Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2560 05 28 โรคที่มากับน้ำท่วม น้ำท่วมเทศบาแก้ไม่ได้จริงหรือ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : น้ำท่วมน้ำขังในเทศบาล แก้ไม่ได้จริงหรือ ?    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.351416711648529.1073741835.146082892181913&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันเสาร์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐  กำแพงเพชรเอฟซี - อุบลราชธานีเอฟซี
เริ่มแข่งขันเวลา 16.00 น. ประตูเปิดเวลา 15.00 น. สนามชากังราวสเตเดี้ยม บัตรราคา 40 , 80 และ 100 บาท
ทุกบัตรลุ้นรับรางวัลกับ #ชุมอิเล็กทริคมอลล์
https://www.facebook.com/KamphaengphetFC/photos/a.1418323425074520.1073741828.1418216791751850/1889287497978108/?type=3&theater

- วันอาทิตย์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น. ประชุมใหญ่ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (วัชรราษฎร์วิทยาลัย นารีวิทยา) ณ ห้อง ๙๙ ปี ชั้น ๑ อาคาร ๖ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1690923290923340.1073742303.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การแข่งขันจักรยาน "ปั่นวัดใจไทรงาม" ครั้งที่ 2 ณ เทศบาลตำบลไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร  รุ่น A-B-C ทุกรุ่น ค่าสมัคร 600 บาท รุ่นVIP 1000 บาท รถเสือภูเขาสามารถปั่นกะเสือหมอบได้
เครดิต ทีมจักรยาน ไทรงาม
https://www.facebook.com/saingambike/posts/271175786642587?pnref=story

- ทุกวันพุธ ทุกสัปดาห์ จนถึง 7 มิถุนายน 2560 เวลา 19.00 น. ขอเชิญชวนชาวกำแพงเพชรเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันชากังราวลีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นแปดทีม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306982879391141&set=a.281178305304942.64891.100002383248409&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุมhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

ประเด็นถามตอบ โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม
ให้สัมภาษณ์ในรายการ รหัสลับหน้าหนึ่ง ออกอากาศทางชอง นิวทีวี
โดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค
//thaigcd.ddc.moph.go.th/2016/informations/view/442
16 กันยายน 2557

¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬

โรคที่เกิดตอนน้ำท่วม มีอะไรบ้าง มีกี่ชนิดหลักๆ    โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม มีดังนี้ คือ โรคติดเชื้อ ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคตาแดง ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคไข้ฉี่หนู สัตว์ แมลงมีพิษกัด ต่อย ได้แก่ งู แมลง และสัตว์อื่นๆ ปลิง อุบัติเหตุ ได้แก่ จมน้ำ ไฟฟ้าดูด วัตถุแหลมคม

โรคติดเชื้อ

โรคผิวหนัง ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานาน อาการในระยะแรก อาจมีอาการเท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา และแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ผิวหนังอักเสบได้ การดูแลเบื้องต้น ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และเมื่อกลับเข้าบ้านควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดแล้วเช็ดเท้าให้แห้ง สวมใส่ถุงเท้ารองเท้าและเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้นหากมีอาการเท้าเปื่อยคันให้ทายารักษาตามอาการ

โรคตาแดง ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วยหรือจากการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย หรือจากแมลงวัน แมลงหวี่ ที่มาตอมตา อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 - 2 วันจะเริ่มระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบ แดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลามไปตาอีกข้าง หายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ดังนั้น หากมีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที เมื่อมีอาการของโรคควรพบแพทย์เพื่อรับยาหยอดตาหรือยาป้ายตา หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา ควรนอนแยกจากคนอื่นๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และไม่ควรไปในที่มีคนมากเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก และสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย ติดต่อกันได้ง่าย อาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่บุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่อาจมีอาการรุนแรงหากได้รับเชื้อ และเมื่อไข้สูง เจ็บคอ ไอมาก เหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบหรือปรึกษาแพทย์

โรคปอดบวม เกิดจากเชื้อหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสําลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทําให้มีการอักเสบของปอด ผู้ประสบภัยน้ำท่วมหากมีการสําลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด นอกจากนี้ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วย อาการคือ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้าเป็นมากจะหายใจหอบเหนื่อยจนเห็นชายโครงบุ๋ม เล็บมือ เล็บเท้า ริมฝีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึม ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที  โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ปอดแตกและมีลมรั่วในช่องปอด หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้ การป้องกัน ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

โรคอุจจาระร่วง เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืน ทำให้มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกเลือดหรือมูกปนเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย การดูแลตนเองเบื้องต้น ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่(โอ อาร์ เอส) บ่อยๆ ทดแทนน้ำและเกลือแร่ ที่สูญเสียไปจากการขับถ่าย ไม่ควรรับประทานยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ก่อนเตรียมและปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร  หลังการขับถ่าย และหลังจับสิ่งของสกปรก เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หรืออุ่นให้ร้อน และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนสารพิษหรือท็อกซิน (Toxin) ที่แบคทีเรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารหรือวัตถุมีพิษ ซึ่งพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด ปลา หอย และอาหารทะเลต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในลำไส้ อาการอาการของโรคนี้มักพบหลังจากที่รับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนไปแล้วภายใน 2 - 4 ชั่วโมง ในกลุ่มที่มีอาการอาเจียนเป็นหลัก หรือภายใน 1 - 3 วัน ในกลุ่มที่มีอาการท้องเสียเป็นหลัก ทั้งนี้อาการประกอบด้วย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ปวดมวนท้อง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย บางครั้งมีอาการถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือเป็นมูกคล้ายเป็นบิด การป้องกันทำได้โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกในขณะที่ยังร้อน ปรุงสะอาด เก็บรักษาอาหารไว้ในที่เย็น เพื่อชะลอการเติบโตของเชื้อโรค หากเก็บอาหารนานเกิน 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ ต้องอุ่นให้ร้อนจัด เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคก่อนรับประทานอาหาร

โรคไข้ฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรสิส ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเชื้อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสุนัข แล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ ผู้ที่เดินลุยน้ำท่วม คนงานบ่อปลา ชาวสวน ชาวนา คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ เชื้อโรคฉี่หนูในสิ่งแวดล้อมจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยทางบาดแผลหรือเข้าทางเยื่อบุอ่อนๆ เช่น  ง่ามมือ ง่ามเท้า เยื่อบุตา ขณะที่แช่น้ำ รับประทานอาหารหรือ ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู อาการ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา ต่อมาอาจมีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลืองปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้ การดูแลตนเองเบื้องต้น หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆเมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุดควรสวมรองเท้าหรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสม ดูแลที่พักให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู

สัตว์ แมลงมีพิษกัด ต่อย
งู พบได้กรณีน้ำท่วม ผู้ถูกงูกัดควรตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินเหตุ ในกรณีที่ได้รับพิษงู ผู้ถูกงูกัดจะไม่เสียชีวิตหรือมีอาการอันตรายร้ายแรงทันที ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ห้าม กรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล ประคบน้ำแข็ง สมุนไพรพอกแผล ดื่มสุรา กินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพริน การกระทำเหล่านี้ไม่ช่วยรักษาผู้ถูกงูกัด แต่จะมีผลเสีย เช่น เพิ่มการติดเชื้อ เนื้อตาย เคลื่อนไหวร่างกายบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดและใช้ผ้าพันยึด หรือผ้าสะอาดพันทับให้แน่นพอประมาณ นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด แจ้งให้แพทย์ทราบลักษณะงูที่กัด และกัดบริเวณใด ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เคยมีประวัติแพ้ยาหรือสารใดๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

แมลง สัตว์อื่นๆ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน กัดต่อย ให้ใช้หลอดเล็กๆ แข็งๆ หรือปลายด้ามปากกาลูกลื่นที่ถอดไส้ออกแล้ว ครอบจุดที่ถูกกัดต่อยและกดให้เหล็กในโผล่ขึ้นมา แล้วจึงใช้วิธีคีบดึงออก อย่าใช้วิธีบีบหรือเค้น เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัดต่อยบวมได้ ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลนตะขาบ แมงป่องกัด ให้ทาแผลด้วยแอมโมเนีย หรือครีมไตรแอมซิโนโลน ถ้ามีอาการปวดมาก มีอาการแพ้ เช่น หนังตาบวม หายใจไม่สะดวก ควรรีบไปพบแพทย์

ปลิง เป็นสัตว์ที่กัดและดูดเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร โดยปล่อยสารที่กระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารต้านทานการแข็งตัวของเลือด ทำให้คนที่ถูกกัดเลือดไหลไม่หยุดและเสียเลือดเรื่อยๆ อาการ ที่พบจากการถูกปลิงกัด คือ มีเลือดไหลไม่หยุด ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำท่วมสูงระดับเอวขึ้นไป ควรแต่งตัวให้มิดชิด ใส่กางเกงชั้นในสวมกางเกงขายาวและสวมถุงพลาสติกหุ้มเท้าและ หุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง แล้วรัดปากถุง  ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ปลิงเข้าไปได้ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ระมัดระวังบุตรหลานหรือเด็กเล็กที่เล่นน้ำในบริเวณน้ำท่วมขัง เพราะเสี่ยงต่อการที่ปลิงจะเกาะและชอนไชเข้าไปในทวาร รู ช่อง และโพรงต่างๆ ของร่างกายได้ กรณีถูกปลิงกัดหรือดูดเลือด

อุบัติเหตุ
จมน้ำ ประชาชนที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา ต้องเข้าพื้นที่ที่มีน้ำท่วม ควรเดินทางเป็นกลุ่ม และต้องสวมเสื้อชูชีพ หรือเตรียมอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำได้ เช่น ห่วงยาง เป็นต้น ไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำไหลหลาก หากจำเป็นต้องเดินผ่านทางน้ำไหล ให้ใช้ไม้ลองจุ่มน้ำเพื่อวัดระดับความลึกทุกครั้ง ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือไม่สามารถดูแลตนเองได้ ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง หากพบคนจมน้ำ มีวิธีช่วยเหลือที่ถูกต้องดังนี้ ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้ง 1669 หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งสติอย่าวู่วามลงไปช่วยทันที ควรหาอุปกรณ์ใกล้ตัว เช่น ไม้ เชือก หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อโยนหรือยื่นให้คนจมน้ำลอยตัวได้ แล้วลากเข้าฝั่ง หากจำเป็นต้องลงน้ำไปช่วยเหลือ ต้องมั่นใจว่าว่ายน้ำเป็น และควรมีอุปกรณ์ช่วยเหลือติดตัวไปด้วยเพื่อยื่นให้จับแล้วลากเข้าฝั่ง เมื่อช่วยเหลือผู้ที่จมน้ำได้แล้ว ห้ามจับคนจมน้ำอุ้มพาดบ่าแล้วกระโดดหรือวิ่งไปมา เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจอาจเสียชีวิตได้ วางคนจมน้ำให้นอนราบ ตะแคงหน้า เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ไฟฟ้าดูด
    ข้อแนะนำในการป้องกันตนเองจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
    1. ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือ  ที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
    2. กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ (เบรกเกอร์เมน) ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง และปลดเบรกเกอร์ย่อยลงให้หมด
    3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้   เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
    4. กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟ ด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่
เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***
    5. ขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิทซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า      ที่กำลังเสียบปลั๊ก รวมทั้งการใช้เครื่องสูบน้ำชนิดที่แช่ในน้ำ หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีกระแสกระแสฟ้ารั่วขณะใช้งาน และถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตได้
    6. หากระดับน้ำที่ท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น  ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน ไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ
    7. ระมัดระวัง และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟฟ้า

การป้องกันเด็กจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
     1. ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
    2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้
    3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย
    4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม     หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊ก     เครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่าไม่ให้มีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว
    5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่นอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก

หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

การช่วยเหลือเบื้องต้นจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้ พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร 1129 โดยเร็วที่สุด อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วยผู้ประสบอันตราย

