No. 856 ปราสาทเมืองต่ำ VS ถนนพระราม 2 |
|
เพื่อนบางคน ติงกับผมว่า ไปเที่ยวเขาพนมรุ้งแล้วทำไมไม่ไปเที่ยวประสาทเมืองต่ำ...ความจริงแล้วผม |
ไปอยู่แล้วครับเพียงแต่ ภาพแต่ละแห่งเยอะมากและศิลปสวยยิ่งได้แสงช่วยทำให้น่าดูผมเลยต้องขยักไว้เป็นคนละตอน ทั้งสองสถานที่อยู่ห่างไกลกันประมาณ 7-8 กม.เท่านั้นเองเราตีตั๋วจากเขาพนมรุ้งเพิ่มเงินอีกคนละ 10 บาทก็เที่ยวได้ |
ปราสาทเมืองต่ำด้วยคือรวมแล้ว 30 บาท |
กลับมาเข้าดูข้อมูลเพราะนั่งรถผ่านเขาพนมรุ้งว่า อยู่ อ.เฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์แต่เห็นป้ายปราสาทเมืองต่ำ |
อ้าวกลายเป็น อ.ประโคนชัยจังหวัดเดียวกันและเป็นเช่นนั้นจริง ๆ |
ภาพข้างล่าง เขาที่เห็นเป็น เขาพนมรุ้ง ข้างล่างมีสระเก็บน้ำขนาดใหญ่คือ ติดกับปราสาทหินเมืองต่ำ |
|
|
ปราสาทนี้ค้นหาแล้วไม่พบว่าชื่อเดิมว่าอะไรประมาณปี พศ.2490 มีคนอพยพมาอยู่แถวนั้นเพิ่มมากขึ้น ใครเกิดทันบ้าง |
ยกมือขึ้น...เงียบ...แสดงว่าเกิดแล้วแต่ส่วนใหญ่คงยังไม่เกิด... |
เพราะละแวกนั้นมีน้ำเยอะเหมาะแก่การเกษตรและใช้น้ำในการดำรงชีพหลายอย่างมีอ่างเก็บน้ำเก่ากว้างมากอยู่ด้วย |
แต่ยังไม่ได้บูรณะเช่นปัจจุบันตื้นเขินไปตามกาลเวลา |
หน่วยราชการคงได้รับการบอกเล่าจากชาวบ้านแถวนั้นว่ามีโบราณสถานซุกซ่อนอยู่ในปารก เลยเข้าสำรวจพบหลักฐาน |
ว่าสร้างโบราณสถาน ระหว่างปีพศ. 1551 - 1630 สร้างหลังจากสร้างปราสาทเขาพนมรุ้ง |
แสดงว่าคนโบราณมีความเชื่อถือในศาสนาฮินดู ของคนสมัยนั้น.....ดูบริเวณที่สร้างเทวสถานกว้างพอประมาณไม่ |
ใหญ่โตนักเพราะมิใช่ที่อยู๋อาศัย |
หน่วยราชการไทยได้เข้าค้นคว้าศึกษาแล้วเห็นว่าควรบูรณะจึงได้จัดงบประมาณค่อนข้างมาก เริ่มบูรณะเมื่อ |
ปีพศ. 2531 - 2539 จนแล้วเสร็จ เราไปดูแล้วทึ่งในการคิดสร้างสรรของคนโบราณ ลองตามเข้ามาดูนะครับ |
|
|
.... |
../ |
... ภาพข้างบน จะมีอิฐที่ก่อบังคับให้เสาประตูไม่เอนเอียงสีแดง น่าจะเป็นอิฐสมัยใหม่ก้อนเล็กกว่า...ถ้าเป็นอิฐก่้อนโตสีคล้ำกว่า น่าจะเป็นอิฐโบราณนำมาก่อเรียงใหม่ ... .... ภาพกำแพงทรุด แสดงว่าที่นี่เป็นที่ลุ่มมาก่อน เจอหินหนักก็ทรุด ค้นหาว่ามีใครรู้บ้างว่า สมัยโบราณมีการตอกเสาเข็ม หรือไม่ แต่น่าจะไม่มีวิธีการนั้นนะครับ...เคยอ่านข่าวโรงหนังเฉลิมไทยที่สร้างมานานรื้อแล้ว ฐานรากเป็นไม้ซุงวางเรียงกันที่น่า จะไม่มีการตอกเสาเข็มคงใช้วิธีถมหินไว้ข้างล่างแทน ... ... ขณะไปอากาศมิได้ร้อนเย็นสบาย แต่สตรีเขากลัวผิวเสียนะครับเลยใช้บังแสงนิดหน่อย เข้าไปค้นข้อมูล...อ่านแล้วคนโบราณใช้วิธีปั้นอิฐหรือดินเป็นก้อนวางให้แห้งแล้วขนมาซ้อนเรียงเป็นรูปร่าง แล้วใช้ไฟเผาให้แข็งแกร่งให้สุกแดงเผานานมากเผาที่ก่อสร้างไม่ใช่ที่เตาเผา นั่งดูภาพต่าง ๆ แล้วชักไม่แน่ใจว่า ก้อนดินนั้น เป็นก้อนโตสี่เหลี่ยมหรือเป็นก้อนอิฐเล็กสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรื่องนี้ไม่ยืนยัน คงต้องศึกษาต่อถ้ามีใจรักด้านนี้นะครับ ก้อนอิฐเล็กที่วางเรียงชิดเสานั้นน่าจะเป็น อิฐนำมาเรียงใหม่เป็นตัวค้ำยันมิให้เสาทวารเอน ผมว่าไม่เป็นไรของใหม่ของเก่า แอบ สังเกตภาพของบล๊อกเกอร์สาวไปนั่งที่นครวัดมีอิฐแบบนี้เหมือนกัน ... กำแพงบางส่วนจะมีห้องยาวสำหรับเดิน ทางเดินเป็นแบบข้างล่างนี้ ในเทวสถานแห่งนี้มีสระน้ำ ส่วนพื้นที่พวกเราเดินสันนิษฐานว่า ปูใหม่จากศิลาแลง เห็นภาพรองเท้าข้างล่าง เปล่าโฆษณาแฝงนะเออ 555 ผมเดินขึ้นเดินลงบันใดค่อนข้างลำบาก จะว่าเท้าโตก็ไม่น่าใช่ ถ้าเป็นเท้าหญิงวางเท้าตรงได้ แต่ของผมเบอร์ 13 หรือประมาณ 45 cm ต้องเอียงเดิน แล้ว เจ้าหรือผู้ครองนครเท้าไม่โตมั้ง คิดไว้ก่อน...หรืออาจจะโตเท่า ๆ คนสมัยนี้แต่ พระองค์คงไม่ต้องเดิน นั่งเสลี่ยงประจำก็เป็นไปได้ ขณะนั่งคัดภาพมาลง เห็นภาพบันใดหินแล้ว อมยิ้มนึกถึงห้องน้ำที่ ห้วยน้ำดัง เชียงใหม่ ตรงโถยืนปัสสาวะชาย เขาสร้างเตี้ยมาก ๆ สัญนิษฐานแกมเดาว่า คนออกแบบคงเตี้ย คนอนุม้ติแบบก็เตี้ย 555 สังเกตหินก้อนสี่เหลี่ยมโตเป็นหินทรายสีชมภูเรื่อ ๆ เหมือนกับปราสาทหินพนมรุ้ง ภาพข้างล่างผมยืนถอยห่างกะจะถ่ายให้เห็นยอดสูง แต่ไม่รู้ซิทำไม จึงเห็นหญิงยืนเกือบชัด 555...ยอดบนเลยด้วน ไม่ว่ากันนะ ยืนมองไปอีกทางดีกว่า...เห็นเหม่งมาแต่ไกล หุ หุ อะ ยืนเคียงข้างกันหน่อย ... ถ่ายตรงประตู...เป็นประตูตรงกันยังคิดเลยครับว่า แตกต่างกับคนสมัยนี้ ผมเคยสเก็ตภาพจะสร้างบ้านหลังหนึ่ง ช่างบอกว่าไม่ควรสร้างประตูตรงกัน บ้านจะเก็บเงินไม่อยู่ควรสร้างเยื้องกัน ผมก็โอเค เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างแต่ผมรั้น สร้างบ้านแต่ให้แต่ละห้องมีหน้าต่างตรงกัน ลมจะได้พัดผ่านห้องจะได้เย็น เลยเก็บเงินไม่ค่อยได้ 555 ปกติ มีอาชีพวิเคราะห์งบการเงิน กับการวางแผน...เดินออกมาเห็น เถาวัลย์ใหญ่ก็ คิดขมวดคิ้ว เอ.. เทวสถานที่ผ่านมา เขาสร้างหลังคาหรือไม่ อีกอย่าง เคยอ่านเรื่องราวการ นำหินสี่เหลี่ยมมาสร้างปราสาทต่าง ๆ เขาใช้วัสดุอะไรมาประสาน...บางแห่งเขาใช้ยางของ ต้นบก แบบข้างล่างนี้ ปกติคนไทยใช้เปลือกต้นบก มาทำให้ย่อยเล็กผสมบางอย่างพอกกับไม้ไผ่ซี่เล็กตากแดดทำ ธูป เคยเห็นร่องรอยก้อนหินใหญ่ที่เขาพนมรุ้ง มีรอยรูอยู่ตรงกลาง เดาเอาว่าคนโบราณจะเจาะรู เสียบเหล็กก้อนล่างแล้ว นำ หินก้อนโตเท่า ๆ กับให้รูตรงกันแล้ววางจะได้ยึดแน่น พวกเราเลยไม่เห็นร่องรอย ยกเว้นคนช่าง แหะ ๆ สังเกต ดูภาพเพลิน ๆ ไม่ต้องคิ้วขมวดไปเพิ่ม ริ้วรอยหน้าผากนะครับ เราดูการเรียงหินหรืออิฐของคนสมัยโบราณ จะไม่ค่อยเห็น ปูนเป็นตัวประสานคาดว่าจะใช้ ยางต้นบกหรืออย่างอื่นแทน หิน/อิฐแต่ละก้อนจึงแนบชิดสวย เห็นคนโบราณสร้างสิ่งสวยงาม ด้วยสองมือ แม้จะหลายคน...เขาก็สร้างด้วยความสวยงามคงทนด้วย แล้วคนสมัยใหม่มีเครื่องมือ กำลังเงินเยอะ ทำไม ๆ สร้างขยายถนนพระราม 2 จาก กท.ไป สามแยกวังมะนาว ผมจะไปหัวหิน ไ่ม่เสร็จสักที หุ หุ กี่ปีจึงจะเสร็จ ที่ใดจะใช้เวลาบูรณะสร้างขึ้นไวกว่ากัน.....? |
ขอขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อภาพ |
L |
st.counter ผู้เข้าชม 1,623,451 |
= |
ขอบคุณเพื่อนผู้คลิกเข้าอ่าน กรุณาเม้นท์นิดหน่อยผมจะได้เข้าไปเยี่ยมได้ถูกคนครับ |
Diarist |
|
มาเที่ยวด้วยค่ะ
ภาพสวยมาก
สวยงามน่าไปเที่ยวบ้างจังค่ะ