Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 09 12 รองเท้า carfreeday2015

 วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ : รองเท้า ใครคิดว่าไม่สำคัญ
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :
Car Free Day 2015 เปิดเมืองปั่น 2015 @ กำแพงเพชร บ้านเราhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1162093070473034.1073742133.100000170556089&type=3
สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชรhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กย.๕๘ เวลา ๑๘.๐๐น. สนามชากังราว ริมปิง การแข่งขันฟุตบอล กำแพงเพชรเอฟซี - แพร่ยูไนเต็ด  
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.813659008649777.100000170556089&type=3
-วันที่ ๑๖-๑๘ กย.๕๘ นิทรรศการศิลปะกำแพงเพชร ครั้งที่ ๑  “ผ้าป่างานศิลป์ด้วยใจ มอบให้โรงพยาบาล “   อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนวัดคูยาง  จัดโดย ชมรมศิลปะกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/groups/1610934715823112/
-วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กย.๕๘ Car Free Day 2015 เปิดเมืองปั่น 2015 เริ่มปั่นเวลา ๗.๐๐ น. จุดรวมตัวลานอนุรักษ์ฯ สวนสิริจิต ริมปิง
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1162093070473034.1073742133.100000170556089&type=3
- วันที่ ๑๒ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ( ๑๐ วัน ๑๐ คืน ) งานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2558  ณ บริเวณลานโพธิ์ สนามหน้าเมืองกำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์ วัดพระแก้ว  ต้นกล้วยไข่ยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.749777355145794.1073741894.146082892181913&type=3

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
รองเท้า ใครคิดว่าไม่สำคัญ

เราสวมรองเท้าเพื่อปกป้องเท้าไม่ให้ได้รับอันตราย แต่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ขนาดไม่พอดี นอกจากจะทำให้รู้สึกไม่สบายขณะสวมใส่แล้ว ยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือผิดรูปของเท้าตามมาได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาซึ่งสำคัญยิ่งกว่าความสวยงาม คือ รูปทรงของรองเท้าที่เข้าได้กับเท้า ซึ่งจะให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่ และไม่เกิดผลเสียต่อเท้า
เมื่อจะซื้อรองเท้า ให้คิดไว้ว่า “เลือกรองเท้าให้ใส่พอดีกับเท้า ไม่ใช่ ใส่เท้าให้พอดีกับรองเท้าที่เลือก"

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อรองเท้า
•    ในการวัดขนาดเท้าควรวัดทั้งสองข้าง เนื่องจากขนาดเท้าแต่ละข้างอาจจะไม่เท่ากัน
•    ควรวัดขนาดเท้าในช่วงเย็น และควรวัดขนาดเท้าในท่ายืน เพราะเท้าจะขยายออกมากกว่าปกติ
•    ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีขนาดกว้าง ยาว พอดีกับเท้า โดยเหลือพื้นที่ส่วนปลายเท้าไว้เล็กน้อย เพราะถ้าเหลือ ที่ว่างมากเกินไป เท้าก็จะเลื่อนได้มาก ทำให้มีการเสียดสีกับรองเท้า ซึ่งจะเกิดเป็นแผล หรือมีผิวหนังพองได้
•    ส่วนหลังของรองเท้าควรกระชับพอดีกับส้นเท้า ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีการเลื่อนหลุดของส้นเท้าเวลาเดิน
•    ใส่รองเท้าแล้วลองเดิน เพื่อให้แน่ใจว่าสวมได้พอดี และรู้สึกสบาย จริง ๆ
•    ควรวัดขนาดเท้าทุกครั้งที่ซื้อรองเท้า เพราะขนาดเท้าอาจเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อเวลาผ่านไป
•    ไม่ควรเลือกรองเท้าโดยดูที่เบอร์อย่างเดียว เพราะรองเท้าแต่ละยี่ห้อเบอร์เดียวกันขนาดอาจไม่เท่ากัน  
•    ควรเลือกซื้อรองเท้าที่สวมได้พอดี และเข้าได้กับรูปเท้ามากที่สุด  ถ้าลองแล้วรู้สึกว่าคับเกินไปก็ไม่ควรซื้อ    มาใส่ โดยคิดว่าเมื่อใส่ไปนาน ๆ แล้วมันอาจขยายออกมาจนพอดี เพราะว่าเท้าจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อน

