คนไทย ทำอะไรก็สำเร็จ

------เคยอ่านพบนานแล้วว่า ในประเทศจีน มีแฟนเพลงของ บี้ เดอะสตาร์ เป็นเรือนพัน ทั้งๆที่ เขาร้องเพลงไทย นะครับ ไม่ได้ร้องเพลงจีน ส่วนแนวจีน ไชน่าดอลล์ ก็เคยไปร้องเพลงที่นั่น และมีแฟนเพลงเยอะทีเดียว
---ล่าสุด อั้น-อธิชาติ พระเอก ละครช่อง 3 ได้ไปเยือนจีน มีแฟนๆ จัดงานให้ และนำเพลงประกอบละครมาตัดต่อให้ ร่วมร้องเพลงกันด้วย
-----ไม่น่าเชื่อว่า ในประเทศจีน ยังมีชาวจีนที่นิยมเพลงไทยอยู่มากมาย และเวลาลาจะไปเที่ยว ก็ว่าฉันจะไปเที่ยวเมืองไทย ช่างน่าตื่นเต้น สุดยอด มีการแต่งเพลงเป็นภาษอังกฤษ จีน เรื่องเที่ยวไทยด้วย เคยเห็นในยูทิ้วบ์
---นิชคุณ ก็ไปดังที่เกาหลี และมีอื่นๆ อีกมาก โมเดิร์นด็อก หงาคาราวาน ก็ดังมากในญี่ปุ่น แม้จะเป็นกลุ่มไม่ใหญ่นักก็ตาม
--วงอินเตอร์ อย่างบอยไทย คนญี่ปุ่นก็ชอบมาก
--ล่าสุด ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ แม้มาจากตระกูลไฮโซ โดยมีเชื้อสายมาจากทางราชนิกูล แต่ก็สามรถมีผลงานติดอันดับโลกได้ เช่น มีบางเพลงที่ บียอนเซ่ ขอเอาไปร้อง โดยดัดแปลงไม่กี่คำ และล่าสุด ก็มีผลงานออกอัลบั้มที่อเมริกาแล้ว แม้ว่าผลงานเพลงในไทยไ ม่ดังสักเท่าไหร่ แต่ที่อเมริกา เขาเล่นเพลงได้หลากหลายแนว และมีกลิ่นไอตะวันออก คล้ายๆ เพลงลูกทุ่ง หรือเพื่อชีวิต ช้าๆ
----คนไทยที่เป็นผู้อำนวยเพลงระดับโลกก็มี ทั้งๆที่ยากมากที่จะไต่เต้าไปได้ เช่น คุณ บัณฑิต อี้งรังสี ซึ่งมีความเชื่อมั่นตัวเองสูง จนสามรถชนะใจแหม่มสาวมาเป็นคู่ครอง และเธอคนนี้ (แมรี่)ก็เป็นนักร้องเพลงคลาสสิกระดับโลกเช่นกัน(เคยมาอยู่ไทย 2 ปี ก่อนหน้า แบบมาสอนศาสนา พูดไทยได้ชัดเจน (มีลูกสาว สามคนแล้วครับ)----คติ ทำเรื่องเล็ก กับเรื่องใหญ่ เหนื่อยเท่ากัน ดังนั้นทำระดับโลกเลยดีกว่า เหนื่อยครั้งเดียว--ปัจจุบันเขาก็มีรายได้ดีมากจากงานวาทยากร

----ที่มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ มีคลาสนึง อจ.มักจะทดสอบผู้เชียน เช่น ลากเส่นหกเส้นติดต่อกันให้เปฌนตาราโดยไม่ต้องยกปากกาเลย ทั้งชั้น 50กว่าคน จะทำได้เพียงสองสามคน อจ.จะถามเลยว่า "คุณเป็นคนไทยใช่มั้ย"