เกิดบาดแผลจากวัตถุแหลมคม เช่น เศษแก้ว ไม้ ตะปู  ที่อาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้การป้องกันอุบัติเหตุจากวัตถุแหลมคม ดังนี้ เก็บกวาดขยะ วัตถุที่แหลมคม ตะปู ในบริเวณพื้นบ้านและทางเดินอย่างสม่ำเสมอสวมใส่รองเท้าบู๊ทขณะเดินในน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมหากเกิดบาดแผลควรล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดรอบๆแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แผลที่มีการฉีดขาดมาก หรือแผลลึกมากและมีเลือดไหล ให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  น้ำท่วมน้ำขังในเทศบาล แก้ไม่ได้จริงหรือ ?    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.351416711648529.1073741835.146082892181913&type=3
วันที่ ๑๘พค.๖๐ เกิดฝนตกหนัก แล้วน้ำท่วมขังหลายจุดเกือบทุกอำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร ในเขตเทศบาลเมืองก็มีจุดน้ำท่วมน้ำขัง เช่นกัน หลายคนอาจบ่นว่าเทศบาลฯ แต่ผมขอบอกไว้ก่อนเลยว่า งานนี้ ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะถ้ามันง่าย มันก็คงไม่เป็นอย่างนี้  

สคริปรายการวิทยุ คุณหมอขอคุย บ่ายสอง วันนี้ ทาง FM 102.5 mHz .. เคยรวบรวมข้อมูลไว้นำมาเผยแผ่เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ..

ผมขอชี้แจงไว้ก่อนว่า ผมเป็นหมอ ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำท่วมน้ำขัง แต่ก็อาศัยสอบถามแนวทางจากผู้ที่มีความรู้หลาย ๆ ท่าน ..และ คนที่ต้องเอ่ยชื่อเพราะคนนี้ให้ความรู้ผมเยอะม๊ากกก ทั้งเรื่องไฟไหม้ น้ำท่วมน้ำขัง นายประเสริฐศักดิ์ มั่งอะนะ จบปริญญาตรี ไซด้าร์ ประเทศสวีเดน เป็นอดีต หัวหน้างานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลฯ (ขณะนี้ลาออกแล้ว) ถ้าถามคนทำงานในเทศบาลเมือง เชื่อว่า ทุกคนรู้จักและทราบดีกว่า คุณประเสริฐศักดิ์ เชี่ยวชาญขนาดไหน ...ผมก็เลยขอความรู้ ได้มาบางส่วน จึงอยากจะนำมาพูดคุยกัน

เริ่มด้วยเรื่องความรู้ก่อนละกันนะครับ

๑. น้ำท่วม กับ น้ำขัง ต่างกันอย่างไร ?
......... แบ่งกันง่ายๆ  ก็คือ ถ้าฝนตกจากฟ้า ลงมา เรียกว่า น้ำขัง  แต่ถ้าเป็นน้ำบนผิวดิน (น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ) เรียกว่า น้ำท่วม
......... แต่เวลาพูดกัน ก็จะใช้คำว่า น้ำท่วม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นความเข้าใจของคนทั่วไป

๒. น้ำท่วม น้ำขัง วิธีการจัดการ ก็แตกต่างกันไป  หลักพื้นฐาน ก็คือ
- น้ำท่วม ก็ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ ( เขื่อน และ อุดรูรั่ว ) และ ระบายน้ำออก (เครื่องสูบน้ำ และ ทำทางระบายน้ำให้น้ำไหลสะดวก)  
- น้ำขัง   การจัดการ มีวิธีเดียวคือ การระบายน้ำออกจากพื้นที่ เรียกกันหรูหน่อย ก็คือ ระบบระบายน้ำ (เน้นระบบ ไม่ใช่แค่ เครื่อง นะครับ )  เช่น เครื่องสูบน้ำ บ่อพักน้ำ ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพิ่มท่อระบายน้ำ เป็นต้น

ผมจึงอยากจะเสนอความคิดเห็นแนวทางแก้ไข ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ถึงจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ทั้งหมด แต่ ถ้าทำแล้ว ระยะเวลาในการระบายน้ำลดลง ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังลดลง..ก็ดีกว่า ปล่อยไว้เฉย ๆ นะครับ

