จิต


ผลวิจัยที่ใช้ได้  450


     รายงานนี้ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการฝึกสมาธิ  กับ  ความแปรปรวนทางจิตใจผู้ป่วยทั้งหมด ๘ ราย มีประวัติของการฝึกสมาธิแบบพุทธก่อน หรือตอนที่เกิดมีอาการของโรคจิต ๗ คนเป็นผู้ชาย   ส่วนอีกหนึ่งคนเป็นผู้หญิง   ในจำนวนนี้มี  พระ ๓ รูป และสามเณร ๑ องค์ ผู้ป่วยที่เหลือยังเป็นโสดอยู่   ทุกคนมีอาการของโรคจิต   ซึ่งเข้าได้กับโรคจิตเภท (Schizophrenia) จากการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคจิตขณะฝึกสมาธิ   พบว่ามีปัจจัยต่าง ๆ  ที่ก่อให้เกิดความวิปริตทางจิตใจ  ดังนี้

        ๑. การขาดความเข้าใจอย่างถูกต้องในการฝึกสมาธิ

        ๒. การถดถอยทางจิตใจ

        ๓. การมีความขัดแย้งอยู่ก่อนแล้ว

        ๔. การเกิดความคิดว่าตนมีอำนาจหรือยิ่งใหญ่

        ๕. บุคลิกภาพก่อนเกิดอาการที่ผิดปกติ

        ๖. การขาดอาจารย์สอนสมาธิที่สามารถ

        ๗. การขาดสิ่งเร้า

     นักจิตบำบัดส่วนมากรวมทั้งผู้เขียน   ต่างมีความเห็นต้องกันว่า  สมาธิมิใช่สิ่งที่จะเอามาใช้แทนจิตบำบัด และไม่สามารถจะนำมาใช้ได้ผลสำหรับผู้ป่วยทุกราย   ปัจจุบันหลายท่านได้นำเอาการฝึกสมาธิมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดวิตกกังวล และผู้ป่วยที่เป็นจิตสรีระพาธ (Psychophysiologic disorders)  สมาธิไม่ควรนำเอามาใช้อย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคจิต หรือผู้ที่มีความแปรปรวนทางจิตอย่างรุนแรง   

     ผู้ป่วยที่ใช้สมาธิช่วยในการรักษาความผิดปกติทางจิตใจ   ควรอยู่ในความดูแลของนักจิตบำบัดผู้มีประสบการณ์  และความรู้ในเรื่องการฝึกสมาธิเป็นอย่างดี  ผู้ที่ไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอในจิตพยาธิวิทยา และความขัดแย้งภายในจิตใจไม่ควรแนะนำให้ผู้ป่วยฝึกสมาธิ  ถึงแม้ตนเองจะมีความรู้และความชำนาญในเรื่องนี้อย่างมากก็ตาม  ที่เป็นเช่นนี้  เพราะว่าปัญหาหรือความกดดันต่างๆ อาจถูกปลดปล่อยออกมาอย่างพรั่งพรู และท่วมท้นจนผู้ป่วยไม่สามารถจัดการอะไรได้  นิมิตที่เกิดขึ้นมักเป็นอาการหลงผิด  ประสาทหลอน  ประสาทลวง  หรือความเพ้อฝันเหมือนอย่างที่พบในผู้ป่วยโรคจิต  ดังนั้น  การใช้สมาธิในกรณีที่ไม่สมควรแทนที่จะเป็นคุณกลับก่อให้เกิดโทษอย่างมหันต์ได้

https://suicide.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=2052


     ผู้ที่เป็นอยู่ก่อนแล้วควรรักษาให้หายขาดก่อน  อย่าง K ร้อยล้าน อย่าแนะนำไปทำสมาธิบำบัดเป็นอันขาด  ควรบำบัดทางยาตามคำสั่งแพทย์   ส่วนผู้ปกติเมื่อจะฝึกต้องได้ผู้รู้ทางปฏิบัติจริงแนะนำ  

ตัวอย่างเสริมความเข้าใจ

https://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html


- ฯลฯ  ถึงแม้ตนเองจะมีความรู้และความชำนาญในเรื่องนี้อย่างมากก็ตาม  ที่เป็นเช่นนี้  เพราะว่าปัญหาหรือความกดดันต่างๆ อาจถูกปลดปล่อยออกมาอย่างพรั่งพรู และท่วมท้นจนผู้ป่วยไม่สามารถจัดการอะไรได้. 

235 ผู้ที่ปฏิบัติแบบเอาสมาธิอย่างเดียว  (แบบไหนก็ตาม)  จะเกิดปัญหาเช่นนั้นมาก เพราะจิตมันคิดนั่นนี่โน่นฟุ้งซ่าน บลาๆๆ  แล้วผู้ปฏิบัติเองไม่รู้จะเล่นอิท่าไหนกับมัน  ยิ่งบีบยิ่งเตลิด หัวร้อนตัวร้อน  ฝืนไปๆๆ  สติแตก  แก้ผ้าเดินเฉย     11  
 



Create Date : 26 สิงหาคม 2566
Last Update : 6 ธันวาคม 2566 17:58:49 น.
Counter : 162 Pageviews.

0 comments
เป็นขันธ์ที่มีคุณค่า แบ่งเวลา คุณค่าของสิ่งต่างๆ ปัญญา Dh
(19 เม.ย. 2567 23:27:48 น.)
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด