
เรื่องเดียวกัน แต่มองคนละมุม คือว่า ภาคปฏิบัติ ก็คือการลงมือทำจริง เมื่อทำถึงขั้นหนึ่งระดับหนึ่งแล้วก็เห็นสภาวธรรม ซึ่งมีหลากหลายตามธรรมดาของสังขาร บางอย่างตรงใจคนตรงใจเรา
(อิฏฐารมณ์) เราก็ชอบใจติดใจ บางอย่างขัดใจคนไม่ตรงใจเรา
(อนิฏฐารมณ์) เราก็วุ่นใจ บางสภาวะเล่นเอาคนสติแตกไปก็มี
https://pantip.com/topic/40283051 หากเปรียบสภาวธรรมก็เหมือนวิธีสอบใจฅน ประมาณว่า ไหนๆดูสิ ที่พูดๆว่า รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามกฏไตรลักษณ์ ไม่ใช่เรา ร่างกายไม่ใช่ของเราของยืมเขามา ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นนี่โน่น เมื่อประสบกับสิ่งที่พูดต่อหน้าต่อตาแล้วไหวไหม โอเครไหม

ปล่อยวางได้จริงไหม สอบดู คล้ายๆ เอหิปัสสิโก

สำนักไหนที่ชวนคนไปเป็นโสดาบันกันในชาตินี้ เข้าห้องสอบดูสิ
สักกายทิฏฐิ หมดหรือยัง เมื่อประสบกับทุกขเวทนาแล้ว เป็นไง หนีไหม ใครเจ็บ จะได้รู้กันก็ตอนนี้แหละ
สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูป เป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)