Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)

 

 



เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน ( โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger )

โรคเส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกหลายอย่าง เช่น นิ้วล็อก เอ็นนิ้วมือสะดุดและติดแข็ง ปลอกเอ็นตีบตันจากการอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบแบบมีก้อน เป็นต้น

เกิดเนื่องจากเมื่อเส้นเอ็นอักเสบเป็นเวลานาน ก็จะมีการหนาตัวของเส้นเอ็นทำให้เคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้ยาก และ ถ้าเส้นเอ็นหนาตัวมาก ๆ ก็จะคลำได้เป็นก้อน

พบบ่อยใน เส้นเอ็นงอ นิ้วนาง นิ้วกลาง และ นิ้วหัวแม่มือ

ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ คือบริเวณโคนนิ้ว อาจพบในมือเพียงข้างเดียว หรือ อาจเป็นทั้งสองข้างก็ได้

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่ามีสาเหตุจาก การสัมผัส การกด หรือ เสียดสีบริเวณโคนนิ้วมือซ้ำ ๆ กัน หรือ อาจเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในตำแหน่งนี้ทำให้ปลอกเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น เช่น ช่างไม้ ชาวนาชาวไร่ แม่บ้าน เป็นต้น

อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก็าท์ หรือ เบาหวาน

มักพบบ่อยในผู้หญิง อายุมากกว่า 40 ปี



อาการและอาการแสดง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มักมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ หรือปวดเมื่อสัมผัส หรือ กด บริเวณโคนนิ้วมือ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตอนตื่นนอนใหม่ ๆ อาจจะมีอาการปวดมาก งอนิ้วไม่ค่อยได้ แต่สักพักก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น

ระยะที่ 2 รู้สึกสะดุด (กระตุก) ที่นิ้วนั้น อาจคลำได้ก้อนบริเวณที่เจ็บ ซึ่งก้อนนี้จะขยับตามการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ หรือ อาจมีเสียงดังเวลาขยับนิ้ว

ระยะที่ 3 งอนิ้วหรือเหยียดนิ้วได้ไม่เต็มที่ (เนื่องจากอาการเจ็บ) หรือ งอได้แต่เหยียดนิ้วไม่ออก ต้องใช้มืออีกข้างช่วยจับให้เหยียดนิ้วออก ซึ่งอาจจะมีเสียงดังที่บริเวณโคนนิ้วและจะมีอาการปวดมาก

ระยะที่ 4 นิ้วจะติดอยู่ในท่างอ หรือ เหยียด ไม่สามารถขยับนิ้วได้เลย



แนวทางรักษา

1.วิธีไม่ผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ได้ผลดีในรายที่เป็นไม่มาก ( ระยะที่ 1 , 2 ) แต่มีโอกาสเกิดเป็นซ้ำ ประมาณ 30-50%

วิธีรักษา

ลดกิจกรรม หรือ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยความร้อน

บริหารนิ้วมือ

รับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ

ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่

ใส่เฝือกชั่วคราว


2.วิธีผ่าตัด จะเลือกวิธีผ่าตัดในผู้ที่ฉีดสเตียรอยด์ 2 ครั้งแล้วไม่ได้ผล หรือในรายที่มีอาการมาก ( ระยะที่ 3 และ 4 )

วิธีการผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แผลผ่าตัดจะยาวประมาณ 1 ซม.

แพทย์จะตัดพังผืดที่รัดเส้นเอ็นออก หลังตัดพังผืดจะสามารถงอ-เหยียดนิ้วโดยไม่รู้สึกว่านิ้วติด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 20 นาที

หลังผ่าตัด แพทย์จะพันผ้ายืด รัดแน่นเพื่อห้ามเลือด ถ้ารู้สึกแน่นมากให้คลายออกได้บ้าง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังผ่าตัด หลังจากนั้นควรทำแผลวันละครั้ง เมื่อครบ 7-10 วันก็ตัดไหมได้…

