
ถาม

- นั่งสมาธิแล้วเกิดอาการชาๆตึงๆ
-> สวัสดีค่ะ จขกท. สนใจการปฏิบัติ
สมถกรรมฐาน แต่พบปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง
เมื่อประมาณ
ปี-สองปีที่แล้ว จขกท. สนใจ
กสิณกรรมฐาน เลยลองฝึกดู แรกๆก็ไม่ค่อยได้ พอทำบ่อยๆเข้าก็
เริ่มสงบ ฟุ้งซ่านน้อยลง แต่
ปัญหาคือ
พอมันเริ่มรู้สึกสงบก็มักจะมีอาการแปลกๆ เช่น
ตึงๆที่หว่างคิ้ว ชาบริเวณใบหน้า ทุกครั้งก็ไม่ไหวเลยออกจากสมาธิมีครั้งหนึ่งที่เคยนั่งแล้วเกิด
ตึงๆเริ่มจากปลายจมูกลามไปทั้งหน้า แล้วก็ลามลงคอ ไปแขนขา ตอนแรกก็ทน พยายามกำหนดรู้แล้วนั่งต่อ แต่ซักพัก
ก็ไม่ไหว มัน
หายใจยากขึ้นเลยหยุดนั่ง หลังจากนั้นก็สนุกสนานกับชีวิต
ไม่ได้แตะการปฏิบัติมาซักพัก น่าจะประมาณ
ปีกว่า แล้ว
วันนี้ก็เกิดอยากทำสมาธิขึ้นมาเลยนั่ง
ครั้งนี้
ไม่เอากสิณแล้ว
กำหนดรู้ลมหายใจแทน รู้สบายๆไปซักพัก พอเริ่มสงบก็เกิดอาการแบบเดิม แต่ครั้งนี้
เริ่มชาที่หน้าอกแล้วลามไปหน้า (คิดว่า
ไม่ใช่เพราะเพ่ง เพราะ
ตอนนั่งเมื่อกี้รู้สึกชัดเจนว่าแค่รู้ลมหายใจไปสบายๆ) นี่ก็นั่งต่อ
กำหนดรู้อาการชาซักพักแล้วก็ไปดูลมเข้าออกต่อ แต่มันก็ยิ่งตึงๆชาๆโดยเฉพาะที่คอ จนสุดท้ายก็ลุก เลิกนั่งตัว จขกท.
อยากปฏิบัติให้สงบให้ได้ แต่พอพบปัญหานี้มันก็ไปต่อยาก นั่งเสิร์ชแนวทางแก้ไขในเน็ตก็ไม่เจอ จึงอยากสอบถามผู้รู้ว่า
1 อาการแบบนี้คืออะไร
2 เมื่อพบเจออาการแบบนี้ควรปฏิบัติอย่างไร
(เพราะส่วนตัวก็ไม่รู้ว่าควรนั่งต่อหรือหยุดแล้วค่อยนั่งใหม่)
นั่งสมาธิแล้วเกิดอาการชาๆตึงๆ - Pantip
หลักการเจริญสมาธิโดยใช้รูปกสิณฝึก เพ่ง
ดวงกสิณให้
ติดตา ติดใจ แล้วก็เพ่งภาพกสิณที่
ติดใจนั่นไป นี่หลักฝึกสมาธิโดยใช้กสิณเป็นสื่อ

