Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2560 02 18 โรคพิษสุนัขบ้า งานนบพระ งานศิลป์ในสวน



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนรายการ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคพิษสุนัขบ้า
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-03-2008&group=4&gblog=23

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  
งานนบพระเล่นเพลง ๒๕๖๐ (ข้อคิดเห็น)    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.458832200906979.1073741851.146082892181913&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันที่ ๑๑ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐  งานประเพณีนบพระเล่นเพลงและงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/supa.chee.5/posts/1277333972333220

-วันเสาร์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๘.๓๐ น. งานเปิดรังกระต่าย ครั้งที่ ๗ ณ ซอยข้างสถานีวิทยุ ดีเจ อ๊อด ด้านหลังตลาดพรานกระต่าย
เปิดรังกระต่าย เฟสกรุ๊ป https://www.facebook.com/groups/796142933865735

- วันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ การแข่งขันฟุตบอล กำแพงเพชร เอฟซี VS พะเยา เอฟซี  ณ สนามชากังราว สเตเดี้ยม(ริมปิง) เวลา ๑๘.๐๐ น.
ปล.บัตรผ่านประตู ๔๐ บาท (ฝั่งคบเพลิง) และ ๘๐ บาท ฝั่งมีหลังคา  
https://www.facebook.com/groups/254314207990910/permalink/1277164285705892/

- วันอาทิตย์ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ศิลป์ในสวน ปี ๓ (ครั้งที่ ๑๐) ณ ศูนย์ข้อมูล อุทยานฯ ตรงข้ามเรือนไทย
สนใจอยากจะมาร่วมกิจกรรม หรือ ขายขนม-อาหาร-เครื่องดื่ม ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์  กรุณาติดต่อ ครูแขก Eng@Home (นพรัตน์ รามสูต) โทรฯ ๐๘๙ ๔๙๖ ๘๗๒๖ FB: lotus.kpp  https://www.facebook.com/lotus.kpp  (ไม่เสียค่าเช่าพื้นที่ แต่ต้องพูดคุยแนวคิดให้ตรงกัน)
ศิลป์ในสวน ครั้งที่ ๑๐ : วันอาทิตย์ ๒๖ กพ.๖๐    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1604672989548371.1073742262.100000170556089&type=3

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคพิษสุนัขบ้า
สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว คุยกันเกี่ยวกับ ปัญหาสุนัขจรจัด สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา
วิธีที่จะควบคุมจำนวนสุนัขให้ได้ผล ที่ควรพิจารณา คือ เข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสัตว์ ควบคุมแหล่งที่อาศัย และ การให้อาหาร โดยมี 3 องค์กรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ
        ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีหน้าที่ มีงบประมาณ มีคน
        ความรู้ สัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานสาธารณสุข (โรคพิษสุนัขบ้า) มหาวิทยาลัย
        เครือข่ายภาคประชาสังคม ประชาชน

โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ประการ (THE KEY PRINCIPLE OF STRAY CONTROL) ที่ต้องทำไปด้วยกันจึงจะสำเร็จ คือ
        การออกกฎหมายในระดับประเทศหรือท้องถิ่น
        การจดทะเบียนสุนัขเพื่อควบคุมสุนัขมีเจ้าของ การฉีดวัคซีน
        การทำหมัน
        การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบ และให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

• จากการประชุมองค์การอนามัยโลก เดือนตุลาคม 2547 และ ตุลาคม 2553 และการประชุมนานาชาติ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2548 มีหลักฐานชัดเจนว่าถึงแม้จะรักษาทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิตได้แม้ว่าจะเกิดได้น้อยมากๆก็ตาม ในประเทศไทยศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี 2542 รายงานผู้ป่วยตาย2 ราย และในปี พ.ศ.2552 รายงานผู้ป่วย1ราย แม้ได้รับการรักษาด้วยวัคซีนและเซรุ่มและมีผู้ป่วยตายในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆในทำนองเดียวกัน

• ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมสัตว์นำโรคโดยเฉพาะสุนัขและแมว และคนที่มีโอกาสถูกสุนัขหรือแมวกัดบ่อยๆควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า ซึ่งฉีดเพียง 3 เข็มโดยที่แม้ว่าจะถูกกัดในอนาคต 10-20 ปีก็ตามเพียงได้รับวัคซีนกระตุ้น 2 เข็มโดยไม่ต้องฉีดเซรุ่มก็ปลอดภัยแล้ว

• โรคพิษสุนัขบ้าในคนมีอาการซับซ้อนและไม่จำเป็นต้องมีอาการกลัวน้ำกลัวลม หรือมีน้ำลายมาก แต่มีอาการคล้ายโรคทางสมองทั่วไป หรืออาการอัมพาตแขนขาอ่อนแรง และ10%ของผู้ป่วยไม่มีประวัติถูกสัตว์กัดหรือถูกกัดบ่อยมากจนคิดว่าไม่สำคัญ ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้พัฒนาวิธีการวินิจฉัยโดยใช้รูปแบบที่ปรากฏในคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง และวิธีทางอณูชีววิทยาโดยตรวจหา RNA ของไวรัสในน้ำลาย น้ำไขสันหลัง ปมรากผมปัสสาวะ จนถึงปัจจุบันได้ทำการตรวจยืนยันให้กระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2544จนถึงปัจจุบัน ปีพ.ศ.2553 เป็นจำนวนมากกว่า 60รายและวิธีการทั้งหมดได้รับการบรรจุในคู่มือขององค์การอนามัยโลก

• ถึงแม้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย แต่การวินิจฉัยยืนยันที่ถูกต้องจะนำไปสู่การค้นหาต้นตอของโรคโดยพุ่งเป้าไปยังกลุ่มสุนัขที่กัดผู้ป่วย ทั้งนี้เนื่องจาก สุนัขตัวการนอกจากจะแพร่โรคให้ผู้ป่วยแล้วยังมีโอกาสแพร่โรคไปยังสุนัขใกล้เคียงและสุนัขเหล่านั้นเท่ากับเป็นระเบิดเวลาเคลื่อนที่พร้อมที่จะแพร่โรคต่อไปใน อนาคตและต้องไม่ลืมว่าคนที่สัมผัสผู้ป่วยก็มีโอกาสติดเชื้อได้จึงต้องได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม

“””””””””””””””””””””””””””””

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ( Rabies ) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สุนัข แมว หนู ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว จะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าเป็นแล้วถึงตายทุกราย ปัจจุบันยังไม่มียาที่จะรักษาได้

คนติดโรคสุนัขบ้าจากทางใดได้บ้าง?
คนเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เนื่องจากรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาจากสัตว์ที่เป็นโรคได้ 2 ทาง คือ
1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ถูกกัด
2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย โดยปกติคนถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย จะไม่ติดโรคจากสัตว์นั้น นอกเสียจากว่ามีบาดแผล รอยถลอก หรือ รอยขีดข่วนโดยบุคคลนั้นไม่ได้สังเกต ในกรณีนี้จะทำให้ ผู้ที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ รวมทั้งการถูกเลียที่ริมฝีปาก หรือนัยน์ตา ก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้

ถ้าถูกสัตว์กัดจะมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเพียงใด?
-ถ้าสัตว์ที่กัดไม่ได้ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จะไม่มีโอกาสเป็นโรค แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าสัตว์เป็นโรคหรือไม่ ต้องคิดว่าสัตว์เป็นโรคไว้ก่อน
-ผู้ที่ถูกสุนัขหรือสัตว์ที่เป็นโรคกัด ไม่ป่วยเป็นโรคทุกราย โอกาสเป็นโรคเฉลี่ยประมาณ35% ขึ้นกับบริเวณที่ถูกกัด
ถ้าถูกกัดที่ขา โอกาสเป็นโรคประมาณ 21 %
ถ้าถูกกัดที่ใบหน้า โอกาสเป็นโรคประมาณ 88 %
ถ้าแผลตื้น แผลถลอก โอกาสเป็นโรคจะน้อยกว่า แผลลึกหลายๆแผล

