Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 03 28 การฉีดยา อันตรายที่ถูกเมิน ศิลป์ในสวน ต้นโพธิ์

 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย
- อันตรายจากการฉีดยา
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- งานศิลป์ในสวน ครั้งที่ ๔  วันอาทิตย์ ๒๙ มีค.๕๘ เวลา ๑๔.๐๐–๑๘.๐๐ น. สวนสิริจิต
- พิธีทำบุญสืบชะตาต้นโพธิ์ หน้าเมือง ปีที่ ๓ วันพฤหัสบดี ๒ เมย.๕๘ เวลา ๐๗.๐๙–๐๘.๐๙ น. ต้นโพธิ์หน้าเมือง
๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
- วันที่ ๒๘ มีค - ๓ เมย.๕๘ ( ๗ วัน) มหกรรม OTOP ภูมิภาค ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน
- วันอาทิตย์ ๒๙ มีค.๕๘ งานศิลป์ในสวน โฮมเมดแฮนด์เมด ครั้งที่ ๔ เวลา ๑๔.๐๐–๑๘.๐๐ น. สวนสิริจิต
- วันพฤหัสบดี ๒ เมย.๕๘ พิธีทำบุญสืบชะตาต้นโพธิ์ หน้าเมือง ปีที่ ๓ เวลา ๐๗.๐๙–๐๘.๐๙ น. ต้นโพธิ์หน้าเมือง
- วันพฤหัสบดี ๒ เมย.๕๘ พิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง วัดคูยาง
- วันพฤหัสบดี ๒ เมย.๕๘ กิจกรรมเทิดพระเกียรติ วันอนุรักษ์มรดกไทย เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)
    เวลา ๐๗.๓๙ น. พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พระสงฆ์ ๖๑ รูป
    เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีมอบเกียรติบัตร นักเรียนชุมนุมนาฎศิลป์ศูนย์จริยศึกษา สธ. รุ่นที่ ๑๕
    เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. การประกวดขับร้องเพลงส้มตำ การประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทย
    เวลา ๑๘.๐๐ น. การแสดงอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยเฉลิมพระเกียรติ๖๐พระชันษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    สอบถามโทร  ๐๕๕-๗๒๒๓๔๒  ๐๘๑-๙๕๓๔๙๐๗  , ๐๘๖-๖๗๔๐๐๐๗
เชิญร่วมการประกวดขับร้องเพลงส้มตำ (ระดับประชาชนทั่วไป) และ การประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทย (ระนาดเอก ขิม ซออู้ ซอด้วง)
สมัครและสอบถามรายละเอียดได้ที่  
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  โทร. ๐๕๕-๗๐๖๕๕๕  ต่อ  ๑๖๐๑  
อ.พลากร  ทิพย์มาลา  โทร  ๐๘๗ ๒๑๑ ๖๗๕๒   
อ.อนุลักษณ์  อาสาสู้  โทร  ๐๙๒-๕๐๙๙๗๓๘  ๐๙๖-๗๙๘๖๙๕๘  
อีเมลล์ dewey1954@hotmail.co.th
ดาว์นโหลดเอกสารได้ที่ //www.mediafire.com/download/a7vghl85lv2d9pc/ประกวด_2เมย58.zip
•หมดเขตรับสมัคร  วันพุทธที่ ๑ เมษายน  ๒๕๕๘
เครดิตภาพ สำนักศิลปากรที่๖ สุโขทัย //www.finearts.go.th/fad6

ปล. วันที่ ๒ เมย. เช้า มีตักบาตรทำบุญ ๓ แห่ง เรือนไทย + วัดคูยาง + ต้นโพธิ์ เลือกได้ตามสะดวก ^_^