-----อาจจะจำได้ เด็ก อายุ 8 ขวบ แม่เป็นพยาบาล ชอบไปซื้อชุดอิเลคทรอนิกส์มาบัดกรี ทำวงจรต่างๆ จน อจ.มหาวิทยาลัยมาดู บอกว่า ความรู้เขาเท่ามหาวิทยาลัย ปี 2 เพราะวิเคราะห์แก้ไขวงจรไฟฟ้าได้ ให้ไปเรียนกับเด็กมหาลัย พอดีว่าความรู้ด้ามคอมพิวเตอร์เขาน้อย จึงให้ไปเรียน แกก็ไปทำเวปไซท์ และดังติดตลาด ก็มีรายได้จากแบนเนอร์ รวยไปเลย
เด็กบางคนอายุ 12 สอบติดแพทย์ หรือวิศว ออกมาเป็นผู้ออกแบบวงจรไอซีก็มีครับ
----ที่บราซิล รู้สึกว่าจะมีโรงเรียนฝึกเด็กพิเศษ มีตาทิพย์ หูทิย์อะไรแบบนี้ (ไม่ได้แหกตา) คือเด็กต้องมีลักษณะพิเสษอยู่แล้ว สมองส่วนกลางมองไม่เห็นอะไรได้หรอกครับ ต่มไพเนียล หรืออีกต่อม พิจูอิทารี่ น่ะแหละที่เขาฝึกให้เป็นตาที่สาม(ตาทิพย์)น่ะครับ แต่ การฝึกทำได้ยากมาก และ มีการเปิดจักรา เปิดพลังกุณฑาลิณี ไม่ใช่ของเล่นนะครับ พลังนี้อาจทำให้เป็นบ้าอย่างต่ำๆ เป็น10 ปี หรือตายก็ได้ ถึงจะบ้าบอ ก็มีพลังอยู่ เช่นทายใจคนได้ บังคับลมฟ้าอากาศได้ก็มี เคยได้ยินว่ามีคนไปฝึกที่อินเดีย จะเหาะก็ต้องตั้งใจจนเหาะได้จริงๆ ไม่งั้น อาจารย์จะช่วยถีบส่งลงหน้าผา จนกระดูกกองเป็นภูเขาเลย บางท่านก็เล่าว่าเขาลองวิชาโดยเผากำมะถัน มันเป็นควันแล้วลอยลงไปที่สองแม่ลูก เธอก็ล้มลง ไปดูปรากฏว่า เลือดทะลักออกจมูกกับปาก ตายทั้งแม่ทั้งลูก ท่านนั้นจึงตั้งใจเรียนไสยศาสตร์ขาว คือวิชาแก้ไสยศาสตร์ดำเหล่านี้--ไปๆมาๆ กลายเป้นเล่าเรื่องลึกลับอีกแล้วิ หลายๆเรื่องมาจาก หนังสือ แว่นส่องจักรวาล โดยท่านผู้เขียนนี้ เป็นลูกศิษย์ของโยคีที่ว่าคนนี้หละครับ นอกจากนี้ มีนสพ.ลงว่า มีชายคนหนึ่งที่แถวบราซิล นอนหลับใต้ต้นไม้ ตื่นมาพบกระดาษมีวาดรูปจานบิน กับตัวหนังสือ คล้ายภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่มีใครอ่านได้ เมื่อท่านเอาไปให้ อจ๗.ดู อจ.บอกว่า นี่เป็นภาษาของเทพ คือถาษากูโบ๊ส หรือ เทวนาครี แปลไว่"เราคือมุษย์ผู้เลิศด้วยปัญญา มาจากดินอดนอันไกลโพ้น ผู้ใดเก้บหนังสือนี้ไว้ จะพบแต่ความสุขความเจริญ"
---------------------------------------------------------------------++
ทฤษฏี ณ พัทลุง วาทยากรวัยเพียงแค่ 24 ปี แต่ได้ไปอำนวยเพลงในวงออเคสต้าใหญ่ๆ มามากมาย
ประเทศไทยมีวาทยากรอายุน้อย ที่เป็นที่รู้จักในระดับโลก ที่มีชื่อว่า "ทฤษฏี ณ พัทลุง" ปัจจุบันเขามีอายุเพียงค่ 24 ปี แต่ได้ไปอำนวยเพลงในวงออเคสต้าใหญ่ๆ มามากมาย และยังนับเป็นคนไทยคนแรกที่บรรเลงผลงานของ "บาค" ได้ครบถ้วน สื่อดนตรีคลาสสิกในต่างประเทศหลายฉบับก็ออกปากชื่นชมเขาในฐานะ Genius แห่งวงการ

เรื่องราวของแขกรับเชิญวันนี้ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม คุณพ่อของแขกรับเชิญของเราเป็นผู้ที่ทำให้ ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปในทิศทางที่ไม่น่าเป็นไปได้ทิศทางที่ทำให้กลายเป็นคนไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก...การตัดสินใจให้ลูกคนหนึ่งออกจากโรงเรียนและไปทำในสิ่งที่รักอย่างทุ่มเท...ในฐานะพ่อคนหนึ่ง...เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่

Produced by VoiceTV
-------------------------------------------------------------------------


บัณฑิต อึ้งรังษี" วาทยากรไทยบนเวทีโลกความพยายามเอาชนะเพื่อจะทำให้ชื่อเสียงประเทศไทย ไม่น่าจำกัดอยู่เพียงแค่วงการกีฬาเท่านั้นเพราะเมื่อมองไปที่วงการดนตรีคลาสสิกก็พบว่ายังมีชายหนุ่มคนหนึ่งได้นำชื่อเสียงมาสู่บ้านเกิดเมืองนอนด้วยการทำในสิ่งที่ตนรักอย่างมุ่งมั่นอยู่ทุกวินาที



ต้น" บัณฑิต อึ้งรังษี หนุ่มวัย 34 ปีเขาคือวาทยากรผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ซึ่งสื่อต่างประเทศอย่างหนังสือพิมพ์ เดอะ ลอส แอนเจลิส ไทม์
ได้ตีพิมพ์บทความกล่าวถึงเขาว่า
"เขาบัญชาการด้วยความสุขุมและมั่นใจ...และแสดงออกอย่างหน้าตื่นตาตื่นใจ
บนโพเดียม...การอ่านตัวโน้ตเป็นไปอย่างไม่รีบเร่งแต่ชัดเจน
แนวทางการแสดงเป็นไปโดยความแม่นยำและละเอียดทุกตัวโน้ต
แม้กระทั่งพลังที่นุ่มนวลแผ่วเบา"


ด้านหนังสือพิมพ์ เดอะ ชาร์ลสตัน โพสต์ แอนด์ คูเรีย กล่าวถึงวาทยากรชาวไทยคนนี้ว่า
"แสดงให้เห็นถึงสัมผัสที่นุ่มนวล...เป็นผู้นำการแสดงที่ยอดเยี่ยม
โครงสร้างของการขับเดลื่อนจังหวะการควบคุมพลังและความแม่นยำเป็นเลิศ...
นำการแสดงอย่างตื่นเต้นเร้าใจจนทำให้ผู้ชมแทบลืมหายใจ...การอ่านโน้ตตั้งแต่ต้นจนจบ
เต็มไปด้วยสัมผัสอันเงียบสงบที่สามารถรับรู้ได้ถึงรายละเอียดทั้งหมด"
ปกติบัณฑิตมีโอกาศกลับเมืองไทยเพียงปีละครั้ง เพราะงานของเขาอยู่ที่นิวยอร์กและ
ในยุโรป ต้องรอช่วงซัมเมอร์จึงจะได้กลับมาเยี่ยมบ้านกันสักที
แต่ปีนี้นับว่าเป็นปีที่พิเศษสุดๆเพราะเขาได้กลับมาเมืองไทยถึงสองครั้งสองครา
โดยครั้งแรกเดือน ส.ค.
บัณฑิตได้รับเชิญจากรัฐบาลไทยให้มาเป็นผู้อำนวยเพลง
ในคอนเสิร์ตการกุศลเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
และในเดือน ต.ค.เข้าได้กลับบ้านอีกเป็นครั้งที่สอง
โดยในค่ำคืนวันที่ 3 ต.ค. นี้ บัณฑิตจะเป็นผู้อำนวยเพลงในคอนเสิร์ต
"เดอะ พาวเวอร์ ออฟ คลาสสิก" โดยบรรเลงร่วมกับวงดนตรีระดับโลกจากประเทศอิตาลี
ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติอีกครั้งหนึ่ง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
"อาชีพผมต้องบินไปมาระหว่างอเมริกากับยุโรป แต่โดยส่วนใหญ่ผมจะอยู่อเมริกา
เพราะต้องทำงานให้กับวงนิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิค ออเคสตร้า
ซึ่งผมมีสัญญากับวงโดยจะได้รับเชิญไปเล่นปีละ 4-5 ครั้ง
จะต้องเดินทางอย่างต่ำสามเดือนสี่ทวีป...เกือบทั่วโลกแล้วครับ
แต่ปีนี้ก็ขอยึดเอาเมืองไทยเป็นหลัก"
วาทยากรผู้มีชื่อเสียงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยรอยยิ้ม
บัณฑิต อึ้งรังษี คือคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกเข้าเป็นวาทยากรร่วม
ในวงออเคสตร้าระดับโลก "นิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิค ออเคสตร้า"
(New York Philharmonic Ocrestra)
โดยเขาจะได้ไปร่วมแสดงทั้งในประเทศอิตาลี เกาหลี และในกรุงเทพฯ
สำหรับการแสดงในปี 2545-2547 จากการที่เขาได้รับการเสนอชื่อ
ให้รับรางวัลเกียรติยศและเป็นผู้ชนะร่วมกับวาทยากรสาวจากจีน
ในการแข่งขันวาทยากรระดับโลก (Maazel-vilar International
Conducter's Compettition)ซึ่งจัดขึ้นที่คาร์เนกีฮอลล์(Carnegie Hall)
ในนครนิวยอร์ก การแข่งขัน The Maazel-Vilarนี้ถือเป็น
โอลิมปิกของวงการดนตรีเลยทีเดียวรางวัลดังที่รู้จักในฐานะวาทยากรหนุ่ม
ระดับแนวหน้าของโลก
บัณฑิตเป็นชาวอำเภอหาดใหญ่ แววความสามารถทางดนตรีเริ่มฉายตอนอายุ 13 ปี
จากการเรียนกีตาร์คลาสสิก แล้วโลกของบัณฑิตก็ได้เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อเขาชมการแสดงคอนเสิร์ตของวง New York Philharmonic Ocrestra
ซึ่งมาเปิดการแสดงที่กรุงเทพฯเมื่อสิบสามปีที่แล้ว
ตั้งแต่นั้นมาเขาก็มีความใฝ่ฝันอยากเป็น "วาทยากรที่มีชื่อเสียงของโลก"ให้ได้"
วงดนตรีวงนี้มีชื่อเสียงก้องโลกแล้วมีวาทยากรฝีมือฉกาจระดับ 1 ใน 3 ของโลก
ชาวอินเดียชื่อ สุบิน เมห์ธา ทำหน้าที่อำนวยเพลง
สิ่งที่ได้ฟังได้เห็นก็เหมือนมาจุดประกายความฝันของเราได้ทันที
"ผมอยากทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติแบบชาวอินเดียคนนั้นบ้าง
ความฝันนี้น่าจะเป็นไปได้เพราะอินเดียก็ไม่ต่างจากเรา
ทางด้านพื้นฐานเพลงคลาสสิกซึ่งก็ไม่ดีนัก แล้วสุบินก็เกิดเติบโตมาในประเทศอินเดีย
ไม่ใช่คนที่ไปเรียนไปโตในเมืองนอก
การที่เขาก้าวขึ้นมาในระดับนี้ได้จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก แล้วผมก็ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า
ถ้าจะเป็นวาทยากร จะไม่ทำอาชีพนี้แค่อำนวยเพลงได้ แต่ผมจะก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งให้ได้"
คำกล่าวมุ่งมั่นของคนพูดทำเอาคนฟังอึ้งเลยทีเดียว
ความฝันของบัณฑิตจึงเริ่มจากจุดนี้ ตอนนั้นเขาอายุ 18 ปี
ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปี 2 ซึ่งแน่นอนว่าครอบครัวของเขาซึ่งประกอบ
อาชีพนักธุรกิจจะต้องทัดทานอย่างแน่นอน กับอาชีพคอนดักเตอร์หรือวาทยากร
ซึ่งคนไทยไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย
"ผมจึงต้องโน้มน้าวคุณพ่อคุณแม่ด้วยวิธีสารพัดเพื่อให้ท่ายยอม
โดยการขอไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อที่บ้านมีธุรกิจส่วนตัวเรา
จึงเลือกเรียนสาขาบริหารธุรกิจ ส่วนอีกด้านก็คือ สาขาดนตรี"
บัณฑิตบอกว่าเป็นหนึ่งช่วงชีวิตที่เหนื่อยและหนักหน่วงมากๆ
จากชีวิตที่เป็นคนสบายๆ ไม่ค่อยจะมีระเบียบแบบแผนอะไรมากมายนัก
ต้องเปลี่ยนตัวเองให้มีระเบียบวินัยสูง จัดตารางชีวิตของตัวเองให้ได้
แล้วจิตใจยังต้องขวนขวายอย่างสูงด้วยคาถาที่ใช้ได้เสมอ เขาบอกว่า ก็คือ
"ต้องทำงานให้มากกว่าคนอื่น" แล้วความมุ่งมั่นของเขาก็ได้พิสูจน์ด้วยการคว้า
ปริญญาตรีมาได้พร้อมกันทั้ง 2 ใบ จากมหาวิทยาลัยวอลลองกอง (Wollongong)
ประเทศออสเตรเลียจากนั้นได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาวาทยากร
จากมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน สหรัฐอเมริกา
จากนั้นการตระเวณเก็บสะสมรางวัลจึงเริ่มต้นขึ้น
ในเดือน ก.ย. 2542 บัณฑิตชนะการแข่งขัน"วาทยากรรุ่นเยาว์ระดับนานาชาติ"
ซึ่งจัดประจำทุกปี ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ต่อมาในปี 2545
เขาได้อันดับสี่จากผู้เข้าแข่งขัน 37 คน จาก 20 ประเทศ
ในการแข่งขัน The Hungarian TV-Radio International Conducter
Competition ณ กรุงบูดาเปสต์ และชัยชนะจากการแข่งขัน Maazel-vilar
เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นการยืนยันได้ว่า เขาคือวาทยากรหนุ่มที่ฝีมือยอดเยี่ยมระดับในโลก
ดังกล่าว"ในยุโรปมึเวทีการแข่งขันวาทยากรที่ไหน เวทีนั้นจะต้องมีชื่อผม
แน่นอนครับว่าเราเป็นคนไทยเพียงคนเดียว แต่ผมรู้ว่าตัวเองต้องทำได้
เชื่อมั่นว่าต้องได้รางวัล การเล่นดนตรีเป็นอาชีพที่เครียดมากนะ
เพราะจะต้องซ้อมทุกวัน แล้ววาทยากรต้องนำนักดนตรีเป็นร้อยคน
พอเริ่มซ้อมเราก็จะได้ยินเสียงนาฬิกาเริ่มเดินดังติ๊กๆๆ แล้ว
เพราะนักดนตรีอาชีพแต่ละคนค่าตัวจะสูงมาก(บอกพร้อมเสียงหัวเราะ)
คนเป็นวาทยากรจึงมีหลายเรื่องให้คิด นอกจากจะต้องควบคุมวงแล้ว ต้องจัดเวลาให้เป็น
เมื่ออยู่หน้าเวทีจึงต้องใช้ทั้งพลังและสมาธิสูงมาก" บัณฑิตบอกเล่า
ทางด้านอาชีพวาทยากร เขาได้ร่วมเป็นวาทยากรร่วมกับ Charleston Symphony
Ocrestra ในเดือน ก.ย. 2543 ตำแหน่งก่อนหน้านี้ได้แก่ วาทยากรร่วมกับ Utah
Symphony ตำแหน่งผู้อำนวยเพลงการเพลงและวาทยากรของ Young Musician
Foundation (YMF) Ocretraในนครลอสแองเจลิส
วาทยากรฝึกหัดที่ The Oregon Symphony ภายใต้การควบคุมวงของ
James DePriestและวาทยากรผู้ช่วยที่ Santa Rosa Symphony
บัณฑิตถือว่าเป็นแรงบันดาลใจคือกลุ่มบรรดาครูผู้ฝึกสอนซึ่งได้แก่ศิลปินในระดับโลก
เช่นJorma Paluna และ Maestro Lorin Maazel
และเขาได้รับปริญญาโทสาขาวิชาวาทยากรจาก University of Michigan
ภายใต้การฝึกสอนของ Gustav Meier และ Kenneth Kiesler
ในส่วนของศิลปินระดับโลกที่บัณฑิตเคยร่วมงาน อาทิ The LaBeque Sister, Paula
Robinson, Christopher Parkening, Bernstein
รวมถึงเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Los Angeles Philharmonic Ocretra
ประสบการณ์มาพร้อมกับรายได้ที่งดงาม
บัณฑิตพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า สำหรับวาทยากรไทยรุ่นต่อไปที่อยากจะก้าวขึ้น สู่ระดับโลก
เขาก็ขอฝากไว้ว่า ถ้าใครคิดจะก้าวมาถึงจุดนี้ได้
ข้อแรกจะต้องมีพื้นฐานเป็นนักดนตรีที่ดี
มีพรสวรรค์เล่นดนตรีเก่ง แล้วจะต้องมี "หู"ที่ดี "มีรสนิยม"ที่ดี
จึงต้องผ่านประสบการณ์การฟังมามากพอสมควรจนสามารถแยกแยะได้ว่า
เพลงที่ฟังมีความไพเราะหรือไม่
ข้อสองศิลปะในการใช้ไม้นำคนเกือบร้อยคนนั้นลึกซึ้งมาก
วาทยากรจึงจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงทำให้คนเชื่อถือได้
เพียงถ้าวาทยากรไม่มีความเชื่อมั่นครั้งเดียวเมื่อขึ้นไปยืนหน้าเวที
ก็จะสูญเสียอำนาจการควบคุมวงไปเลย!!
การก้าวสู่อันดับโลกไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคนไทยตัวเล็กๆ ดั่งเช่น บัณฑิต อึ้งรังษี