ถูกสุนัขบ้ากัด นานเท่าใดจึงมีอาการ?
ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งปรากฏอาการของโรค (ระยะฟักตัว) จะแตกต่างกันได้มาก พบได้ตั้งแต่ 4 วันจนถึง 4 ปี แต่ส่วนมากมักมีอาการในช่วงระหว่าง สัปดาห์ที่ 3 จนถึงเดือนที่ 4
ประมาณ 70% จะเป็นโรคภายใน 3 เดือนหลังถูกกัด
ประมาณ 96% จะเป็นโรคภายใน 1 ปีหลังถูกกัด

สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการเป็นอย่างไร ? พบได้ สองแบบ
1. แบบดุร้าย มีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ถ้าผูกโซ่หรือขังไว้ในกรง จะกัดโซ่หรือกรง หรือสิ่งของที่อยู่ไกล้อย่างดุร้าย บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหักหรือลิ้นเป็นแผลมีเลือดออก เมื่อแสดงอาการดุร้ายได้ 2-3 วัน ก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซและตายในที่สุด
2. แบบเซื่องซึม มีอาการปากอ้า หุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ ห้อยออกมานอกปาก บางครั้งมีสิ่งสกปรกติดอยู่ มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ โดยเจ้าของมักเอานิ้วล้วงออกแต่ไม่พบกระดูก สุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้ม ปากและคอจะบวม สุนัขจะลุกนั่งและยืนเดินไปมา บ่อยๆ กินของแปลกๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวก็กินปัสสาวะตัวเอง สุนัขแบบเซื่องซึมนี้จะไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน
สุนัขแบบหลังนี้ จะสังเกตอาการยากมาก ดังนั้นถ้าสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรตัดหัวสุนัขส่งตรวจ

คนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีอาการอย่างไร ?
ในระยะ 2-3 วันแรก อาจมีไข้ต่ำๆ ต่อไปจะมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อมาจะมีอาการตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลมและเสียงดัง กลืนลำบากแม้จะเป็นของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลาจะกลืน เพราะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ยังมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ต่อมาจะเอะอะมากขึ้น และสุดท้ายมีอาการชัก เป็นอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด

ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสุนัขบ้าหรือสัตว์ที่สงสัยว่าบ้า กัด หรือ เลีย
1. รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง พยายามล้างให้เข้าถึงรอยลึกของแผล ถ้าไม่มีสบู่ใช้ผงซักฟอกแทนก็ได้
2. ทำความสะอาดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำยาพิวิดีน หรือ ทิงเจอร์เมอไทโอเลท
ถ้าแผลฉกรรจ์มีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดออกระยะหนึ่งเพื่อล้างน้ำลายซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสออก
3. ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแผลมาก ชา หรือ คันรอบ ๆ แผล มีไข้ขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์
4. ถ้าสุนัขตาย ให้ตัดหัวสุนัขไปตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตาย ให้ขังไว้ดูอาการ 16 วัน ขณะเดียวกันให้รีบไปฉีดวัคซีน
การรักษาทางสมุนไพรหรือแพทย์แผนโบราณ ไม่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้
5. ในกรณีที่ติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ เช่น เป็นสัตว์ป่าหรือเป็นสัตว์ที่กัดแล้วหนีไป ก็จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน
6. ผู้ที่ต้องมารับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า คือ ผู้ที่มีแผลถลอก แผลเป็นรอยเขียวช้ำ หรือมีเลือดไหล รวมทั้งผู้ที่ถูกสุนัขเลียที่นัยน์ตา ริมฝีปาก ถ้าถูกเลียที่ผิวหนังที่ไม่มีแผล หรือเพียงแต่อุ้มสุนัข ไม่สามารถติดโรคได้

ควรเลือกใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบใด ?
สถานเสาวภาแนะนำให้ใช้วัคซีนที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ จึงปลอดภัยกว่าวัคซีนที่ทำจากสมองแกะ สมองหนู (ชนิดฉีด 14 เข็ม)
วัคซีนธรรมดา คือ วัคซีนที่ต้องใช้เวลาในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยปกติท่านควรได้รับวัคซีนธรรมดา ซึ่ง 1 ชุดจะมี 5 เข็ม ใช้เวลาในการฉีดประมาณ 1 เดือน ซึ่งอาจจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ก็ได้

เซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร ?
เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือ วัคซีนอิมมูโนโกลบุลิน(Immunoglobulin) เป็นเซรุ่มหรือส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้มาจากม้า หรือคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน
ซีรุ่ม (Serum) คือวัคซีนที่เป็นภูมิคุ้มกันทันทีโดยไม่ต้องใช้เวลาในการกระตุ้น ในเซรุ่มจะมีโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เมื่อให้เซรุ่มดังกล่าวแก่ผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด ก็จะไปทำลายเชื้อพิษสุนัขบ้าในร่างกายได้ทันที ก่อนที่ไวรัสจะก่อโรคขึ้น และก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น

วัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน(Immunoglobin) เป็นวัคซีนที่มีราคาแพง เพราะฉะนั้นจะใช้ต่อเมื่อ
-สงสัยว่าสัตว์เป็นโรคแน่ๆ
-โดนกัดเป็นแผลขนาดใหญ่ ซึ่งมีโอกาสได้รับเชื้อจากน้ำลายมาก
-โดนกัดอวัยวะที่สำคัญซึ่งมีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น หน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ


 “””””””””””””””””””””””””””””


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา   

งานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง และงานกาชาด ประจำปี 2560 จังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 11-20 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม และบริเวณสนามหน้าเมือง หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
- การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์” ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นิทรรศการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 10 (ซึ่งทาง มรภ.กพ จัดได้อย่างงดงาม สมพระเกียรติ)
- การแสดงบนเวทีกลาง
- การจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ตลาดย้อนยุคนครชุม ตลาดย้อนรอยชากังราว
- การประดับไฟอย่างสวยงาม กว่า 2,500 ดวง ณ บริเวณวัดพระแก้ว วัดพระธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
- การจำหน่ายสินค้า อุปโภค บริโภค จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน การจำหน่ายสินค้า OTOP และของดีเมืองกำแพง การจำหน่ายสินค้ามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าราชทัณฑ์ การออกร้านมัจฉากาชาด
เครดิต ข้อมูล supa.chee  https://www.facebook.com/supa.chee.5/posts/1277333972333220

ถ้ามองในมุมของเศรษฐศาสตร์ ความคุ้มค่า ของการลงทุน ในแง่ต่าง ๆ ทั้ง เงินที่ลงไป ได้กำไรหรือขาดทุน แต่การลงทุนไม่ได้มีเฉพาะเงิน ยังมีเรื่องของ เวลา การสูญเสียโอกาส ผลกระทบ ฯลฯ
น่าจะต้องมีการศึกษาอย่างจริงจัง จาก ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ภาครัฐ เจ้าของงาน และ ภาควิชาการ ก็คงต้องฝาก มรภ.กพ ช่วยศึกษา สอบถาม ผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดงาน ประจำปี เช่น
- ผู้ใช้รถใช้ถนน ปิดเส้นทางจราจร รถติด ปรับเปลี่ยนเส้นทาง เสียเวลาเดินทาง เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- เจ้าของตึกร้านค้าแถวต้นโพธิ์
- โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ รายได้ที่เกิดจากการจัดงาน หมุนเวียนในจังหวัด กี่รอบ? ทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดดีขึ้นเท่าไหร่ ?  เท่าที่สอบถาม ห้องพักโรงแรมไม่เพิ่ม ร้านอาหารขายน้อยลง  
เพราะ ผมมองว่า จัดงานแบบนี้ ลงทุนไปทั้งทางตรง (เงินลงทุน ค่าเช่าเตนท์ ค่าจ้าง ฯลฯ) ทางอ้อม (ค่าจ้างเงินเดือน ข้าราชการ รถติด เดินทางนานขึ้น ปิดถนนขายของได้น้อยลง ฯลฯ) แต่ดูเหมือนว่า ผลตอบแทน “ไม่” กลับมาสู่จังหวัดกำแพงเพชร ประชาชนชาวกำแพงเพชร  แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ดีขึ้น

