No. 775 บล็อก ประจำ พฤหัสบดี |
 |
|
ย้อนหลังหลายสิบปี เราอยู่บ้านไม้โบราณ ด้านหน้ามีถนนคู่ขนานไป |
กับคูน้ำรอบเมือง ไหล่ทางก่อนลงสู่คูเมือง เป็นป่าหญ้ารกบ้าง เตียนบ้างหน้าบ้านมีต้นฉำฉาใหญ่โน้มเอียงไปในคูน้ำ |
พวกเรานำเชือกมะลิลาเส้นโต เกี่ยวต่อกับยางนอกจักรยานคล้องคาคบฉำฉาจนแน่น  |
ใช้สองมือจับเชือกแน่นปล่อยตัวไปข้างหน้าลอยลง ดำผุดดำว่าย ผลัดกันโหนเชือก บางคนลงน้ำแล้วขึ้นไม่ได้ |
กางเกงในหลุด เป็นของหายากไม่มีเงินซื้อ พวกเราจะใส่จนยางรอบเอวมันยืด...บางคนก็ไม่ได้ใส่ จริงนะ |
|
คูน้ำรอบเมืองด้านนอก เทศบาลตัดหญ้าให้เตียน อีกฝั่งที่บ้านเราอยู่ จะเป็นกำแพงอิฐโบราณหักพังไปตามกาลเวลา เป็นภาพแทนนะครับ |
 |
อิฐโตกว่าอิฐงสมัยนี้หลายเท่า บางช่วงมีต้นหญ้าปกคลุม ตอนแดดร่มลมตก เราจะใช้เป็นที่เล่นเป็นสนามรบ |
พวกเริ่มเริ่มโต นมเริ่มแตกพานมั้ง |
เราจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ๆ ถอดเสื้อ 6 คนกับไม่ถอดเสื้อ แหะ ๆ ตอนนั้นไม่มีเสื้อแดง เสื้อเหลืองหรอก ค่อย ๆ คืบคลาน |
เลียนแบบ เดวิด คร๊อกเก็ตนักผจญภัยรุ่นบุกเบิกที่อเมริกา |
 |
ฝ่ายผมวางแผนให้เพื่อน 3 คนคลานไปด้านหน้าแล้ว สงบนิ่งคอยมอง ไม่ต้องรุกคืบมากนัก |
ส่วนผมจะค่อย ๆ ยืนโผล่ต้นหญ้าไม่ต้องกลัวอีกฝ่ายเห็น คาดว่าพวกมันจะไม่โผล่ขึ้นดู คงจะนอบราบฟังเสียงตามองมา |
ผมเห็นยอดหญ้าด้านโน้นไหว เลยจะส่งสัญญาณมือ ให้เพื่อนอีกสองคนย่องอ้อมไปด้านหลัง พวกมัน  |
ทุกสิ่งยังคงเงียบทุกคนก็ทั้งสองฝ่าย เราจะคลาน บนใบไม้แห้งมิให้เกิดเสียง คนทำได้ เจ๋งจะได้เป็นเดวิด คร๊อกเก็ตต์ |
ครู่ใหญ่ข้าศึกใส่เสื้อ 3 คนยืนชูมือยอมแพ้ มีพวกเราถอดเสื้อใช้มือจี้ด้านหลังไว้ว่าจับได้แล้ว |
แต่ฝ่ายเราก็เสร็จพวกมัน 1 คนดันไปปวดฉี่นั่งคู้เข่าฉี่ ไม่ค่อยออกเลยฉี่ช้า เลยถูกพวกมันใช้มือจี้ |
พวกผมเลียนแบบเดวิด คร๊อกเก็ตต์ ที่เป็นแมวมอง ที่เคยอ่านมามาบ้าง |
สองทุ่ม ค่อยแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน อาบน้ำที่เย็นเจี๊ยบแต่งตัว กินอาหารเย็น มีความสุข เรามิได้เล่นอย่างเดียว |
แต่ก็ช่วยบ้านทำงาน |
ปลูกผักใช้จอบขุดดินที่ว่างหลังบ้าน ยกร่องให้สูงขึ้นยาวให้ดินร่วนเอาขี้หมูแห้งโปรยเป็นปุ๋ยต้นหอมแดง |
กระเทียม คะน้า ผักกาดกวางตุ้ง ที่ปลูกเป็นแปลงยาว  |
เช้าตรู่จะตักน้ำบ่อหน้าบ้านเทใส่ลำรางไม้ไผ่ที่ วางทอดยาวไปหลังบ้านตกใส่ตุ่มน้ำใช้กระป๋องฝักบัว |
ตักน้ำรดผักตอนเช้ากลางอากาศหนาว ยามน้ำจากฝักบัวตกใส่ใบผักกาดกวางตุ้ง ใบจะลู่ตามน้ำหนักจากฝีกบัวแล้วดีดคืน |