ท่าบริหารนิ้วมือ ( ท่า 1-2 และ 5-6 )    (ตามภาพ ยกเว้น ท่าที่ 3-4 ซึ่งเป็นท่าบริหารข้อมือ แต่ถ้าจะทำทั้งหมดเลยก็ได้




ตัดบางส่วนมาจาก วิธีบริหาร นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=8


อ้างอิง ..

https://emedicine.medscape.com/article/1244693-overview

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00024

https://www.eatonhand.com/hw/hw022.htm

https://www.wheelessonline.com/ortho/trigger_finger_tenosynovitis

https://www.medicinenet.com/trigger_finger/article.htm

https://www.handuniversity.com/topics.asp?Topic_ID=28

https://www.ejbjs.org/cgi/content/abstract/90/8/1665

https://www.freemd.com/trigger-finger/definition.htm




 

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32


"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

Congenital Trigger Thumb


- Discussion:
    - stenosing tenosynovitis of the flexor pollicis longus in childhood is relatively uncommon condition which causes triggering, IP joint
           flexion contracture, and a flexor tendon nodule over the metacarpal head level (Notta's nodule);
    - although present at birth, dx often not made until 4-6 months of age
    - often bilateral, with fixed flexion contractures at presentation;
    - in some cases, there will be an associated anomaly;
    - diff dx:
           - may be mistaken for a fracture or dislocation of the thumb;
           - congenital loss of the extensor tendon;
           - in some cases, the diagnosis will be confused with arthrogryposis or CP;
    - prognosis:
           - if trigger thumb is present at birth, approximately 30 % of children will recover spontaneously in one year;
           - 12 % of the trigger thumbs that develop at the age of six to 30 months recover in six months;
           - if trigger thumb develops in a child over three years of age, however, it almost never improves spontaneously;
           - therefore, it is wise to operate as soon as acceptable at this age
           - a child not seen until after the age of four has a 50 per cent chance of developing a permanent flexion contracture;
           - in the report by Moon et al, 7700 newborn children were examined prospectively to determine the congenital incidence
                  of trigger thumb and finger - no cases were found;
                  - case histories of 43 trigger digit cases (35 trigger thumbs and 8 trigger fingers) noted in 40 children diagnosed were reviewed;
                  - of 35 thumb cases, 23 underwent surgical release and all responded satisfactorily to surgical treatment;
                  - spontaneous recovery was noted in 12 trigger thumb cases and in all eight trigger finger cases;
                  - trigger finger developed earlier in life than trigger thumb and the spontaneous recovery rate was higher in trigger finger than trigger thumb;
                  - ref: Trigger Digits in Children. WN Moon.  Journal of Hand Surgery (Br) p 11-12, Volume 26B, No 1, Feb 2001  

- Exam:
    - most often involves the thumb but may involve any digit;
    - thumb is often held in fixed, flexed position;
    - characteristically, a palpable nodule called Notta's node is present on tendon in the region of the metacarpal head;

- Treatment:
    - surgery should be considered if not resolved by 12 months of age;
    - most surgical procedures for trigger thumb should be postponed until the age of 2 yrs, but should not be delayed beyond 3 yrs because of possible flexion contractures;
    - general anesthesia;
    - only potential surgical complication of significance in this anomaly is the severing of one of the digital nerves;
           - radial digital nerve is esp at risk;
           - both nerves hug the flexor tendon, and one or both can be easily cut by slight deviation of a knife or scissors in either direction as the pulley is opened;
           - avoid making incisions directly over MP flexion crease, since there is little or no subQ fat underneath the crease, which leaves nerves unprotected during incision;
    - generally only excision of the A1 pulley is required (since Notta's flexion tendon nodule will disapate with time);
    - outcomes:
           - in the report by TR McAdams et al 2002, the authors reexamined 21 patients (30 thumbs) who underwent a release procedure,
                  with an average follow-up of 181.3 months (15.1 years).
                  - 23 % of patients had a loss of IP motion and 17.6% had metacarpal phalangeal hyperextension, and this was unrelated to age at the time of surgery;
                  - there were no recurrence of triggering or nodules and no functional deficit;
                  - all seven patients who had a longitudinal incision had concerns about their scar appearance;
                  - it is the authors' belief that a transverse skin incision and surgical release of the A1 pulley for trigger thumb in children is a successful procedure even when done
                          after age 3, but IP motion loss and metacarpal phalangeal hyperextension may occur in the long term;

https://www.wheelessonline.com/ortho/congenital_trigger_thumb


Trigger thumbs in children.     Dinham, J. M., and Meggitt, B. F.:  J. Bone Joint Surg. 56B:153, 1974.

Long-Term Follow-Up of Surgical Release of the A 1 Pulley in Childhood Trigger Thumb   Timothy R. McAdams, M.D  J Pediatr Orthop 2002 January/February;22(1):41-43
Incidence and Development of Trigger Thumb in Children.
Surgical Treatment of the Pediatric Trigger Finger
The Natural History of Pediatric Trigger Thumb
The treatment outcome of trigger thumb in children. J Pediatric Orthop B 2002;11:256-259.
Acquired thumb flexion contracture in children: Congenital trigger thumb. J Bone Joint Surg Br 1996;78:481-483. 
Pediatric Trigger Thumb in Identical Twins: Congenital or Acquired?
 
Clinical Example: Congenital trigger thumb

Trigger digits are uncommon in children. The thumb is affected much more frequently than the fingers.
Although there is evidence for a genetic predisposition to the condition, trigger digits in children develop after birth. Pediatric trigger thumb appears to be a different entity than pediatric trigger finger. One third of patients with congenital trigger thumb have a positive family history of trigger thumbs, and 20 - 30% of cases are bilateral.
Treatment can be postponed until after age 1, as spontaneous regression probably occurs in about 30 per cent of cases. After that age, surgical correction is the best approach to treatment and usually results in normal thumb function. 
Simple surgical release of the entire A1 pulley is all that is required, but special care is required because of the superficial location of the thumb digital nerves, more easily injured than in surgery for the adult condition.
The condition must be distinguished from congenital clasped thumb or congenital absence of the extensor pollicis longus, either of which require completely different treatment.
 
https://www.youtube.com/watch?v=xIdih25tfu0&NR=1
 
https://www.youtube.com/watch?v=vMVrHIPHi6M&NR=1
 
https://www.trigger-finger.net/fl_inchildren.html




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 12 ตุลาคม 2565 13:59:02 น.   
Counter : 69313 Pageviews.  

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)

 

 

 
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ ( ผังผืดทับเส้นประสาท )

เป็นกลุ่มอาการที่ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มอายุ (อายุเฉลี่ย 54 ปี) และ

พบใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า


สาเหตุ ( ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด )

1. การใช้งาน และ ตำแหน่งของข้อมือ มักเกิดจาก การใช้มือท่าเดียวนาน ๆ เช่น การกำมือ การบีบ การกด เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมือ อยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้น หรือ งอลงมาก ๆ เป็นเวลานาน เช่น พิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี การใส่เฝือกที่ข้อมือ ถือหนังสือ ถือพวงมาลัยรถยนต์ การจับแฮนของรถจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

2. ภาวะผิดปกติหรือโรคที่เป็นอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาท์ กระดูกข้อมือหัก หรือ การติดเชื้อ

3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือ ได้รับยาคุมกำเนิด


อาการ และ อาการแสดง ที่สำคัญ

• อาการชา โดยเฉพาะที่นิ้วชี้และนิ้วกลาง แต่บางครั้งอาจรู้สึกว่า ชาทั้งมือ ก็ได้

• รู้สึกเสียวคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต ซ่า ๆ ไปที่ปลายนิ้ว หรือ รูู้้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ฝ่ามือและปลายนิ้ว

• อาการปวด บริเวณนิ้วมือ มือ และข้อมือ อาจจะปวดขึ้นไปจนถึงไหล่ หรือ ต้นคอ ได้

• อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกว่ามือไม่ค่อยมีแรง กำมือได้ไม่แน่น ทำของตกบ่อย ๆ ใช้มือทำงานไม่ถนัด

