนิ้วเท้า (Padding & Taping ) เพื่อบรรเทาอาการปวด

• กายภาพบำบัด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เช่น การนวด การยืดหรือดัดข้อ การอบร้อน เป็นต้น

   ท่าบริหารเท้า  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=4

• ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวด



2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ มีอาการปวดร่วมกับข้อผิดรูปมากขึ้น มีลักษณะของข้อเสื่อมเกิดขึ้น

วิธีผ่าตัดมีมากกว่า 100 วิธี เช่น ตัดก้อนที่นูนออก การตัดกระดูกเพื่อเปลี่ยนแนวให้ตรงขึ้น การเชื่อมข้อ เป็นต้น ซึ่งจะเลือกวิธีไหนนั้นมักขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของนิ้วเท้าว่ามากน้อยขนาดไหน และเกิดจากสาเหตุอะไร

หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินได้ในสัปดาห์แรก โดยอาจใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัว ประมาณ 4-6 สัปดาห์




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 11 กรกฎาคม 2556 14:58:03 น.   
Counter : 42816 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]