สรุป ในความเห็นของผม สิ่งที่เห็นว่า เป็นปัญหา ก็ยังเหมือนเดิมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจากการจัดวางผัง รูปแบบงาน ( ที่ดีขึ้นก็คือ บริเวณลานโพธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฐกำแพงเพชร ท่องเที่ยวฯ กับ วัฒนธรรมฯ )
บันทึกภาพและข้อมูล เอาไว้ก่อน เผื่อมีโอกาส จะได้นำไปเสนอ เรามีหน้าที่คิดและเสนอ ก็ทำหน้าที่ไป ส่วนผู้จัดงาน (ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้าฯลฯ)  เขาจะทำหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขา
ถ้ามองในอีกด้าน สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหา มันอาจไม่ได้เป็นปัญหาของผู้จัดงาน หรือ ผู้มาร่วมชมงาน เราจึงได้เห็นงานรูปแบบนี้ยังคงอยู่จากอดีตถึงปัจจุบัน (และ อนาคต)

หมายเหตุ ... ถ้าใครจะมาเที่ยวงาน .. แนะนำมาช่วงหัวค่ำ ชมนิทรรศการ ชมการแสดงที่เวทีกลาง ชิมอาหาร ช๊อปสินค้าโอทอป ทำบุญกับร้านมัจฉากาชาด สักสองสามทุ่มก็กลับบ้าน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรออกนอกบ้าน เพราะช่วงดึกจะเป็นช่วงที่วัยรุ่นเขาจะมางานคอนเสิร์ต แล้วต่อย-ตี-ฟัน-แทง-ยิง กัน จะได้ไม่โดนลูกหลง ..
ระดับประเทศมี ๗ วันอันตราย ..  กำแพงเพชรบ้านเรา มี “ ๑๐ คืน อันตราย ” ตายเจ็บทุกปี ปีละสองรอบ (นบพระ-กล้วยไข่) แต่จำนวนมากน้อยแค่ไหน ไม่รู้ เพราะ ไม่เคยมีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ( จัดกันมาเกือบยี่สิบปี ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน )
นำข้อเสนอ " งานนบพระเล่นเพลง ในฝัน "  มาแบ่งปันอีกรอบเผื่อจะโดนใจ ใครสักคนเอาไปทำให้เป็นความจริง
๑. สถานที่  แบ่งสัดส่วนพื้นที่ (แบ่งโซน) วัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น OTOP ร้านค้าทั่วไป
- งานวัฒนธรรมประเพณี กาชาด สนามด้านซ้ายมือ(หน้าศาลเยาวชน เรือนไทยฯ) เชื่อมต่อกับอุทยานฯ พิพิธภัณฑ์
- งานขายสินค้า คอนเสิร์ตด้านขวามือ (หน้าวิทยาลัยเทคนิค)
- ถนนโดยรอบ ให้สัญจรผ่านได้ จอดรถได้ ไม่ต้องปิดถนน
- ถนนและลานหน้าพระบรมรูป ร.๕  จัดเป็นพื้นที่เวทีกลาง มีการแสดงวัฒนธรรม การแสดงผลงานของภาครัฐ  
๒. สนามด้านซ้ายมือ (สนามหน้าเมือง)
- เจดีย์วัดพระบรมธาตุจำลอง ตั้งอยู่กลางสนาม ด้านซ้ายขวา เป็นเวที การละเล่น และ หมู่บ้านวัฒนธรรม
- การจำลองวิถีชีวิตและการแสดงของชาวไทยภูเขา (คล้าย ๆ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จ.กพ) การจำลองวิถีชีวิต คนไทย จีน ชนเผ่า ฯลฯ การแต่งกาย อาหาร ขนม ขายหรือชิม อาจมีแสดงนิดหน่อย เน้นพูดคุย ถ่ายภาพ
- จัดพื้นที่แสดงสินค้าพื้นบ้าน สินค้าศิลปะ ถนนคนเดิน เปิดหมวก ฯลฯ
- หมู่บ้านโอทอป จำหน่ายสินค้า สาธิต หรือ สอน ในช่วงตอนค่ำ
