ต่อจากวิปัสสะนึก



    ประเด็นนี้ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=16-01-2023&group=5&gblog=54   ว่าไปแล้ว

ประเด็นต่อไป  450

    ขอแนะนำครับ อาจจะไม่หรูมาก  แต่พออยู่ได้ มีเรือนปฏิบัติแยกเป็นหลัง เด็กอาจจะอยู่ใกล้กันได้ มีอาหารส่ง ๒ มื้อ แบ่งกินตอนเย็นได้ถ้ากลัวหิว

มีกิจอย่างเดียว ทำเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ทำเพื่อแก้อยาก  อบรมแนวทางปฏิบัติให้เข้าใจก่อน 1 วัน


https://pantip.com/topic/41825126


- ที่ว่า  ทำเพื่อแก้ทุกข์  ไม่ทำเพื่อแก้อยาก  (ไม่ทำเพื่อแก้ความอยาก)  นี่ก็เข้าใจผิด  ผิดยันหลักอริยสัจ ๔ โน่นเลย

   อริยสัจมี ๔  (เรียกสั้นๆ)  คือ  ทุกข์   สมุทัย (= ตัณหา)   นิโรธ   มรรค

   อยาก, ความอยาก   แปลออกมาจาก  ตัณหา   ที่แปลว่า   ความอยาก.  ความอยากแบบตัณหา ตรงข้ามกับความอยากแบบฉันทะ ซึ่งเรียกเต็มๆว่า  ธรรมฉันทะ  (เป็นกุศล)  ตัณหาเรียกเต็มๆว่า  ตัณหาฉันทะ  (เป็นกิเลส)  ตามหลักอริยสัจ ๔ ข้อ  ๒  คือ  สมุทัย  ได้แก่ ตัณหา  ตัณหาท่านว่าเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์  (อริยสัจ ข้อ ๑  ทุกข์เป็นผล  สมุทัยเป็นเหตุ)  แล้วไปพูดเสียว่า   =>  มีกิจอย่างเดียว  ทำเพื่อแก้ทุกข์   ไม่ทำเพื่อแก้อยาก <=  ถ้าเราไม่แก้ทุกข์ที่ต้นเหตุคือตัณหา (สมุทัย) ความอยาก แล้วทุกข์มันจะหมดจะดับจะนิโรธได้อย่างไร  เราจะแก้ทุกข์ที่ตัวทุกข์ไม่ได้  (ทุกข์พึงปริญญา คือ กำหนดรู้)  ต้องแก้ที่เหตุคือสมุทัย = ตัณหา  ที่แปลว่า ความอยาก.      

   ปล.   ตัณหา  เจ้าสำนักแห่งหนึ่ง  สาวกมากเหมือนกัน  ให้ความหมายซื่อๆว่า หาแล้วตัน  ตัณหา  หาแล้วตัน หาไม่เจอะ ว่าซั่น   110

https://www.facebook.com/photo/?fbid=191178526898795&set=a.113824664634182


ลิงค์นั้นยังเหลืออีกสองสามประเด็น   450 

   ใช้ขณิกะสมาธิ กับ อิริยาบถต่าง ๆ และ นามต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เหมือนไปดูละครชีวิต  แต่ไม่ต้องไปเล่นละครเอง เช่น เดินช้า ๆ หย่อง ๆ พร้อมบริกรรม 1 ชั่ว นั่งดูท้อง 1 ชั่วโมง.


 - เรื่องขณิกสมาธิ  เรื่องปฏิบัติ  (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่เรียกสั้นๆว่า มรรค)  นี่เรื่องยาวเรื่องใหญ่  จะเอาแต่พูดไม่พอที่จะเข้าใจ  ผู้นั้นๆต้องลงมือทำด้วย  แล้วก็ต้องรู้เข้าใจสิ่งที่ตัวจะทำ รู้แล้วก็ลงมือทำไปตามความรู้เข้าใจนั้น    งานจึงจะสำเร็จ   ถ้าไม่รู้เรื่องเลย หรือรู้ผิดเข้าใจผิดนี่  เราจะทำอะไรไปไหน ?  ขืนทำไปตามฤทธิ์ตามเรื่อง  โน่น     = >     ศรีธัญญา  110   

- ยกตัวอย่างรูปธรรมให้เห็นภาพ    สมมุติเราจะทำบันไดสักอันหนึ่ง (งานอะไรอื่นนอกนี้ก็ได้)  เบื้องต้นมีอุปกรณ์สำหรับทำ  เช่น  ฆ้อน  ตะปู  ไม้ที่ใช้ทำครบ + ความรู้เข้าใจทำได้ทำเป็น  แล้วทำไปตามความรู้นั้น  งานจึงสำเร็จ  ถ้าตัวไม่รู้เรื่องที่จะทำเลย   ตอกตะปูก็ไม่เป็น ใช้ไม้อะไรทำก็ไม่รู้  แค่นี้ไปไม่รอดแล้ว ฉันใด  การปฏิบัติธรรม, การปฏิบัติกรรมฐาน หรือใช้ชื่ออื่นนอกนี้ก็ฉันนั้น 

- ปล. ยังมีเรื่องแทรกกลางขณะที่ทำอีกนะ  เช่น  นายคนที่ทำบันได ขณะตอกตะปูกิ๊งๆ ตอกไปคิดไป  คิดถึงเรื่องอื่นๆ เช่น เมื่อวานทะเลาะกับคนข้างบ้าน  อินไปหน่อยนึกว่าหัวตะปูเป็นหัวคู่กรณีตีๆๆพลาดไปถูกหัวแม่มือตัวเอง 110  บาดเจ็บ  งานเสียเสียงานล่ะ   ต้องพักไปล้างแผลใส่ยา  หยุดงานจนกว่าแผลจะหาย งานไม่เสร็จ ตัวเองก็บาดเจ็บ

- กรณีผู้ปฏิบัติกรรมฐาน  ปฏิบัติธรรม  เป็นต้น  ก็เช่นกัน  ขณะที่ภาวนาไปๆๆๆ  จิตสงบถึงระดับหนึ่ง  สภาวธรรมปรากฎ  เห็นนั่นเห็นนี่ ได้ยินเสียงนั่นนี่   หลงมันบ้าง กลัวมันบ้าง กับภาพธรรมารมณ์นั้น   จะเอายังไงดี   ไปไม่เป็น  วนๆไม่ไปไหน  หลายราย  450

https://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html

235  เรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน หรือใช้ชื่ออื่นๆทำนองนี้  ไม่ง่ายที่จะเข้าใจ  อีกทั้งไม่ง่ายที่จะเข้าถึง  ตัวอุปสรรคภาคปฏิบัติมีมากมาย โดยเฉพาะกิเลสมาร  


 



   235 อุปสรรค  (อุปะสัก)  น.  เครื่องขัดข้อง,  ความขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง.  (ส. อุปสรฺค  ป. อุปสคฺค)  (ไว)  คำที่เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นเพื่อให้มีความหมายแปลกออกไปจากเดิม  เช่น  อภิ + รัฐมนตรี = อภิรัฐมนตรี  อุป+ทูต = อุปทูต  

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ น. ๙๑๕


235 สรุปเสียเวลาเปล่า 

 



Create Date : 17 มกราคม 2566
Last Update : 23 เมษายน 2567 20:09:55 น.
Counter : 441 Pageviews.

0 comments
No. 1284 จุดจบของการเริ่มต้น....? (ตะพาบ) ไวน์กับสายน้ำ
(19 ก.ค. 2567 06:25:49 น.)
17 กค 67 Live วัดป่าภูไม้ฮาว mcayenne94
(17 ก.ค. 2567 19:31:28 น.)
:: จบตรงจุดที่เริ่มต้น :: กะว่าก๋า
(17 ก.ค. 2567 04:45:52 น.)
:: คิลานะ :: กะว่าก๋า
(15 ก.ค. 2567 22:00:43 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด