นั่งสมาธิ กับ บารมี ๑๐


235 วางหลักบารมี ๑๐  เทียบ


     บารมี    คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด   เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์    จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

        ๑. ทาน     การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

        ๒. ศีล     ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

        ๓. เนกขัมมะ     ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

        ๔. ปัญญา     ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

        ๕. วิริยะ     ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

        ๖. ขันติ     ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

        ๗. สัจจะ    ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

        ๘. อธิษฐาน     ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

        ๙. เมตตา     ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

        ๑๐. อุเบกขา     ความวางใจเป็นกลางอยู่ในธรรม   เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ


     บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้น  หรือสามระดับ   จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

        ๑. บารมี   คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

        ๒. อุปบารมี    คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

        ๓. ปรมัตถบารมี   คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด

     เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น  มีหลายแง่หลายด้าน     ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน  สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น    เป็นทานบารมี  สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น  เป็นทานอุปบารมี    สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น   เป็นทานปรมัตถบารมี

     บารมีในแต่ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า    สมดึงสบารมี  (หรือ สมติงสบารมี)  แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ    แต่ในภาษาไทย  บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า  "บารมี ๓๐ ทัศ"

 
235 ถาม    450

 -  การนั่งสมาธิกับการบำเพ็ญบารมี 10

- >การนั่งสมาธิ 1 ชม. 30 นาที 15 นาที 5 นาที หรือแม้แต่ 1 นาที หรือจะเป็นเวลานานเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ถือว่าเราได้บำเพ็ญบารมีครบ 10 ข้อรึยังครับ

https://pantip.com/topic/41033389


     เดิมท่านพูดฐานเข้าใจกัน   "นั่งสมาธิ"  ก็คือนั่งอย่างนี้   พอพูดกันต่อๆมา  คนชักเข้าใจผิดว่า   นั่งแบบนี้เป็นสมาธิไปก็มี      

 



235 บางสำนักปักป้ายบอก "สำนักวิปัสสนา" พอใครนั่งลักษณะนั้น ห้ามเลย นั่งแบบนั้นไม่ได้ มันเป็นสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนาว่าซั่น  นี่เข้าใจผิดเต็มๆ คือ ไปเข้าใจว่านั่งอย่างนั้นเป็นสมาธิ ซึ่งไม่ใช่เลย คนละเรื่อง

   นั่งก็นั่ง (ยืนก็ยืน เดินก็เดิน นอนก็นอน. ยืน เดิน นั่ง นอน) สมาธิก็สมาธิ คนละส่วนกัน นั่งเป็นส่วนรูปธรรม (มองเห็น) ด้านสมาธิเป็นส่วนนามธรรม (มองไม่เห็น) นี่เขาใช้อิริยาบถนั่งฝึกจิต นั่งเจริญสมาธิ เป็นต้น ที่ว่า เป็นต้น เพราะมันยังมีนามธรรมอื่นอีกมากมายที่เกิดร่วมกัน เรียกตามหลัก สัมปยุตธรรม เช่น สัญญา มนสิการ เจตนา สติ สัมปชัญญะ เป็นอาทิ ไม่ใช่มีแต่สมาธิเท่านั้น. กรณีนี้อยู่ที่คนทำเป็นทำถูกด้วย บางคนทำเป็นเวลานานสองนานสมาธิไม่เกิด เมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญาหรือวิปัสสนาก็ไม่ต้องพูดถึง  (ว่าตามหลักไตรสิกขา ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุติ)

   ทีนี้ถึงปัญหาว่า   นั่งสมาธิกับการบำเพ็ญบารมี ๑๐ อ่านแล้วก็เทียบกันดูว่าบารมียิ่งใหญ่ขนาดไหน มีถึงสามระดับ

235 ทำความเข้าใจ รูป กับ นาม ให้ชัด


 



Create Date : 11 ตุลาคม 2564
Last Update : 18 มิถุนายน 2567 21:52:14 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comments
ธรรมะที่สำคัญ ปัญญา Dh
(19 ก.ค. 2567 01:37:22 น.)
:: จบแล้วก็ไป :: กะว่าก๋า
(16 ก.ค. 2567 05:43:08 น.)
สร้างคน ปั้นคน ทำให้ตรงกันข้าม ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ดีไม่ชั่ว การบันทึก ปัญญา Dh
(17 ก.ค. 2567 14:23:27 น.)
ขนาดนาม เนื้อนามของรูปธาตุ นามธาตุ ปัญญา Dh
(12 ก.ค. 2567 18:05:31 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด