ทำ = ภาวนา. ภาวนา=ทำ. ทำ=ปฏิบัติ ถาม ![]() ขอคำอธิบาย..จากผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ ว่าการภาวนา การทำสมาธิ มีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร? หาข้อมูลก็เจอแต่คำอธิบายที่ยากแก่การเข้าใจ นึกภาพไม่ออก เปรียบเหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาคุยกัน แต่เจ้าของกะทู้เป็นแค่เด็กประถม จึงยังไม่เข้าใจภาษาวิชาการ ขอผู้ใจดีช่วยอธิบายด้วยค่ะ https://pantip.com/topic/41122917 เอาเข้าใจง่ายๆก็ เบื้องแรกเลย เราไม่มีสมาธิ เราก็ทำให้มันมีสมาธิ นี่เท่ากับบอกเราว่า ทำ=ภาวนา ภาวนา=ทำ ทำ = ปฏิบัติ ปฏิบัติ=ทำ ![]() ทีนี้ดูหลัก ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา. ![]() ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง. อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกัน คือ ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ แถมให้นิด ภาวนาปธาน (ภาวนา+ปธาน) เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิดให้มีขึ้น ภาวนามัย (ภาวนา+มัย) บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์คือสิ่งอันหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ พอแก่ความต้องการแล้ว ที่นี้ก็ไปทำ ไปภาวนา ไปปฏิบัติเอาถ้าอยากมีอยากเป็น ![]() |
บทความทั้งหมด
|