- วันพุธ ๑๕ เมย.๕๘ พิธีรดน้ำขอพรแสดงกตเวทิตา ครูอาจารย์ ของ ร.ร.กพ. (วัชรราษฎร์วิทยาลัย-นารีวิทยา) ปีที่ ๕
เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. (พิธีรดน้ำขอพร เริ่มเวลา ๑๒.๐๐ น.)  โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
- นั่งรถไฟฟ้า เส้นทางบุญ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเขตเทศบาลเมืองฯ รอบเช้า ๐๙.๐๐ น.  รอบบ่าย ๑๖.๐๐ น. ( ระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ) จุดขึ้นรถ บริเวณ ลานโพธิ์ หน้าอำเภอเมือง ไม่ต้องจองล่วงหน้า  และ ฟรี   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (ในเวลาราชการ) โทร ๐๕๕ – ๗๑๘ ๒๐๐ ต่อ ๓๒๒  ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทร ๐๙๔ – ๖๓๖ ๖๓๖๙



๑. ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย  
การฉีดยา อันตรายที่ถูกเมิน

การฉีดยา อันตรายที่ถูกเมิน
เรามักจะได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ว่า
"ถ้า จะให้หายป่วยเร็วๆ ต้องฉีดยา" หรือ "ยาฉีดแรงกว่ายากิน เลยได้ผลดีกว่า"

แม้แต่บทสนทนากับหมอ...
"หมอ ผมขอยาฉีดได้ไหม จะได้หายเร็วๆ" หรือ
"ถ้า ไม่ฉีดยาแล้วจะหายหรือคะ"

การฉีดยา ในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย มีผู้ป่วยหลายคนที่บอกกับแพทย์ว่าต้องการให้ฉีดยา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข หรือประชาชนทั่วไป ก็มักจะมองแต่ข้อดีของการฉีดยา จนบางครั้งละเลยเรื่องผลเสียที่อาจเกิดขึ้น เช่น
1.การแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ซึ่งอาการแพ้ยานี้อาจเป็นได้ตั้งแต่การแพ้ยาเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นผื่น หน้าบวม ปากบวม จนกระทั่งทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ที่มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะยาฉีดเข้าเส้นเลือดซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที หากพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาหรือได้ยาผิด ก็จะมีอาการรวดเร็ว และรุนแรงกว่ายากินมาก
2. การติดเชื้อ หรือการอักเสบบริเวณที่ฉีดยา โดยเฉพาะในผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคเบาหวาน โรคไตวาย อ้วนมากฉีดแล้วแทงเข็มไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อและยาระคายเคือง มากก็อาจเกิดฝีได้ นอกจากนี้ถ้าเทคนิคการฉีดไม่สะอาดพอก็เกิดการอักเสบติดเชื้อได้
3. ราคาแพง
4. ถ้าเป็นยาปฏิชีวนะ ( ยาฆ่าเชื้อ ) อาจทำให้เกิดการดื้อยา
5. การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย (ถ้าอุปกรณ์การฉีดยาและวิธีการฉีดยาที่ไม่สะอาดพอ)
6. การฉีดยาผิดตำแหน่ง ทำให้แทงถูกเส้นเลือดหรือเส้นประสาท มีตัวอย่างผู้ป่วยที่เคยมาหาหมอ บางคนไปฉีดยาแก้ไข้หวัด แต่ปรากฏว่าเท้าขวากระดกไม่ขึ้น ชาใต้เข่าลงไปถึงหลังเท้า ทั้งๆที่ก่อนไปฉีดยาลดไข้ก็ปกติดี รายนี้เป็นตัวอย่างของการฉีดยาที่สะโพกผิดตำแหน่งทำให้ถูกเส้นประสาท

ทำไมผู้ป่วยจึงชอบฉีดยา?
เป็นคำถามที่มีผู้ทำการศึกษาจากหลายแห่ง พบว่ามีคำตอบที่คล้าย ๆ กันว่า อาจจะเนื่องจากเชื่อว่ายาฉีดออกฤทธิ์แรงกว่า เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพดีกว่ายารับประทาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ค่อยถูกต้องเท่าใดนัก เพราะในปัจจุบันยารับประทาน ก็มีการออกฤทธิ์ที่รวดเร็ว อาจช้ากว่าวิธีฉีดประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนประสิทธิภาพก็แทบจะไม่แตกต่างกัน

