Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2557 10 04 โรคกระดูกทับเส้น งานกล้วยไข่2

เชิญร่วมรับฟังและพูดคุยแสดงความคิดเห็น หลากเรื่องราวที่น่าสนใจ ด้านสุขภาพ และกำแพงเพชรบ้านเรา

รายการ" คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) " ทุกวันเสาร์ เวลา 14:00- 15:00 น.

ออกอากาศทางสถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.

ดำเนินรายการโดยนพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

ร่วมแสดงความคิดเห็นโทรฯ 055 - 714 417

ติดตามรายละเอียดเพิ่มได้ที่เฟสhttps://www.facebook.com/phanomgon

รายการ " คุณหมอ ขอคุย " วันเสาร์ ๔ ตุลาคม นี้ คุยกันเรื่อง

๑.ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย

- โรคกระดูกทับเส้น

๒.ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

- งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงงานใหญ่ระดับจังหวัด 2

๓.ข่าวสาร และ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดงานโน่นนี่นั่น ของบ้านเรา


๑. ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย

-โรคกระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท ( กระดูกทับเส้น)

กระดูกสันหลังเสื่อม[ SCS , Spinal Canal Stenosis ]

• อาการ และ อาการแสดง

ระยะข้อต่อหลวม เมื่ออายุมากขึ้นเส้นเอ็นยึดข้อแข็งแรงน้อยลง หมอนรองกระดูกสันหลังยุบตัวทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวมากขึ้นกล้ามเนื้อหลังต้องเกร็งตัวเพื่อไม่ให้กระดูกเคลื่อนไหวมากเกินไป เมื่อเกร็งตัวนานก็จะปวดกล้ามเนื้อช่วงแรกจะปวดเวลาขยับตัวเปลี่ยนท่า แต่ถ้าข้อต่อหลวมมากขึ้นจะมีอาการตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว(นอนนิ่งๆ ไม่ปวด) ในบางราย อาจเกิดกระดูกสันหลังเลื่อน(เคลื่อน)จนต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดใส่เหล็ก(สกูร)ดามกระดูกสันหลัง

ระยะข้อติดแข็ง(กระดูกงอก)ร่างกายพยายามรักษาตัวเองโดยสร้างหินปูนมาเกาะเส้นเอ็น(กระดูกงอก)เพื่อให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้น อาการในระยะข้อต่อหลวมจะดีขึ้น แต่ถ้ากระดูกงอกไปกดทับเส้นประสาท (กระดูกทับเส้น) จะทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา ขาชา ขาอ่อนแรงเมื่อเดินไประยะหนึ่ง อาการจะมากขึ้นจนต้องหยุดเดิน แต่เมื่อนั่งพัก สักครู่อาการก็จะดีขึ้นสามารถเดินต่อได้อีก แต่เดินได้สักพัก ก็จะเป็นอีก ทำให้ต้องเดินๆหยุดๆ ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรคถ้าโรครุนแรงมาก ระยะทางที่เดินได้ก็จะสั้นมาก

• แนวทางวินิจฉัย

ส่วนใหญ่วินิจฉัยจากการถามประวัติและตรวจร่างกายโดยไม่ต้องถ่ายภาพรังสี(เอกซเรย์) ยกเว้น มีอาการมากหรือรักษาแล้วไม่ดีขึ้นแต่เอกซเรย์ทั่วไป จะเห็นเฉพาะกระดูก ไม่เห็นกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก หรือเส้นประสาท บางกรณีจะต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(ซีที) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(เอ็มอาร์ไอ)หรือ ฉีดสีเข้าสันหลัง (มัยอีโลแกรม)

• แนวทางรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

ลดน้ำหนักงดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลังในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบายแต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วันเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้

ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อนเช่น น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบ 10 - 15นาที หรือ ประคบร้อน 4 นาที สลับเย็น 1 นาที อาจใช้ ครีมนวดร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรง

ยาเช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาสร้างกระดูกอ่อนยาชะลอความเสื่อม

ทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น นวด ดึงหลังอบหลัง ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง(เครื่องรัดหลัง) แต่ไม่ควรใส่นานเพราะกล้ามเนื้อจะลีบ

