Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 04 25 โรคลมแดด สงกรานต์ วันปีใหม่ไทย แต่กลายเป็น ๗ วันอันตราย ตายเจ็บเพียบ ?

 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย
- โรคลมแดด (Heatstroke)
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- สงกรานต์ วันปีใหม่ไทย แต่กลายเป็น ๗ วันอันตราย ตายเจ็บเพียบ ?  
๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
- วันอาทิตย์ ๒๖ เมย.๕๘  “งด” จัดงานศิลป์ในสวน โฮมเมดแฮนด์เมด ครั้งที่ ๕ เลื่อนไปจัดวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๘  ( วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พย.๕๘)  จัด ๓ ครั้ง ( พย.-ธค.-มค )
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
- นั่งรถไฟฟ้า เส้นทางบุญ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในเขตเทศบาลเมืองฯ รอบเช้า ๐๙.๐๐ น.  รอบบ่าย ๑๖.๐๐ น. ( ระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ) จุดขึ้นรถ บริเวณ ลานโพธิ์ หน้าอำเภอเมือง ไม่ต้องจองล่วงหน้า  และ ฟรี   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (ในเวลาราชการ) โทร ๐๕๕ – ๗๑๘ ๒๐๐ ต่อ ๓๒๒  ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทร ๐๙๔ – ๖๓๖ ๖๓๖๙



๑. ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย  

โรคลมแดด ( อุณหพาต , ฮีทสโตรก
ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย ขณะนี้สภาพอากาศร้อนจัดกว่าทุกปี ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหลายโรค เช่น โรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปน เปื้อนเข้าไปซึ่งเกิดบ่อยที่สุด แต่โรคที่มีการพูดถึงกันน้อย คนเป็นบ่อยช่วงหน้าร้อนคือ "โรคฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" (Heat Stroke) แต่บางที่ก็เรียกว่า "โรคอุณหพาต" หรือ "โรคลมเหตุร้อน" นั้นเอง
โรคลมแดด (Heatstroke หรือ Heat illness หรือ Heat-related illness) เป็นภาวะที่เกิดจากมีความร้อนในสิ่งแวดล้อมสูง เช่น ในฤดูร้อนจัด จนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายตามปกติได้ ส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น
เมื่ออุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม (อากาศ) สูงขึ้น จะส่งผลให้ร่างกายเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน สูงขึ้นตามไปด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า ร่างกายจะเพิ่มการเผาผลาญพลังงานเพิ่มสูงขึ้น 10% เมื่ออุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุกๆ 0.6 องศาเซลเซียส

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด?
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ได้แก่
    ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายโรค กินยาบางชนิดที่อาจก่อให้การระบายความร้อนของร่างกายลดลง รวมทั้งอวัยวะต่างๆที่ทำหน้าที่ระบายความร้อน เช่น หลอดเลือด หัวใจ และปอดยังทำงานเสื่อมลง นอกจากนั้น ผู้สูงอายุมักดื่มน้ำน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน
    เด็ก โดยเฉพาะเด็กอ่อน และเด็กเล็ก เพราะร่างกายเด็กมีการเผาผลาญพลังงานสูงกว่าในผู้ใหญ่ อวัยวะต่างๆรวมทั้งที่ใช้ช่วยระบายความร้อนยังมีขนาดเล็ก และเด็กยังต้องได้รับการดูแลจากผู้อื่น
    โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เพราะผิวหนังมีไขมันมาก จึงระบายความร้อนได้ไม่ดี นอกจากนั้น มักมีโรคประจำตัว หรือ อวัยวะต่างๆรวมทั้งอวัยวะที่ช่วยระบายความร้อนมีการทำงานได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ
    คนมีโรคประจำตัว ที่ต้องกินยาหลายชนิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการระบายความร้อนของร่างกาย เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาลดความอ้วน ยาขับน้ำ ยาแก้ท้องผูก (ยาถ่าย) ยากันชัก และยาทางจิตเวชบางชนิด
    นักกีฬา คนทำงานกลางแดด เช่น ทหาร เกษตรกร กรรมกร และผู้ที่ออกกำลังมากเกินควรโดยเฉพาะกลางแจ้ง
    ติดสุรา หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงอากาศร้อน เพราะเพิ่มการขับน้ำออกจากร่างกาย
    บางคน (พบได้น้อย) มีพันธุกรรมที่ทนต่อความร้อนได้น้อยกว่าคนทั่วไป