รองเท้าสตรี
รองเท้าที่ดี ควรมีส่วนหัวของรองเท้ากว้าง และ ส้นไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้วฟุต รองเท้าส้นสูงที่มีส่วนหัวของรองเท้าแคบเรียว ทำให้นิ้วเท้าถูกบีบเข้ามาหากันมาก และน้ำหนักจะไปลงที่บริเวณปลายเท้า แทนที่จะลงที่บริเวณส้นเท้าตามปกติ ถ้าส้นรองเท้ายิ่งสูง น้ำหนักก็จะยิ่งลงไปยังส่วนปลายเท้ามากขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย หรือ ทำให้มีนิ้วเท้าผิดรูป เช่น ตาปลา ข้อนิ้วหัวแม่เท้าเก เป็นต้น

รองเท้าบุรุษ
รองเท้าที่ดีควรมีรูปทรงเข้าได้พอดีกับรูปเท้า โดยที่ส่วนหัวของรองเท้ามีพื้นที่เหลืออยู่เล็กน้อยพอให้นิ้วเท้าขยับได้บ้าง และ ส้นรองเท้าไม่สูง (โดยทั่วไปจะสูงประมาณครึ่งนิ้วฟุต)

รองเท้ากีฬา
จุดมุ่งหมายในการออกแบบรองเท้ากีฬาก็เพื่อปกป้องเท้าของนักกีฬาจากแรงเค้นภายนอกที่มากระทำต่อเท้า และเพื่อให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างพื้นรองเท้ากับพื้นสนามมากพอ ที่จะทำให้เล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ     ไม่เกิดอุบัติเหตุ รองเท้าสำหรับกีฬาแต่ละประเภทจะถูกออกแบบมาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง น้ำหนัก วัสดุที่ใช้ หรือ ลักษณะการผูกเชือก ดังนั้นในการใช้รองเท้ากีฬาจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับกีฬา แต่ละประเภท


สุขภาพเท้า ในผู้สูงอายุ
ในผู้สูงอายุ เท้าก็จะมีการเปลี่ยนแปลง โดยมักจะกว้างออก และ มีไขมันที่ช่วยป้องกันการกระทบกระแทกในบริเวณฝ่าเท้า ลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของกระดูกและ เส้นเอ็น อันเนื่องจากน้ำหนักตัวด้วย จึงควรวัดขนาดรองเท้าบ่อย ๆ ปัญหาที่เกิดเนื่องจาก ผิวหนังที่แห้ง และ เล็บที่ฉีกขาดง่าย ก็พบได้บ่อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้พบได้มากขึ้นในผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4 เท่า

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเท้า
การเดินเป็นการบริหารที่ดีที่สุดสำหรับเท้า
ถุงเท้า ควรจะมีขนาดที่พอดี ใส่แล้วไม่มีรอยย่น และ ควรเป็นแบบที่ไม่มีตะเข็บ หรือ รอยเย็บ
ทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำอุ่นและใช้สบู่อ่อน ๆ อาจจะผสม moisturizer ลงไปด้วยหรือใช้ moisturizer หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว
ตัดเล็บเท้าเป็นแนวตรง
คอยสังเกตเท้า ทุก ๆ วัน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น  มีสีแดงขึ้น บวม ผิวหนังแห้งแตก หรือ รอยฟกช้ำ ควรปรึกษาแพทย์

รองเท้าสำหรับเด็ก
เด็กเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าจนกว่าจะเริ่มเดิน ซึ่งทั่วไปก็ประมาณอายุ 12 ถึง 15 เดือน ในช่วงที่ยังไม่เดิน การสวมถุงเท้าอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่เท้าหรือปกป้องเท้าไม่ไห้ได้รับอันตรายขณะคลาน แต่เมื่อเด็กเริ่มยืนหรือเดิน รองเท้าจะเป็นสิ่งจำเป็นและดีที่สุดในการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า การสวมถุงเท้าจะช่วยลดอาการระคายเคืองจากการที่เท้าสัมผัสกับรองเท้าโดยตรง
สำหรับเด็กวัยหัดเดิน ควรให้เด็กได้เดินด้วยเท้าเปล่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะการเดินด้วยเท้าเปล่าจะทรงตัวได้ง่าย แต่หากพาออกไปนอกบ้าน ก็ควรที่จะให้มีรองเท้าเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ

ข้อแนะนำในการเลือกรองเท้าเด็ก
หัวรองเท้า ควรยาวกว่านิ้วเท้าของเด็กอย่างน้อยครึ่งนิ้ว บริเวณส่วนหัวของรองเท้าควรมีพื้นที่เหลือพอที่ จะให้นิ้วเท้าขยับได้ และเผื่อไว้สำหรับเท้าที่จะเจริญเติบโตขึ้นอีก (เท้าจะยาวขึ้นประมาณ ครึ่งนิ้วฟุตใน 3 - 6 เดือน)
พื้นรองเท้า ควรมีความยืดหยุ่นดี น้ำหนักเบา และไม่ลื่น พื้นรองเท้าควรจะเรียบกว้างและแข็งแรง ซึ่งเมื่อเด็กสวมรองเท้า และเขย่ง รองเท้าจะโค้งตามรูปเท้า พื้นรองเท้าด้านใน ควรบางแต่นุ่มนวล และยืดหยุ่นได้ดีไม่แข็งกระด้าง ถ้าพื้นผิวด้านในอ่อนนิ่มหรือฟูหนาจนเกินไป จะทำให้นิ้วเท้าของเด็กจมลงไปมาก ทำให้เด็กเดินลำบากขึ้น
สายคาด ควรเป็นแบบที่ สามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกให้กระชับพอดี กับขนาดเท้าได้ง่าย
รองเท้าหัวป้านจะช่วยให้นิ้วเท้าไม่ถูกบีบ และจะไม่เจ็บเท้าเมื่อต้องใส่รองเท้าเป็นเวลานาน
คุณภาพของฝีมือในการตัดเย็บ จะต้องประณีต ตะเข็บต้องไม่หนา และไม่กดรัดนิ้วเท้า ควรหลีกเลี่ยง รองเท้าที่เป็นพลาสติก เพราะพลาสติกจะไม่ปรับรูปร่างให้เข้ากับเท้า
ควรเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ให้กับลูกเมื่อเห็นว่ารองเท้านั้นคับเกินไป โดยอาจสังเกตจากขณะยืนสวมรองเท้า นิ้วเท้าแตะโดนด้านในของหัวรองเท้า มีรอยกดของรองเท้า ทำให้เท้าบวมหรือแดงเป็นรอย


Car Free Day 2015 เปิดเมืองปั่น 2015 @ กำแพงเพชร บ้านเรา
กำแพงเพชร Car Free day วันอาทิตย์ วันที่ 20 กันยายน 2558
เวลา 6.00-6.30 น. รับเสื้อ เวลา 7.00 น. กล่าวเปิด เวลา 7.10 น.ล้อหมุน
จุดรวมตัว ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สวนสิริจิตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่เฟส เสือชากังราว(กำแพงเพชร) https://www.facebook.com/groups/201230529908351/
.......................
แนวคิดนี้ ของจังหวัดชัยนาท ก็น่าสนใจนะครับ

"ชัยนาทเมืองจักรยาน 12 เดือนแห่งการปั่น"
//www.chainat.go.th/sub/gov_office/bike/index.html

แผนที่ปั่น 15กม. 25กม. 70กม.
//www.chainat.go.th/sub/gov_office/bike/services.html

......................