• แนวทางรักษาด้วยวิธี ผ่าตัด

การผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้ายจะผ่าตัดเมื่อ มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้นมีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ทำให้กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ เป็นต้น

ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรผ่าตัดเพราะผลการผ่าตัดจะดีในช่วงแรก (โอกาสดีขึ้น 60 - 80 %) แต่อาจเกิดอาการขึ้นมาอีกจนต้องผ่าตัดซ้ำหรือผ่าตัดใส่เหล็ก(สกูร)ดามกระดูกแต่ผลการรักษามักไม่ค่อยดีเหมือนผ่าตัดครั้งแรก

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

-งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ตอนที่ ๒ - วันที่ ๒๓ กย. - ๒ ตค.๕๗งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง

หลังจากที่ได้ไปเที่ยวชมงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ซึ่งถือว่า เป็นงานทางวัฒนธรรม เป็นงานระดับจังหวัดปีนี้ท่านผู้ว่า สุรพล วาณิชเสนี ท่านให้ความสนใจทางด้านประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่นมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้งานน่าสนใจขึ้น ไม่ใช่มีแต่ ของขาย กับ คอนเสิร์ต ปีนี้มีคนชมเกี่ยวกับงานกล้วยไข่เยอะกว่าทุกปี

และที่พิเศษกว่าก็คือ ปีนี้เราจะได้ข้อมูลที่เป็นหลักวิชาการมากขึ้น เพราะ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ร่วมกับ จังหวัดกำแพงเพชร

ทำงานวิจัยสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มาร่วมงาน ที่มีต่อการจัดงานประเพณี สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ประจำปี ๒๕๕๗ ต้องขอขอบคุณ...

ผวจ.กพ. นายสุรพล วาณิชเสนี ที่อนุญาต และ ให้ข้อมูลข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ผศ. สุวิทย์ วงษ์บุญมาก อธิการบดี มรภ.กพ

ดร.สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามรภ.กพ

และ คณะอาจารย์ นักศึกษา ที่ร่วมกันทำงานวิจัยครั้งนี้ โดย"ไม่คิดค่าใช้จ่าย" ^_^

ถ้าผลงานวิจัยออกมาเรียบร้อยก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังว่า ประชาชนที่มาร่วมงานกล้วยไข่ปีนี้ คิดเห็นอย่างไรกันบ้าง.. ในช่วงนี้ ขอแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ เกี่ยวกับงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพื่อช่วยกันปรับปรุงให้ งานนี้ เป็นงานประเพณี ที่เราชาวกำแพงเพชร รู้สึกภาคภูมิใจและมั่นใจ กล้าชวนคนไกลมาเที่ยวบ้านเรา ^_^

ผมขอเสนอความคิดเห็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. การประชาสัมพันธ์เท่าที่ติดตาม ลักษณะของป้ายงาน หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ส่งตามสื่อก็จะมีประวัติความเป็นมา กิจกรรมเด่น ๆ วันงาน และ การแสดงมหรสพ ดนตรี ?)ผมได้ลองถ่ายภาพเปรียบเทียบงานนบพระเล่นเพลง กับ งานกล้วยไข่รูปแบบคล้ายกันมาก มีชื่องาน กิจกรรมอะไรบ้าง เป็นข้อความตัวเล็ก ๆแล้วก็มีรูปวงดนตรีที่จะมาเล่นคอนเสริต์ ซึ่งเห็นเด่นชัดที่สุด อยากให้เพิ่ม การประชาสัมพันธ์ วันเวลาข้อมูลรายละเอียดของขบวนแห่ หรือ กิจกรรมทางวัฒนธรรม เพราะ ถ้าใครสนใจอยากจะมาเที่ยวจะได้รู้ว่ามาเที่ยวตอนไหน