- ตลาดย้อนยุคนครชุม ตลาดย้อนรอยชากังราว พ่อค้าแม่ค้าแต่งกายย้อนยุค ขายอาหารของกินของกินเล่นขนมย้อนอดีต คัดเลือกเฉพาะที่หาซื้อหากินได้ยาก ( คล้าย ๆ กับ ที่เคยจัด หมู่บ้านวัฒนธรรมย้อนยุคของจังหวัดกำแพงเพชร  https://www.gotoknow.org/posts/267377 )
๓. การแสดงพิเศษ เช่น ดนตรี (วงออร์เคสตร้าดงซ่อม หรือ วงแจ๊ส มรภ.กพ ) แสงสีเสียง หรือ โขน ที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระธาตุ ทำเส้นทางเดินต่อจากงานฯ ข้างทางเดินมีของขาย ของเล่นศิลปะไทย ตลาดย้อนยุค จุดถ่ายภาพ การแสดงภาพ ถ่ายภาพวาดศิลปวัฒนธรรม ชมรมถ่ายภาพ ชมรมศิลปะ ฯลฯ
- ศิลปะการแสดง ทางวัฒนธรรม ในกำแพงเพชร แต่ละวัน แบ่งเป็นธีม ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ดนตรีไทย รำวงย้อนยุค วิถีชีวิตชนเผ่า (อาหาร การละเล่น การแต่งกาย) ชาวเขา ปากะยอ เมียน ลีซอ ไทยทรงดำ ไทยลื้อ ลาวครั่ง ฯลฯ เพลงพื้นบ้าน แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าวันไหนมีอะไรบ้าง
- ศิลปะการแสดง ร่วมสมัย เช่น การแสดงมายากล ( street magic ) การแสดงภาพถ่าย การวาดภาพ การสอนศิลปะวาดภาพพับกระดาษ จำหน่ายสินค้าทำมือ เล่นดนตรีเปิดหมวก ฯลฯ (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่)   รูปแบบจะคล้ายกับ ถนนคนเดิน หรือ ศิลป์ในสวน เน้นการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ไม่เน้นการซื้อขาย
๔. โซนหน้าเวทีกลาง
- จัดช่องทางกว้าง ๓ - ๔ เมตร เชื่อมด้านซ้ายขวา ให้เดินสะดวก ส่วนโอทอปทำป้ายทางเข้าด้านข้างเพิ่ม
- แบ่งสองส่วน ส่วนชมการแสดง (มีเฉพาะเก้าอี้ ๑๐๐ ตัว)  และ ส่วนนั่งทานอาหาร (มีโต๊ะเก้าอี้ )
- ส่วนนั่งทานอาหาร บริเวณโต๊ะเก้าอี้ และ ถังขยะ เพิ่มการเก็บขยะ ทำความสะอาด (จ้างคนทำความสะอาด?)
- เปิดพื้นที่ ไม่ให้มีรถเข็นขายของ บนถนนตั้งแต่ลานโพธิ์ ถึงเวทีกลาง (โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกไฟจราจร) เพื่อจะได้เดินชมงานได้สะดวกต่อเนื่องจากลานโพธิ์จนถึงเวทีกลาง ไม่บังหน้าเวทีกาชาดและทางเข้าโอทอป
๕. เวทีกลางเน้นการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวกำแพงเพชร
- ค่ำ การแสดง ศิลปะ ดนตรี ของเยาวชน ศิลปะพื้นบ้าน ลิเก การละเล่นของเด็กสมัยก่อน
- เย็น มีเสวนาพูดคุยเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี (คนฟังน้อย แต่ก็ถือว่าพูดให้พ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นฟัง)
๖. ทางเข้างาน มีป้ายประชาสัมพันธ์ ว่า กิจกรรมเด่น เมื่อไหร่ ที่ไหน เบอร์โทรฯ ติดต่อ ศูนย์ประสานงาน กองอำนวยการป้าย ผังการจัดพื้นที่ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตรงไหน มีอะไรบ้าง ใครที่สนใจเรื่องไหน ก็จะได้เข้าไปดูได้ โดยเฉพาะ ขบวนแห่ ควรเดินช่วงสี่ห้าโมงเย็น (อากาศไม่ร้อนมาก) มีการแสดงในบางจุด และ เพิ่มเสียงดนตรีเสียงเพลงประกอบขณะเดิน
