Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย

 

สาเหตุของอาการปวดหลัง ที่พบบ่อย

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น แพทย์ก็สามารถให้การรักษาได้เลย

แต่ถ้าหลังจากให้การรักษาไปช่วงเวลาหนึ่งแล้ว มีอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ อาการไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อเช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก บางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง จึงจะเห็นความผิดปกติ

สาเหตุ อาการปวดหลัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

1. ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตั้งแต่วัยเด็ก หรืออาจจะมาแสดงอาการในขณะที่อายุมากแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นเพราะความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นในภายหลัง

โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน

การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายาม ทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ใส่เฝือกหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน









2. การใช้งานหลังที่ผิดวิธี


สาเหตุที่ทำให้ปวดหลังได้บ่อยที่สุด เกิดจากการทำงานที่ใช้หลังอย่างผิดวิธี เช่น การยกของหนักมาก ๆ ขึ้นจากพื้นในท่าก้มหลัง การดันของหนัก ๆ เช่น โต๊ะ ตู้เตียง การนั่งก้มหลังทำงานนาน ๆ การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาทันทีหรือในวันสองวันหลังจากนั้น ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ

2.1 อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ

กล้ามเนื้อหลังเป็นส่วนที่ช่วยให้กำลังและความแข็งแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน เดิน และ ยกของ กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไปหรือใช้งานผิดท่า ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น ได้แก่ การใช้งานไม่เหมาะสม อ้วน การสูบบุหรี่ เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบจะทำให้ ปวด หลังแข็งเกร็ง ขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ อาจมีอาการตัวเอียง เดินลำบาก มีแนวทางรักษาดังนี้

- การนอนพัก ในท่าที่สบาย เช่น ท่านอนหงาย เข่างอเล็กน้อย โดยใช้หมอนใบเล็ก ๆ รองใต้เข่า หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเพราะทำให้หลังแอ่น และปวดมากขึ้น แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2 – 4 วัน เพราะทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอมากขึ้น และ หายช้ากว่าปกติ ยิ่งลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

- ให้ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

- การทำกายภาพบำบัด


2.2 หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูก เป็นตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และให้ความมั่นคงแข็งแรงกับสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ (ซึ่งมักจะเกิดในท่าก้มลงยกของหนัก) จะทำให้หมอนรองกระดูกแตก และเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้ปวดหลัง ในผู้ป่วยบางราย หมอนรองกระดูกที่แตกออกมาจะไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายได้ โดยวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการรักษาคือ

- นอนพัก แต่ไม่ควรนอนพักนานเกิน 2-3 วัน

- รับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบีบำรุงเส้นประสาท

- ทำกายภาพบำบัด เช่น การดึงหลัง การอบหลังด้วยความร้อน หรือคลื่นเสียงอัลตร้า

- การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ให้แข็งแรง

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากจนรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ (อุจาระราด ปัสสาวะราด)



3. การติดเชื้อ

ภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีสาเหตุคือเชื้อแบททีเรียกระจายมาตามกระแสเลือดแล้วไปที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีไข้ขึ้น และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง การรักษาจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างรวดเร็ว

เชื้อที่พบบ่อยอีกชนิดหนึ่งคือ เชื้อวัณโรค ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย มีไข้ต่ำ ๆ ในตอนบ่าย น้ำหนักลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หลังโก่ง และอาจจะเป็นอัมพาตได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันก็จะหายเป็นปกติ



4. กระดูกสันหลังเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังก็จะเสื่อมโทรมลงตามธรรมชาติ ซึ่งอาจแบ่งอาการของกระดูกสันหลังเสื่อม ได้เป็น ๒ ระยะ

ระยะข้อต่อหลวม เมื่อข้อเริ่มเสื่อมถึงจุดหนึ่งความแข็งแรงของข้อต่อกระดูกสันหลังจะลดลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากขึ้น (ข้อต่อหลวม) ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ในช่วงเริ่มต้นมักจะมีอาการเวลาขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เช่น นอนแล้วลุกขึ้นลำบาก แต่ถ้าข้อต่อหลวมมาก ก็จะมีอาการตลอดเวลา

ระยะข้อติดแข็ง (กระดูกงอก) ซึ่งเป็นระยะต่อมาที่ร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูนมายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ข้อต่อหลวมก็จะหายไป แต่ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จนกดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังอีก ซึ่งคราวนี้อาการปวดหลังมักจะเป็นเมื่อเริ่มออกเดินไปได้สักระยะหนึ่ง อาการปวดและชาที่ขาจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดินไม่ไหวต้องหยุดเดินและนั่งพักอาการจึงจะดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรค



ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง แนวทางการรักษา และวิธีบริหารกล้ามเนื้อ ให้สอบถามกับแพทย์ หรือ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ อีกครั้ง….


..............................

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2551   
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:57:52 น.   
Counter : 58714 Pageviews.  

ปวดหลัง

ปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ และเป็นอาการที่ทำให้ต้องหยุดพักงานมากที่สุด เกือบทุกคนจะเคยมีอาการปวดหลังและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะป้องกัน รักษาอาการปวดหลังให้หายได้อย่างถาวร

อาการปวดหลัง จะพบได้ 3 แบบ ซึ่งอาจพบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง หรือ พบร่วมกันหลาย ๆ แบบก็ได้ …

1. ปวดเฉพาะบริเวณแผ่นหลัง หรือ เฉพาะบริเวณสะโพก

2. ปวดร้าวลงไปที่ขา ร่วมกับอาการขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ซึ่งแสดงว่ามีการกดทับของเส้นประสาท

3. ปวดที่หลังหรือสะโพก ร่วมกับ อาการปวดร้าวลงไปที่ขา ขาชา และ ขาอ่อนแรง



อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36








สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย

•    สาเหตุที่พบบ่อย

-    กล้ามเนื้อ(เส้นเอ็น)อักเสบ จากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือ อ้วน มักจะเป็นเรื้อรัง เป็นๆหายๆ

-    กล้ามเนื้อเคล็ด(กล้ามเนื้อฉีกขาด) จากการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง หรือ อุบัติเหตุ มักจะเป็นเฉียบพลันทันที

-    พังผืดยึดกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท จะมีจุดกดเจ็บชัดเจนที่หลังหรือสะโพก และอาจมีร้าวลงขาร่วมด้วย

-    หมอนรองกระดูกแตก(เคลื่อน) มักพบในผู้ที่ก้มตัวยกของหนักมากเกินไป หรือ บิดเอี้ยวตัวขณะยกของ

-    กระดูกสันหลังเสื่อม มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี อาจมี กระดูกสันหลังเคลื่อน(เลื่อน) ร่วมด้วย

-    อวัยวะภายใน เช่น ไตอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ปอดติดเชื้อ หัวใจขาดเลือด เป็นต้น

-    สาเหตุอื่น เช่น ความเครียด โรครูมาทอยด์ เกาต์ ติดเชื้อในกระดูก เนื้องอกมะเร็งกระดูก กระดูกสันหลังคด

    กระดูกสันหลังแตกหัก กระดูกแตกยุบตัวจากโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลังยึดติด (AS)  เป็นต้น


•    แนวทางวินิจฉัย

ส่วนใหญ่วินิจฉัยได้จากการถามประวัติและตรวจร่างกาย ไม่ต้องถ่ายภาพรังสี(เอกซเรย์) ยกเว้น อาการมาก หรือ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น แต่ เอกซเรย์ทั่วไป จะเห็นเฉพาะกระดูก ไม่เห็นกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก เส้นประสาท        บางกรณีจึงต้อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(ซีที) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าสันหลัง (มัยอีโลแกรม)