โดยทั่วไปแล้วตามหลักการใช้ยา แพทย์จะคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ไม่ได้มุ่งที่การออกฤทธิ์เร็วเพียงอย่างเดียว การใช้ยากินจึงค่อนข้างปลอดภัย ยกเว้นมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้ยาฉีดในบางกรณี เช่น
- โรคบางโรค ต้องใช้ยาที่มีสรรพคุณดีบางอย่างที่ไม่สามารถกินได้
- ป่วยหนักมาก (ฉุกเฉิน หรือวิกฤติ)
- กินยาไม่ได้ เช่น ไม่รู้สึกตัว อาเจียนมาก กลืนลำบาก สำลัก
- ยาบางชนิดที่มีเฉพาะแบบฉีดเท่านั้น
- ไม่มียากินที่มีสรรพคุณดีเท่ากันหรือดีกว่า

บทความเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้เลิกฉีดยา หรือ ต่อต้านการฉีดยา เพียงแต่ต้องการให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึง อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดยาเท่านั้น และ ถ้าไม่จำเป็นก็ควรฉีดยา จะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น แถมต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย …..

ฝากไว้สำหรับผู้ป่วยว่า "ยาฉีดอันตรายกว่ายากิน" และ ถ้าหมอ จะฉีดยา ให้ถามว่า "จะฉีดยาอะไร ทำไมต้องฉีด มียากินที่ดีเท่ากันหรือดีกว่าไหม และไม่ฉีดได้ไหม " 
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

งานศิลป์ในสวนครั้งที่ ๔
ชมรมศิลป์ในสวน สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.กพ สำนักงานวัฒนธรรม จ.กพ. และ เครือข่ายภาคประชาชน เชิญทุกท่านร่วมงาน  "ศิลป์ในสวน ครั้งที่ ๔"
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ณ สวนสิริจิต โซนเอ ( ฟรี )
( พิธีเปิดงาน เวลา ๑๕.๓๐ น. โดย นาย นลิน ตั้งประสิทธิ์ รอง ผวจ.กำแพงเพชร )

พบกับกิจกรรม หลากหลาย ทั้งดนตรี วาดภาพระบายสี และ กิจกรรมพิเศษ  เช่น
-    ดูดาว ตอนกลางวัน  โดย ชุมนุมดาราศาสตร์ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
-    กิจกรรมค่ายปฐมวัย “ร้อง เล่น เต้น สนุก”  โดย โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร  พบกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 10 ฐาน เช่น ต.เต่า ต้วมเตี๊ยม เข็มกลัดธัญพืช ตุ๊กตากระดาษ หมวกสัตว์ ศิลปะทิชชูจิ้ม เป็นต้น
-    การแสดงละครและเล่านิทานภาษาอังกฤษจากนักเรียน ร.ร.วัดคูยาง
-    คณะละครหุ่น Mommy Puppet ซึ่งมีผลงานระดับประเทศ เช่น รายการเจ้าขุนทอง (ทีวีช่อง ๗) งาน BTF (เทศกาลละครกรุงเทพ) งาน art street @ rajchadamnoen เป็นต้น กิจกรรมทรายสีสร้างศิลป์ ฝึกทำหุ่นนิ้ว ชมการแสดงนิทานหุ่นมือ และ สอนการเชิดหุ่นมือ  
-    ชมภาพถ่ายสวย ๆ จากชมรมถ่ายภาพ จังหวัดกำแพงเพชร ( KP photoclub )
-    เกม กิจกรรมสนุก ๆ จาก สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จ.กำแพงเพชร