• ถ้าเป็นมานาน อาจจะพบว่ามีกล้ามเนื้อฝ่ามือลีบเล็กลง ฝ่ามือแบนราบลงกว่าปกติ

กลุ่มอาการเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดหลายอย่างร่วมกัน และอาจจะเกิดที่มือข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กันก็ได้

โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

อาการต่าง ๆ มักจะ เกิดขึ้นบ่อยในตอนกลางคืน ทำให้ต้องตื่นกลางดึก ( ช่วงเวลาประมาณตีหนึ่งถึงตีสี่ ) ทำให้อาจรู้สึกว่า เหมือนนอนทับแขน แต่ ถ้าผู้ป่วยสะบัดมือ กำมือ ขยับนิ้วมือ หรือ นวดข้อมือ สักพักอาการก็จะดีขึ้น

ผู้ที่มีอาการในขณะตั้งครรภ์ มักจะมีอาการมากในช่วงใกล้คลอด โดยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้น หรือ หายไปได้เองหลังจากคลอดบุตร แต่ถ้ามีอาการมาก หรือ อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือนหลังคลอดบุตร ก็ควรพบแพทย์



แนวทางเลือกในการรักษา …

1. การรักษาแบบ ไม่ผ่าตัด ประกอบด้วย

• รับประทานยา เช่น ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบี

• ลดกิจกรรม ที่ใช้มือในท่าเดียวเป็นเวลานาน และ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ข้อมือกระดกขึ้น หรือ งอลง มาก ๆ

ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณข้อมือ เพื่อลดอาการบวมของเส้นเอ็น และเส้นประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3 - 6 เดือน) อาจจะกลับมามีอาการเหมือนเดิมอีก แพทย์อาจจะฉีดซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 2 - 3 อาทิตย์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่าที่จะฉีดยาซ้ำ

• ใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ หรือ เฝือกชั่วคราว เพื่อจัดท่าให้ข้อมืออยู่ในท่าที่เหมาะสม ในช่วงที่มีอาการ เช่น ในขณะทำงาน หรือในตอนกลางคืน เป็นต้น ร่วมกับ การยกแขนให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ขณะยืน เดินก็ให้ใช้ผ้าห้อยคอ ขณะนอนก็ให้วางแขนบนหมอน หรือวางแขนบนหน้าอก เป็นต้น

2. การบริหารข้อมือ

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานที่ต้องใช้ข้อมือมาก ๆ ก็ควรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที บริหารข้อมือ ก่อนเริ่มการทำงาน ส่วนผู้ที่มีอาการแล้วก็ควรทำการบริหารให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้





3. การรักษาแบบ วิธีผ่าตัด

แพทย์จะผ่าตัดที่บริเวณฝ่ามือ โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ แผลผ่าตัดยาวประมาณ 5 ซ.ม. ตั้งแต่ฝ่ามือจนถึงข้อมือ เพื่อตัดแผ่นเอ็นขวาง ซึ่งเป็นผนังของอุโมงค์ข้อมือ

หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้เลยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล หลังผ่าตัด ต้อง ใส่เฝือกชั่วคราวเพื่อให้ข้อมือกระดกขึ้นเล็กน้อย และให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ประมาณ 2 อาทิตย์

ประมาณ 2 อาทิตย์หลังผ่าตัด แพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ ตัดไหมที่แผล และ เอาเฝือกออก เพื่อจะได้บริหารข้อมือ

โดยส่วนใหญ่ การผ่าตัดได้ผลค่อนข้างดี อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดจะดีขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่อาการชา อาการอ่อนแรง อาจ ดีขึ้นช้ากว่า

แต่ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน โดยเฉพาะถ้านานกว่า 2 ปี และมีอาการมาก เช่น มีกล้ามเนื้อฝ่ามือลีบ ชามือตลอดเวลา เคยฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่หลายครั้ง บางครั้งอาจใช้เวลาหลายเดือนหลังผ่าตัด หรือในบางราย อาการปวดดีขึ้น แต่ อาจมีกล้ามเนื้อลีบ หรือ ชามือ อยู่เหมือนเดิม ( ไม่หายขาด )


กระทู้น่าสนใจ จากห้องสวนลุม พันทิป .. ตั้งแต่ เริ่มรักษา กินยาฉีดยา จนถึง การผ่าตัด
แชร์ประสบการณ์ผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาท CTS (Carpal Tunnel Syndrome)
โดยคุณ  HoneyMoonBlossom  9 พฤศจิกายน 2564
https://pantip.com/topic/41092264

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""



อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
https://med.mahidol.ac.th/ortho/th/food%20ortho/patient
https://drive.google.com/file/d/0BzVECrTBp1yodUFpQUNkV1RkTzg/view

วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
https://resource.thaihealth.or.th/library/collection/14822
 https://www.ebooks.in.th/ebook/31135/วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ

แนะนำหนังสือ ดี และ ฟรี : อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย+วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-12-2017&group=5&gblog=55

 




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2564 14:46:38 น.   
Counter : 88025 Pageviews.  

อาหารเสริมกับโรคข้อ

อาหารเสริมกับโรคข้อ
ดัดแปลงจากบทความของ นพ. พงษ์ศักดิ์ วัฒนา
//www.thaiarthritis.org/people03.htm

เป็นความเชื่อของมนุษย์เราตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่พยายามขวนขวายหาวิธีการลดอาการปวดของข้อต่อที่อักเสบ ตลอดจนอาการปวดทุกชนิดที่เป็นเรื้อรังและไม่ทราบสาเหตุ โดยการเลือกหรืองดอาหารบางประเภทว่าสามารถลด อาการปวดลงได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป แม้แต่ในประเทศไทยมีการจำหน่ายอาหารเสริมกันอย่างมากมาย และมีการอวดอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคจากอาการปวดได้ทุกชนิด เป็นธุรกิจที่ดีมาก อาหารเสริมดังกล่าวมีดังนี้
1. อาหารเสริมแคลเซี่ยม
2. วิตามินเสริม
3. น้ำมันจากปลา ( Fish Oil )
4. เกลือแร่ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก , ธาตุสังกะสี
5. สมุนไพรชนิดต่าง ๆ
6. กระเทียม
7. น้ำผึ้ง
8. กลูโคซามีน , ดอนครอยติน ( Glueosamine และ Chondroitin )
9. น้ำผลไม้ น้ำจากลูกยอทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ

อาหารเสริมเหล่านี้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาโรคอาการปวดข้อ ได้ผลน้อยมาก ในต่างประเทศกลุ่มของอาหารเสริมสามารถจะหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อซึ่งพวกเรา คงทราบแล้ว ว่ากว่าร้อยละ 90 ของโรคข้อเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับประทานยาต้านการอักเสบ (N’SAID s) เป็นระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็พยายามดิ้นรนที่จะรักษาโรคข้อ ให้หายขาดจากการแนะนำของ เพื่อน การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ หรือการซื้อขายทางตรง ( Direct Sale ) เพื่อหวังว่าอาการทางโรคข้อมีโอกาส หายขาดได้ การซื้ออาหารเสริมมารับประทานกันเองทำให้ต้องสูญเสียเงินทองอย่างมหาศาลในแต่ละปี ผู้เขียนเคยพบ อาหารเสริมจำนวนมากมายจากผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกส่วนตัวที่นำมาให้ดู โดยที่ญาติอาจจะเป็นลูกหรือพี่น้องที่หวัง ดีซื้อส่งมาจากประเทศอเมริกา มาให้รับประทาน

วิตามินเสริม ในขนาดที่แนะนำจะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่ถ้ารับประทานวิตามินเอ หรือวิตามินดี ในขนาดที่สูงกว่าที่กำหนดไว้จะมีอันตรายต่อสุขภาพได้

ธาตุเหล็ก ใช้ในการรักษาในโรคโลหิตจาง ซึ่งพบบ่อยใน คนที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สาเหตุการเป็นโรคโลหิตจางมีสาเหตุจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เอง หรือจากการ รับประทานยาต้านอักเสบ ( N ’ SAID s ) ทำให้เกิดแผลในกระเพาะหรือจากรับประทานยาสเตียรอยด์มานาน ๆ การรับประทานธาตุเหล็กอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์โรคข้อทุกครั้งก่อนรับประทานธาตุเหล็ก

แคลเซี่ยมเป็นอาหารเสริมยอดฮิตในปัจจุบันประชาชนทั่วไปเมื่อมีอาการปวดจากข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบชนิดใดก็ตาม จะไปซื้อแคลเซี่ยมมารับประทาน ทำให้บริษัทขายนมมีการผสมระดับของแคลเซี่ยมให้สูงขึ้น เพื่อเป็นจุดขายของ สินค้าของตน แคลเซี่ยมจะมีประโยชน์ ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ในผู้สูงอายุที่รับประทานลำบาก และระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี หรือ ในผู้ที่มีกระดูกหัก เป็นต้น
แคลเซี่ยมจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคกระดูกโปร่งบาง ( Osteoporosis ) ซึ่งโรคนี้ปกติจะไม่ค่อยมี อาการปวด จะมีอาการปวดเมื่อกระดูกหักแล้วประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าแคลเซี่ยมสามารถรักษาโรคข้ออักเสบ ได้ บางคนดื่มนมตลอดทั้งวันเพื่อให้อาการปวดเข่าหายไป ซึ่งนอกจากจะเสียเงินแล้วยิ่งทำให้ตนเอง อ้วนมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น

กลูโคซามีน และคอนตรอยติน อาหารเสริมในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมกันมากมีกว่า 100 ชนิด ผลิตจากหลายบริษัท กลูโคซามีน สกัดมาจากกระดองปู กุ้งมังกร และเปลือกกุ้ง ส่วนคอนตรอยติน สกัดมาจากหลอดลมของวัว ควาย โดยเชื่อว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยซ่อมสร้างผิวกระดูกอ่อนที่ปลายกระดูกในข้อต่อ เสื่อม ให้กลับฟื้นขึ้นมาได้ และทำให้ลดอาการปวดลง แพทย์กระดูกและข้อในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่เชื่อว่า อาหารเสริมกลุ่มนี้ช่วยรักษาข้อเสื่อมได้ แต่แพทย์กระดูกและข้อในทวีปยุโรปมีความเชื่อว่าช่วยรักษาได้ โดยสรุปแล้วการรักษาโรคข้อเสื่อมด้วยกลูโคซามีน และคอนดรอยตินในโรคข้อเสื่อมยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักการคร่าว ๆ ดังนี้ ถ้ารับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วไม่ได้ผลในการลดอาการปวดจากข้อเสื่อมในระยะเวลา 1 – 2 เดือน ควรหยุดยาได้แล้ว ปกติจะได้ผลในระยะเวลา 6 – 8 สัปดาห์ โดยใช้ขนาดดังนี้
กลูโคซามีน 1,500 มก. / วัน
คอนดรอยติน 1,200 มก. / วัน

ถ้าท่านอยากจะลองรับประทานอาหารเสริมขอแนะนำดังนี้
1.ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรจะรับประทานอาหารเสริมหรือไม่?
2.อย่าหยุดยาที่แพทย์สั่งให้รับประทาน
3.ควรจะให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม ก่อนจึงค่อยรับประทาน เพราะกลูโคซามิน , คอนดรอยติน ไม่สามารถรักษาอาการปวดจากโรคเนื้องอก ( Cancer ) , กระดูกหัก หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
4.อย่ารับประทานอาหารเสริม ถ้าท่านตั้งท้องหรือคิดว่าตั้งท้อง และไม่ควรให้เด็กรับประทาน
5.ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ถ้ารับประทานกลูโคซามิน ควรจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้บ่อยขึ้น
6.คนที่แพ้อาหารทะเล จะมีโอกาสแพ้อาหารเสริมกลูโคซามีนด้วย
7.ถ้าท่านรับประทาน แอสไพริน ในการป้องกันหลอดเลือดตีบในหัวใจ ถ้ารับประทานคอนดรอยติน ควรจะตรวจการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย
8.อย่าหยุดยาที่รับประทานในการรักษาโรคข้อ แม้รับประทานอาหารเสริมแล้วลดอาการปวดข้อได้
9.บริหารร่างกาย รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไป และรับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่ง




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2551 19:56:42 น.   
Counter : 10753 Pageviews.  

ปวดคอ


 

ปวดคอ

สาเหตุที่พบบ่อย

1. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ กล้ามเนื้อเคล็ด ซึ่งมักเกิดจาก อิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงนหน้า หรือ ก้มหน้าเป็นเวลานาน นอนในท่าที่คอพับ หรือ บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูง หรือ แข็งเกินไป

2. ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดอาการปวดต้นคอ ท้ายทอยหรือขมับ มักมีอาการช่วงบ่าย หรือ ตอนเย็น

3. อุบัติเหตุ ทำให้คอเคลื่อนไหวมากหรือเร็วกว่าปกติ อาจจะเกิดกล้ามเนื้อ / เส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกคอเคลื่อน

4. หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน และมือ มีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาสั่น เดินเซ หรือ ขากระตุกบางครั้งอาจมีอาการ กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด ร่วมด้วย

5. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ผู้สูงอายุบางคนเท่านั้นที่มีอาการมากจนต้องรับการรักษา ถ้าเอ๊กซเรย์กระดูกคอในผู้สูงอายุก็จะพบว่ามีกระดูกงอกได้ โดยไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ในผู้ป่วยทุกราย

6.ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค รูมาตอยด์ เก๊าท์ โรคกระดูกสันหลังยึดติด การติดเชื้อแบททีเรีย เป็นต้น

7.กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดในกล้ามเนื้อและเมื่อใช้งานกล้ามเนื้อนั้นก็จะปวดมากขึ้นและรู้สึกอ่อนแรง มักจะมีจุดที่กดเจ็บชัดเจนและอาจคลำได้ก้อนพังผืดแข็ง ๆ ร่วมด้วย



การรักษาเบื้องต้น

1. ระวังอิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

- หลีกเลี่ยง การก้ม หรือ แหงน คอ นานเกินไป หรือ บ่อยเกินไป ถ้าจำเป็นก็ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือ ขยับเคลื่อนไหวคอเปลี่ยนอิริยาบถสัก 2 - 3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง

- ควรนอนบนที่นอนแข็งพอสมควร ไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือ ดูทีวี เพราะจะทำให้คอแหงนมาก

- นอนหนุนหมอนที่นุ่มและยืดหยุ่นพอที่จะแนบส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของคอ และ มีความหนาพอเหมาะที่จะทำให้คออยู่ในแนวตรง ( เมื่อมองจากด้านข้าง ) ไม่ทำให้คอแหงนหรือก้มมากเกินไป

2. ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้ครีมนวด ร่วมด้วยแต่อย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

3. รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

4. ทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการมาก รับประทานยาและบริหารกล้ามเนื้อ แล้วไม่ดีขึ้น เช่น

- ใส่เครื่องพยุงคอ ซึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น

- ดึงถ่วงน้ำหนักกระดูกคอ

- ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน ความเย็น หรือ อัลตร้าซาวน์




ถ้าอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์

1. มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน หรือ มือ โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

2. มีอาการ ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาจะสั่น เดินเซ เดินแล้วจะล้ม หรือ รู้สึกขากระตุก

3. กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด

4. อาการไม่ดีขึ้น หรือ รู้สึกเป็นมากขึ้น เพราะโดยทั่วไป ถ้าเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง อาการมักจะดีขึ้นใน 2-3 วัน