๑. ถ้าจะแก้ไข " ไม่ให้มีน้ำท่วมขังเลย" มีวิธีเดียว ก็คือ ทำท่อระบายน้ำใหม่ทั้งหมด
............. หลายท่านอาจสงสัยว่า แค่ลอกท่อไม่พอหรือ ?   ตอบฟันธงเลยว่า ไม่พอครับ เพราะ ระบบท่อระบายน้ำ ทำมานานหลายสิบปี (แบ่งง่าย ๆ เป็น ๓ รุ่น ๓ สมัยของนายกเทศฯ) ท่อเดิมรุ่นแรกจะเป็นท่อปูนซีเมนต์ และ ขนาดเล็ก พอมีการวางท่อใหม่ มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ก็มีปัญหาว่า ระดับของท่อใหม่ กับ ท่อเก่าเป็นคนละระดับกัน ทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อของท่อระบายน้ำ
............... ถ้าจะแก้ไขให้เบ็ดเสร็จ ก็คือ ต้องทำท่อระบายใหม่ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า ต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท ซึ่งเทศบาล ไม่มีเงิน  อันนี้ ก็ต้องทำใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่า ปล่อยเลยตามเลย นะครับ คงต้องใช้การวางแผนหลักระยะยาว ( ๕ – ๑๐ ปี) ปรับเรื่องระบบการระบายน้ำใหม่ทั้งหมด หลังจากนั้นก็ค่อยมาพิจารณาว่า ตรงไหนจะทำอะไรบ้าง ตั้งงบประมาณทำไปตามแผนนั้น ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารเทศบาลเมืองฯ แต่ก็จะมีแผนหลักที่ให้ทำต่อเนื่องกัน

๒. หนทางที่จะ ลดปัญหาน้ำท่วมขัง ได้ครับ เอาเฉพาะ ประเด็นเร่งด่วนที่ทำได้เลยนะครับ ส่วนโครงการระยะยาวค่อยคุยกันอีกที
 - ลอกท่อน้ำหลัก ซึ่งเป็นท่อน้ำที่ทำขึ้นมาใหม่  ซึ่งทางเทศบาลฯ ก็เคยขอความร่วมมือจากเรือนจำ นำนักโทษมาบำเพ็ญประโยชน์ช่วยลอกท่อ  ส่วนรถดูดสิ่งปฏิกูล ราคา ๑๖ ล้าน (ซื้อเมื่อ พศ. ๒๕๕๒ ) ถ้านำมาใช้ได้ ก็จะช่วยได้มาก.. แต่ผมก็ไม่ได้เห็นนานแล้ว ได้ข่าวว่า เสีย จอดทิ้งไว้เฉย ๆ ???

- จุดที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ถ้าดูแล้วระบบระบายน้ำไม่ดี แก้ไม่ได้ ก็ใช้ "ระบบสูบน้ำ" ทำบ่อพักน้ำ ให้น้ำไหลมารวมกัน แล้วสูบน้ำออก .. ในบางจุดจะทำได้เลย เช่น รอบ ๆ วัดคูยาง หน้าโรงแรมเพชร  หน้าธนาคารกสิกรไทย  เป็นต้น เพราะ จุดเหล่านี้ มีการทำท่อระบายน้ำใหม่ แต่อยู่ด้านตรงข้ามถนน ตรงข้ามกับด้านที่น้ำท่วมขัง

เอาแค่สองข้อนี้ ก็จะช่วยบรรเทาได้เยอะ ทำได้เลยทันที แล้วก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ..

