
นักเทศน์ นักธรรม ชอบพูดกัน เห็นการ
เกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ หมายถึงผู้ปฏิบัติต้องเห็นสภาวธรรม (ความคิด) ขณะนั้นๆว่า เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วก็ดับ (เกิดดับๆ ) เรียกว่า เห็นการเกิดดับ
ไม่ใช่ว่าดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย เช่นคำพูดนี้


อธิบายโยงไปนั่นมานี่แล้วก็สรุปท้ายว่า ดับแล้วจะไม่พบที่ไหนอีกเลยทั้งสิ้น ในสังสารวัฏฏ์ จึงใช้คำว่า "
ดับ ไม่กลับมาอีกเลย" อธิบายเกิดดับอย่างนั้น ก็ใช้กับคนที่ตายจากโลกนี้แล้ว ดับหายไปเลย ไม่กลับมาเป็นสามีเป็นภรรยาเป็นอะไรกับคนในบ้านอีกเลย ถ้าอย่างนี้ได้ ดับไม่กลับมาอีกเลย


ทีนี้ใช้ของจริง

จากบุคคลผู้หนึ่งเทียบว่ามันดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ
> ดิฉันเริ่มทำสมาธิได้สองเดือนกว่าๆแล้ว ... พยายามทำสมาธิให้ได้วันละสาม ชม. แรกๆ ก็จะบริกรรม ดูลม (เรียนทำสมาธิจากเวปต่างๆ และคลิปที่ยูทูป อยู่ต่างประเทศคะ) จนเห็นจิตเด่นชัด ก็จะบริกรรมไม่ได้แล้ว แต่หากฟุ้งก็จะบริกรรมอีก ตอนนี้แยกร่างกายกับจิตได้บ้างแล้ว เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา เห็นตัวรู้ จนเมื่อวานนี้และวันนี้ ได้เกิดการสั่นขึ้นที่ร่างกายส่วนตัวขึ้น มันเริ่มจากตุบๆ เหนือก้น แรกๆเห็นไม่ชัด จนมันตุบๆๆๆ แรงขึ้นๆ จนกลายเป็นสั่น และสั่นรุนแรงขึ้น เหมือนแผ่นดินไหว แต่ก็พยายามประคองจิตเอาไว้ ให้นิ่งดูเฉยๆ
ในระหว่างนั้น เริ่ม
ฟุ้งซ่านขึ้นมานิดๆ
แต่ก็ประคองไว้ จนรู้สึกเหนื่อย ปวดหัว เพราะ
สั่นแรงมาก มาแล้วก็หายแล้วก็มาอีก จนถึงวันนี้ๆ
ลองลืมตาดูว่ามันเป็นอย่างไร
พอลืมตาดูก็เห็นว่าร่างกายสั่นจริง สั่นแต่ช่วงตัว ก็หลับตาประคองสติต่อ ให้เห็นการเกิดดับ (บางทีนอกจากเหนือก้นจะตุบๆ แล้ว ที่บริเวณกลางอก ก็ตุบๆๆ สังเกตได้ชัด บริเวณหัวด้วย แต่ไม่มากเท่าไหร่) ไม่ทราบว่ามีท่านใดเคยทำ
สมาธิแล้วเป็นแบบนี้บ้างคะ ขอรบกวนให้คำปรึกษาด้วยนะคะ ... อยู่ต่างประเทศจะไปวัดขอคำปรึกษา จากพระไม่ได้เลย

(ข้อความที่ขีดเส้นใต้) จขกท. นี่เห็นการเกิดดับที่ลึกลงถึงก้นบึ้งของจิตใจทีเดียว แต่ก็มีคำถามอีกว่า แล้วทำไมผู้ปฏิบัติยังไม่ลงตัว ยังติดยังกังวลนั่นนี่อยู่เล่า ? ตอบ: เพราะการรู้การเห็นนั่นยังไม่เป็นปัญญาที่เรียกว่าญาณ

เอาสังขารุเปกขาญาณเทียบ (จะให้ดีควรดูไล่ๆจากข้อที่ ๑ ลงมาๆ แล้วสังเกตความรู้สึกผู้ปฏิบัติมันเปลี่ยนเป็นเข้าใจชีวิตเพิ่มขึ้นๆ ตามลำดับ) ตัดข้อ ๘ มา ดังนี้
๘.
สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป
ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง
จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน
เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

ที่ว่า
"...
ก็หลับตาประคองสติต่อ ให้เห็นการเกิดดับ" ตรงนี้เป็นความเห็น ไม่ใช่เห็นการเกิดดับ ขณะที่มันเกิดแล้วมันดับเราไม่เห็น เพราะ
เราไม่ชอบ (สั่นแรงมาก มาแล้วก็หาย แล้วก็มาอีก) เลยพาคิดเป็นอื่น ทั้งๆที่ธรรมะมันเกิดมันดับนั่นแหละ อย่างนี้ท่านเรียกว่าไม่เห็นธรรมะตามความเป็นจริง, ไม่เห็นสภาวธรรมตามที่มันเป็น
"... สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้
เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน"
สํ.นิ.16/231/114
การปฏิบัติธรรม
(จะเรียกชื่อยังไงสุดแท้แต่) เพื่อพ้นทุกข์แท้ๆนั้น ฟังง่ายๆพึงเทียบคำโบราณ "เลือกที่รัก มักที่ชัง" "เลือกที่รัก ผลักที่ชัง
" เราจะเอาแต่ที่พอใจ ที่ไม่พอใจไม่รับไม่ได้ อย่างนี้ไม่เรียกว่าปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ปฏิบัติพ้นทุกข์ จะดีจะชั่ว จะสุขจะทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ยังไง รับรู้สู้หน้ามันได้ทุกขณะทุกอารมณ์

นึกดู การดำเนินชีวิตของคนเรา (แม้แต่ในครอบครัว อยู่กันสองคนขึ้นไป) ในแต่ละวันๆนั้น เราเลือกเอาแต่
อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าชอบใจ)
อนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าปรารถนา) ไม่เอา เลือกได้ไหม ? ไม่ได้ บอกกับคนนั้นคนนี้ ช่วยพูดกับฉันดีๆหน่อยได้ไหม ? พูดอย่างนี้ ฉันไม่ชอบนะ ได้ไหม ? ไม่ได้อีก ใครพูดไม่ดีกับเรา เราไม่ชอบใจโกรธ (โทสะ) ใครพูดดีก็ชอบ (โลภะ,ราคะ,โมหะ หรืออวิชชาเป็นพื้นใจอยู่) เพราะเหตุนั้น ในการปฏิบัติก็เพื่อกำจัดกิเลสจำพวกนี้ ท่านจึงให้
กำหนดรู้ทั้งความชอบใจ ไม่ชอบใจ แม้แต่ความเฉยๆ ต่ออารมณ์ ซึ่งปรากฎในขณะนั้นทั้งทางกายทางใจ
ตามที่มันเป็น กิเลสจำพวกนี้เบาบางลงเท่าใด ผู้นั้นก็พ้นทุกข์ได้เท่านั้น เข้าใกล้นิพพานเข้าไปเท่านั้น เมื่อ ราคะ โทสะ โมหะ หมดไป ทางพระพุทธศาสนาก็เรียกว่า
อรหันต์ (อาสวักขัย) แล. จบกิจ เรื่องมันมีเท่านี้ (พูดให้สุดทาง) จริงๆได้แค่ไหนก็แค่นั้น ยอมรับ ซึ่งมันไม่ง่าย