ข้อแนะนำการบริหารกล้ามเนื้อคอ

1. ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาแล้ว ขณะบริหารถ้ามีอาการปวดมากขึ้นให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อน จนอาการปวดดีขึ้น แล้วจึงค่อยเริ่มทำใหม่ หรือ เพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้น

2. เมื่อเริ่มบริหาร ควรเริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ ถ้าไม่มีอาการปวดจึงค่อยเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น

3. ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2-3 รอบ สามารถทำเวลาไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก

4. ระหว่างการบริหาร หรือ การเกร็งกล้ามเนื้อ อย่ากลั้นหายใจ ซึ่งป้องกันโดยให้ ออกเสียงนับดัง ๆ ขณะบริหาร










อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้
Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2551   
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2563 15:19:05 น.   
Counter : 28923 Pageviews.  

ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด




ปวดไหล่

สาเหตุที่พบบ่อย

1. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน

2. ใช้ข้อไหล่อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือ กล้ามเนื้อฉีกขาด

3. การเสื่อมตามธรรมชาติ ของกระดูก กล้ามเนื้อ และ เส้นเอ็น จะพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย

4. โรคข้ออักเสบ ที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ แคลเซี่ยมเกาะเส้นเอ็น เป็นต้น

5. อาการปวดไหล่ ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่น หรือ การอักเสบบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ มะเร็ง เป็นต้น

6. ข้อไหล่ติด พบได้บ่อยใน ผู้สูงอายุ

เมื่อมีอาการปวดไหล่จากสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหว นานเข้าจะเกิดเยื่อพังผืดแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและลีบเล็กลง ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก

อาการสำคัญคือ ปวดตอนกลางคืน และ ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น อยู่นิ่งๆ ไม่ปวด

//www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/shoulder-pain/frozen-shoulder


วิธีรักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน

1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดย งดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 - 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดแข็งได้

2. การประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้ำร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น หรือ ใช้ยานวดแก้ปวด

3. รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

4. ทำกายภาพบำบัด บริหารข้อไหล่ เพื่อลดอาการปวด และฟื้นฟูสภาพให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น



สัญญาณอันตรายของอาการปวดไหล่มีอะไรบ้าง ?

ถ้าอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์

1. มีข้อไหล่บวม หรือ มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 สัปดาห์

2. มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณแขนร่วมด้วย

3. มีอาการอื่น เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย เป็นต้น



ข้อแนะนำการบริหารข้อไหล่

1. ควรเริ่มทำภายหลังจากอาการปวดเริ่มทุเลาลงแล้ว เริ่มด้วยจำนวนครั้งน้อย ๆ และทำในท่าแรก ๆ ก่อน เช่น ลองทำท่าที่ 1-3 ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ ถ้าไม่ปวดก็เพิ่มทำท่าที่ 1-5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด

2. ขณะออกกำลัง ถ้าปวดมากจนทนไม่ไหว ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักการบริหารท่านั้นไว้ก่อนจนอาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว

สำหรับผู้ที่มีเป็น โรคข้อไหล่ติดแข็ง ขณะทำการบริหารไหล่จะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น เพราะต้องทำให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออก ดังนั้นถึงแม้ว่าจะรู้สึกปวดก็ต้องพยายามทนให้มากที่สุด ถ้าขณะทำการบริหารแล้วไม่ปวดเลยแสดงว่าทำไม่ถูกวิธี เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะต้องทำกายภาพบำบัดต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายเดือน

3. ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันอย่างน้อย 2-3 รอบ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มจำนวนครั้งในแต่ละวันมากขึ้น

4. ในระหว่างการบริหารหรือการเกร็งกล้ามเนื้อ อย่ากลั้นหายใจ เพราะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งสามารถป้องกันการกลั้นหายใจโดยให้ออกเสียงนับ หนึ่งถึงห้า หรือ นับหนึ่งถึงสิบ ดัง ๆ ขณะบริหาร




อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32





 

Create Date : 26 มิถุนายน 2551   
Last Update : 17 สิงหาคม 2560 23:35:15 น.   
Counter : 26419 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]