2. ภายในบริเวณงานกล้วยไข่ปีนี้ จัดพื้นที่ได้ดีกว่าปีก่อน ๆแต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องเส้นทางเดินที่ยังสับสนอยู่ ถ้ามีป้าย ผังการจัดพื้นที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตรงไหน มีอะไรบ้าง ใครที่สนใจเรื่องไหน ก็จะได้เข้าไปดูได้เพราะความสนใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จัดได้ดี บางหน่วยงานมีของแจกอีกต่างหาก แต่อยู่ไกลหน่อยคนมาเที่ยวงานเลยไม่รู้ว่า มีอยู่

3. ปีนี้ การแบ่งสัดส่วนพื้นที่(แบ่งโซน) ให้ชัดเจน วัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น OTOP ร้านค้าทั่วไป จัดการขายของ ให้เป็นระเบียบ ทำได้ดีขึ้น อาจยังมีปัญหาบ้าง แต่ ท่านผู้ว่า สุรพลวาณิชเสนี และ คุณ ยุพา ศรีแก้วหล่อ พัฒนาการจังหวัด บอกว่าปีหน้าจะดีขึ้นกว่านี้อีก เราก็คงต้องคอยติดตามดูกันต่อไป

4. บริเวณด้านหน้า ที่มีป้ายงานกล้วยไข่ตกแต่งได้สวยงาม แต่อยากฝากให้ช่วยออกแบบตกแต่ง บริเวณต้นโพธิ์ ให้สวยงาม สามารถถ่ายภาพได้ด้วยเพราะต้นโพธิ์นี้ ก็ถือว่าเป็น สัญญาลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวกำแพงเพชรเป็นจุดสำคัญ แต่ ไม่มีใครดูแล

5. จัดเพิ่มถังขยะให้เพียงพอ รวมไปถึงการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกที่ และ ลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง

6. แผนผัง การจัดงาน ร้านไหนอยู่ตรงไหนบ้าง อาจทำเป็นแผ่นพับ ความเป็นมาของงานจุดที่น่าสนใจ กิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อ ประชาสัมพันธ์งานฯ ( แจกล่วงหน้า และแจกภายในงาน) อาจจัดเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวให้เลยก็ยังได้ เช่น โปรแกรม ๒ วัน ๑ คืนวันที่ ๒๓ เช้าตักบาตร สาย ๆ ไปเที่ยวอุทยาน บ่ายชมขบวน พิธีเปิด ชมงาน กลางคืนพัก ๑ คืน ตอนเช้า วันที่ ๒๔ เที่ยวน้ำตกคลองลาน คลองวังเจ้า เป็นต้น

7. จุดให้ข้อมูล informationcenter เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่องเที่ยว แผ่นพับ ของหน่วยงานต่างๆ เช่น ททท อบจ. อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ อุทยานฯ ปีนี้ คุณปาริษา ปานพรหม ท่องเที่ยวจังหวัดจัดเต้นท์ อยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณถ่ายภาพสามมิติ มีแผ่นพับแจก แต่ มีน้อย และไม่มีป้ายบอก

8. เต็นท์ หรือจุดจำหน่ายกล้วยไข่ และ กระยาสารท (ตลาดกล้วยไข่ กระยาสารท) แต่ ต้องคัดเลือกร้านกระยาสารทอร่อย ๆมาให้ชิมด้วยนะครับ ใครอยากจะมาชิม มาช๊อปก็มาที่จุดเดียวได้เลย (ตอนนี้ จะหาซื้อ กล้วยไข่ กินกับกระยาสารท ในงานฯ หาไม่ได้?) อาจจัดเป็นชุดเลยก็ได้ ชุดเล็ก ๆมีกระยาสารทสัก ๒ ชิ้น กล้วยไข่ ๒ ลูก เดินชมงานก็ชิมไปด้วย

9. ตอนนี้มีประกวดกล้วยไข่สุก-ดิบ และ ประกวดกระยาสารท (รสชาติ และ ลีลา)จึงอยากเสนอกิจกรรมเพิ่มเติม และอาจต่อยอดการทำธุรกิจได้อีกด้วย

- การแปรรูปกล้วยไข่เช่น ประกวดทำอาหาร ขนม ไอศครีม จาก กล้วยไข่ ( คล้าย ๆ กับรายการ เชฟกระทะเหล็กวัตถุดิบหลัก คือ กล้วยไข่)

- การเก็บรักษากล้วยไข่สุกให้อยู่ได้นาน? กล้วยไข่ตาก ? เพื่อส่งออกหรือ ส่งไปจำหน่ายที่จังหวัดอื่น

- ประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยไข่ กับ กระยาสารท (ในกล่องเดียวกัน ) กระยาสารทอย่างเดียว สอน (สาธิต) วิธี ทำอาหารขนม จากกล้วยไข่ วันละ ๑ เมนู เรียนฟรี ( กศน ? ศูนย์ฝึกอาชีพ?)