ปล. ตอนนี้ เท่าที่ผมพอรู้ ก็น่าจะมี ช่างกล้าม (สหชาติ เพชรรัตน์)  กองช่างเทศบาลฯ ที่น่าจะรู้เรื่องนี้มากที่สุด แต่ก็ได้ข่าวว่า จะลาออก ก็น่าเสียดายความรู้ความสามารถที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

ข้อมูลเพิ่มเติม จากเจ้าหน้าที่กองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมืองฯ

เรียนคุณหมอพนมกร ดิษฐสุวรรณ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน เนื่องจากผมเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ขอเรียนอธิบายสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยย่อดังนี้ครับ

สภาพปัจจุบันของปัญหาน้ำท่วม/ขัง เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ท่อระบายน้ำอุดตัน ขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำในสภาพปัจจุบัน ท่อระบายน้ำไม่ลาดเอียงไปในทางที่จะระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ อาจเนื่องจากการออกแบบผิด ก่อสร้างผิดแบบ หรือสภาพชำรุดทรุดโทรมของท่อระบายน้ำเนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ฯลฯ

แนวทางแก้ไขที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ สำรวจโครงการท่อระบายน้ำ นำเข้าแผนพัฒนาเทศบาล(แผน3ปี) แต่เนื่องจากสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่กล่าวมานั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณและเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ

ปัจจุบันกองการช่างสุขาภิบาลมีเจ้าหน้าที่จำกัดมีผมเป็นวิศวกรโยธา ลูกจ้างประจำ 2 คน พนักงานจ้าง 4 คน ทั้งหมดนี้มีหน้าที่รับผิดชอบหลากหลาย เช่น ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ซ่อมแซมฝาบ่อพัก ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ดูแลสถานีสูบน้ำ และช่วยงานสำรวจร่วมกับผม ทำให้การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติงานพยายามให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำแผนทุกเดือน แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ได้ จากองค์ประกอบต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครับ

ในส่วนของรถดูดสิ่งโสโครกนั้น ขอเรียนว่าช่วยให้การดำเนินงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ ก่อนนี้ใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียวทำความสะอาดได้เพียงบริเวณบ่อพัก ไม่สามารถทำความสะอาดในท่อระบายน้ำได้ทั้งหมด ปัจจุบันดีกว่าเดิมมากครับ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
สรุป ผมยังเชื่อว่า น้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมือง แก้ไขได้ หรือในบางจุดอาจแก้ไขให้หมดปัญหาไม่ได้ แต่สามารถลดระดับน้ำและลดเวลาน้ำท่วมขัง บรรเทาความเดือดร้อนได้ โดยต้องมีการวางแผนระยะยาว ต้องใช้เวลา งบประมาณ ในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การแก้ไขปัญหาแบบนี้จะให้ราชการ หรือ เทศบาล ทำแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สำเร็จ ต้องได้ความร่วมมือร่วมใจ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมลงมือทำช่วยแก้ปัญหา จากผู้มีความรู้ และ ประชาชน เรื่องนี้ไม่ง่ายแต่ก็น่าจะแก้ไขได้ถ้าทุกคนมาช่วยกัน

..............................................................

๒๑กค.๕๗ เทศบาลเมืองกำแพงเพชรเตรียมพร้อมรับมือจากพายุรามสูร นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร เผยเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อม 24 ชม. ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถ้ามีฝนตกหนักก็จะเกิดน้ำท่วมขัง ตามถนนสายต่าง ๆ และตามถนนซอยรวมทั้งบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ จากสาเหตุดังกล่าว นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ได้นำเจ้าหน้าที่ตรวจดูอุปกรณ์การป้องกันแก้ไขน้ำท่วมที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
โดยได้ตรวจดูอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถสูบน้ำได้ 580 ลูกบากศ์เมตร ต่อชั่วโมงหรือเครื่องสูบน้ำเป็นทุ่นลอยที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายดาย และเข้าได้ทุกพื้นที่ สามารถสูบน้ำได้ 3,250 ลิตรต่อนาที นอกจากนั้นยังมีท่อพญานาคพร้อมเครื่องสูบน้ำอีกหลายสิบชุดรวมไปถึงรถดับเพลิงและรถบรรทุกน้ำที่พร้อมจะออกช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังอีกหลายคัน
โดยประชาชนที่เดือดร้อนสามารถโทรแจ้งที่หมายเลขโทรศัพท์ 055-711111 จะมีเจ้าหน้าที่ออกดูแลให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม.
https://www.facebook.com/pr.kppmu/posts/259253890938003




Create Date : 23 พฤษภาคม 2560
Last Update : 23 พฤษภาคม 2560 14:12:20 น. 0 comments
Counter : 835 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]