•    แนวทางรักษา

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
หยุดพักการใช้หลัง หลีกเลี่ยงยกของหนัก นอนพักแต่ไม่ควรนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้

ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน เช่น น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบ 10 - 15 นาที หรือ ประคบร้อน 4 นาที สลับเย็น 1 นาที อาจใช้ ครีมนวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรง

ยา เช่น ยาบรรเทาปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาสร้างกระดูกอ่อน ยาชะลอความเสื่อม

กายภาพบำบัด เช่น นวด ดึงหลัง อบหลัง บริหารกล้ามเนื้อ เครื่องรัดหลัง(ไม่ควรใส่นานเพราะกล้ามเนื้อจะลีบ)

การผ่าตัด ถือว่า เป็นทางเลือกสุดท้าย ใช้ใน ผู้ที่มีอาการมาก และ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ดีขึ้น


 
•    อาการปวดหลังที่ควรไปพบแพทย์

1.    ปวดรุนแรง ปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  รับประทานยาและนอนพัก แล้วอาการไม่ดีขึ้น

2.    มีการกดทับเส้นประสาท ทำให้มี ปวดร้าวจากสะโพกลงไปที่ ขา ปวดแสบร้อน ขาชา ขาอ่อนแรง

3.    ไม่สามารถ กลั้นอุจจาระ กลั้นปัสสาวะ (อุจจาระราด ปัสสาวะราด)

4.    มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีก้อน ไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้อาเจียน ปวดบวมตามข้อ


 

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 



..................................................

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

 




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2551   
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:56:40 น.   
Counter : 65460 Pageviews.  

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง





ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อ ป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง



การนอน
เตียงนอน ควรทำด้วยวัสดุที่แข็ง ผิวเรียบ และมีความสูงระดับข้อเข่า

ที่นอน ควรมีเนื้อแน่น มีความแข็งพอสมควร คือเมื่อนอนแล้วลุกขึ้น ที่นอนจะคืนรูปดังเดิม ไม่ยุบบุ๋มลงไปตาม น้ำหนักตัว หรือ ไม่ทำให้ลำตัว คดงอเมื่อนอนบนที่นอน

ท่านอน ควรนอนหงายแล้วใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนใต้เข่า เพื่อให้สะโพกงอเล็กน้อย หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง โดยขาที่วางบนหมอนข้างให้งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย ไม่ควรนอนคว่ำ

การลุกจากที่นอน ให้เลื่อนตัวมาใกล้ขอบเตียงนอน ตะแคงตัว งอเข่าและสะโพก ห้อยขาลงข้างเตียงพร้อมกับ ใช้มือยันตัวลุกขึ้นนั่งแล้วจึงค่อยลุกยืน ไม่ควรลุกขึ้นนั่งทันทีในขณะที่นอนหงายอยู่ เพราะจะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก อาจทำให้ปวดหลังได้



การนั่ง

เก้าอี้ ควรมี

- ความสูง ระดับข้อเข่า เมื่อนั่งแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี

- ส่วนรองนั่ง มีความลึกที่จะรองรับสะโพกและต้นขา ได้พอดี

- พนักพิง มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ และเอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10-15 องศา

- ที่เท้าแขน เพื่อเป็นที่พักวางแขน และ ใช้ยันตัวเวลาจะนั่งลงหรือลุกยืนขึ้น
ท่านั่ง นั่งหลังตรงพิงกับพนักพิง น้ำหนักลงบริเวณตรงกลาง ไม่นั่งเอียง เท้าสองข้างวางราบกับพื้น เข่างอตั้งฉาก ต้นขาวางราบกับที่นั่ง ให้ข้อพับเข่าอยู่ห่างจากขอบที่นั่งของเก้าอี้ประมาณ 1 นิ้วเพื่อป้องกันการกดทับเส้นเลือดใต้เข่า

ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้น้ำหนักตัวลงข้างใดข้างหนึ่งและแนวกระดูกสันหลังเอียง ทำให้ปวดหลังได้

การนั่งขับรถ ควรขยับเบาะที่นั่งให้เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10-15 องศา และ ขยับเบาะให้ใกล้พอดี ซึ่งเมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกเต็มที่แล้ว เข่าจะงอเล็กน้อยประมาณ 20-30 องศาและนั่งให้แผ่นหลังและสะโพกแนบกับเบาะ อาจจะใช้หมอนเล็ก ๆ หนาประมาณ 3-5 นิ้ว รองที่หลังบริเวณเอวด้วยก็ได้


การยืน

ยืนให้หลังตรงในท่าที่สบาย กางขาออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงค่อนมาทางส้นเท้าทั้งสองข้าง

ไม่ควรยืนในท่าเดียวนาน ๆ ควรขยับตัวเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ หรือ ยืนลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน หรือ สลับเท้าวางพักเท้าบนโต๊ะเล็ก ๆ ที่สูงประมาณ 1 คืบ หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 1 นิ้ว



ขั้นตอนการยกของหรือหยิบของ ที่วางอยู่ ต่ำกว่าระดับสะโพก

ต้องพยายามให้หลังตรงอยู่ ตลอดเวลาที่ยกของ... "ไม่ควร" ก้มหลังยกสิ่งของในท่าที่เข่าเหยียดตรง หรือ บิดเอี้ยวตัว

ขั้นที่ 1. ยืนหลังตรง ขากางออกเล็กน้อย งอเข่า ย่อตัวลงจนกระทั่งมาอยู่ในท่านั่งยอง ๆ

ขั้นที่ 2. หยิบสิ่งของที่ต้องการ ถ้าของนั้นหนัก ต้องอุ้มของชิ้นนั้นชิดแนบลำตัว

ขั้นที่ 3. ค่อย ๆ ลุกขึ้นด้วยกำลังขา โดยให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา



แพทย์เป็นเพียงผู้รักษาและให้คำแนะนำเท่านั้น แต่การป้องกันไม่ให้ปวดหลังนั้นขึ้นอยู่กับตัวท่านเองเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และดูแลตนเอง จะช่วยให้ท่านไม่ปวดหลัง หรือ ช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้








 


...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 

 



........................

เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 313  : พฤษภาคม 2548
นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

เข็มขัดรัดหลัง : จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน?

ผู้เขียนได้ไปบรรยายหลายแห่งทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าคนงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความปลอดภัยของโรงงาน หลายท่านได้เข้ามาคุยกับผู้เขียนว่า คนทำงานยกขนอยากจะใช้เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ในขณะทำงาน โอกาสผู้เขียนจึงขอเสนอความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้เข็มขัดรัดหลังในงานยกขน

เข็มขัดรัดหลัง (Back belt) ที่ใช้ในคนทำงานดัดแปลงมาจากเฝือกพยุงเอว (Lumbo sacral Support) ที่ใช้ในทางการแพทย์ มีจุดประสงค์ในการใส่เพื่อประคองหลังในกรณีที่ปวดหลังมาก กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดส่วนหลัง

การใส่มีผลให้บริเวณแผ่นหลังกระชับกระตุ้น การทำงานของเส้นประสาทที่รับความรู้สึกอื่นๆ นอกจากเส้นประสาทรับความเจ็บปวด ทำให้ผู้ใส่มีอาการปวดลดลง และที่สำคัญช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรงลงไปหลังผ่าตัดหรือมีอาการเจ็บมาก และทำให้มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวที่น้อยลง

เมื่อใส่เฝือกพยุงเอวจะรู้สึกแน่นกระชับที่หลังและสบายเหมือนกับกล้ามเนื้อหลังไม่ได้ทำงาน

ข้อเสียของการใส่เฝือกพยุงเอวระยะยาว คือ การที่มีกล้ามเนื้อรอบลำตัวทำงานลดลง และผู้ใส่ติดการใช้ไม่สามารถถอดออกได้ เพราะกลัวเจ็บมากขึ้น ในทางการแพทย์จะให้ผู้ป่วยเลิกใส่เฝือก พยุงเอวเร็วที่สุด เพราะมีผลเสียดังกล่าว

เข็มขัดรัดหลังมีมากกว่า ๗๐ ชนิดในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะรัดบริเวณหน้าท้องและหลังส่วนล่าง มีความกว้างน้อยกว่าเฝือกพยุงเอว มีทั้งแบบแขวนกับไหล่เพื่อไม่ให้เลื่อนลง บางชนิดมีการเป่าลมเข้า ภายในตัวเข็มขัดเพื่อให้รัดได้กระชับยิ่งขึ้น เข็มขัดรัดหลังเป็นที่นิยมมากในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา คนงานในบางประเทศใส่เหมือนเป็นเครื่องป้องกันเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ขณะทำงาน

มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า คนงานที่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่ได้มีปัญหาปวดหรือบาดเจ็บของหลังน้อยกว่าคนงานที่ไม่ได้ใส่ ซ้ำยังทำให้การบาดเจ็บรุนแรงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลังเสียอีก

ผู้ที่ใช้เข็มขัดรัดหลังเป็นประจำอ้างว่าการใส่เข็มขัดรัดหลังจะช่วยให้มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อลำตัวทำงานลดลง แต่การคำนวณทางชีวกลศาสตร์พบว่าแรงดันในช่องท้องกลับมีผลทำให้แรงกดที่กระดูกสันหลังมากขึ้นและอาจนำไปสู่อาการปวดหลังได้

การศึกษาโดยการวัดคลื่นกล้ามเนื้อไฟฟ้า พบว่า การทำงานของกล้ามเนื้อหลัง ขณะยกของแบบใส่และไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังไม่แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังจะพอๆ กัน

การเคลื่อนไหวของลำตัวของผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลังจะลดลงในทิศทางด้านข้างและการหมุนตัว แต่การบาดเจ็บของหลังขณะทำงานมักอยู่ในท่าก้มร่วมกับการหมุนตัว เข็มขัดรัดหลังไม่ได้ป้องกันให้ผู้ใส่ก้มตัวเลย

การใส่เข็มขัดรัดหลังมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการทดลองใส่เข็มขัดรัดหลังในขณะยกของ นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดรัดหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น การที่ความดันช่องท้องที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเลือดไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นความดันเลือดที่สูงอยู่แล้วในคนทำงานหนักจะยิ่งสูงขึ้น

ผลระยะยาวของการใส่เข็มขัดรัดหลังเป็นเวลานานๆ ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่การที่มีความดันในช่องท้องสูงอยู่นานๆ อาจมีผลทำให้เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร และมีหลอดเลือดขอดที่ขาและถุงอัณฑะได้ แต่ผลระยะยาวนี้ต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต

คนทำงานจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อใส่เข็มขัดรัดหลังทำงาน แต่ความมั่นใจนี้มีผลเสีย เพราะคนทำงานจะรู้สึกว่าตัวเองมีความปลอดภัยแล้ว จะยกวัตถุโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับช่วงที่ไม่ได้ใส่เข็มขัดรัดหลัง

มีการศึกษาพบว่า น้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ขณะใส่เข็มขัดรัดหลังจะเพิ่มประมาณร้อยละ ๑๙ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เกินความสามารถของผู้ยก สอดคล้องกับสถิติที่พบว่าผู้ที่ใส่เข็มขัดรัดหลัง ถ้ามีอาการบาดเจ็บจากการทำงานจะบาดเจ็บรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใส่

ข้อแนะนำสำหรับการใส่เข็มขัดรัดหลัง
เข็มขัดรัดหลังมีประโยชน์ในคนทำงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสภาพกลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรกของการได้รับการบาดเจ็บ หรือใส่เพื่อลดอาการเจ็บที่เกิดซ้ำ ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ผู้ใส่ต้องได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการยกวัตถุที่ถูกต้องการจัดสภาพการทำงานที่เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่ควรจะยกได้ในขณะนั้น และชีวกลศาสตร์เบื้องต้นของการยกวัตถุ ในคนงานทั่วไปที่ไม่มีประวัติบาดเจ็บไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดรัดหลัง นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วยังทำให้คนทำงานประมาทไม่ระวังเวลาทำงาน

การที่ผู้ประกอบการคิดว่าการให้คนทำงานใส่เข็มขัดรัดหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงานนั้นต้องอาศัยการปรับปรุงสภาพงานเป็นสำคัญ ตราบใดที่คนทำงานจะต้องยกวัตถุหนักเกินกำลังของตัวเอง ต้องยกวัตถุหนักจากพื้น และต้องบิดตัวขณะยกไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดรัดหลังมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

กล้ามเนื้อลำตัวกับการป้องกันอาการปวดหลัง
ร่างกายจะมีกล้ามเนื้อที่เป็นเข็มขัดรัดหลังโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะอยู่ลึกและเกาะกับกระดูกสันหลัง แรงหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เพียงร้อยละ ๒๐ ของแรงหดตัวสูงสุดจะช่วยทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น ดังนั้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่การทำงานในช่วงที่ควรจะทำ เช่น หดตัวขณะที่กระดูกสันหลังมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในขณะยกวัตถุ พบว่า ในคนที่มีอาการปวดหลังอยู่นานๆ กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะทำงานน้อยมากหรือไม่ทำงานเลยขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ต้องมีการฝึกออกกำลังที่เรียกว่าการออกกำลังเพื่อความมั่นคงของลำตัว (trunk stabilization exercise) จึงจะทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานได้ตามปกติ การฝึกออกกำลังแบบนี้ในคนทำงานจะสามารถป้องกันการบาดเจ็บของหลังได้ดี และที่สำคัญไม่ต้องสิ้นเปลือง ซื้อเข็มขัดรัดหลังมาใช้เพราะธรรมชาติให้มาอยู่แล้ว

การออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงของลำตัวเป็นการใช้การควบคุมทางกาย (motor control) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อทำงานในขณะอยู่นิ่งก่อน แล้วจึงฝึกในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของแขนขา จนในที่สุดกล้ามเนื้อนี้จะทำงานในขณะทำงาน เช่น การยกวัตถุ ดึง ดัน แบก หาม

อย่าลืมว่าถ้าไม่ปวดหลังก็ไม่ต้องใช้เข็มขัดรัดหลัง จัดสภาพงานให้เหมาะสม อย่าออกแรงเคลื่อนย้ายวัตถุหนักเกินกำลัง เท่านี้ท่านจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บของหลัง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเข็มขัดรัดหลังเลย

 




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2551   
Last Update : 4 ตุลาคม 2565 14:41:33 น.   
Counter : 46085 Pageviews.  

น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)


น้ำไขข้อเทียม

ในข้อเข่าปกติ จะมี น้ำไขข้อ หรือ น้ำเลี้ยงข้อ ซึ่งเป็นของเหลว ลักษณะข้นใส และ ลื่น น้ำไขข้อจะมีส่วนประกอบของน้ำและโปรตีน ทำให้มีความหนืดและความยืดหยุ่นสูง ในข้อเข่าปกติจะมีน้ำไขข้ออยู่เพียง 3 - 5 ซีซี เท่านั้น

น้ำไขข้อ มีหน้าที่ ลดแรงกระแทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ หล่อลื่นผิวข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นำสารอาหารและออกซิเจน มาเลี้ยงกระดูกอ่อนผิวข้อ และนำของเสียจากกระดูกอ่อนออกจากข้อผ่านเข้าไปยังเส้นเลือดและน้ำเหลือง

ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำไขข้อจะมีการเปลี่ยนแปลง คือ ใสขึ้น ปริมาณลดลง(น้ำไขข้อแห้ง) ความหนืด และความยืดหยุ่นลดลง ในผู้ป่วยที่มีเข่าเสื่อมและมีการอักเสบมาก ปริมาณน้ำในข้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นน้ำไขข้อที่ไม่ดี ไม่สามารถป้องกันการกระแทกและหล่อลื่นผิวข้อได้เหมือนน้ำไขข้อปกติ จึงทำให้เกิดการทำลายของกระดูกอ่อนผิวข้อมากขึ้น

น้ำไขข้อเทียม เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ มีความหนืดและความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับน้ำไขข้อปกติของคนปกติ ซึ่งนำมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม โดยจะทำหน้าที่เหมือนกับน้ำไขข้อปกติ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น การอักเสบลดลง อาการปวดข้อลดลง และ ช่วยชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไปอีก 1- 2 ปี

แพทย์ จะฉีด น้ำไขข้อเทียม เข้าไปในข้อเข่า ซึ่งน้ำไขข้อเทียมนี้มีปริมาตร 2 ซีซีต่อเข็ม ฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็ม ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ (ห่างกันเข็มละ 1 สัปดาห์) ถ้าจะฉีดก็ควรฉีดครบทั้ง 3 เข็มติดต่อกัน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ปริมาณยาสูงสุดที่แนะนำก็คือ 6 เข็มภายใน 6 เดือนโดยเว้นระยะห่างจากการฉีด 3 เข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน

หลังฉีด น้ำไขข้อเทียม ประมาณ 48 ชม. ควรหยุดพักการใช้เข่ารุนแรง เช่น วิ่ง ตีเทนนิส หรือ ยกของหนัก เป็นต้นถ้ารู้สึกว่า ปวดตึงในข้อ ก็อาจรับประทานยาแก้ปวด และ ใช้น้ำเย็นประคบบริเวณปวด ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีข้อบวม แดง ร้อน ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อในข้อเข่า ก็ให้รีบไปพบแพทย์

ผลการรักษา อาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเสื่อม ถ้ามีข้อเสื่อมมาก ผลการรักษาก็จะไม่ค่อยดี จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ฉีดน้ำไขข้อเทียมจะมีอาการปวดลดลงและเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น เฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี หลังจากฉีด โดยจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น ใน 2 - 3 เดือนหลังฉีด ดังนั้นในช่วงแรก ถ้ามีอาการปวดมากอาจจะต้องรับประทาน ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมด้วย

น้ำไขข้อเทียม ได้มีการนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 5 แสนราย ในประเทศต่าง ๆ เช่น แคนนาดา อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวีเดน จีน ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น จากการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ไม่พบว่ามีผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือทำปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และ ต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

น้ำไขข้อเทียม ไม่ได้รักษาข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดและไม่สามารถทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อที่เสื่อมไปแล้วกลับมาดีเหมือนเดิม เพียงแต่ช่วยป้องกันกระดูกอ่อนผิวข้อไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้น ชะลอการเสื่อมของข้อ ช่วยบรรเทาอาการปวด ทำให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวดีขึ้น

จึงถือว่าน้ำไขข้อเทียมเป็นเพียงทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น แต่เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง (ประมาณ 15,000-20,000 บาทต่อ 3 เข็ม) จึงควรปรึกษาศัลยแพทย์กระดูกและข้อว่าจำเป็นต้องฉีดหรือไม่

หมายเหตุ มีน้ำไขข้อเทียมแบบฉีด 5 เข็ม ซึ่งมี ความหนืด และ ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำไขข้อปกติ มีราคาต่ำกว่าน้ำไขข้อเทียมชนิด 3 เข็ม (ประมาณ 10,000-13,000 บาท) แต่จำนวนครั้งที่ฉีดมากกว่า (ฉีด 5 ครั้ง) ….




.............................................

แถม เรื่อง การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ “ฉีดยาเข้าข้อเข่า” ฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด (PRP)


ผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง ปรานปวีณ์ โรจน์เจริญงาม กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2022): มกราคม 2565 - มิถุนายน 2565
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/253962



“ปั่นเลือดแล้วนำมาฉีดเข้าข้อเข่า” อีกหนึ่งทางเลือกก่อนการรักษาข้อเข่าเสื่อม
นพ.ณัฐพงศ์ หงษ์คู ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ วชิรพยาบาล
https://sites.google.com/nmu.ac.th/ortho-vjr?fbclid=IwAR0DXQljH248U5QlI7v1t8_pWQW_XxqeeE_8I-ER1edZTCOhFnUN1_nQhDg



การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ “ฉีดยาเข้าข้อเข่า”
โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข
https://kdmshospital.com/article/knee-injection/

การฉีดสเตียรอยด์เข่า คือการฉีดยาสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกายที่บาดเจ็บ ซึ่งยาประเภทนี้มักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเข่าที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ ซึ่งมักจะพบอาการแดงร้อนของข้อ และพบอาการบวมที่เกิดจากเยื่อบุข้อเข่าที่อักเสบผลิตของเหลวออกมาสะสมในบริเวรข้อเข่าเป็นจำนวนมาก โดยยาสเตียรอยด์ที่ฉีดเข้าไปจะช่วยลดการอักเสบเฉพาะจุดในบริเวณข้อเข่า สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการปวดอักเสบได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง

การฉีดสเตียรอยด์เข่าเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรกของโรคที่ข้อเข่ายังไม่เสียหายหรือผิดรูปมาก และใช้รักษาเมื่อมีอาการปวดข้อเข่าจากการอักเสบมากจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน โดยตัวยานี้จะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 6 ถึง 12 สัปดาห์ จำนวนการฉีดในแต่ละปีจะจำกัดอยู่ที่ 3 หรือ 4 ครั้ง แพทย์จะฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในข้อเข่า โดยการผสมสเตียรอยด์กับยาชา จึงทำให้ระหว่างการรักษาผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงอาการบีบหรือแสบร้อนได้ ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในกระบวนการออกฤทธิ์ของยา

ถึงแม้การฉีดสเตียรอยด์เข่าจะเป็นการรักษาที่ได้ผลชะงัด แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงตามมาในผู้ป่วยบางราย เช่นความเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณข้อเข่าจากสารสเตียรอยด์ โอกาสติดเชื้อข้อเข่าเพิ่มขึ้น การระคายเคืองของเส้นประสาทที่เกิดจากเข็มและตัวยา หรือชั้นผิวบริเวณที่ฉีดบางลงและมีสีผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทุกครั้งก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์จะต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อภายในหรือผิวหนังรอบๆ ข้อเข่า รวมถึงมีการซักประวัติแพ้ยาประเภทสเตียรอยด์ด้วย นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่าการฉีดสเตียรอยด์เข่าส่วนใหญ่มักจะได้ผลดีที่สุดในการฉีดครั้งแรกๆ เท่านั้น และการฉีดสเตียรอยด์เข่ายังไม่เหมาะในการรักษาในระยะยาว เพราะสเตียรอยด์จะเข้าไปรบกวนกระบวนการซ่อมแซมตามธรรมชาติของร่างกาย ดังนั้นหากผู้ป่วยมีประวัติการฉีดสเตียรอยด์เข่ามาระยะหนึ่งแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจเสนอให้เปลี่ยนแนวทางการรักษา