- พิธีทำบุญสืบชะตาต้นโพธิ์ หน้าเมือง ปีที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่  ๒  เมย. ๒๕๕๘ เวลา ๐๗.๐๙–๐๘.๐๙ น.
ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้าจ.กำแพงเพชร (ศพม.กพ.) จัดตั้งขึ้นโดยประกาศสถาบันพระปกเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕    ดำเนินกิจกรรมพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจในวิถีประชาธิปไตยและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ เรื่องสาธารณะ เรื่องที่เป็นปัญหาและเป็นความต้องการของประชาชน
ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร (ต้นโพธิ์เหนือ) ถือว่าเป็นต้นโพธิ์คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร เป็นสาธารณสมบัติอันทรงคุณค่า ทั้งทางสังคมและทางจิตใจของคนกำแพงเพชรมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ต้นโพธิ์ (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕) ทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นรู้สึกไม่สบายใจ มีการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางในอินเทอร์เน็ต จนนำมาสู่การพูดคุยกันของแกนนำภาคประชาชนหลายฝ่าย ซึ่งต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะจัดกิจกรรมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาสาธารณสมบัติอันทรงคุณค่านี้ ด้วยการทำพิธีบวชต้นโพธิ์ (สืบชะตาต้นโพธิ์) ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ (ครั้งแรก วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖)
จึงขอเชิญ ทุกท่าน ร่วมทำบุญสืบชะตาต้นโพธิ์ โดยพร้อมเพรียงกัน
                                      (นายชำนาญ วัฒนศิริ)
กำหนดการ
พิธีทำบุญสืบชะตาต้นโพธิ์ (บวชต้นโพธิ์) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
วันพฤหัสบดีที่  ๒  เมษายน ๒๕๕๘ เวลา  ๐๗.๐๙ – ๐๘.๐๙  น.
.............................
เวลา   ๐๖.๐๐ น.    - ประชาชนพร้อมกันที่ลานโพธิ์
เวลา   ๐๗.๐๐ น.    - แนะนำขั้นตอนพิธี  พระสงฆ์เดินทางมาถึงลานโพธิ์
เวลา   ๐๗.๐๙ น.    - เริ่มพิธีการสืบชะตาต้นโพธิ์ พระสงฆ์ประจำอาสนะ
- ประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  
- (พิธีกร)   นำบูชาพระรัตตรัย กราบพระ สมาทานศีล รับศีล.   
- พระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ (นิมนต์พระสงฆ์ยืนรอบต้นโพธิ์)   
    สวดบทพุทธคุณ และพระพุทธเจ้าชนะมาร อาราธนาพระปริตร
- ประธานในพิธี และ ประชาชน ร่วมกันห่มผ้าเหลืองรอบต้นโพธิ์
- พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรหมน้ำมนต์ต้นโพธิ์ ตีฆ้องชัย
-(พิธีกร)  กล่าวนำคำถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  (ถวายปิ่นโต)
-(พิธีกร)  กล่าวนำคำถวายข้าวสารอาหารแห้ง
-กล่าวสัมโมทนียกถา  อนุโมทนา
-กรวดน้ำ-รับพร
-พระสงฆ์ประพรหมน้ำมนต์แก่ผู้ร่วมพิธี
-พระสงฆ์ลงจากอาสนะ รับบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง
..... เสร็จพิธี .....
-(พิธีกร)  กล่าวนำคำถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ (ถวายปิ่นโต)
-(พิธีกร)  กล่าวนำคำถวายข้าวสารอาหารแห้ง
-กล่าวสัมโมทนียกถา อนุโมทนา
-กรวดน้ำ-รับพร
-พระสงฆ์ประพรหมน้ำมนต์แก่ผู้ร่วมพิธี
-พระสงฆ์ลงจากอาสนะ รับบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง
 เสร็จพิธี




Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 21:16:43 น. 0 comments
Counter : 606 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]