โรคลมแดดมีความรุนแรง และมีอาการอย่างไร?
โรคจากอากาศร้อนแบ่งตามความรุนแรงจากน้อยไปหามาก ได้เป็น 5 ระดับ คือ การขึ้นผื่นแดด (Heat rash) การเกิดตะคริวแดด (Heat cramp) การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heat syncope) การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion) และโรคลมแดด (Heat stroke)
    ผื่นแดด(Heat rash)    ผิวหนังชื้นแฉะจากเหงื่อ จึงเกิดผื่นคันเม็ดเล็กๆ สีออกชมพู (ผด) ซึ่งเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วน โดยเฉพาะ ลำคอ ในร่มผ้า และตามข้อพับต่างๆ
    ตะคริวแดด (Heat cramp)    กล้ามเนื้อหดเกร็งจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากทางเหงื่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวด/เจ็บกล้ามเนื้อ พบบ่อยบริเวณหน้าท้อง แขน และขา
    การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heat syncope)    อาการคือ อ่อนเพลีย วิง เวียน และหมดสติชั่วคราว
    การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion)    อาการคือ เหงื่อออกมาก เพลีย หมดแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว มีไข้ต่ำๆ ดูซีด หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ตื้น เหนื่อย วิงเวียน สับสน
    โรคลมแดด (Heatstroke)   เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย (core temperature) สูงกว่า 40 องศา เซลเซียส อาการคือ เหงื่อออกน้อย ผิวหนังร้อน สั่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดศีรษะ พูดช้า สับสน เห็นภาพหลอน หายใจเร็ว ตื้น เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว มีไข้สูง หมดสติ ช็อก โคม่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
     สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

ดูแลตนเองอย่างไร?
    หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัด/มีพัดลม ใช้พัดช่วย หรือใช้เครื่องปรับอากาศ
    เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง
    สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี (ผ้าฝ้าย 100%) สีขาวหรือสีอ่อน
   ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว แต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลีย อาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ หากร่างกายได้รับน้ำปริมาณที่น้อย  จะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ
    หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน
    งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีน เพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น

    การดูแลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด นอกเหนือจากการดูแลโดยทั่วไปดังกล่าวแล้ว การดู แลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด คือ การอาบน้ำบ่อยขึ้น การทาแป้ง และทายาบรรเทาอาการคัน เช่น น้ำยาคาลามาย (Calamine lotion) ระวังอย่าเกา เพราะแผลเกาอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรตัดเล็บให้สั้น
    การดูแลตนเองเมื่อเกิดตะคริวแดด คือ รีบกลับเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็น ถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ พักการทำงานอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพราะถ้ารีบกลับไปทำงาน มักทำให้อาการรุนแรงขึ้น แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่แรก รวมทั้งเมื่ออาการตะคริวเลวลง หรือไม่ดีขึ้นใน 1 ชั่วโมง
    การดูแลตนเองเมื่อวิงเวียนจะเป็นลมจากอากาศร้อน เมื่อเริ่มมีอาการดังกล่าวแล้ว ควรรีบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้ดี นั่งลง หรือนอนเอนตัว ปลดเสื้อผ้าให้หลวมสบาย จิบน้ำ หรือ เครื่องดื่มเกลือแร่ช้าๆ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือ เลวลง รีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน
    การดูแลตนเองเมื่อหมดแรงจากแดด คือ การเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็น ถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำมากๆโดยเฉพาะน้ำเย็น งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลง ควรรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน
    การดูแลตนเองเมื่อมีอาการลมแดด คือ การไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด
       หากพบผู้ที่บ่นว่าร้อน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดสังเกต มีอาการงง พูดช้าลง เลอะเลือน การเคลื่อนไหวช้าลง โซเซ ควรพาผู้ป่วยไปพักในที่ร่มทันที เปิดเครื่องปรับอากาศ และใช้น้ำเย็นเช็ดตัวให้ผู้ป่วย เนื่องจากอาการในช่วงนี้จะคืบหน้าไปสู่อาการแบบรุนแรงอย่างรวดเร็ว
หากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย
     • นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก
     • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
     • เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล โดยควรหาพาหนะที่ผู้ป่วยสามารถนอนได้และมีเครื่องปรับอากาศ และจัดท่านนอนของผู้ป่วยให้เท้ายกสูงขึ้นกว่าศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้จับนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ระวังอย่าให้มีอะไรอยู่ในปากและอย่าให้ผู้ป่วยจิบน้ำ ซึ่งหากไม่มีรถที่ผู้ป่วยสามารถนอนไปได้ ควรเรียกรถพยาบาล เพราะการนั่งตัวตรงอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองของผู้ป่วยได้