-ประกวด / สอน วาดภาพ ปั้น ฯลฯ เกี่ยวกับกล้วยไข่

10. จัดกิจกรรม บนเวทีใหญ่ในช่วงบ่าย ๆ ของทุกวัน เช่น เสวนา วิชาการเกษตรกล้วยไข่ การปลูก การดูแล การขาย การแปรรูป ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอ แนวทางแก้ไข แจกหน่อกล้วยไข่คุยกันเรื่อง กล้วยไข่ ในทุกแง่มุม รวมไปถึง สารอาหารคุณประโยชน์ของกล้วยไข่ประวัติศาสตร์กล้วยไข่กับกำแพงเพชร ใครสนใจก็มาฟัง ไม่มีใครนั่งฟัง ก็พูดให้พ่อค้าแม่ค้าฟัง ก็ยังดี

11. การเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงอาจจัด นำเที่ยวด้วย รถไฟฟ้า สอง-สามรอบต่อวัน (คนละ ๑๐ บาท?) เช่น
เส้นทางแรก - บรมนุสาวรีย์ ร.๕ ต้นสัก ร.๙ ที่ว่าการอำเภอเมือง (ศาลากลางเก่า) ศาลพระอิศวรเรือนไทย พิพิธภัณฑ์จังหวัดฯ อุทยานประวัติศาสตร์ คูเมือง กำแพงเมือง ศาลหลังเมืองวัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เป็นต้น

เส้นทางที่สอง- บรมนุสาวรีย์ ร.๕ ต้นสัก ร.๙ ที่ว่าการอำเภอเมือง (ศาลากลางเก่า) กำแพงเมืองคูเมือง (หลังไปรษณีย์เก่า) วัดเสด็จ บ้านสาวห้อม อาคาร สพม.๔๑ (ร.ร.วัชรราษฎร์๗๐+ ปี ) ต้นสัก ร.๖ กาชาด (ศาลากลางเก่า) ต้นโพธิ์ จารึกวงเวียน ร.๖ แผงพระเครื่อง ในตลาดต้นโพธิ์ เป็นต้น อาจมีมัคคุเทศก์นำเที่ยว หรือ เป็นนักเรียน มัคคุเทศก์น้อย ตอนสมัยผู้ว่าเชาวัศ สุดลาภามีขบวนเกวียนนำเที่ยว ผมเป็นนักเรียน ร.ร.กำแพงเพชร ก็ได้เป็นมัคคุเทศก์

12. การมีส่วนร่วมของประชาชนเช่น ให้คนแต่ละอำเภอ มีส่วนร่วมในการจัดขบวน ร่วมไปถึงการเสนอผลงานศิลปะดนตรีของนักเรียนนักศึกษา ยกตัวอย่างเช่น สพฐ.มีการจัดประกวดศิลปหัตถกรรมนักเรียน ทุกปี วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตร หรือมรภ.กพ ก็มีผลงานดี ๆ เยอะแยะ แต่ขาดพื้นที่ในการนำเสนอ

13. งานศิลปะวัฒนธรรม ปีนี้ช่วงค่ำ ก็มีการแสดง ศิลปะพื้นบ้าน ลิเก ลำตัด โขน ของโรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชรการแสดงแสงเสียง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

14. เรื่องที่จอดรถที่สาธารณะ ปัญหาเดิม ๆ ก็คือ ทำไมถึง มีการเก็บเงินค่าจอดรถถ้าจัดเป็นสัดส่วนก็ไม่เป็นไร แต่นี่ จอดริมถนน ก็มีเด็กวิ่งมาเก็บเงินไม่จ่ายก็กลัวจะมีปัญหากับรถ จ่ายไปสิบบาท เพื่อตัดความรำคาญ

- จัดพื้นที่ให้ชัดเจน เสนอว่าควรมีการจัดบริเวณจอดรถ ป้ายชัดเจน อาจให้นักเรียน นักศึกษา มาจัดรับฝากรถจักรยานยนต์รถยนต์ ในนามของสถานศึกษา หรือจะให้หน่วยงานราชการ ก็ได้

- พื้นที่รับฝากรถอาจใช้ที่ วิทยาลัยเทคนิค หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง หน้า สนง.ที่ดินเก่า ฯลฯ หรือให้จอดรถที่ หลังโรงรถไฟฟ้าแล้วใช้รถไฟฟ้ารับส่ง

ปล.งดแสดงความเห็นเรื่อง คอนเสิร์ต และ ตลาดนัด นะครับ เพราะ ผมถือว่า นั่นไม่ใช่งานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง และผมก็ไม่เคยเข้าไปชมว่าเป็นอย่างไรเลยขอผ่านนะครับ ^_^

หมายเหตุ.. อยากแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประมูลจัดงานฯ ประเพณีประจำปี ของจังหวัด

๑.ตลาดย้อนยุค ตลาดย้อนรอยชากังราว ควรชี้แจง ทำความเข้าใจว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ผู้รับเหมาจัดฟรีค่าเต้นท์กับค่าไฟฟ้า 1ดวงต่อ 1 เต้นท์ เท่านั้น ถ้าเกินนั้นเขาขอเก็บเพิ่ม ดวงละ 10 บาท ถ้ามีตู้แช่พัดลม เตาปิ้งย่าง และอื่นๆที่ต่อปลั๊กพ่วง ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น

ควรมีข้อมูลหรือภาพ ผู้ที่จะมาเก็บเงิน และ ออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน

๒.ควรมีข้อมูล หรือภาพของผู้ที่ได้รับประมูล (ผู้รับเหมาจัดงาน) จากจังหวัดให้กับผู้ประสานของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มาร่วมออกร้านเพื่อเวลาติดต่อประสานงานจะได้สะดวก รู้ว่าใครเป็นใคร

๓.ควรแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนไปเลยว่า ส่วนไหนเป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาจัดงาน และส่วนไหนเป็นความรับผิดชอบของจังหวัด (หน่วยงานไหน?)

๔.การจัดงาน ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องลองช่วยกันคิดว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการประมูลจัดงาน ? คุ้มหรือไม่ ?

(พัก โฆษณา )

๓. ข่าวสาร และ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดงานโน่นนี่นั่น ของบ้านเรา

เชิญร่วมการแข่งขัน... ปั่นปันน้ำใจ "เสือเมืองไทร" ครั้งที่ ๑

วันอาทิตย์ที่๑๒ ตค.๕๗ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอไทรงาม จ.กำแพงเพชร

รุ่นทั่วไประยะทาง ๖๐ กม. ค่าสมัคร ๓๐๐ บาท

รุ่นสมัครเล่นระยะทาง ๓๐ กม. ค่าสมัคร ๒๐๐ บาท

สมัครได้ที่ที่ว่าการอำเภอไทรงาม ในวันเวลาราชการ หรือ สมัครหน้างาน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตค.๕๗เวลา ๐๖.๐๐ - ๐๙.๐๐ น.

สอบถามได้ที่กำนัน ชินดิษฐ์ เจนจบ โทร ๐๘๙ ๙๕๗ ๗๘๓๐

นายวันใจ เมืองแก้ว โทร ๐๘๕ ๕๓๓ ๙๒๙๔

หมายเหตุผมไม่ได้เป็นผู้จัดงาน เพียงแต่อยากช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมดี ๆ แบบนี้ นะครับ(และคงไม่ได้ไปปั่นด้วย)




Create Date : 30 สิงหาคม 2558
Last Update : 30 สิงหาคม 2558 23:49:26 น. 0 comments
Counter : 859 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]