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บัณฑิต อึ้งรังษี การเดินทางของวาทยกร

สุกรี แมนชัยนิมิต
Positioning Magazine( กรกฎาคม 2549)

หลังจากที่ต้องฝ่าการจราจรของกรุงเทพฯ และอาการลุ้นเพื่อหาสถานที่ตามที่นัดหมายในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ กลับสดชื่นขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อได้สัมผัสแรกหลังเปิดประตูเข้าสู่ห้องชุดคอนโดมิเนียมหรู คือโสตประสาทที่ขานรับกับเสียงบรรเลงเพลงคลาสสิก ที่อบอวลไปทั่วทุกตารางเมตร

“บันฑิต อึ้งรังษี” วาทยากรคนไทย แต่มีชื่อเสียงระดับโลก ยังต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น ด้วยภาพวิวสูงจากห้องชุดที่มองเห็นโค้งเว้าของแม่น้ำเจ้าพระยาแบบพาโนรามา และที่สำคัญคือ ”นาริศา” และ “แมรี่ เจน อึ้งรังษี” บุตรสาววัย 2 ขวบ กับภรรยาสาวสวยที่กำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ที่ให้ชีวิตชีวากับที่แห่งนี้ยิ่งนัก

การสนทนาที่ไม่อาจยืดเยื้อได้มากนัก เพราะ ”บัณฑิต” ยังมีนัดกับสื่ออีกแห่งหนึ่งเพื่อสัมภาษณ์และถ่ายภาพ อันเป็นกิจกรรมที่เขาทำประจำเมื่อมีโอกาสกลับมาอยู่เมืองไทยช่วงยาว และยิ่งในจังหวะชีวิตนี้ของเขา ที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสุรา ”แสงโสม” ด้วยหนังโฆษณาที่ปรากฏผ่านสื่อโทรทัศน์เข้าถึงเกือบทุกบ้าน ด้วยเรื่องราวสะท้อนความสำเร็จของเขาในระดับสากล จึงทำให้คนไทยอยากรู้จักเขามากขึ้น

จากภาพผ่านจอทีวีดูเหมือนว่าเขาจะเคร่งเครียด แต่ตรงกันข้าม คือรอยยิ้มที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลาระหว่างการพูดุคย แบบสไตล์ที่บางคนบอกไว้ว่า “คนชอบดนตรี มักจะใจดีเสมอ” แต่ที่ทำให้ถึงกับอึ้งตั้งแต่เริ่มต้นบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ คือความตั้งใจ และความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง ที่สามารถทำให้คนคนหนึ่งประสบความสำเร็จในระดับโลก อย่างที่น้อยคนนักจะทำได้

แรงขับ ”ทะเยอทะยาน”

“ผมขีดเส้นตายไว้ว่า อายุ 35 ผมยังไปถึงระดับนานาชาติ หรือระดับโลกไม่ได้ ผมก็เลิกเลย ผมไม่ยอมเป็นแค่ Conductor ที่ทำงานในประเทศเดียว และไม่ค่อยมีคนรู้จักในโลก”