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- สงกรานต์ วันปีใหม่ไทย แต่กลายเป็น ๗ วันอันตราย ตายเจ็บเพียบ ?  

การแถลงข่าวปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
ปี 2558  เกิดอุบัติเหตุรวม 3,373 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 364 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,559 คน
ปี 2557  เกิดอุบัติเหตุรวม 2,992 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 322 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,225 คน

โดยพบว่าปีนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 42 ราย มีผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น 334 คน และ มีจำนวนอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 381 ครั้ง
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 141 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 16 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 152 คน
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บในช่วง 7 วันของการรณรงค์ มี 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 39.31 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.35
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.34 โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 28.51
ร้อยละ 62.89 ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.29 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.14
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01–20.00 น. ร้อยละ 30.50
ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.58

ร้อยละ 47 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ มีปัจจัยเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัย
กว่าร้อยละ 40 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เกิดจากการขับรถเร็ว
มีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุกว่าร้อยละ 16




“แนวคิดสงกรานต์ปลอดภัย ทำให้มีรณรงค์ ในรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ โดยนำ 7 มาตรการสำคัญมาใช้ คือ ประกาศ ห้าม ขอ แลก ฝาก เฝ้า และ สร้าง
1. "ประกาศ" การประกาศนโยบายจัดงานปลอดเหล้า
2. "ห้าม" การห้ามไม่ให้มีการขายการดื่มในงาน
3. "ขอ" การขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า
4. "แลก" การนำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือน้ำดื่มชนิดอื่น ๆ มาแลกกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจมีคนถือเข้ามาในงาน
5. "ฝาก" การฝากแอลกอฮอล์ไว้ในจุดที่กำหนดไว้
6. "เฝ้า" การเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในพื้นที่จัดงาน  
7. "สร้าง" การสร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมจะช่วยให้สังคมยึดแบบแผนของวัฒนธรรมที่ดีงามและมี รวมทั้งรักษาคุณค่าความหมายของประเพณีสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี"

การทำสงกรานต์ให้ปลอดภัย ประชาชนเที่ยวชมสบายใจ ไม่ยาก แค่ 3 ข้อเท่านั้น
1. เจ้าภาพผู้จัดงานต้องลดปัจจัยเสี่ยง
จัดให้มีการรณรงค์ ประกาศเป็นนโยบาย มีการตรวจตราและเฝ้าระวังโดยเจ้าหน้าที่เพื่อลดการดื่ม-การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่เล่นน้ำ จัดกิจกรรมฝากเหล้าไว้กับตำรวจ น้ำดื่มชื่นใจแลกเหล้า
 2. เพิ่มพื้นที่ดี
การกำหนดขอบเขตของพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัยที่ชัดเจน การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชนเข้ามาร่วมกิจกรรมการแสดงออกในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เช่น ดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม การละเล่นต่างๆ
3. มีความร่วมมือของผู้ร่วมจัดงาน
ตำรวจ สรรพสามิต เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมมือกันเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยตลอดงานเทศกาล







Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 21:22:24 น. 0 comments
Counter : 518 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]