
ขณะลืม ก็นึกไม่ออก พอนึกออกนึกได้ ก็ไม่ลืม คนละขณะกัน
ขณะจิตกำลังโกรธอยู่ เจ้าตัวไม่รู้ดอกว่าตัวเองกำลังโกรธ ขณะจิตกำลังง่วงอยู่เจ้าตัวไม่รู้ตัวดอกว่าตัวเองกำลังง่วง. หายง่วง หายหลง หายโกรธแล้ว เจ้าตัวจึงรู้ตัวนึกได้ว่า อ้าว ... เมื่อกี้เราง่วง เราหลง เราโกรธ คิดได้นึกได้เอาตอนที่จิตดวงนั้นมันดับไปแล้ว ซึ่งมันคนละขณะกัน
ดูตัวอย่าง 
>“
หนูขออภัย หนูขอโอกาส หนูจะไม่ทำอีกแล้วไม่ว่ากับใคร” ครูยกมือกราบผู้ปกครอง เหตุใช้เท้าสั่งสอนนักเรียน บอก
ทำไปเพราะโมโห!
โมโหก็โกรธหรือโทสะนั่นแหละ ถาม. ตอนคนกำลังโมโหกำลังโกรธอยู่ทำไมจึงนึกไม่ออกล่ะ ตอบ. เพราะขณะนั้นจิต (ตัวมันเอง) กำลังโกรธอยู่. หลักเขามีว่า จิตมันเกิดได้ทีละดวง (คิดได้ทีละเรื่อง) คิดทีละสองเรื่องไม่ได้
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม (ฝึก) แนวสติปัฏฐาน ท่านให้กำหนดสภาวะทุกๆขณะ (เหมือนปลุกสติความรู้สึกตัว, เจริญสติสัมปชัญญะ) เกิดปุ๊ป กำหนดปั้ป (พูดตามหลัก) ฝึกใหม่ๆไม่ได้กินมันหรอก ต้องฝึกทำนองนี้ไปนานๆ จึงพอตามมันทัน รู้ตัวว่าเมื่อกี้เราหลับไป ก็ตอนตื่นมาแล้ว
ตัวอย่างนี้
พูดพูดเอา
ยังไม่ใช่ ... การฝึก สติ และ สมาธิ ... แบบ ... หลง แล้ว รู้ ... - Pantip อีกตัวอย่างหนึ่ง. ข่าวพนักงานรับรถร้านอาหารแห่งหนึ่ง เดินไปบอกลูกค้าว่า ให้ช่วยขยับรถหน่อยครับ รถด้านในจะออกว่าซั่น เจ้าของรถยุโรปโมโห (โกรธ) ขณะกำลังเลื่อนรถออก เปิดกระจกตะโกน "
ไอ้คนจน" พนักงานรับรถ ก็โมโห คือ โกรธที่ถูกหยามเหมือนกัน เดินไปถามใครจน ? ก็
มึงจนไง
(ตอกย้ำเข้าไปอีก) แล้วก็เหยียบคันเร่งวิ่งลับจากสายตาไป

วันรุ่งขึ้นมั่ง เจ้าของรถ นึกได้ (คิดทบทวนไปมา) เลยขอโทษขอโพยกัน จบข่าว
ขณะกำลังโกรธเจ้าตัวไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังโกรธอยู่ โทสะดับแล้ว จิตดวงใหม่ (สำนึกใหม่) เกิดคิดนึกได้ว่าอ้อ คิดทบทวนไปๆมากไม่น่าเลยเรา ซึ่งมันคนละขณะจิตกัน
(ที่จริงจิตมันเกิด-ดับเร็วยิ่งกว่านั้นหลายเท่านัก)
ตัวอย่าง คนกำลังต่อยกัน กำลังตีกัน ไม่รู้ตัว (โทสะจิตเกิดดับๆๆ) ตีกันเรียบร้อยแล้ว (โทสะดับ) นั่งคิดทบทวน (จิตดวงนี้เกิดดับๆๆ)
๒ ตัวอย่าง
FacebookFacebook