เราจะเรียกชื่อ
ปฏิบัติกรรมฐาน, ปฏิบัติธรรม, นั่งสมาธิ, ภาวนา ใช้ชื่อไหนก็แล้วแต่
ชื่อไม่สำคัญ จะบัญญัติชื่อเรียกยังไงก็ได้ นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง คำบริกรรม,คำภาวนา ยังไงก็ได้ ใช้วิธีนับเลขก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ ใช้หนอก็ได้ (พองหนอ - ยุบหนอ คือ ใช้อาการท้องที่พองขึ้น กับ ยุบลง เป็นที่ทำงานของจิต คือ เป็นกรรมฐาน) ก็ได้ ไม่ใช้ก็ยังได้ แต่เบื้องต้น ให้อ่านบทความสั้นๆนี้ให้เข้าใจก่อน แยกความหมาย สมมุติ กับ สภาวธรรมให้ชัดให้เข้าใจก่อน ถ้าสั้นไปไม่ชัด อ่านยาวๆ ตามลิงค์ข้างล่างดู
สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ก็แค่รูปธรรม และนามธรรม แล้วบนรูปธรรมและนามธรรมนั้นๆ เช่น ที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ เราก็สมมุติเรียกว่าเป็น “สัตว์” เป็น “คน” เป็น “บุคคล” เป็น “ตัว” “ตน” หรือ “ตัวตน” (อัตตา, อาตุมา, อาตมา) เป็น “เรา” เป็น “เขา” เป็น “ท่าน” ฯลฯ
“สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน” “เราเขา” เป็นต้น ที่สมมุติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชื่อ หรือ คำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรมและนามธรรม
“รูปธรรม-นามธรรม” แม้จะเป็นคำเรียกที่บัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นคำที่สื่อถึงสิ่งที่มีอยู่จริง (ใช้คำอย่างบาลีว่า “สภาวะ” หรือ “สภาวธรรม” คือสิ่งที่มีภาวะของมันเองหรือสิ่งที่มีความเป็นจริงของมัน)
ส่วน “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน” “เรา” “เขา” เป็นต้น ไม่สื่อถึงสภาวะ คือ สิ่งที่มีอยู่จริงนั้น แต่เป็นชื่อที่สมมุติซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง บนของจริงที่เป็นสภาวะของมัน ที่สัมพันธ์กันอยู่ เช่น เป็นเหตุปัจจัยแก่กันในลักษณะอาการต่างๆ พอระบบสัมพันธ์นั้นแปรหรือสลาย องค์ประกอบวิบัติกระจัดกระจาย “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน,อัตตา,อาตมา,อาตมัน” ฯลฯ นั้นๆ ก็หายไป มีแต่สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามวิถีทางของมัน
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=08-04-2021&group=6&gblog=4
ฅนกำลังเล่นอยู่กับธรรมะระดับแก่น ธรรมก็อย่างฅนก็อย่าง ธรรมมันมีมันเป็นไปตามเรื่องของมัน ส่วนฅนจะเอาแต่ใจตัว นี่ธรรมะกับคนขัดกันแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ขำๆ วันหนึ่งฝน

ตกหนักทั้งวัน คนไม่เดินแม่ค้าขายของไม่ได้ ก็ด่าฝน
%*^& คนจะทำมาหากิน มันจะตกทำไมนักว่ะ ท้องไร่ท้องนาเขาต้องการน้ำทำไมไม่ไปตก แค่นี้
ฅนกับ
ธรรมะ-ชาติขัดกันแล้วฉันใด การปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิ นั่งสมาธิ ก็ฉันนั้น ธรรมะมันยังงั้น มันก็ยังงั้น เราปฏิบัติธรรมเพื่อต้องการพ้นทุกข์ (ใช่ไหม) ก็ต้องรู้ตามที่มันเป็นดิ เราจะชอบใจ ไม่ชอบใจ จะสุขจะทุกข์ยังไง ก็รู้ตามนั้น คนจะเอาแต่ใจตัวก็ขัดกันดิ
กำหนดรู้ทุกๆขณะก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงความไม่คงที่ของมัน ถึงบางอ้อ อ้อมันเป็นยังงี้นี่เอง กูหลงยึดสะตั้งนาน เมื่อรู้เองเห็นเองก็ปล่อยวางสุขทุกข์ได้ อะไรเกิดรับรู้สู้หน้าได้ทุกเรื่อง ใจก็เป็นกลางคือมีอุเบกขาว่างั้นเถอะ อุเบกขาเห็นด้วยตนเอง ไม่ใช่อุเบกขาแบบพูดเอา

ดูตัวอย่าง

- หลังจากนั่งสมาธิสวดมนต์แล้ว
รู้สึกแปลกๆ->เราเป็นมาวันนี้วันที่สองแล้ว วันแรกตอนสวดมนต์ก็ปกติ พอนั่งสมาธิไปสักพักจะเริ่มมึนๆ ตรงนี้อาจจะเป็นเพราะ
หายใจไม่ถูกหรือร่างกายไม่พร้อมรึป่าว
ส่วนวันที่สองนี้ เราลองท่องนโมก่อนนั่งสมาธิ เพราะกลัว หลังจากนั่งได้ไม่กี่นาที ก็มาสวดมนต์ แผ่เมตตา ตอนสวดรู้สึกมือสั่นแต่คิดว่ากล้ามเนื้อคงเกร็งหลังจากเล่นโทรศัพท์มา แต่พอตอนพูดว่า ข้าพเจ้า ... ขออุทิศ ...
ยิ่งพูดนานเท่าไหร่ยิ่งนิ่ง ยิ่งรู้สึกตัวเองมือโต เท้าโต ตัวเล็ก มองมุมกว้าง ควรทำอย่างไรดีคะ
ไม่เคยรู้สึกแบบนี้มาก่อน เพราะได้หยุดนั่งสมาธิไปเกือบสองปี หลังจากนั่งเป็น ชม. เเล้ว
ข้างในโยกเยกก็เลยกลัว รบกวนแนะแนวแนะนำหน่อยนะคะ สาธุค่ะ

คนกับธรรมะ-ชาติ ขัดกันแล้ว ไม่มีอะไรผิดปกติ ธรรมะ-ตาๆ แต่ผู้ปฏิบัติร้อยทั้งร้อย ขาดวิธีกำหนดสภาวะอารมณ์ที่ปรากฏแต่ละขณะๆ เมื่อไม่มีวิธี พอประสบสภาวธรรมนั่นนี่เข้าก็ไปไม่เป็น ก็โทษนั่นโทษนี่
หายใจผิดหายใจไม่ถูก วาดภาพฟุ้งไป