มือ ลูกกะตา ปาก ขา ทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวเอง


เขาบอกเล่าท้าวความจากการปฏิบัติ  450


มีอาการ มือไม้ ลูกกะตา ปาก ขา ทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวเอง

     พึ่งจะมีอาการ มือไม้ ลูกกะตา ปาก ขา ทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวเองทั้งที่จิตไม่ได้นิ่ง และ ลืมตา แต่เรารับรู้ตลอดเวลา และเมื่อเวลานัยน์ตาจะเปิดกว้างเพ่งใดๆ เหมือนจะพยายามปั้นอากาศให้เป็นลูกแก้วแล้วมือก็จะกางเกร็ง เหมือนจะปล่อยพลังดราก้อนบอล ยังไงอย่างงั้นเลยค่ะ และ ความรู้สึกมีมวลพลังในมือจริงๆค่ะ ทั้งที่ภายนอกมีสิ่งเร้าเยอะแยะค่ะ 
ถ้าปล่อยให้ร่างเราทำไปเรื่อยๆ มือก็จะมาวางที่หน้าขา  บ้างยกมีอไหว้ที่กลางอก  บ้างก็ทำมือห้าม  บ้างก็ทำมือวางที่อก อีกมือประคอง แต่จะจบด้วยมือวางหน้าขาตลอดค่ะ เหมือนอารมณ์ คล้ายๆ ฝึกวิชาเลยค่ะ ไม่เคยได้นั่งสมาธิค่ะ    มันคืออะไรค่ะ   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ผ่านอาการต่างๆมาแล้ว คือนั่งทุกครั้งเป็นทุกครั้งค่ะ หรือไม่ต้องนั่ง แค่คิดก็ติดแล้วค่ะ
น้ำตาไหล,ตัวโยก  ตัวลอย  ตัวใหญ่  ลูกกะตาหันเข้าหากัน  อ้าปาก,  รู้สึกลอย, รู้สึกอยู่อีกส่วนในห้องที่เงียบ  แต่รับรู้ตลอดว่าอยู่ในห้องนอน   แต่ภาพมันเบลอ หูอื้อ และรู้สึกมีมวลพลังงานเยอะมากมายค่ะ
จะหยุดหรือเพ่งมองต่อค่ะ และต้องทำอย่างไรให้ไม่สติแตก และไปได้ลึกกว่านี้ค่ะ

https://pantip.com/topic/40756549


     ให้ผู้ปฏิบัติสังเกต  (อย่าคิดเป็นอื่น)  มีสภาวะใดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ้าง   มีไหม  ไม่มี ใช่ ไม่ใช่  สภาวะมันเปลี่ยนทุกขณะ  นั่นแหละสภาวะที่พวกนักธรรมนักเทศน์ท่องกันคล่องปร๋อ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ท่องปร๋อ, สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ท่องปร๋อไม่ติดไม่ตันจำได้)   แต่พอเจอะกับสภาวะนั้นเข้าจริงๆ ร้องเป็นปะเสือ.  มันไม่มีอะไรแน่นอนคงที่ถาวรหรอก   จะดีจะชั่วยังไงมันก็เป็นของมันอยู่ยังงั้น (เพราะอินทรีย์ ๕ ล้ำกัน สตินทรีย์  ยังไม่สมบูรณ์คือมันเบลอๆ ปีติยังแรง)   แต่คนไม่ชอบอนิฏฐารมณ์ ชอบแต่อิฏฐารมณ์ ก็เลยมองข้ามสัจธรรมไป

 
ไม่ฝืน แต่กำหนดรู้ตามที่มันเป็น รู้แต่ไม่ฝืน กำหนดทุกครั้งที่สภาวะเกิด กำหนดบ่อยๆเข้าสภาวะเหล่านั้นจะอ่อนกำลังและระงับในที่สุดเหมือนคลื่นกระทบกับฝั่ง

235 ดูอาการปีติ

ธรรมุทธัจจ์ หรือวิปัสสนูปกิเลส  (เกิดในขณะอุทยัพพญาณอย่างอ่อน )

๑. โอภาส    เห็นแสงสีสว่างจ้าต่างๆหลากหลาย

๒. ปีติ ๕ อย่าง (จะเกิดขึ้น) ดังนี้

1. ขุททกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
   1.1 เยือกเย็น ขนลุกตั้งชันไปทั้งตัว
   1.2 ร่างกาย มึน ตึง หนัก
   1.3 น้ำตาไหลพราก
   1.4 ปรากฏเป็นสีขาวต่างๆ

๒. ขณิกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    2.1 เป็นประกายดังฟ้าแลบ
    2.2 ร่างกายแข็ง หัวใจสั่น
    2.3 แสบร้อนตามเนื้อตามตัว
    2.4 คันยุบยิบ เหมือนแมลงไต่ตามตัว

๓. โอกกันติกาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    3.1 ร่างกายไหวโยก โคลงแคลง บางครั้งสั่นระรัว
    3.2 สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า
    3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน
    3.4 มีอาการคล้ายๆละลอกคลื่นซัด
    3.5 ปรากฏมีสีม่วงอ่อน สีเหลืองอ่อน

๔. อุเพงคาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    4.1 มีอาการคล้ายๆกายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย
    4.2 คันยุบยิบ เหมือนมีตัวไร ตอมไต่ตามหน้าตา
    4.3 ท้องเสีย ลงท้อง
    4.4 สัปหงกไปข้างบ้าง ข้างหลังบ้าง
    4.5 หัวหมุนไปมา
    4.6 กัดฟันบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง
    4.7 กายงุ้มไปข้างหลังบ้าง ข้างๆบ้าง
    4.8 กายกระตุก ยกแขน ยกขา
    4.9 ปรากฏสีไข่มุก สีนุ่น

๕. ผรณาปีติ    มีลักษณะดังนี้
    5.1 ร่างกายเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว
    5.2 ซึมๆไม่อยากลืมตา ไม่อยากเคลื่อนไหว
    5.3 ปรากฏเป็นสีคราม สีเขียว สีบงกด

๓. ญาณ   (ความรู้) ปรากฏว่า ตัวมีความรู้เปรื่องปราชญ์ หมดจด อย่างไม่เคยมีมาก่อน

๔. ปัสสัทธิ  มีความรู้สึกสงบเยือกเย็น ทั้งกายและใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย สงบเงียบดังเข้าผลสมาบัติ

๕. สุข  ได้แก่  วิปัสสนาสุข  รู้สึกว่ามีความสุขที่สุด อย่างไม่เคยพบมาก่อน ยินดี เพลิดเพลิน ไม่อยากออกจากการปฏิบัติ อยากจะพูด อยากจะบอก ผลที่ตนได้ แก่ผู้อื่น

๖. อธิโมกข์ (สัทธา) มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นต้น อย่างแรงกล้า

๗. ปัคคาหะ (ความเพียร) ขยันเกินควร ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตาย ไม่ถอย จนเกินพอดี

๘. อุปัฏฐานะ (สติ) สติมากเกินไป ระลึกถึงแต่เรื่องในอดีตและอนาคต จนทิ้งอารมณ์ปัจจุบันเสีย

๙. อุเบกขา   รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดี ยินร้าย ใจลอย หลงๆลืมๆ เป็นต้น อะไรมากระทบก็เฉย ขาดการกำหนด ปล่อยใจไปตามอารมณ์

๑๐. นิกันติ  ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง   มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย   มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน  จึงเกิดโทษ  เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้


235 อ่านเอาพอนึกออกระดับหนึ่ง  แต่ลึกไม่พอ  จะให้แท้ให้จริง  ต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือทำ 



 



Create Date : 02 ธันวาคม 2566
Last Update : 6 ธันวาคม 2566 17:07:56 น.
Counter : 157 Pageviews.

0 comments
กฎของธรรมชาติ ปัญญา Dh
(20 เม.ย. 2567 10:45:01 น.)
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด