แปะไว้ก่อน แปะไว้ก่อน ยังอ่านไม่จบ ยาวมากมาย ทำธุระก่อน แล้วค่อยมาอ่านใหม่ ถึงตรงนี้ล่ะ ![]() ![]() ฉันลงชื่อเข้าพบอาจารย์ช่วงประมาณเที่ยง เล่าอาการให้ฟังตั้งแต่คืนวันที่ 7 อาจารย์บอกว่า ฉันใช้ตาเคลื่อนไปเวลากำหนดจิต “เธอไม่ไปแค่จิต เธอใช้ลูกตาไปด้วย ตาดำเธอเคลื่อนไปทุกที่ ” เพื่อความแน่ใจฉันเลยถามเพิ่ม โดยแจ้งไปว่า หนูเคยลองจ้องไปที่ต้นไม้และกำหนดจิตไปที่ขาก็สัมผัสถึงขาได้ โดยตาก็ไม่เคลื่อนตามนะคะ ท่านว่า "ตอนเธอลืมตาเธอมีสติ แต่พอหลับตาเธอไม่รู้ตัว" และเนื่องจากอาการป่วยในแต่ละคืนไม่เหมือนกัน (มันเพิ่มระดับ) ฉันจึงอยากอธิบายอาการให้ชัดเจนขึ้น ถึงคืนวันที่ 9 ล่าสุด อาจารย์บอก “พอๆ จะยังไงก็เหมือนกัน คือเธอใช้ตา เธอต้องยอมรับ” ฉันยอมรับได้ มันไม่ใช่สิ่งน่าอาย ฉันแค่อยากอธิบายหากมันอันตรายฉันจะได้รับการรักษา แต่ท่านค่อนข้างไม่ชอบฟังแล้วค่ะ เริ่มแรกถูกตำหนิว่าไม่วางอุเบกขา ฉันจึงแจ้งไปว่า วางค่ำถึงเช้าก็ไม่หาย ท่านจึงเงียบไป ฉันแจ้งท่านว่า ตอนนี้หัวใจเต้นแรงมากจนมือสั่น คิดกำหนดหรือไม่คิด เช่น คิดถึงผ้าห่ม แล้วผ้าห่มมันวางที่เท้า คิดแค่นี้เท้าก็เต้นตุบๆ จนหัวใจเต้นรัวตาม https://pantip.com/topic/41864658 ถ้าใครไปสำนักที่ปฏิบัติประมาณนี้อีก ช่วยถามเจ้าสำนักว่า ที่ให้สาวกทำอย่างนั้นปฏิบัติอย่างนั้น เพื่อจุดประสงค์ใด (ใช่สำนักแถวๆพิษณุโลกหรือเปล่า ? ![]() ![]() ![]() ![]() 1-3 วันแรก คือการเอาสติจดจ่อ ดูลมที่เข้าออกช่องจมูก แค่ดูตามความเป็นจริง ไม่มีคำบริกรรมใดๆ หนึ่งวันนั่งนานครั้งละ 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง รวมทั้งวันคือนั่ง 11 ชั่วโมง ส่วนตัวฉันเองทำได้แค่ 9 ชั่วโมง นอกนั้นในชั่วโมงปฏิบัติในห้องพักก็มีแอบงีบบ้าง ฉันผ่านไปได้ด้วยดี มีสมาธิมาก ไม่ค่อยส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่งเรื่องราวตามความเคยชิน วันที่ 4 ช่วงบ่าย เริ่มต้นวิธีการสอนทำวิปัสสนา โดยให้เพ่งจิตดูเวทนาที่เกิดขึ้นตรงช่องเล็กๆบริเวณที่ลมหายใจ เข้า-ออก ให้สัมผัสว่าเห็นอะไรบ้าง เวทนาหยาบ-เวทนาละเอียด ฉันไม่เข้าใจจริงๆว่าต้องดู หรือเห็นอะไร ฉันเห็นแค่ลมหายใจตัวเอง ฉันคือผู้ปฏิบัติใหม่ไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่า สมาธิกับวิปัสสนาแตกต่างกันอย่างไร แต่ฉันก็ทำต่อไปเรื่อยๆ และวิธีการก็เพิ่มขึ้นคือ เคลื่อนย้ายสติให้เริ่มจับที่กลางหัว > เลื่อนต่อไปทั่วหนังหัว > หน้าผาก > คิ้ว >ตา > คอ > คอด้านหลัง > หลังส่วนบน-ล่าง > ทุกๆส่วนของร่างกายไล่จนถึงเท้า และไล่กลับขึ้นมาด้านบนใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ โดยนั่งสมาธิหลับตา จับความรู้สึกใดก็ตามให้ได้ เย็น ร้อน แสงสว่าง คัน อะไรก็แล้วแต่ (มิจฉาปฏิปทา = เหตุ ![]() ![]() ฉันสัมผัสได้แค่ว่าเวลาหลับตา จะเห็นแสงสว่างเหมือนส่องมาจากหน้าผากด้านซ้าย และที่จุดบนอื่นๆ แรกเริ่มมันไม่เคลื่อนไหว ต่อมามันอาบไปทั่วหน้าผาก ทั้งที่ทั้งห้องไม่ค่อยมีแสงยิ่งหลับตาทำสมาธินานยิ่งเห็นชัด มันคือการเห็นชัดเจนเกินจะบอกแค่ว่ารู้สึก ฉันเคยเอาผ้ามาผูกตาให้มืดที่สุดเมื่ออยู่ในห้องพัก แม้ช่องระหว่างจมูกที่แสงรอดเข้าได้ก็เอาผ้ามาปิดเพื่อทดสอบเรื่องนี้ และแสงนั้นก็ค่อยๆสว่างขึ้นเช่นเคยเมื่อหลับตาทำสมาธิ เรื่องแสงนี้แม้แต่ตอนนั่งสมาธิที่บ้านแบบกำหนดดูลมหายใจที่จมูกก็เคยเห็นแสงแต่มันจางๆบางๆ บางทีมีบางทีไม่มี ก็ไม่รู้จริงๆว่าคืออะไร แต่ครั้งนี้มันชัดมาก และเคลื่อนที่ตามการนึกคิดหรือจิตฉันได้คิดไปที่คิ้วมันก็ไปที่คิดแบบค่อยๆไหลแผ่ไป วันที่ 5-6 ก็ดำเนินต่อไปเช่นวันที่ 4 แต่ฉันเริ่มมีอาการเมื่อจะนอน หัวสัมผัสถึงหมอนฉันเริ่มมีความรู้สึกมึนหัวอย่างแรง เหมือนมีการหมุนวนๆบนหัวแม้หลับตาก็ยังรู้สึกมึนๆอยู่สักครู่ก่อนมันจะหายไป อ่อ น่าจะเพราะนั่งหลับตานาน เลือดไปเลี้ยงหัวไม่พอมั้ง ฉันให้คำตอบตัวเองแบบส่งๆไป ต่อวันที่ 7 ฉันไม่เคยรู้จักเวทนาละเอียดมาก่อน แค่รู้สึกว่าลมหายใจจะเบาลงเมื่อทำสมาธินานๆ อ.ท่านว่าลมหายใจก็ต้องละเอียดลงอยู่แล้ว เพราะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ฉันได้แต่แย้งในใจ ก็เสียงสอนในวีดีโอให้ให้สัมผัสอะไรก็ได้ แม้จะแค่ความธรรมดาที่ไม่พิเศษ สัมผัสไม่ได้ก็ไม่ต้องผิดหวัง ให้วางอุเบกขา รู้ว่าลมออกร้อนกว่าลมหายใจเข้า ก็นับว่าดีแล้ว แต่เมื่อรายงานผลปฏิบัติติแก่อาจารย์ก็ถูกตำหนิว่า นี้มันวันที่ 7 แล้วทำไมถึงไม่มีความรู้สึกอะไรสักที ฉันเคยรายงานอาจารย์เรื่องว่าเห็นแสงไปก่อนหน้านี้ ท่านก็บอกไม่ต้องสนใจ ให้เคลื่อนความสนใจไปที่ส่วนอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ ครั้งนี้ฉันเลยไม่ได้บอกท่านอีก. เป็นสำนักพิษณุโลกาจริงๆ ![]() ![]() คิดวางนั่นวางนี้ วางอุเบกขา มันวางไม่ง่ายดังปากพูดดอก ดูอุเบกขา ฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖ คือ ด้วยตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจรู้ธรรมารมณ์แล้ว ไม่ดี ไม่เสียใจ วางจิตอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ (ขุ.ม.29/413/289) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ ซึ่งมีอุเบกขาด้วยญาณ คือ ด้วยความรู้เท่าทันถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลาย อันทำให้ไม่ถูกความชอบ ความยินดี ยินร้าย ครอบงำ ในการรับรู้อารมณ์ทั้งหลาย ตลอดจนไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมทั้งปวง อุเบกขา 1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นว่าเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง 2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข) |
บทความทั้งหมด
|