- ข้ามมาที่ปัญหา จขกท. ว่าฝึก ... แล้ว
พอจิตสงบก็ตึงตรงนั้นตรงนี้นั่นนี่โน่น ไม่ไหวก็หยุดก็เลิกไป เลิกทำเลิกปฏิบัติ ก็ไม่รู้สึกว่าตึงตรงนั้นตรงนี้ ... คราวนี้ทำใหม่ ไม่เอาแบบเดิม
เปลี่ยนมาใช้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นสนามฝึกไปๆๆๆ ... แต่พอ
จิตมันเดินมาถึงตรงนั้นก็รู้สึกนั่นนี่อีก ปัญหาก็คือ
จิตยังไม่ผ่านจุดนั้น ยังคายังติดอยู่ตรงนั้น ผู้ปฏิบัติเอง (ร้อยทั้งร้อย) เพียรไม่ไหว ไม่เข้าใจวิธี พอรู้พอเข้าใจบ้าง แต่ไปไม่สุด ก็เลิกก็หยุดเสีย พอเราหยุด สภาวะมันก็ลด พอลด เราก็ปฏิบัติใหม่ ทำไปๆ จิตมันเดินถึงตรงนั้นอีก มันก็เป็นของมันอย่างนั้นอีก เราไม่รู้ เราไม่สู้ ก็หยุดก่อน วนอยู่อย่างนั้น ไม่ผ่านไปสักที นี่คือปัญหาของผู้ปฏิบัติทางจิตทั่วๆไป
ตอบคำถาม
1. มันก็คือสภาวะของจิต (พูดถึงจิตนะ ไม่ได้พูดถึง จขกท.) ซึ่งมันยังไม่ลงตัว ยังไม่พอดี อินทรีย์มันยังไม่เสมอกัน

2. "
กำหนดรู้อาการชาซักพักแล้วก็ไปดูลมเข้าออกต่อ" <= ใช้วิธีนี้แหละ แต่อย่านาน อย่าจมแช่อยู่กับสภาวะนั้นๆ กำหนดรู้ตามอาการ ๓-๔ ครั้ง ชาหนอๆๆๆ ปล่อย ไปกำหนดลมเข้าลมออกต่อ จขกท. ใช้คำบริกรรมภาวนาพุทโธว่าไปตามนั้น (คิดว่าน่าจะใช้พุทโธ) ต่อเมื่อใดสภาวะนั่นนี่โน่นกระทบความรู้อีก วางลมหายใจเข้า-ออก ไปกำหนดรู้สภาวะนั้นๆตามที่มันเป็นตามที่รู้สึก รู้สึกอย่างไร กำหนดอย่างนั้นสัก ๓-๔ ครั้ง ปล่อย ไปตามลมเข้าออกต่อไปใหม่ ปฏิบัติทำนองนี้เรื่อยไป (ลมหายใจเข้า-ออก, พอง-ยุบ เป็นอารมณ์หลัก นอกจากนั้นเป็นอารมณ์รอง กระทบจึงกำหนดรู้มัน ส่วนอารมณ์หลัก ยึดเป็นหลัก)
จะให้ดีกะเวลาด้วย นั่งสัก ๓๐ นาที (คนวัยหนุ่มสาว) ครบเวลาแล้ว เดินจงกรมสัก ๓๐ นาที เป็นการปรับอินทรีย์ แรกๆใช้จงกรมระยะต่ำๆ ไม่หมดเวลา ๓๐ นาทีดังตั้งใจไว้ก็ไม่เลิก

ปฏิบัติเพื่อเรียนรู้เข้าใจชีวิต (รวมหมดทั้งกายทั้งใจความรู้สึกนึกคิด) แล้วจะได้. ถ้าปฏิบัติแล้วคิดจะเอานั่นเอานี่ อยากจะได้นั่นได้นี่ จะไม่ได้อะไรเลย มันเป็นสะยังงั้น
ขณะปฏิบัติธรรม, ขณะปฏิบัติกรรมฐาน แบบใช้พุทโธ ก็ดี แบบใช้พอง-ยุบ เป็นต้นก็ดี ให้สังเกตความรู้สึกนึกคิดตัวเองขณะประสบสิ่งที่ยินดีพอใจ, ไม่ยินดีไม่พอใจ ใช้สมุทัยนี่เทียบ
- กามตัณหา ความอยากในกาม. คือ อยากใน
รูป ใน
เสียง ใน
กลิ่น ใน
รส ใน
สัมผัส - ภวตัณหา ความอยากเป็น.
กามตัณหา อยากมี
ภวตัณหา อยากเป็น
- วิภวตัณหา ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น.
- อยากมี อยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น
หลักปฏิบัติ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-07-2021&group=1&gblog=41