สภาวะที่เกิดจากการนั่งสมาธิ ปัญหา ![]() ถามท่านผู้รู้ เกี่ยวกับสภาวะที่เกิดจากการนั่งสมาธิด้วยค่ะ ตัวหนูเองเพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิแบบจริงๆจังๆได้ไม่นานมานี้ โดยการกำหนดดูลมหายใจเข้าออก คือเวลานั่งกำหนดดูลมหายใจไปแล้วสักพัก ก็จะรู้สึกเหมือนมีมวลแม่เหล็กกลมๆจับอยู่ที่บริเวณสันจมูกและบริเวณข้างๆจมูกโดยรอบ พอเรานั่งดูเวทนานั้นไปเรื่อยๆ ก็เกิดความรู้สึกเหมือนว่าตัวหาย ได้แต่นั่งดูความว่างเปล่าไปเรื่อยๆจนพอถอนตัวจากสมาธิ แล้วค่อยๆลืมตาขึ้น ตัวก็ยังไร้ความรู้สึกและขยับตัวเองไม่ได้ เหมือนเป็นอัมพาตได้แต่ลืมตาและกระพริบตาเท่านั้น (ตอนนั้นตกใจมาก คิดว่านั่งทับเส้นหรือเปล่า) ต้องรอสัก1-2 นาที ถึงจะขยับตัวได้ พอลุกขึ้นยืนก็ไม่มีแม้แต่ความรู้สึกปวดขา หรือปวดตามร่างกายเลยค่ะ เพราะโดยปกติหนูจะนั่งสมาธิในท่าเดียวได้ไม่ค่อยนาน ประมาณ 15-20 นาที ก็จะรู้สึกปวดเมื่อยและขยับตัวหรือออกจากสมาธิไปเลย และพอหลังจากวันนั้นมา เวลาจะนั่งสมาธิพอกำหนดดูลมหายใจปุ๊บ ไม่ถึง 5-10 นาที ก็จะเกิดสภาวะไร้ความรู้สึกขึ้นมาทุกครั้งเลยค่ะ (แต่ก็ถือว่าเป็นผลดีที่ทำให้เรานั่งได้นานๆเป็นชั่วโมง โดยที่เราไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดเลย) และอีกหนึ่งสภาวะคือถ้าตั้งใจนั่งสมาธิมากๆ พอนั่งไปสักพักร่างกายจะสั่นแรงมาก ความรู้สึกเหมือนขับรถด้วยความเร็วสูงมากๆ ประมาณว่าคล้ายๆ ตอนขึ้นเครื่องบินแล้วเครื่องบินกำลังจะเทคออฟค่ะ คือมันพุ่งไปข้างหน้าอย่างเร็วแรงมาก หนูเลยอยากทราบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะแบบนี้คืออะไร ถูกต้องหรือไม่ และหนูต้องนั่งดูสภาวะแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยว่างอุเบกขาใช่หรือไม่ และสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ถึงขั้นไหนในการทำสมาธิแล้วคะ และจะมีอันตรายหรือผลที่จะตามมาไหมคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ https://pantip.com/topic/37406925 ชาวพุทธควรทำความเข้าใจความหมายคำศัพท์ สภาวะ สภาวธรรม ให้ชัด สภาพ, สภาวะ, สภาวธรรม ความหมายเดียวกัน หมายถึง ความเป็นเอง,สิ่งที่เป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย เมื่อสภาวธรรมนั่นนี่โน่นเกิด โยคีพึงกำหนดรู้ตามเป็นจริง คือ ตามที่มันเป็นของมัน กำหนดรู้ตามนั้นสักสามสี่ครั้งแล้วปล่อย กำหนดรู้แล้วปล่อย ไม่แช่ไม่จมอยู่กับสภาวะนั่นนี่โน่น ดึงจิตมารู้ลมเข้า-ออก. หรือพอง-ยุบ รู้ลมเข้า-ออก. รู้พอง-ยุบ ไปใหม่ เดินจงกรม คือ เดินกำหนดอารมณ์ควบกันกับนั่งด้วย อย่าเอาแต่นั่นกำหนดอารมณ์อย่างเดียว เพราะจะทำให้สมาธิล้ำองค์ธรรมตัวอื่น ไม่ผิดแต่สมาธิแรงเกินความเพียร (วิริยะ) จึงว่า เดินจงกรมร่วมด้วย |
บทความทั้งหมด
|