ไอน้ำที่อุ่นลอยเรี่ยกับ แปลงผักต้องกับแสงอาทิตย์ส่องลอดต้นไผ่ซางเป็นลำ สวย... |
|
เสร็จแล้วรีบล้างเท้าหนาวเกินไปที่จะอาบน้ำรีบแต่งตัว กินอาหารเช้าที่แม่หรือไม่ก็พี่สาวคนโตทำไว้ให้พวกเรา |
อิ่มแล้วก็คว้าจักรยานปั่นไปเรียน |
ครอบครัวเรา ฐานะไม่ค่อยดีเท่าใด บ้านก็เช่าเขาอยู่ ผมเลี้ยงไก่ เก็บไข่ให้แม่ทำอาหาร บางครั้งแม่จะซื้อเนื้อ |
เนื้อเค็มวัวตากแดดสีแดง จากตลาดมาทอด กินกับน้ำพริกแดงที่แม่ตำ อร่อยเป็นมื้อพิเศษสุด ๆ  |
ผักที่ปลูกก็เก็บมาทำอาหาร ใส่ไก่ ที่เลี้ยงไว้ ผมแหะ ๆ จัดการเองแหละตอนนั้นไม่คิดอะไรเท่าใด |
|
บางทีแม่ก็ให้เงินไปซื้อปลาดุก ปลาช่อนที่ อาเจ็กคนจีนใกล้บ้านขาย ผมกำเงินไปซื้อ ให้แม่ทำกับข้าว |
บอกตรง ๆ มันคาวคงเป็นปลาจากหลายที่ บางตัวก็ตายแม่จะผ่าปลา เคล้าเกลือตากแดดเลือกไม่ได้ก็กลั้นใจหยิบปลา |
แดดเดียวทอด จิ้มกับน้ำพริกแดง น้ำพริกหนุ่มใส่ปากตามด้วยข้าวเหนียว |
ไม่ชอบเลย..คาวจัด |
|
เคยกินข้าวบ้านน้าเพื่อนบ้าน ได้กินปลาดุกนาผ่าแบะ เคล้าเกลือตากแดดเดียว ทอดสุกกินกับน้ำพริกแดง |
อร่อยด้วย น้าเล่าว่า ไปทอดแห ที่ทุ่งนาโน่น..มา ชักติดใจ  |
ขอเงินแม่ไปซื้อ ตัวเบ็ดที่เป็นเหล็กมีเงี่ยง ตัวโตใช้เป็นเบ็ดก่อง(เบ็ดปักทิ้งไว้) |
ตัดไผ่ซางมาผ่า เป็นซีกเล็กยาว 80 เซนติเมตร เหลาตรงโคนกลม แล้วใช้มีดคมปาดกึ่งกลางให้แบนลงส่วนปลาย |
ให้บางที่สุด บากหยักไว้ผูกเชือกกับเบ็ด ทำไว้กว่า 20 อันตากแดดจนแห้ง  |
ใช้ด้ายตราสมอใช้ใบตำลึงมารูดให้เขียวตากแดดให้ปลาไม่เห็นสายเบ็ด ผูกตัวเบ็ดเหล็ก คล้องข้างบนจนแน่น แล้วดึง |
สายเบ็ดกับด้ายที่ผูกติดกึ่งกลางเบ็ดก่อง ให้ไม้เบ็ดโก่งตากแดดจนมีแรงดีด.. |
|
ที่บ้านเลยได้ปลา ดุก ปลาช่อนนาที่ผมหามาทำอาหาร แม้ไม่มากแต่คงช่วยได้บ้าง  |
พอเริ่มแก่กล้า (ยังหนุ่มนะเออ) ขอเงินแม่ไปซื้อแหที่ขนาดยาว 7 ศอกก็สามเมตรครึ่ง ไปทอดแหหาปลา ในทุ่งนา |
หลังวัดป่าเป้า เป็นวัดชาวไทยใหญ่ |
ผมกับเพื่อนจะเดินเรียบกำแพงวัดด้านนอก เดินผ่านดงต้นกระเจี๊ยบแดง เจอดอกกระเจี๊ยบสวยก็เด็ดใส่ย่าม |
|
พ้นกำแพงวัดป่าเป้าไปนิดเดียว มีกองขี้เถ้ากองโตอยู่ รีบเดินจากไปโดยเร็วที่สุด 555 ก็เป็นที่เผาศพ นาน ๆ จะเผาสักครั้ง |
ภาคเหนือในวัดมักจะไม่เผาศพในวัด |
|
วันหนึ่ง เดินไปดูทำเลหาปลาคนเดียว กะจะมีปลาดุก ที่ชอบหากินใกล้โคลนตมข้างล่าง เป็นหนองน้ำขนาดกลาง |
มีต้นไม้ใหญ่ กับต้นทองหลางคลุม ริมหนองน้ำมีหญ้าใบเหลืองเขียว คลุมอยู่รอบ |
นั่งดูกว่าครึ่ง ชม. มีปลาช่อน ปลาขาวหางแดงโผล่มาฮุบแมลงปอ กับแมงมุมอยู่บ้าง ลมสงบ อากาศค่อนข้างร้อน |
