กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้
173มีพุทธพจน์ว่า 

        “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมที่พึงละด้วยกาย  มิใช่ด้วยวาจา ก็มี  ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย ก็มี  ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย  มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้   ก็มี”  

         “ธรรมที่พึงละด้วยกาย   มิใช่ด้วยวาจา เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย  เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า   ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย    จะเป็นการดีแท้     ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละกายทุจริต   จงบำเพ็ญกายสุจริตเถิด   เธอถูกเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่    จึงละกายทุจริต    บำเพ็ญกายสุจริต   นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ละด้วยวาจา”
 
         “ธรรมที่พึงละด้วยวาจา    มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน?    คือ   ภิกษุในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา    เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว    กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า    ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา จะเป็นการดีแท้    ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละวจีทุจริต   จงบำเพ็ญวจีสุจริตเถิด   เธอถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่    จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต  นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย”

         “ธรรมที่พึงละ  มิใช่ด้วยกาย  มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้  เป็นไฉน ?   คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความหลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่....พึงละมิใช่ด้วยกาย  มิใช่ด้วยวาจา  ต้องเห็นชัดด้วยปัญญา  จึงละได้...” (อง.ทสก. 24/23/41)

179


175ทางกาย  ทางวาจา  พออาศัยกัลยาณมิตรบัณฑิตชนชี้แนะได้  แต่ทางใจ  ตัวเองต้องเห็นชัดๆเองด้วยปัญญาจึงละมันได้  

มี ตย.หนึ่ง  450


93 จะทำยังไงให้ไม่คิดแค้นหรือโกรธใครคะ 

    เราเปนคนนึงที่ไม่ชอบคนพูดจาไม่ดีกับเรา​ หรือเอาเปรียบเรา​ คิดแล้วแค้นไม่สบายใจนอนไม่หลับคะ​ ทำยังไงถึงจะเลิกคิดได้คะ​ อยากให้อภัย​มีหลักคิดยังไงคะ​ ถ้าเรายังพบเจอคนนั้น​ ชีวิตยังวนเวียนอยุ่กับเรื่องนั้นๆ​ มันก้อต้องวนกลับมาคิดใหม่​ ช่วยแนะนำหน่อยคะ

https://pantip.com/topic/40668521

     คนเราหนีความคิดตัวเองไม่พ้นหรอก  เจ้าตัวไปไหนมันก็ไปด้วย  จะลุยน้ำ ดำดิน บินไปในอากาศ  เข้าถ้ำอยู่คนเดียว  ความคิดก็ตามไปทุกที่  อยู่คนเดียวเงียบๆ ก็ยิ่งคิดคิดสนุกเขาล่ะ   110  หลักปฏิบัติท่านให้เข้าเผชิญหน้ากับมันตรงๆ ไม่ให้หนีมัน    พ่ะน่ะเผชิญยังไง 111   ก็กำหนดจิตตามที่มันคิดไง 11  เดินๆ อยู่ นั่งๆอยู่  ทำอะไรๆอยู่ มันคิดปุ๊บ กำหนดปั้บ คิดหนอๆๆๆๆๆ (ปักจิตลงตรงหัวใจใต้ราวนมข้างซ้าย คิดหนอๆๆๆ)    ขณะนั้นทำอะไรอยู่  ก็สนใจงานเฉพาะหน้าไปสะ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับสิ่งที่ทำสะ   ทำๆไปแว้บมาอีก   กำหนดอีก   คิดหนอๆๆๆ แค้นหนอๆๆๆ โกรธหนอๆๆๆ.    ยังไม่แนะนำให้นั่งดูมันตรงๆเช่นนั่งกรรมฐาน  อ้าวทำไมล่ะ ?   เพราะความคิดที่เป็นพื้นนิสัยด้วยก็ยิ่งแรง   ดูใกล้ไปเอาไม่อยู่   ต้องเล่นวงนอกกับมันก่อน  ภาษามวยเรียกว่าไม่เข้าคลุกวงใน เด้งเชือกต่อยเอา (=จิตตานุปัสสนา)   ตามหลักพุทธธรรมก็อย่างที่พระพุทธเจ้าบอกเมื่อสองพันกว่าปีว่า  อุปาทานขันธ์ห้า คือทุกข์  (เป็นทุกข์) 

284

ธัมมารมณ์, ธรรมารมณ์   อารมณ์คือธรรม,  สิ่งที่ถูกรับรู้ทางใจ,  สิ่งที่รู้ด้วยใจ,  สิ่งที่ใจรู้สึกนึกคิด

อารมณ์   เครื่องยึดหน่วงของจิต,  สิ่งที่จิตยึดหน่วง,  สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้  ได้แก่  อายตนะภายนอก  ๖  คือ  รูป   เสียง   กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์



Create Date : 27 เมษายน 2564
Last Update : 4 กรกฎาคม 2564 7:09:31 น.
Counter : 309 Pageviews.

0 comments
การเลือก ความมี ปัญญา Dh
(16 มี.ค. 2566 11:15:54 น.)
ต่อ สมาชิกหมายเลข 6393385
(16 มี.ค. 2566 21:47:47 น.)
คนดีกับคนเก่ง **mp5**
(14 มี.ค. 2566 09:45:51 น.)
ความดี นาฬิกาสีชมพู
(14 มี.ค. 2566 08:40:34 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด