
จะเรียก ทำสมาธิ, นั่งสมาธิ, ทำกรรมฐาน, ปฏิบัติกรรมฐาน, ปฏิบัติธรรม ฯลฯ ใครเรียกชื่ออะไรอีกก็ใส่เข้าไปอีก ชื่อเรียกไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าเรียกแล้วต้องเข้าใจให้ถูก
เบื้องแรก คนยังไม่ได้ยังไม่ถึงทำให้ถึงให้ได้ก่อน นี่ขั้นที่หนึ่ง (ไม่มีต้องทำให้มีให้เป็นขึ้น)
ขั้นต่อไป ครั้นทำถึงแล้วทำได้แล้ว ก็ไม่ติดไม่หลงภาพในใจภาพนิมิตต่างๆ แต่ตรงข้ามต้องกำหนดภาพในใจทุกอย่างให้สิ้นไป จิตจึงจะมีกำลังก้าวหน้าผ่านขั้นนี้ไป ถึงอีกขั้นหนึ่ง. ยกเว้นทำสมถะหรือทำสมาธิเพียวๆ ซึ่งนั่น ต้องอาศัยภาพนิมิตบางอย่าง เช่น ภาพกสิณ เป็นต้น แบบนี้ต้องรักษานิมิตในใจ คือว่าเล่นกับภาพภายในใจนั่น
ใช้ตัวอย่างนี้เทียบ
-> ปรากฏการณ์หลังจาก
นั่งกรรมฐานหรือ
นั่งสมาธิ หลายคนที่เคยนั่งกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้างไหมคะ เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ทุกครั้งหลังจากนั่งสมาธิหรือ
นั่งกรรมฐาน ฝนจะตกตอนเริ่มนั่งสมาธิ และฝนจะหยุดตกหลังออกจากสมาธิแล้วตลอดเลยค่ะ
เรื่องต่อมา
รู้สึกตัวเบามาก โล่งสบาย เหมือนกิเลสบางอย่างที่เกิดจากขันธ์ 5 และนิวรณ์ เบาบางลงด้วยเช่นกัน ถือศีล 5 มั่นคงมากขึ้น เราเริ่มเข้าใจในธรรมมากขึ้น และ
เรายังเห็นนิมิตรเป็นเทวดาพนมมือรับบุญที่เรานั่งกรรมฐานด้วยค่ะ
หลังจากที่ออกจากการนั่งกรรมฐานแล้วนะคะ
สำหรับเราจะไม่หลงระเริงและเหลิงในสิ่งที่เห็นนะคะ เราอธิษฐานในใจทุกวันว่า ขอให้เราได้
พบทางแห่งนิพพานในเร็ววันค่ะ
ปรากฏการณ์หลังจากนั่งกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ - Pantip
เขาถึงช่วง
ธัมมุทธัจจ์ (ฟุ้งซ่านธรรม)
โยคีจะฟุ้งซ่านธรรม ตื่นธรรม อรรถกถาเรียก
วิปัสสนูปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา)
สภาวะที่ขีดเส้นใต้มีตัวอย่างให้ดู

(ต้องกำหนดให้สิ้นไป)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=11-06-2022&group=5&gblog=39