Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype (ร่างแรก) ...ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ฯ




ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ .. แวะไปอ่านก่อนนะครับ จะได้ทราบความเป็นมา เพิ่ม อรรถรส ยิ่งขึ้น ..

ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=70





(ภาพประกอบเครดิต หมอแมว นะครับ )







เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype


มาตรา ๖

ผู้ให้บริการและสถานพยาบาลควรให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้รับบริการตามมาตรฐานสาธารณสุข

ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาล ต้องรับผิดต่อผลกระทบก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๗

ผู้ให้บริการและสถานพยาบาลที่สั่งจ่ายยาหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทางการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งทางแพ่งและอาญาในกรณีที่เกิดผลกระทบจากการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์นั้น

เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๘

ความผิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุขโดยประมาทของผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาล เป็นความผิดอันยอมความได้


มาตรา ๙

ในการให้บริการสาธารณสุข ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจำเป็นต้องใช้เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการนั้น และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้

ในกรณีที่เกิดผลกระทบแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้ผู้ให้บริการทราบ ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและมีความจำเป็นต้องได้รับบริการสาธารณสุขโดยรีบด่วน

(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามความเป็นจริงที่มีอุปการะ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการแล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้

(๓) กรณีอื่นตามประกาศของคณะกรรมการภายใต้คำแนะนำของสภาวิชาชีพ


มาตรา ๑๐

ผู้ให้บริการต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการก่ อนให้บริการสาธารณสุข เว้นแต่ผู้รับบริการอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน หรือ อยู่ในสภาวะที่ไม่มีสติเพียงพอที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง

การให้บริการในสภาวะฉุกเฉิน หมายความรวมถึง การวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาลในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อเป็นการช่วยชีวิตผู้รับบริการ หรือ ทารกในครรภ์ของผู้รับบริการ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงชีวิต
(๒) เพื่อให้ผู้รับบริการพ้นหรือบรรเทาทุพพลภาพจากสภาวะล้มเหลวหรือความพิการของ ร่างกาย
(๓) เพื่อให้ผู้รับบริการพ้นจากสภาวะความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
(๔) กรณีอื่นตามที่สภาวิชาชีพกำหนด

ผลกระทบอันเกิดจากการให้บริการสาธารณสุขในสภาวะฉุกเฉินตามวรรคสอง ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งทางแพ่งและอาญา

เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการเยียวยาตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๑๑

ผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการ มีสิทธิปฏิเสธการรับบริการได้ โดยการลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธการรับบริการที่จัดทำโดยสถานพยาบาล ซึ่งต้องมีรายละเอียดที่บ่งบอกถึงโรคหรือสภาวะที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ วิธีการให้การรักษา ผลเสียของการปฏิเสธการรักษานั้น

การกระทำตามวรรคแรกตามความประสงค์ของผู้รับบริการหรือญาติของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง





APOLOGY LAW or I'M SORRY law
ถ้าไม่มีมาตรานี้ก็ไม่มีทางพัฒนาระบบอย่างที่พูกกันปาว ๆ ในหน้าจอ



มาตรา ๑๓

การแสดงความเสียใจ ความเห็นอกเห็นใจของผู้ให้บริการหรือสถานพยาบาลต่อผู้รับบริการ หรือ การรายงานปัญหาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการในกรณีที่เกิดผลกระทบ ทั้งทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ไม่สามารถนำมาใช้เป็นมูลเหตุหรือพยานหลักฐานในการฟ้องร้องเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบทางกฎหมายได้




ถ้าไม่มีสองข้อนี้แล้วจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และให้เรื่องจบอย่างที่กล่าวอ้างในหลักการและเหตุผลได้อย่างไร ?

เอะอะก็ รอนสิทธิ์ ตัดสิทธิ์ ....ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว เป็นการเพิ่มทางเลือก สิทธิ์เดิมยังมีอยู่ สิทธิ์ใหม่ก็มี แต่ต้องเลือก ..... อย่าเล่นจับปลาสองมือ เหมาเข่ง



มาตรา ๓๓

เงื่อนไขการรับการเยียวยา ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดดังนี้

(๑) ไม่เข้าด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔

(๒) คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิได้รับการเยียวยา

(๓) ผู้ได้รับผลกระทบ และ ผู้ให้บริการและ/หรือสถานพยาบาล ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและตกลงที่จะสละสิทธิการฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อเรียกสินไหมในมูลคดีเดียวกับที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการได้ไต่สวนและมีคำ วินิจฉัยไปแล้ว

(๔) ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ให้บริการและ/หรือสถานพยาบาล ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและตกลงที่จะสละสิทธิหรือยอมความในคดีอาญาต่อกัน ในมูลคดีเดียวกับที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการได้ไต่สวนและมีคำวินิจฉั ยไปแล้ว


มาตรา ๓๔
ข้อยกเว้นในการเยียวยา

(๑) ผลกระทบมิได้เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการรับบริการสาธารณสุข

(๒) เป็นผลกระทบอันหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการตามมาตรฐานสาธารณสุข

(๓) เป็นผลกระทบอันเป็นผลโดยตรงจากพยาธิสภาพของโรค

(๔) เป็นผลกระทบซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริ การหรือสถานพยาบาลภายใต้มาตรฐานสาธารณสุข

(๕) อื่น ๆ ตามประกาศของคณะกรรมการ




รอคนมาดำเนินการต่อ หมดแรงแล้วตลอดสามสี่ปี ไม่สงวนลิขสิทธิ์ สำหรับกรรมการทั้ง ๘ คนที่เป็นตัวแทนผู้ให้บริการที่จะได้รับการแต่งตั้ง


ส่งโดย: doctorlawyer






ปล. ผมนำความเห็นของคุณหมอ มาจากเวบไทยคลินิก นะครับ .. ผมได้ตอบคุณหมอไป ขอยกมาด้วยเลยนะครับ


ขอชื่นชม ในความมุ่งมั่น ความเสียสละ ที่ได้ทำมา ( และ สิ่งที่จะทำต่อไป )


ช่วยกันไป เท่าที่ได้ครับ ..

ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น ..

ถือว่า เราทำดีที่สุด เท่าที่จะทำได้แล้ว

" ถ้าสุดมือสอย ก็ปล่อยไป "




Create Date : 06 สิงหาคม 2553
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 11:49:01 น. 3 comments
Counter : 3049 Pageviews.  

 
แวะมาทักทายค่ะ

ชอบประโยคนี้จังค่ะ.."ถ้าสุดมือสอย ก็ปล่อยไป"

ทำให้คิดอะไรได้อีกมากมาย..บางครั้งคนเราถ้าพยายามจนถึงที่สุดแล้ว..ถ้ายังไม่ได้อย่างที่คิดก็ควรจะปล่อยไป

และพยายามหาสิ่งใหม่ ๆ หรือ อะไรก็ได้ที่ทำให้เรามุ่งมั่นอยู่กับสิ่งนั้น จะได้ลืม บางเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกแย่ ๆ

พี่อันดา เลือกที่จะอ่านหนังสือ อ่านบางเรื่องเกิดตรงกับชีวิตเราก็หดหู่อีก..ก็เลยมาหัดถักโครเชต์..เพิ่งทำได้ไม่นานค่ะ แต่ก็ช่วยได้เยอะมาก ๆ

ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ แล้วจะแวะมาอีก


โดย: พี่อันดา (ทบทวน ) วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:14:28:02 น.  

 
เราว่าถ้าจะทำก็ทำให้ครบทุกวิชาชีพเลย เพราะทุกวิชาชีพก่อให้เกิดผลเสียหายได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งขายก๋วยเตี๋ยว


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:17:13:40 น.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:23:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]