วันปลอดรถโลก World Car Free Day
//scoop.mthai.com/specialdays/5757.html

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีวันแบบนี้ด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นวันที่ดีเลยทีเดียวสำหรับวันปลอดรถโลก หรือ World Car Free Day ที่ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี โดยวันนี้ได้ถูกยอมรับจากองค์กรมากกว่า 50 องค์กรในประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาใช่รถขนส่งมวลชน หรือรถจักรยานแทน เพื่อลดการสร้างมลพิษทางอากาศและ เสียงที่กำลังส่งปัญหากับโลกใบนี้นั้นเอง

World Car Free Day
โดยการรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1968 ในเนเธอร์แลนด์ และค.ศ. 1972 ในฝรั่งเศส ตามลำดับ กระทั่งประเทศต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญและร่วมกันรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และในปี ค.ศ. 2005 มีการจัดรณรงค์ชื่อ In town without my car! พร้อมกันใน 1500 เมืองทั่วโลก ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 ล้านคน

สาเหตุที่มีวันปลอดรถโลกเริ่มขึ้น เนื่องจากช่วงวิกฤติน้ำมันในต้นปี ค.ศ. 1970 และได้มีการจัดงานวันปลอดรถหลายงานในเมืองต่างๆ ในยุโรปในช่วงต้น ค.ศ. 1990 สำหรับวันปลอดรถนานาชาติจัดขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องสำหรับการรณรงค์ “อยู่ในเมืองโดยไม่ใช้รถ” ของสหภาพยุโรป โครงการรณรงค์นี้พัฒนาไปเป็นสัปดาห์แห่งการเคลื่อนไหวร่างกายในยุโรป
วันปลอดรถโลก World Car Free Day

วันปลอดรถในไทย

จากการที่องค์กรมากกว่า 50 องค์กรในประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศ กำหนดให้ วันที่ 22 กันยายน เป็นวัน World Car Free Day โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้รถ ขนส่งมวลชน และรถจักรยานเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ปัญหาการจราจรและลดการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนลดการใช้พลังงาน และได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมโครงการฯ กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการประชุมหารือร่วมกัน และเห็นว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดทรัพยากร จึงกำหนดจัดโครงการ Car Free Day ของประเทศไทยขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2546 ภายใต้ชื่อ “22 กันยายน จอดรถไว้บ้าน ลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ” หลังจากนั้นก็มีการจัด Car Free Day ในเมืองไทยทุก ๆ ปี

ผลกระทบจากรถยนต์

– การผลิตรถ 1 คัน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 4 ตัน และสารก่อมลพิษอื่นๆ เกือบ 317.51 กิโลกรัมออกสู่บรรยากาศ
– หากประชาชน 1 คน ใช้ระบบขนส่งมวลชนตลอด 1 ปี แทนการขับรถไปทำงาน จะสามารถลดการปล่อยแก๊สเหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน 4.2 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซต์ 64.5 กิโลกรัม และไนโตรเจนออกไซต์ 2.3 กิโลกรัม นอกจากนี้รถบัสขนาด 40 ฟุต ยังเท่ากับรถยนต์ 58 คัน

""""""""""""""""""""""""""""""


สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร

"""""""""""""""""""""""""""""""
โครงการสองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก โดย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ร่วมกับตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคและเครือข่ายจิตอาสาประจำจังหวัด ขอเชิญชวนร่วมสร้างปรากฏการณ์ระดมพลังทางสังคม เปลี่ยนจักรยานเหลือใช้ ให้เป็นโอกาส ซ่อมสภาพผุพังให้พร้อมใช้งาน รวมพลังจิตอาสาเป็นธารน้ำใจ ส่งมอบของขวัญให้เด็กๆ ในชนบท พื้นที่ขาดแคลน ทั้งโรงเรียนในระบบและนอกระบบทั่วประเทศ
จังหวัดกำแพงเพชร สามารถบริจาคจักรยาน ได้ที่ ...
อ. ชูชาติ โดรณ
๑๒ ถ.เทศบาล๒ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ๖๒๐๐๐
โทร ๐๘๑ ๗๐๗ ๓๔๔๓
FB @Choochart Drones https://www.facebook.com/choo.dron
.................................

Choochart Drones ศูนย์ประสานงานและเครือข่ายจิตอาสาภาคเหนือ จ.กำแพงเพชร ส่งมอบจักรยานจากการรับบริจาค จำนวน ๖ คัน ให้กับโรงเรียนบ้านคลองปลาสร้อย อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
ผลงานที่ 1 ของโครงการสองล้อเพื่อน้องฯ ศูนย์กำแพงเพชรครับ รับมอบจริงส่งมอบเด็กยากจนจริง






Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 22:01:56 น. 0 comments
Counter : 1183 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]