การฉีดน้ำไขข้อเทียม คือการฉีดสารหล่อลื่นประเภทกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) หรือที่นิยมเรียกกันว่าน้ำไขข้อเทียม เข้าไปในช่องข้อเข่าโดยตรง โดยกรดไฮยาลูโรนิกที่ฉีดเข้าไปในข้อเข่านี้จะมีคุณสมบัติคล้ายกับส่วนประกอบทางธรรมชาติที่พบได้ในของเหลวในข้อเข่ามนุษย์ ทำหน้าที่เหมือนสารหล่อลื่นผิวข้อเข่า ดูดซับแรงกระแทก และช่วยให้พื้นผิวกระดูกอ่อนในข้อเข่าไม่เสียดสีกันรุนแรง นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบซึ่งช่วยทุเลาอาการปวดที่เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้ การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกช่วยให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น  เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว และใช้ข้อเข่าทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพมาก ใกล้เคียงปกติมากขึ้น

การรักษาด้วยการฉีดน้ำไขข้อเทียมเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมปานกลาง ยังเหลือกระดูกอ่อนผิวข้อทีดีอยู่ ใช้ยาแก้ปวดอักเสบแล้วแต่ยังช่วยลดอาการปวด ขัดข้อได้ไม่ดีมาก ข้อเข่าไม่ได้มีการอักเสบชัดเจนซึ่งเหมาะกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าเพื่อรักษา อยู่ในระหว่างรอคอยการผ่าตัดหรือยังไม่พร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  โดยความถี่ในการฉีดนั้นมีตั้งแต่การฉีดครั้งเดียวไปจนถึงการฉีดทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 ถึง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของยาฉีดไฮยาลูโรนิก) โดยทั่วไปแล้วจะเห็นผลการรักษาได้ในช่วง 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังฉีด และจะมีฤทธิ์คงอยู่ได้นานถึงประมาณ 3 ถึง 6 เดือน โดยสามารถฉีดซ้ำได้ตามความเหมาะสมของอาการและตามการวินิจฉัยของแพทย์ สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในขั้นรุนแรงที่ข้อเข่าเสื่อมเสียหายหรือข้อผิดรูปมาก แพทย์จะไม่แนะนำให้รับการรักษาประเภทนี้ เนื่องจากยาฉีดไฮยาลูโรนิกไม่สามารถเข้าไปออกฤทธิ์ในข้อที่เสื่อมเสียหายมากๆได้

ถึงแม้การฉีดน้ำไขข้อเทียมจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น อาการข้อเข่าบวมและปวดจากการอักเสบที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการรักษา จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือข้อเข่า นอกจากนี้กรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้กันส่วนใหญ่มักสกัดมาจากสัตว์ปีกหรือหงอนของสัตว์ปีก จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่หรือสัตว์ปีก ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ถึงข้อจำกัดของตนเองก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง

เกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma หรือ PRP) เป็นสารสกัดจากเลือดที่ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มาระยะหนึ่งแล้ว ขั้นตอนทำโดยการนำเลือดของผู้ป่วยออกมาเข้าเครื่องปั่นความเร็วสูง เพื่อแยกเกล็ดเลือดออกจากเลือดส่วนอื่นๆ เกล็ดเลือดนี้จะมีสารที่มีคุณสมบัติในการเร่งการซ่อมแซมการหายของเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บ หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดของเหลวส่วนที่เต็มไปด้วยเกล็ดเลือดนี้เข้าไปยังบริเวณข้อเข่าที่กระดูกอ่อนผิวข้อมีความเสียหาย หรือบาดเจ็บอยู่

โดยในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น PRP จะช่วยส่งเสริมให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองและเกิดการสร้างเซลล์ใหม่เร็วขึ้น นอกจากนี้การฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้นเข้าข้อเข่ายังช่วยยับยั้งการอักเสบ และกระตุ้นการหายของกระดูกอ่อนโดยสร้างเนื้อเป็นเยื่อใหม่ รวมถึงเพิ่มการผลิตของของเหลวหล่อลื่นตามธรรมชาติซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานของข้อเข่าได้ นอกจากนี้ยังสร้างโปรตีนที่ช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย

การฉีดเกล็ดเลือดรักษาเข่าเสื่อมเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุไม่สูงมาก และอยู่ในระยะเริ่มแรกของโรคที่กระดูกอ่อนยังเสียหายไม่มาก แต่มีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรังชนิดที่ใช้วิธีการรักษาโดยการใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบไม่ได้ผลที่ดีดี หรือใช้วิธีกายภาพบำบัดเพื่อลดการอักเสบหรือเสริมสร้างกล้ามเนื้อข้อเข่าแล้วไม่สำเร็จ ผู้ป่วยหลายรายที่เลือกวิธีนี้มักมีความไวต่อยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟนและไม่สามารถใช้วิธีการฉีดสเตียรอยด์เข่าได้ โดยในขั้นตอนการรักษา แพทย์จะฉีดเกล็ดเลือด PRP ในปริมาณเล็กน้อยลงในรอยต่อระหว่างข้อเข่า โดยอาจมีอาการบวมและปวดประมาณ 3 วันหลังจากการฉีด ซึ่งผู้ป่วยอาจจะได้รับการฉีดครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และต้องเว้นระยะห่างเป็นสัปดาห์หรือเดือนขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ 

ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะไม่แนะนำวิธีการฉีดเกล็ดเลือด PRP ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ที่กำลังมีอาการอักเสบและติดเชื้อในระยะลุกลาม ผู้ที่เป็นโรคเลือดหรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติที่ต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หรือสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากนี้ก่อนรับการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือการรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์เข่าเป็นเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์ และหยุดใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ต่าง ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ รวมถึงห้ามกินยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 5 วันก่อนทำการรักษา

บทความโดยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ข้อเข่าข้อสะโพกเทียม

รศ.นพ.ระพีพัฒน์ นาคบุญนำ
นพ.ณพล สินธุวนิช
ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช (ที่ปรึกษา)

https://kdmshospital.com/article/knee-injection/



https://kdmshospital.com/article/knee-injection/
................................

PRP ถือว่า เป็น ทางเลือก ... แต่เหมือนจะกลายเป็น ทางการตลาด ไปแล้ว ?
ศึกษาหาความรู้ ถ้ารู้แล้ว จะเลือก ก็ไม่ผิด ..

ข้อเข่าเสื่อม    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15

น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาเข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-05-2008&group=5&gblog=16
 




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 13 มีนาคม 2566 23:22:46 น.   
Counter : 29948 Pageviews.  

ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )

 


เครดิต ภาพ https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/6-อาการควรรู้--ข้อเข้าเสื/

 
ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจาก อายุที่มากขึ้น (มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป) น้ำหนักตัวมาก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และ จากการใช้ข้อไม่เหมาะสม สาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ การติดเชื้อในข้อ เป็นต้น

เมื่อเกิดข้อเสื่อม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ภายในข้อ เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และ ผิวไม่เรียบ มีกระดูกงอกบริเวณขอบ ๆ ข้อ และ เกิดการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำไขข้อ ปริมาณมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นลดลง

อาการและอาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจพบอาการเพียงอาการเดียว หรือ หลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรกมักจะเป็นไม่มาก และ เป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น ก็จะมีอาการบ่อยมากขึ้น หรือ เป็นตลอดเวลา

• ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่ ต้นขา น่อง และ ข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้อ อุ่นหรือ ร้อนขึ้น

• ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ

• ข้อเข่าบวม เพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือ มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่า ( เบเคอร์ ซีสต์ , Baker’s Cyst ) จากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก

• เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือ มีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง


เอกซเรย์ อาจพบสิ่งผิดปกติ เช่น ช่องของข้อเข่าแคบลง กระดูกงอก (ในผู้สูงอายุปกติ ที่ไม่มีอาการก็พบได้ )

ความผิดปกติทางเอกซเรย์ ไม่สัมพันธ์กับอาการปวด บางคนเอกซเรย์พบว่าข้อเสื่อมมากแต่กลับไม่ค่อยปวด โดยทั่วไปแล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ยกเว้นผู้ที่จะรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ ผู้ที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
 


แนวทางรักษา มีอยู่หลายวิธี เช่น

• ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากเกินไป

• กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า (แต่ถ้าใช้นาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ)

• ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

• ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติ กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) หรือ ยาชะลอความเสื่อม

• ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท)

• การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย จะใช้ในผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เท่านั้น


การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก และมีผลข้างเคียง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ หรือ ติดเชื้อในข้อ จึงถือว่าเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น

ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะดูดน้ำไขข้อออก แต่ถ้าจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ หรือ เจาะข้อ ก็ต้องป้องกันการติดเชื้อขณะฉีดอย่างดี (ต้องใช้ผ้าปลอดเชื้อคลุมบริเวณที่ฉีด) และ ไม่ควรฉีดมากกว่าปีละ 2-3 ครั้ง หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ ต้องลดการใช้งานข้อข้างที่ฉีด ประมาณ 1-2 อาทิตย์ และใช้ผ้าพันรัดเข่าไว้ด้วย
 

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง

1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง จะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น )

ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย

2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี

ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น

3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน

ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน

ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี

4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี

ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น

5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว

6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ

7. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน

ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้

8. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดกระชับพอดี

9. ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะ ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม

วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด

10. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น

11. การออกกำลังกายวิธีอื่น

ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น

ไม่ควร ออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้

12. ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้


ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้

จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร

จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และ ยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ บรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น




 
 









เพิ่มเติม ..

ข้อเข่าเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15

วิธีบริหารเข่า

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5

น้ำไขข้อเทียม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16

ปวดเข่า....ส่องกล้องข้อเข่า ... kneearthroscopy

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-01-2009&group=5&gblog=42

แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

https://www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s

คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132

คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯเกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134

คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146

 

ข้อเข่าเทียม

https://www.thaijoints.com/ข้อเข่าเทียม

การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม(Selfcare after knee replacement)

https://haamor.com/th/การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม/

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมโดย รศ.นพ.ณัฐพล ธรรมโชติ

https://thaiknee.com/home/wp-content/uploads/2013/09/คำแนะนำเรื่องโรคข้อเข่า.pdf

การผ่าตัดแก้ไข"ขาโก่ง"หรือ "ข้อเข่าโก่ง(เสื่อม)" ตอนที่ 1-3

https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2170--qq--qq--1.html

https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2171-2.html

https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2172-qq-qq-3.html

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(TotalKnee Replacement) | Bangkok Hospital

https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/total-knee-replacement

เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด...ข้อเข่าเทียม

https://www3.siphhospital.com/th/news/article/share/191

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทางเลือกที่ต้องเลือกจริงหรือ?

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=710

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

https://www.jointdee.info/knee/การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อ/

วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

https://www.samitivejhospitals.com/th/วิธีปฏิบัติตนภายหลังกา/

คนเคยป่วย ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(12-17 ก.ค. 57)

https://mynametai.wordpress.com/2014/07/21/คนเคยป่วย-ผ่าตัดเปลี่ย/




 

 

ในคนที่ ข้อเข่าปกติ .. การวิ่ง หรือ การออกกำลังกาย ไม่ทำให้เกิด เข่าเสื่อมมากขึ้น  (ยกเวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุ)
แต่ในคนที่ มีปัญหาเรื่องเข่า (เส้นเอ็นขาด เข่าเสื่อม) ... การวิ่ง หรือ การออกกำลังกาย "อาจ" ทำให้ เข่าเสื่อม มากขึ้น

..................

วิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อม...ผู้เขียนนพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

https://health2u.exteen.com/20090924/entry-1

 

วิ่งทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือ?....ผู้เขียน นพ.กฤษฎา บานชื่น

https://www.doctor.or.th/article/detail/5585

 

 

WhyRunners Don’t Get Knee Arthritis

https://well.blogs.nytimes.com/2013/09/25/why-runners-dont-get-knee-arthritis/?emc=edit_tnt_20130925&tntemail0=y&_r=4

 

Effectsof running and walking on osteoarthritis and hip replacement risk.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23377837

 

WhyDon't Most Runners Get Knee Osteoarthritis? A Case for Per-Unit-Distance Loads.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24042311


:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 
 
บทบาทของแพทย์ออร์โธปิดิกส์กับการรักษาข้อเสื่อมระยะต้น
พ.ต.อ.น.พ.ธนา ธุระเจน

 ข้อเสื่อม โรคที่ทำให้เกิดการเสียหายของกระดูกอ่อนในข้อต่าง ๆ นำไปสู่การที่มีอาการปวดข้อและข้อติดงอ ข้อที่พบบ่อย ๆ ที่มีอาการได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง ในประเทศอเมริกาพบว่า มีคนเป็นถึง 16 ล้านคน ในช่วงอายุต่ำกว่า 45 ปี อุบัติการณ์ที่พบในผู้ชายเท่ากับผู้หญิง แต่ถ้าช่วงอายุมากกว่า 45 ปี อุบัติการณ์ที่พบในผู้ชายจะน้อยกว่าผู้หญิง กระดูกอ่อนทำหน้าที่ที่สำคัญ คือ ทำให้การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เรียบตามจังหวะของการเคลื่อนไหว และทำหน้าที่เป็นตัวที่กระจายแรงที่กระทำต่อข้อให้ไม่มากจนเกินไปนัก
       สาเหตุของข้อเสื่อมมีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางชีกลศาสตร์ กรรมพันธุ์ การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน อุบัติเหตุการใช้อย่างไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนจะเริ่มนิ่มกว่าปกติ มีการแตกเป็นร่อง ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและกระจายน้ำหนักเสียไป กระดูกอ่อนมีการแตกมากขึ้น มีการเสียดสีของกระดูก กระดูกจะเสียรูปร่างและมีอาการผิดรูปได้แก่ ขาโก่ง เอ็นยึดข้อต่าง ๆ จะเสียไป เมื่อมีการเสื่อมและแตกเป็นร่องของกระดูก ทำให้น้ำในข้อเข่าลดลง และซึมเข้าไปในกระดูกและเกิดเป็นถุงน้ำในกระดูก ( Cyst )
       สาเหตุทั้งหมดนี้จะทำให้อาการปวดเวลามีการเคลื่อนไหวของข้อนั้น ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือในระยะแรกอาจจะมีอาการเจ็บ หรือขัด ๆ เล็กน้อยเวลาเดิน ต่อมาจะมีอาการปวด เดินไม่ได้ เดินขึ้นบันไดลำบาก ขาโก่งผิดรูป ขยับเขยื้อนได้น้อยลง โดยธรรมชาติถ้าข้อมีอาการปวดจะพักโดยการลดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวเสียไป การวินิจฉัย ได้แก่การตรวจร่างกาย และภาพถ่ายทางรังสีวิทยา ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยไม่ยากนักโปรแกรมการรักษาที่ดีจะต้องลดอาการปวดข้อนั้น ให้ข้อที่ติดมีการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงของเดิมเพื่อจะทำให้การกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินโรค, การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ ( N-SAIDS) เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด แต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ อาการปวดท้องจากกระเพาะอาหารอักเสบ การฉีดยาเข้าข้อในปัจจุบันมียาสองประเภทที่รักษาในปัจจุบัน ได้แก่ ประเภทแรก สเตียรอยด์
       ข้อบ่งชี้คือ การใช้ในระยะการอักเสบเฉียบพลัน ลดอาการปวด ประเภทที่สอง น้ำข้อเข่าเทียม ใส่ไปในข้อ โดยที่ถ้ากระดูกอ่อนไม่มีการสูญเสียจากข้อเข่าเสื่อม ก็จะได้ผลในแง่การลดอาการปวดเพื่อให้มีโอกาสที่สามารถบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้ โดยเฉลี่ยก็ประมาณสามถึงหกเดือนแต่ถ้ากระดูกเหลือน้อยมากหรือเกิดการเสื่อมทั้งหมด การใส่ยาอาจไม่สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้ แต่อาจจะพิจารณาในกรณีที่รักษาอาการชั่วคราว เพื่อบรรเทาอาการปวดเพื่อรอการผ่าตัด
       การควบคุมน้ำหนัก นอกจากจะทำให้อาการปวดลดลงแล้วยังทำให้รูปร่างดูดี และรู้สึกแข็งแรงขึ้น การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยการเดินออกกำลังกาย การออกกำลังกายแอโรบิกทำให้อาการปวดลดลง ข้อขยับได้มากขึ้น รวมทั้งกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือรับประทานยา ทำกายภาพบำบัดอาการไม่ดีขึ้น ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ มีการรักษาทางออร์โธปิดิกส์ดังต่อไปนี้

การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง
       เป็นการรักษาที่ผ่าตัดผ่านกล้องวีดีโอทัศน์ขนาดเล็ก ประมาณ 4.5 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่าปลายดินสอ ใส่เข้าไปในข้อที่เสื่อม ทำให้เห็นพยาธิสภาพของข้อเข่าที่เสื่อมได้อย่างชัดเจน เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและวางแผนรักษา เราจะพิจารณาให้การรักษาแบบผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีข้อเสื่อมที่มีภาวะร่วมกับเศษกระดูกที่แตกลอยอยู่ในข้อเข่า หมอนรองกระดูกในข้อเข่าที่เสื่อมและมีการฉีกขาด มีพังผืดรัดที่กระดูกอ่อน (plica)การมีลูกสะบ้าที่เอียงกดกระดูกอ่อนทางด้านนอก (lateral compression syndrome) การมีผู้ป่วยที่มีข้อเสื่อมมากที่มีภาวะซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยการจัดกระดูก หรือทำข้อเทียมได้ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
       การรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อการปลูกกระดูกอ่อน arthroscopic debirdement mesenchymal cell stimulation technique โดยการใช้กล้องผ่าตัดตามปกติ เพื่อดูพื้นที่ของการเสื่อมมากน้อยเพียงใด ในกรณีที่ไม่มีการสูญเสียไม่มากนัก การรักษาโดยการใช้เข็มเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 x 2 มม. ทำให้เป็นรูเล็ก ๆ ห่างกันประมาณ 2 – 4 มม. ในพื้นที่ที่กระดูกเสื่อม เพื่อเป็นการกระตุ้นกระดูกอ่อนให้ขึ้นมาใหม่ โดยปกติ กระดูกอ่อนของเราเป็นลักษณะ hyaline cartilage แต่ส่วนกระดูกที่ขึ้นใหม่ จะมีลักษณะของ fibro cartilage ซึ่งอาจจะไม่แข็งแรงเท่าเดิม แต่อาจจะใช้ได้ การรักษาวิธีนี้ควรพิจารณาในกรณีกระดูกเสื่อมไม่เกิน 2 – 4 ตารางเซติเมตร มีการโก่งงอของเข่าไม่เกิน 5-10 องศา เป็นกระดูกเสื่อมเฉพาะส่วนเท่านั้น ไม่มีการเสื่อมทั่วไปที่เรียกว่า tricompartmental knee
       ในปัจจุบันเพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนชนิด fibro cartilage ที่จะงอกใหม่ โดยมีการทำวิจัยเพื่อใช้น้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม เสริมเข้าไปทันทีหลังจากการรักษาด้วยกล้อง โดยเชื่อว่าสารนี้ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างโปรติโอไกลแคนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งได้เริ่มใช้แพร่หลายในประเทศทางยุโรป อย่างไรก็ตาม การติดตามผลการรักษาวิจัยทางการแพทย์ จะทำให้ช่วยทราบผลการรักษาที่ได้ผลที่เหมาะสมต่อไป

การตัดกระดูก ในกรณีที่กระดูกเสื่อมเฉพาะด้านใน
(Medial compartment)
        จุดประสงค์คือการจัดกระดูกให้อยู่ในแนวการรับน้ำหนักที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขความผิดรูปและการลงน้ำหนักที่ดีขึ้น เข่าที่เสื่อมมากจะมีลักษณะโค้งงอ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของการเดินเท่านั้น ยังทำให้กระดูกอ่อนของเราเสื่อมมากขึ้น การจัดกระดูกให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องจึงไม่เป็นเพียงแต่การรักษาเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันข้อเข่าไม่ให้เสื่อมต่อไปด้วย อย่างไรก็ตามข้อบ่งชี้ได้แก่ ลักษณะขาโก่งไม่เกิน 15 องศา มีการเสื่อมเฉพาะด้านในของข้อเข่า ไม่มีลักษณะของกระดูกบาง หรือเหยียดไม่สุด อายุส่วนใหญ่น้อยกว่า 55 ปี ( หรืออาจมากว่าก็ได้ ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ ) การลดน้ำหนักจะใช้เวลาประมาณ 3- 6 เดือน เพื่อจะลงน้ำหนักได้เต็มที่โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า ผลการรักษาสามารถลดอาการปวดได้ประมาณร้อยละ 50-80 ขึ้นกับประมาณการเสื่อมมากหรือน้อย น้ำหนักตัว ลักษณะกระดูกที่โก่ง ภาวะกระดูกบางที่ร่วมด้วย
       การจะรักษาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับอาการของโรคนั้นอยู่ในระยะใด อาการของข้อเสื่อม อายุ น้ำหนักงานที่ทำการกิจวัตรประจำวันการจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเสื่อม ผลแทรกซ้อนของยาที่ใช้ ปริมาณยาที่ใช้ การรักษาชนิดต่าง ๆ การรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

บทบาทของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กับการรักษาข้อเสื่อมระยะปลาย
       ถ้าเรามีโอกาสถามว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนอายุยืนอย่างมีความสุข จากการสำรวจพบว่าความต้องการในอันดับต้นได้แก่ สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ ไปไหนมาไหนได้ ทำอะไรที่อยากทำได้ พื้นฐานของสิ่งเหล่านี้คือ การมีข้อและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในกรณีที่มีข้อเสื่อมในระยะท้าย ๆ ถ้าการรับประทานยา ฉีดยาหรือทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล เพราะคนที่อายุยืน ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัวลง เพิ่มอุบัติการณ์ของการล้ม อาจทำให้กระดูกหักตามมา และผลต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้แพทย์ออร์โธปิดิกส์ ( แพทย์โรคกระดูกและข้อ ) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางศัลยกรรมกระดูกและข้อเป็นผู้ให้คำแนะนำการรักษาอย่างถูกต้องที่มีประสิทธิภาพการรักษาได้แก่ การรักษาโดยการทำข้อเข่าเทียม การรักษาที่ว่านี้ไม่ใช้การตัดข้ออกจากร่างกายแต่เป็นทดแทน กระดูกอ่อนส่วนที่เสียไปด้วยกระดูกอ่อนเทียม ที่ทำจากวัสดุพิเศษ โดยการทดแทนกระดูกอ่อนที่เสียไปนั้นขึ้นกับว่า มีการเสียกระดูกในส่วนใด ก็จะทดแทนส่วนนั้น เพื่อความเข้าใจ ในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว เราแบ่งการผ่าตัดข้อเทียมในปัจจุบันเป็น