๗. กิจกรรมพิเศษ
- เช้าตักบาตร ค่ำเวียนเทียน ที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระธาตุ จะได้มีกิจกรรมต่อเนื่องในบริเวณเดียวกัน
- ฉากถ่ายภาพ วัดพระบรมธาตุ บ้านห้าง ภาพในอดีต ฯลฯ และอุปกรณ์ประกอบ เช่น รถสามล้อโบราณ จักรยานโบราณ
๘. การเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นเช่น เรือนไทย พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ วัด แม้กระทั่งบริเวณงาน เช่น ความเป็นมาของต้นโพธิ์  ใบเสมากลางวงเวียน ต้นสักที่ในหลวง-ราชินีทรงปลูก แผงพระเครื่องตลาดเช้า เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การจัดขบวนแห่ การสาธิต การแสดง  มัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยว
๙. จัดเพิ่มถังขยะ ให้เพียงพอ รวมไปถึงการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกที่ และ ลดการใช้ถุงพลาสติก อย่างจริงจัง
๑๐ เพิ่มห้องน้ำในบริเวณงาน สุขาเคลื่อนที่ หรือ เปิดห้องน้ำในส่วนราชการใกล้เคียง (มีป้ายบอกทางด้วย)
๑๑. เก็บข้อมูล อุบัติเหตุ การทำร้ายร่างกาย ในเขตเทศบาลเมืองฯ ช่วงงานนบพระ งานกล้วยไข่ .. ๑๐ วันอันตราย ( รพ.กพ และ สสจ.กพ )
๑๒. ปัญหาผู้แอบอ้างเก็บค่าจอดรถ ในพื้นที่สาธารณะ ริมถนน ... ท่านรองผู้กำกับฯ ให้โทรแจ้ง ๑๙๑  หรือ ๐๕๕ ๗๒๒ ๑๗๗ สายตรงศูนย์วิทยุจราจร เพื่อประสานสายตรวจได้ทันที

สรุป ในความเห็นของผม สิ่งที่เห็นว่า เป็นปัญหา ก็ยังเหมือนเดิมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจากการจัดวางผัง รูปแบบงาน ( ที่ดีขึ้นก็คือ บริเวณลานโพธิ์ของ ท่องเที่ยวฯ กับ วัฒนธรรมฯ )
บันทึกภาพและข้อมูล เอาไว้ก่อน เผื่อมีโอกาส จะได้นำไปเสนอ เรามีหน้าที่คิดและเสนอ ก็ทำหน้าที่ไป ส่วนผู้จัดงาน (ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้าฯลฯ)  เขาจะทำหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของเขา
ถ้ามองในอีกด้าน สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหา มันอาจไม่ได้เป็นปัญหาของผู้จัดงาน หรือ ผู้มาร่วมชมงาน เราจึงได้เห็นงานรูปแบบนี้ยังคงอยู่จากอดีตถึงปัจจุบัน (และ อนาคต)

รายละเอียดเพิ่มเติม .. งานนบพระ-เล่นเพลง (ข้อคิดเห็น)    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.458832200906979.1073741851.146082892181913&type=3





Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2560 21:56:20 น. 0 comments
Counter : 515 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]