ดูหนองน้ำแล้ว คงมีปลาดุกมาก ถ้าจะทอดแห ต้องลงควานเอาเศษกิ่งไม้ ทำน้ำให้ขุ่น |
แล้วนั่งรอนานหน่อย กะให้ปลาดุกปลาช่อนเจอ กลิ่นดินใหม่ จะรวมกันหาอาหารที่หลุดมากิน แต่เพื่อนไม่ได้ไปด้วย |
เลยไม่มีคนคุ้ยดินกับเศษไม้ทิ้ง ส่วนผม  ใครจะว่าหรือจะเรียกไงก็ได้ มะอาว 555 |
ไม่กล้าลง ปลิงมันเยอะ กลัวมันเกาะเข้า ต รูด...(เพื่อน ๆ บอกว่า ขี้แขะ(ขี้กลัว)นักหาปลากลัวปลิงได้ไง หุ หุ ) |
|
เมืองเชียงใหม่ มีร่องน้ำเล็ก ๆ ไหลผ่านหลายสาย อากาศบริสุทธิ์ ตอนเช้าในฤดูหนาวชาวบ้านจะก่อกองไฟ |
เล็ก ๆ นั่งผิงไฟ ควันไฟจากกองไฟลอยขึ้นช้า ๆ ป่ออุ้ยแม่อุ้ย ยืนรอใส่บาตรตุ๊เจ้า(ภิกษุ) อากาศหนาวเย็น หมอกจากไอน้ำ ยามเช้าปกคลุมไปทั่ว มีความสุขที่สุด  |
วันเสาร์อาทิตย์พวกเราจะปั่นจักรยานไปเที่ยว ตามสวนผักรอบตัวเมือง บางวันจอดรถพิงไว้บ้านคนรู้จัก ไปเที่ยวที่ทุ่งนา |
ไปเล่นบนกองฟางที่เขามัดไว้เป็นฟ่อน กลิ่นหอมอ่อน ๆ  |
ชาวนาเก็บฟางข้าวให้ วัว กินแทนหญ้าสดในฤดูหนาว แทบจะมิได้เผาทิ้ง บนดอยสุเทพมีป่าไม้เต็งรังไม่รกทึบ |
มีคนบุกรุกบ้างแต่น้อย ทำให้ป่าที่เรียงราย เว้าแหว่งเป็นฟันหลอแบบปัจจุบันที่ผ่านมาก็หลายเดือน |
|
ยังจำตอนเด็ก มีเจ้าของโรงพิมพ์หนังสือรายหวยออก ฐานะค่อนข้างดีและหันเข้าเล่นการเมืองท้องถิ่น เริ่มบุกรุกดอย |
ใกล้น้ำตกห้วยแก้ว ปลูกบ้านพัก..โชคดีมีคนคัดค้าน รุนแรง (มัน)เลย..ปล่อยร้างและรื้อถอนออกไป |
|
แต่เดี๋ยวนี้ซิ มีคนบุกรุกป่า ใช้วิธีลอบเผาป่าในจุดต่าง ๆ  ทางการก็มิได้สนใจจริงจัง งบประมาณมีให้น้อยมาก |
แต่ชีวิตไม่สิ้นหวัง รอคอยให้คนรักบ้านเมือง ไม่บุกรุกป่า เผาป่า ไม่สร้างกฏพิเศษเพื่อได้สิทธิ์เหนือคนอื่น |
รอคอยวันที่จะให้คนมีจิตสำนึก ถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน |
เราไม่หวังที่จะให้เชียงใหม่เหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น.. หรือไม่ขอชีวิตกลับไปเป็นเด็กอีกแต่อย่างใด ขอเพียงจับคนเผาป่า บุกรุกป่า มาให้คนเห็นตัวคลุมหน้าในสื่อสาธารณะระบุชื่อ บ้านที่อยู่ บ้างน่าจะดีน่าจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่พวกที่เห็นแก่ตัวได้นะครับ |
ป่าในเชียงใหม่ จะถูกเผาน้อยลง ควันไฟลดลง เพื่อให้การท่องเที่ยวได้รับการสนใจที่จะมีคนไปเที่ยวมากเหมือนเดิม ขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อภาพ |
L 1,464,454 |
st.คนชำเลืองดู 1,462,095 |
= 2,359 |
|
จะโหวตหรือไม่โหวต ไม่เป็นไรครับ เพียงแวะมาเยือนก็ขอบพระคุณ.. |