ประเภทแรก การผ่าตัดข้อเทียมเฉพาะส่วน (unicompartment knee arthroplasty) เราพิจารณาใช้ในกรณีที่อายุมากกว่า 55 ปี (หรืออาจจะต่ำกว่านี้ ถ้ามีความเสื่อมของกระดูกที่สามารถรักษาวิธีนี้ได้) มีการเสื่อมเฉพาะด้านในของข้อเท่านั้น medial compartment เอ็นในข้อเข่าปกติไม่มีการขาด ข้อดีคือ วัสดุที่ใช้ราคาถูกลง แผลเล็กลง เดินลงน้ำหนักได้ภายในหนึ่งถึง สองวัน ตามวารสารทางการแพทย์ อายุใช้งานได้ประมาณ 8-10 ปี ข้อห้ามในการผ่าตัดมีการเลื่อมทั่วไปมากกว่า หนึ่งส่วน อาทิเช่นมีการเสื่อมของกระดูกเข่าด้านนอก lateral compartment หรือมีการเสื่อมของกระดูกลูกสะบ้าร่วมด้วย มีการขาดของเอ็นในเข่าร่วมด้วย มีข้อห้ามในการผ่าตัดจากสาเหตุอื่นทางอายุกรรม ปัจจุบันนี้การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีแผลเล็ก หายได้เร็ว และถ้าทำตามมาตรฐาน เลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสมก็จะสามารถมีการใช้งานให้เคียงกับการทำข้อเทียมแบบปกติ

ประเภทที่สอง การผ่าตัดข้อเทียมทั้งหมด (total knee arthroplasty) ในกรณีผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมมากและมีความขรุขระของกระดูกข้อเข่าและกระดูกสะบ้ามากนั้น หรือลักษณะที่เรียกว่า tricompartmental knee มีอาการปวดมาก รับประทานยาทำกายภาพบำบัดอาการไม่ดีขึ้น เข่าผิดรูป และมีการเสื่อมในลักษณะดังกล่าว การผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้เร็วและหายปวดซึ่งใช้งานได้ดี จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปโดยใช้วัสดุที่เข้าไปแทนที่ของกระดูกอ่อนส่วนที่เสียไปทัทางด้านในและด้านนอกของข้อเข่าสำหรับในส่วนของลูกสะบ้านั้นขึ้นกับลักษณะการเสื่อมของลูกสะบ้า ว่ามีความจำเป็นต้อง เปลี่ยนหรือไม่ การรักษาได้ผลมากกกว่าร้อยละ 90 จะทำให้อาการปวดดีขึ้นเดินได้ดีขึ้นร้อยละ 95 - 98 ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมี อายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี

ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเทียม
1. ผู้ป่วยที่แพทย์เห็นว่าสมควรจะได้รับการผ่าตัดนั้นจะได้รับคำแนะนำอย่างละเอียดจากแพทย์และส่วนที่สำคัญคือ ได้แลกเปลี่ยนทัศนะคติกับผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว เพื่อให้ทราบความรู้สึกของผู้ป่วยว่าได้ผลดีอย่างไรอย่างชัดเจนขึ้น
2. การเตรียมผู้ป่วยและใช้ขนาดของข้อเข่าเสื่อม ที่เหมาะสมพอดี และแนะนำการดูแลรักษาหลังผ่าตัด
3. เราให้ยาระงับความปวดด้วยความร่วมมือของวิสัญญีแพทย์เพื่อควบคุมอาการปวดให้เหมาะสม
4. ในการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
5. ในวันที่ 3 หรือ 4 เริ่มเดินลงน้ำหนักได้ด้วยตนเอง สามารถงอเข่าได้เฉลี่ยประมาณ 0-90 องศาและทำกายภาพบำบัดโดยการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยสามารถฟื้นสมรรถภาพของกล้ามเนื้อได้เร็วก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเจ็ดถึงสิบวัน

       การดูแลตามขั้นตอนอย่างละเอียดและมีมาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา โดยทราบถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง รวมถึงผลการรักษาอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามแพทย์
https://www.thaiarthritis.org/article08.php

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
https://med.mahidol.ac.th/ortho/th/food%20ortho/patient
https://drive.google.com/file/d/0BzVECrTBp1yodUFpQUNkV1RkTzg/view

วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
https://resource.thaihealth.or.th/library/collection/14822
 https://www.ebooks.in.th/ebook/31135/วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ

แนะนำหนังสือ ดี และ ฟรี : อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย+วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-12-2017&group=5&gblog=55






..........................................................

การเสียชีวิตใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าจากเข่าเสื่อม

Lancet. 2014;384(9952):1429-1436.

บทความเรื่อง 45-Day Mortality after 467,779 Knee Replacements for Osteoarthritis from The National Joint Registry for England and Wales: An Observational Study รายงานว่า การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในระยะกระชั้นภายหลังเปลี่ยนข้อเข่าอาจช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหลังเปลี่ยนข้อเข่า นักวิจัยได้ประเมินแนวโน้มการเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ เพื่อศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ต่อการเสียชีวิต

นักวิจัยรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011 จากทะเบียน National Joint Registry for England and Wales โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลการเสียชีวิตและฐานข้อมูล Hospital Episode Statistics เพื่อติดตามข้อมูลด้านการเสียชีวิต สังคมประชากร และโรคร่วม การเสียชีวิตภายใน 45 วันประเมินจาก Kaplan-Meier analysis และบทบาทของปัจจัยด้านผู้ป่วยและการรักษาประเมินจาก Cox proportional hazards models

มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อรักษาข้อเสื่อมจำนวน 467,779 ครั้ง ระหว่าง 9 ปี ผู้ป่วย 1,183 คนเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังผ่าตัด โดยการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 0.37% ในปี ค.ศ. 2003 ลงมาที่ 0.20% ในปี ค.ศ. 2011 แม้หลังปรับตามอายุ เพศ และโรคร่วม การเปลี่ยนข้อเทียมเพียงเสี้ยวเดียวสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับการเปลี่ยนทั้งข้อ (HR 0.32, 95% CI 0.19-0.54, p < 0.0005) นอกจากนี้พบว่า โรคร่วมสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่สูงขึ้นทั้งกล้ามเนื้อหัวใจตาย (3.46, 95% CI 2.81-4.14, p < 0.0005), โรคหลอดเลือดสมอง (3.35, 2.7-4.14, p < 0.0005), โรคตับระดับปานกลาง/รุนแรง (7.2, 3.93-13.21, p < 0.0005) และโรคไต (2.18, 1.76-2.69, p < 0.0005) ปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวมถึงวิธีการผ่าตัด และการให้ยา thromboprophylaxis ไม่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต

การเสียชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปี ค.ศ. 2003-2011 ความพยายามเพื่อลดการเสียชีวิตให้น้อยลงควรเน้นไปที่ผู้ป่วยสูงอายุ เพศชาย และมีโรคร่วมจำเพาะ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมอง ตับ และไต

https://wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1340




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 23 สิงหาคม 2565 15:53:47 น.   
Counter : 86766 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]