“ตั้งแต่ตอนนั้น ก็พยายามให้ตัวเองเป็น The Best เพราะฉะนั้นเราต้องชนะตัวเองเท่านั้น ไม่สนใจคนอื่นว่าจะเก่งแค่ไหน อยากจะชนะตัวเอง อยากจะเป็น Master หมายความว่าในศิลป์และศาสตร์ของการ Conduct ผมอยากเป็นที่ 1 อยากจะให้เก่งที่สุด อยากจะเป็นปรมาจารย์ทางด้านนี้ พูดถึงเรื่องนี้แล้วเรารู้จริง”

ชัดเจนในการกำกับการวางเส้นทางอนาคตของตัวเอง ในแบบที่เรียกว่าต้องมีความทะเยอทะยานเท่านั้นจึงจะไปถึง

“เป็นความทะเยอทะยาน ใช่ และอยากทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติด้วย” บัณฑิตย้ำ

แรงขับจากความทะเยอทะยานทำให้ ”บัณฑิต” สามารถฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่าง ก่อนถึงเวลาที่ขีดเส้นตายไว้ โดยเฉพาะการได้รับรางวัลชนะเลิศ จากเวทีสุดยอดของการแข่งขันวาทยากรระดับโลก เมื่อปี 2546 เวทีคาร์เนกี ฮอลล์ (Carnegie Hall) มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขัน Maazel-Vilar International Conducting Competition ที่มีวาทยากรระดับฝีมือของโลกร่วมแข่งขัน 362 คน จากก่อนหน้านี้เขาได้รางวัลชนะเลิศมาแล้วหลายรางวัล และเป็นวิทยากรกำกับวงออเคสตร้าตั้งแต่อเมริกา ยุโรป และเอเชีย

แต่ใช่ว่าความสำเร็จจะได้มาอย่างง่ายดาย เพราะเมื่อ ”บัณฑิต” กำหนดอนาคตแล้ว ก็ต้องวางแผนให้ไปถึง ท่ามกลางอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะจุดอ่อนของตัวเอง ขณะที่วาทยากรคนอื่นๆ ในโลก ก็มีจุดแข็งมากมาย

“ผมต้องต่อสู้หลายด้าน อย่างแรกผมต้องเก่งกว่าเขา และมันมีเรื่องให้ต้องตามเขาอีกเยอะ เพราะคนอื่นเขามาจากประเทศที่เพลงคลาสสิกเป็นวัฒนธรรมของเขาอยู่แล้ว ดนตรีคลาสสิกเป็นวัฒนธรรมของคนยุโรป ของคนต่างประเทศ ผมไม่ได้โตมาจากที่นั่น เราต้องตามเขา เราต้องไปตีตื้น สิ่งที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน ต้องเรียนรู้เต็มที่ และยังต้องแซงเขาอีก

ในสาขาอาชีพผม เขามีอคติกับคนเอเชีย โดยเฉพาะประเทศเอเชียที่เล็กๆ เขาเห็นเอเชียเขาดูถูกไว้ก่อนอยู่แล้ว ผมต้อง Fight ในจุดนี้นอกจาก Fight เรื่องความสามารถของตัวเอง ก็ต้อง Fight กับอคติจากคนอื่น ปัญหาเชื้อชาติ ปัญหาสีผิว ยังมีอยู่ มีบางวงไม่จ้างผม เพราะผมสีผิวต่างกับเขา ผมหัวดำ ไม่ใช่เรื่องเก่งสู้ไม่ได้ ผมก็เพิ่งมาเรียนรู้ตอนหลัง”

เพราะฉะนั้น ”บัณฑิต” ต้องซ้อมและต้องซ้อมอย่างหนักกว่าคนอื่นๆ หลายเท่า เพราะขณะที่เขาศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย ด้วยทุนจากทางบ้าน ทำให้เขาต้องเรียนเพื่อรับดีกรี 2 ใบ คือบริหารธุรกิจ เพื่อที่บ้าน และอีก 1 ใบการดนตรี เพื่อตัวของเขาเอง ด้วยฐานที่ปูพื้นมาแล้วบ้างจากเริ่มแรกที่เห็น Conductor คือผู้ที่แกว่งไม้ ”โบตอง” ไปมา หน้าวงดนตรีขนาดใหญ่ และไม่เข้าใจว่าเขาแกว่งไม้ทำไม

การปูพื้นฐานของเขาคือ การอ่านหนังสือทุกเล่มที่จะหาได้ ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และศาสตร์ของการเป็นวาทยากร เพื่อให้รู้ทุกอย่าง รู้การทำวงดนตรี

“ผมยืนยันต้องชนะตัวเอง ต้องมีความสามารถเหนือเขาให้ได้ เพราะฉะนั้นผมจะตั้งเวลาซ้อมไว้เลย วันหนึ่งผมจะต้องทำงาน คือเรียน และซ้อม 14 ชั่วโมงต่อวัน 6 วันครึ่งต่ออาทิตย์“

อุปสรรคเหล่านี้คือสิ่งที่ ”บัณฑิต” เพิ่งมารู้จักในภายหลัง แต่ก็ไม่มีสักนาทีเดียวที่ทำให้เขาท้อ เพราะแรงบันดาลใจอันแรงกล้า ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เขาอายุ 18 ปี ยังคงตรึงอยู่ในใจ

แรงบันดาลใจ

“อายุ 13 ปีผมเรียนกีตาร์คลาสสิก พออายุ 18 ผมได้ดูคอนเสิร์ตของวง New York Phiharmonic Orchestra เป็นคอนเสิร์ตระดับโลก เป็นวง Orchestra ประจำอยู่ในมหานครนิวยอร์ก เป็นวง 1 ใน Top Five ของโลก

ตอนนั้นมีวาทยากรของเขา ชื่อ สุบิน เมห์ธา เป็นชาวอินเดีย ผมประทับใจในลีลา และประทับใจในตัวของเขามาก เห็นว่านี่แหละผมอยากเป็นแบบนั้น แต่ความจริงผมเล่นกีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ ม.3 ผมก็เลยชอบ คุณครูก็โยนเพลงคลาสสิกมาให้อยู่เรื่อย

แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ สุบิน เมห์ธา เขามาจากประเทศที่ไม่ก้าวหน้ามาก ที่ไม่ใช่มหาอำนาจ แต่สามารถดันตัวเองขึ้นไปเป็นกำกับวงสำคัญที่สุดของโลกได้ เราก็มาจากประเทศเล็กเหมือนกัน แสดงว่าเรามีสิทธิ มีทางเป็นไปได้ จริงๆ ไม่ได้คิดเรื่องรายได้อย่างเดียว จริงๆ คิดว่าผมอยากเป็น อยากจะทำชื่อเสียงให้ประเทศสักอย่าง เพราะตัวเองไม่มีความสามารถด้านอื่น มีอะไรสักอย่างหนึ่ง อยากเป็นของโลกให้ได้”

ในช่วงนั้น ”บัณฑิต” มีความคิดแวบเข้ามาบ้างว่าอยากเป็นนักดนตรีอาชีพ แต่เหตุผลที่จะเป็นอะไรสักอย่างในชีวิตของมนุษย์เรา คงไม่เพียงพอเฉพาะตรงที่ความชอบเท่านั้น

“ผมชอบศึกษามากกว่าการซ้อม ผมชอบศึกษาบทเพลงของคีตกวีแต่ละคน ผมชอบเปิดอ่าน ดู Score (Musical Score : โน้ตเพลง) เพลงของ Orchestra ทุกเครื่องดนตรี Conductor คล้ายผู้กำกับหนัง ที่จะเห็นภาพรวมนักดนตรีเหมือนนักแสดง แต่ละคนรู้แต่บทของตัวเอง รู้ว่าตัวเองพูดอะไร แต่ผู้กำกับต้องมองภาพรวมหมดว่าแต่ละคนต้องประสานกันยังไง ตรงไหนดัง ตรงไหนค่อย ช่วงไหน ไปพร้อมๆ กันยังไง

ก็คิดว่าอยากเป็นนักดนตรีอาชีพ แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าเล่นกีตาร์แล้วจะไปทำมาหากินอะไร มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ พอดูคอนเสิร์ตนั้นแล้วก็เห็น Conductor ก็เลยคิดว่า Conductor นี่แหล่ะ ถ้าได้เป็นระดับโลก รายได้เป็นกอบเป็นกำแน่นอน”

แม้ว่าความจริงแล้วธุรกิจของครอบครัวก็สามารถสร้างรายได้ให้เขาเป็นกอบเป็นกำได้ แต่เหตุผลของ ”บัณฑิต” คือว่า ”ไม่มีอะไรทำให้ตื่นเต้น ไม่มีอะไรที่ Make difference in the world ได้เท่ากับทำอะไรที่แตกต่าง”

Wall Paper ถึง ”ฝัน”

สำหรับคุณสมบัติที่ ”บัณฑิต” บอกว่าค้นพบว่าตัวเขาไม่มีและไม่น่าจะเหมาะกับการเป็น Conductor คือ เป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก และไม่มั่นใจว่าจะพัฒนาได้ แต่ว่าเพราะเขาไม่พอใจกับตัวเอง

“ผมขี้อายมาตั้งแต่เด็ก ไม่มีความเป็นผู้นำ เป็นคนที่อยู่หลังแถวเสมอ ไม่ได้ออกหน้าออกตาทำอะไร เป็นคนที่แบบว่า เป็น Wall Paper อยู่ติดกับฝาผนัง ไม่ค่อยมีบทบาทในหมู่เพื่อน ไม่ค่อยมีคนรู้จัก”

แต่วันนี้เขามาอยู่ในระดับแถวหน้า ท่ามกลางนักดนตรีนับร้อยคน และคนดูอีกนับพันคน และแม้จะได้รับรางวัลมาแล้วหลายปี แต่ ”บัณฑิต” ยังคงรักษาความเป็นสุดยอดของ Conductor ที่เขาบอกว่า ”ต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่เสมอ หมายความว่าไม่ใช่ชนะการแข่งขันแล้ว คิดว่าเราเก่ง ที่ไหนที่เขาเชิญเราไป ก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง เราต้องทำผลงานให้ดีที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นจะเสียชื่อ ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น

“คาร์เนกี ฮอลล์ คือเวทีใหญ่ที่สุด เป็นจุดสูงสุดของนักดนตรี ถ้าได้ไปคาร์เนกี ฮอลล์ คือคุณไปถึงฝันแล้ว ตอนนั้นที่ได้รางวัล ก็คิดว่าความฝันเป็นจริงแล้ว ถ้าทำได้แค่นี้ แล้วผมไปต่อไม่ได้เลย ผมจบตรงนี้ ผมก็โอเค ชีวิตนี้ไม่เสียชาติเกิด”

แต่ความ ”ฝัน” คือสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตของคนเราเสมอ

“ผมอยากอยู่ยุโรปสักเมืองหนึ่ง ไม่โรมก็ปารีส และก็มีวง Orchestra ของตัวเองสักวงหนึ่งในยุโรปกลาง ที่อิตาลี หรือฝรั่งเศส หรือเยอรมนี 3 ประเทศนี้”

Orchestra ในใจของ ”บัณฑิต อึ้งรังษี” กำลังเริ่มบรรเลงอีกครั้ง


Profile

Name : บัณฑิต อึ้งรังษี (ต้น)
Age : 35 ปี
Education :
- มัธยมต้น : โรงเรียนอัสสัมชัญ
- มัธยมปลาย : อัสสัมชัญพาณิชย์
- ปริญญาตรี : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- ปริญญาตรี : มหาวิทยาลัยวอลลองกอง ออสเตรเลีย 2 สาขา คือสาขาบริหารธุรกิจ และสาขาการดนตรี
- ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา วิชาการอำนวยเพลง (สาขาวาทยากร)
- อื่นๆ : ศึกษาเติมจากอิตาลี ออสเตรีย รัสเซีย เยอรมนี และฟินแลนด์
Hornors :
- ปี 2542 ชนะการแข่งขัน ”วาทยากรรุ่นเยาว์ ระดับนานาชาติ กรุงลิสบอน โปรตุเกส
- ปี 2545 อันดับ 4 จากเวที The Hungarian TV-Radio International Conductor Competition กรุงบูดาเปสต์
- ปี 2546 ชนะเลิศ จากเวที Carnegie Hall มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขัน Maazel-Vilar International Conducting Competition
Status : สมรส -ภรรยา แมรี่ เจน อึ้งรังษี (นักร้องโซปราโน) -บุตรสาว 2 ขวบ “นาริศา อึ้งรังษี”

-----------------------------------------------------------------------



คนไทยเจ๋งชนะเลิศแต่งเพลงคลาสสิคระดับโลก

คนไทยคนแรก

คนไทยเจ๋งคว้ารางวัลประกวดการแต่งเพลงคลาสสิคระดับโลก ANNAPOLIS CHARTER 300 YOUNG COMPOSER′S COMPETITION โดยนาย R. Lee Streby ประธาน Annapolis Symphony Orchestra(ASO) สหรัฐอเมริกา ได้แถลงว่า นายณรงค์ ปรางค์เจริญ อายุ 33 ปี คนไทยคนแรกเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนี้ จากการตัดสินโดยคณะกรรมการนานาชาติผู้ทรงคุณวุฒิถึง 5 คน อีกทั้งเป็นผู้ชนะเลิศคะแนนเสียงยอดนิยมสูงสุดจากผู้ชมและจากนักดนตรีทั้งหมดของวง Annapolis Symphony Orchestra
สำหรับเพลงที่ทำให้ณรงค์คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกมาได้นี้ มีชื่อว่า “ไตรศตวรรษ” ใช้เวลากว่า 6 เดือนในการประพันธ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความตั้งใจที่จะแต่งบทเพลงนี้ให้เป็นของขวัญจากประเทศไทยให้กับเมือง Annapolis สหรัฐอเมริกา เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 300 ปีของเมือง Annapolis ทั้งนี้นายณรงค์จะได้รับรางวัลเป็น นักประพันธ์เพลงประจำปี 2008 ในการนำบทเพลงชนะเลิศบันทึกเสียงลงอัลบั้ม Charter 300 Commemorative Recording ควบคู่กับเพลงคลาสสิคระดับโลกที่เป็นอมตะตลอดกาลของ Arcangelo Corelli ปี 1708 Ludwig van Beethoven ปี 1808 Joseph-Maurice Ravel ปี 1908 และ ณรงค์ ปรางค์เจริญ สำหรับปี 2008 นอกจากจะได้รับเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเดินทางไปรับรางวัลที่เมือง อันนาโปลิส มลรัฐแมรี่แลนด์ ในวันที่ 7 พ.ย. นี้

ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
--------------------------------------------------------------


Create Date : 12 มกราคม 2554
Last Update : 12 มกราคม 2554 23:48:43 น. 1 comments
Counter : 1786 Pageviews.

 
ก็คนไทยเก่งไงคะ
ดาราไทยไปโกยเมืองเทศบ้างดีค่ะ
เราเสียดุลมามากแล้วค่ะ


บล็อก sirivinit น่ะขยันค่ะ
มีพลังเลยหรือคะ...ดีจัง

เชียงราย หนาว...รักษาสุขภาพนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ


โดย: พี่นาถค่ะ (sirivinit ) วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:23:07:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.