ศปช.จี้"ดีเอสไอ"เปิดรายงานชันสูตรทุกศพ--การแสวงหาความจริง-การรับผิด-ความยุติธรรม-ความปรองดอง

ศปช.จี้"ดีเอสไอ"เปิดรายงานชันสูตรทุกศพ
กฤตยา อาชวนิจกุล

ดูความจริงชัดๆ---กดตรงนี้--น้องเดียร์เคลียร์คำตอบ---
---คลิกที่นี่---

-------------เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุม ร.102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเมษายน-พฤษภาคม 2553 และกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.53(ศปช.) จัดแถลงข่าวกรณีที่ รัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรม ได้เข้าไปช่วยประกันตัวผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐบาลในการช่วยเหลือประกันตัวผู้ถูกคุมขังจากกรณีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รายงานข้อมูลผู้ถูกจับกุมคุมขัง และความเห็นต่อผลการสืบสวนสอบสวนของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กรณีผู้เสียชีวิต 89 ราย

นางสาวกฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์ประจำสถาบันประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะกรรมการ ศปช. แถลงว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 จำนวน 3 ราย ได้แก่ นายธีรเดช สังขทัต นายสมหมาย อินทนาคา และนายบุญยฤทธิ์ โสดาคำ โดยกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นประกันตัวและใช้กองทุนยุติธรรมวางหลักทรัพย์ค้ำประกันให้ ซึ่งต่อมาวันที่ 11 พ.ย. นายกฯ อภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ได้เชิญนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์เข้าพบที่รัฐสภา

ภายหลัง นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ย. 53 ว่า ผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดนั้น เป็นการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย เพียงแต่ว่า จากการสำรวจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกระทรวงยุติธรรม พบว่าปัจจุบันมีผู้ถูกคุมขังอยู่ประมาณ 180 ราย ซึ่งจำนวนหนึ่งมีปัญหา เช่น ปัญหาสุขภาพ ผลกระทบต่อการศึกษา สมควรจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการดูแลทางด้านกฎหมายเท่าที่ควร ดังนั้น นายกฯ จึงมอบหมายให้ทางกระทรวงยุติธรรมไปดูรายละเอียดเป็นรายบุคคล หากกรณีไหนเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ดูแล้วไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง ก็จะขอให้มีการยื่นประกันตัวต่อศาล แล้วถ้ากรณีไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ กองทุนยุติธรรมสามารถนำเงินกองทุนไปช่วยเหลือได้

สำหรับเหตุผลที่ได้เชิญผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากกลไกของกระทรวงยุติธรรมจนได้ประกันตัวออกมา 2 ราย พร้อมครอบครัว ไปพบที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น นายอภิสิทธิ์บอกว่า เนื่องจากการประกันตัวครั้งนี้ดำเนินการโดยกองทุนของรัฐ ซึ่งทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักเวลาไปขอประกันตัวจากศาล ฉะนั้นจึงขอความร่วมมือว่า เมื่อได้รับการประกันตัวแล้ว ขอให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการประกันตัวอย่างเคร่งครัด ไม่ทำเช่นนั้น หากไปทำผิดเงื่อนไขของศาลก็จะต้องถูกจับกุมคุมขังอีก และที่สำคัญ ถ้ารายที่ได้ประกันตัวออกมาแล้วมีปัญหา จะส่งผลกระทบต่อรายอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว

ทั้งนี้ นายกฯ ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นผลงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปฏิรูปและการปรองดอง

ต่อกรณีดังกล่าว ศปช. มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

1) นายกฯ อภิสิทธิ์ย้ำตั้งแต่ต้นว่า ผู้ที่ถูกคุมขังทั้งหมดนั้น เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย รัฐบาลเพียงแต่เข้าไปพิจารณาช่วยเหลือเป็นรายกรณีเท่านั้น ตามนโยบายปรองดอง อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ ศปช. ลงไปสำรวจ พบว่า หลายกรณีมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการจับกุมนั้น อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชนสากล หลายกรณีมีลักษณะการจับกุมแบบแหว่งแห ไม่มีพยานหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอ หรือมีการตั้งข้อหาที่รุนแรงกว่าความเป็นจริง หลายกรณีผู้ที่ถูกจับกุมถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทรมาน ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม ลักษณะวิธีการจับกุมไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งมีบางกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมหรือหลอกล่อให้ยอมรับสารภาพ ตัวอย่างกรณีของนายวิษณุ กมลแมน ซึ่งถูกจับกุมบริเวณปากซอยรางน้ำตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 53 และเพิ่งจะพ้นโทษออกมาเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลังต้องจำคุก 6 เดือนว่า ตนเองถูกทหารจับกุมและซ้อมเพื่อให้รับสารภาพว่ามาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ปัญหาเหล่านี้มีต้นเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่กลไกของรัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขังนั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่สืบเนื่องจากการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐเอง รัฐบาลไม่ควรสำคัญผิดว่าเป็นผลงานปรองดองของตน

2) สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญก็รับรองไว้ด้วยว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ เมื่อพิจารณาตามหลักการดังกล่าว ประกอบกับปัญหาของการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ แล้ว ดังนั้น ผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ต้องได้สิทธิในการประกันตัวเป็นกรณีทั่วไป การไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวต้องพิจารณาเป็นกรณียกเว้นเป็นรายๆ ไป มิใช่จะพิจารณาในการช่วยเหลือให้ได้รับการประกันตัวเป็นรายบุคคลเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือการศึกษาในลักษณะสงเคราะห์ดังที่นายกฯ แถลง แม้กระทั่งกรณีที่มีข้อหาร้ายแรงหรือดูแล้วมีอันตรายต่อความมั่นคงในสายตาของรัฐบาลก็สมควรได้รับการประกันตัวด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นการตั้งข้อหารุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง แหว่งแห ขาดพยานหลักฐานที่มีน้ำหนัก

3) มีข้อเกตว่า นอกจากจะฉวยโอกาสนำมาเป็นผลงานของตนแล้ว รัฐบาลกำลังใช้การเข้ามาช่วยเหลือให้ได้รับประกันตัวนี้ เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของตนหรือไม่ ในการประกันตัวรัฐบาลมียื่นเงื่อนไขทางการเมืองต่อผู้ถูกคุมขัง นอกเหนือจากเงื่อนไขของศาลหรือไม่ ดังเช่นในวันเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์เรียกนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์เข้าพบ นายเทพไท เสนพงศ์ ในฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯ ฝากให้ญาติของผู้ที่ได้รับการประกันตัวช่วยดูแลไม่ให้ทำความผิดซ้ำอีก ให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ทำผิดเงื่อนไขประกันตัว รวมไปถึงการไม่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วย หากคนที่ออกมาก่อนทำผิดเงื่อนไข คนที่เหลืออาจเสียสิทธิได้รับการประกันตัวจากกระทรวงยุติธรรม

กรณีการแถลงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน ในเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ได้แถลงถึงผลการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับการเสีย ชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน 89 ราย ในเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 โดยมีสาระสำคัญคือ หลังจากพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายให้ดีเอสไอ พนักงานสอบสวนได้ใช้เวลาสืบสวนมาระยะหนึ่ง ได้ข้อสรุปว่าสามารถแยกคดีได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทแรก มีจำนวน 8 คดี คือ คดีที่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่า มีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ

ประเภทที่สอง คือคดีที่ยังไม่เป็นที่ยุติว่าการเสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสมควรดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 จำนวน 6 ศพ ประกอบด้วย (1) กรณีผู้เสียชีวิตในวัดปทุมวนารามฯ จำนวน 3 ศพ จากจำนวน 6 ศพ ได้แก่ นายรพ สุขสถิต นายมงคล เข็มทอง นายสุวันศรีรักษา (2) กรณีพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จำนวน 1 ศพ (3) กรณีผู้เสียชีวิตบริเวณสวนสัตว์ดุสิต คือ นายมานะ อาจรญ จำนวน1 ศพ และ (4) กรณีผู้สื่อข่าวสัญชาติญี่ปุ่นเสียชีวิต บริเวณถนนดินสอ คือ นายฮิยูกิ มูราโมโต้ จำนวน 1 ศพ

จากกรณีดังกล่าว ศปช. มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

1) การแถลงข่าวของดีเอสไอในลักษณะนี้ เป็นการให้ข่าวที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ ก่อให้เกิดความสับสน ศปช. เห็นว่า เราสามารถแบ่งเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ (1) เหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 (2) เหตุการณ์วันที่ 13-18 พ.ค. 53 และ (3) เหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค. 53 ดีเอสไอควรแถลงให้ชัดในแต่ละเหตุการณ์ว่า สำนวนคดีแต่ละเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจากการแถลงของดีเอสไอจะพบว่า เหตุการณ์ช่วงที่ 2 ซึ่งประชาชนจำนวนมากถูกอาวุธปืนความเร็วสูงหรือสไนเปอร์ยิงเสียชีวิตนั้น หายไป ขณะที่สไนเปอร์เป็นอาวุธที่มีใช้เฉพาะในกองทัพและหน่วยงานของรัฐบางแห่งเท่านั้น รวมทั้งปรากฎภาพและคลิปวิดีโอชัดว่ามีทหารใช้สไนเปอร์ในปฏิบัติการ "กระชับวงล้อม" จริง ทำไมการพิสูจน์หาพยานหลักฐานในช่วงนี้ถึงหายไป

2) นับตั้งแต่ ศอฉ. ใช้กำลังทหารเข้า "ขอคืนพื้นที่" และ "กระชับวงล้อม" การควบคุมดูแลพื้นที่ใน กทม. โดยเฉพาะบริเวณที่ชุมนุมของ นปช. นั้น อยู่ภายใต้ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฎิบัติราชการตามหน้าที่ทั้งหมด ดังนั้น ศพทุกศพที่เกิดขึ้นจะต้องทำการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย ตาม ป.วิ.อาญา ม. 150 ไม่ใช่เลือกเฉพาะเป็นบางกรณีดังที่ดีเอสไอเสนอ

3) ในคดีประเภทที่ 1 ซึ่งดีเอสไอระบุว่า มีพยานหลักฐานตามสมควรว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันนั้น DSI ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า เป็นใคร กลุ่มไหน ไม่ใช้ระบุแบบเหมาะรวม โดยไม่แยกแยะ และจำเป็นต้องระบุพฤติกรรมด้วยว่ามีอะไรบ้างที่สามารถระบุได้เช่นนั้น

4) เห็นได้ชัดเจนว่า หลังจากผ่านเหตุการณ์มาถึง 6 เดือนแล้ว ในการสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอ มีความคืบหน้าชัดเจนเฉพาะคดีที่รัฐบาล ศอฉ. และดีเอสไอเอง อ้างมาตลอดว่าเป็นฝีมือของฝ่าย นปช. หรือฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น แต่คดีที่สาธารณะสงสัยว่าทหารหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น กลับไม่มีความชัดเจนใดใดเลย ขณะที่ในการดำเนินคดีกับแกนนำ นปช. ในข้อหาก่อการร้ายนั้น ตามสำนวนฟ้อง แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหาโดยเชื่อมโยงว่ามีส่วนทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 90 ศพ แต่หากการสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอมีความคืบหน้าเพียงแค่นี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีกับแกนนำ นปช. ก็น่าจะมีปัญหาในเชิงพยานหลักฐาน

5) ปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของดีเอสไอเลือกที่จะมุ่งไปที่การสนับสนุนการดำเนินคดีต่อแกนนำ นปช. และหวังสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่รัฐบาล-ศอฉ. เป็นด้านหลัก มากกว่าที่จะดำเนินการอย่างเที่ยงธรรมในทุกกรณีที่มีการเสียชีวิต

6) ศปช. เห็นว่า บทบาทหน้าที่ของดีเอสไอนั้น ควรเน้นไปที่การสืบสวนสอบสวนอย่างเที่ยงธรรมในเวลาอันเหมาะสม ไม่ใช่บทบาทที่ที่จะมาให้ข่าวที่ก่อให้เกิดความสับสนคลุมเครือและออกมาไต่สวนทางสาธารณะว่าฝ่ายใดหรือใครเป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตเพื่อหวังผลทางการเมือง หากควรเป็นบทบาทของศาลที่เป็นผู้ไต่สวนและทำคำสั่งแสดงถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย นอกจากนี้ ศปช. ยังเห็นว่าดีเอสไอควรจะต้องทำยิ่งคือ การเปิดเผยรายงานการชันสูตรศพต่อญาติของผู้เสียชีวิต ซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล

7) อันที่จริง ศปช. ยังมีความสงสัยในความสามารถของดีเอสไอที่จะทำการสืบสวนสอบสวนอย่างสุจริตเที่ยงธรรม เนื่องจากดีเอสไอ โดยเฉพาะอธิบดี เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อกรณีนี้ เนื่องจากอธิบดีดีเอสไอมีบทบาทสำคัญใน ศอฉ. มาโดยตลอด ซึ่งหากการสืบสวนสอบสวนพบว่ามีกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิต ศอฉ. ก็จะตกเป็นจำเลยด้วย

8) สุดท้าย ศปช. เห็นว่า นอกจากเรื่องกรณีผู้เสียชีวิตแล้ว เราต้องไม่ลืมว่า มีประชาชนที่บาดเจ็บ บางกรณีถึงขั้นพิการ อีกจำนวนมาก สืบเนื่องจากเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. 53 ดังนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องยังต้องรับผิดชอบทำการสืบสวนสอบสวนว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำเกินกว่าเหตุด้วยหรือไม่ มีส่วนในการกระทำให้ประชาชนบาดเจ็บนับพันรายหรือไม่ และจะชดใช้ให้กับคนเหล่านั้นอย่างไร ประเด็นเรื่องการกระทำที่เกินกว่าเหตุนี้ ดีเอสไอจะต้องนำเอาข้อมูลปฏิบัติการของ ศอฉ. และกองทัพมาให้สาธารณะร่วมตรวจสอบว่ามีการใช้กำลังทหารอย่างไร ใช้อาวุธเท่าไร อย่างไร สมควรแก่เหตุหรือไม่

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุม ร.102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเมษายน-พฤษภาคม 2553 และกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.53(ศปช.) จัดแถลงข่าวกรณีที่ รัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรม ได้เข้าไปช่วยประกันตัวผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐบาลในการช่วยเหลือประกันตัวผู้ถูกคุมขังจากกรณีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รายงานข้อมูลผู้ถูกจับกุมคุมขัง และความเห็นต่อผลการสืบสวนสอบสวนของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กรณีผู้เสียชีวิต 89 ราย

นางสาวกฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์ประจำสถาบันประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะกรรมการ ศปช. แถลงว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 จำนวน 3 ราย ได้แก่ นายธีรเดช สังขทัต นายสมหมาย อินทนาคา และนายบุญยฤทธิ์ โสดาคำ โดยกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นประกันตัวและใช้กองทุนยุติธรรมวางหลักทรัพย์ค้ำประกันให้ ซึ่งต่อมาวันที่ 11 พ.ย. นายกฯ อภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ได้เชิญนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์เข้าพบที่รัฐสภา

ภายหลัง นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ย. 53 ว่า ผู้ที่ถูกคุมขังสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดนั้น เป็นการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย เพียงแต่ว่า จากการสำรวจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกระทรวงยุติธรรม พบว่าปัจจุบันมีผู้ถูกคุมขังอยู่ประมาณ 180 ราย ซึ่งจำนวนหนึ่งมีปัญหา เช่น ปัญหาสุขภาพ ผลกระทบต่อการศึกษา สมควรจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการดูแลทางด้านกฎหมายเท่าที่ควร ดังนั้น นายกฯ จึงมอบหมายให้ทางกระทรวงยุติธรรมไปดูรายละเอียดเป็นรายบุคคล หากกรณีไหนเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ดูแล้วไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง ก็จะขอให้มีการยื่นประกันตัวต่อศาล แล้วถ้ากรณีไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ กองทุนยุติธรรมสามารถนำเงินกองทุนไปช่วยเหลือได้

สำหรับเหตุผลที่ได้เชิญผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากกลไกของกระทรวงยุติธรรมจนได้ประกันตัวออกมา 2 ราย พร้อมครอบครัว ไปพบที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น นายอภิสิทธิ์บอกว่า เนื่องจากการประกันตัวครั้งนี้ดำเนินการโดยกองทุนของรัฐ ซึ่งทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักเวลาไปขอประกันตัวจากศาล ฉะนั้นจึงขอความร่วมมือว่า เมื่อได้รับการประกันตัวแล้ว ขอให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการประกันตัวอย่างเคร่งครัด ไม่ทำเช่นนั้น หากไปทำผิดเงื่อนไขของศาลก็จะต้องถูกจับกุมคุมขังอีก และที่สำคัญ ถ้ารายที่ได้ประกันตัวออกมาแล้วมีปัญหา จะส่งผลกระทบต่อรายอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว

ทั้งนี้ นายกฯ ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นผลงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปฏิรูปและการปรองดอง

ต่อกรณีดังกล่าว ศปช. มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

1) นายกฯ อภิสิทธิ์ย้ำตั้งแต่ต้นว่า ผู้ที่ถูกคุมขังทั้งหมดนั้น เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย รัฐบาลเพียงแต่เข้าไปพิจารณาช่วยเหลือเป็นรายกรณีเท่านั้น ตามนโยบายปรองดอง อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ ศปช. ลงไปสำรวจ พบว่า หลายกรณีมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการจับกุมนั้น อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชนสากล หลายกรณีมีลักษณะการจับกุมแบบเหวี่ยงแห ไม่มีพยานหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอ หรือมีการตั้งข้อหาที่รุนแรงกว่าความเป็นจริง หลายกรณีผู้ที่ถูกจับกุมถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทรมาน ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม ลักษณะวิธีการจับกุมไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งมีบางกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมหรือหลอกล่อให้ยอมรับสารภาพ ตัวอย่างกรณีของนายวิษณุ กมลแมน ซึ่งถูกจับกุมบริเวณปากซอยรางน้ำตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 53 และเพิ่งจะพ้นโทษออกมาเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลังต้องจำคุก 6 เดือนว่า ตนเองถูกทหารจับกุมและซ้อมเพื่อให้รับสารภาพว่ามาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ปัญหาเหล่านี้มีต้นเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่กลไกของรัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขังนั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่สืบเนื่องจากการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐเอง รัฐบาลไม่ควรสำคัญผิดว่าเป็นผลงานปรองดองของตน

2) สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญก็รับรองไว้ด้วยว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ เมื่อพิจารณาตามหลักการดังกล่าว ประกอบกับปัญหาของการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ แล้ว ดังนั้น ผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ต้องได้สิทธิในการประกันตัวเป็นกรณีทั่วไป การไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวต้องพิจารณาเป็นกรณียกเว้นเป็นรายๆ ไป มิใช่จะพิจารณาในการช่วยเหลือให้ได้รับการประกันตัวเป็นรายบุคคลเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือการศึกษาในลักษณะสงเคราะห์ดังที่นายกฯ แถลง แม้กระทั่งกรณีที่มีข้อหาร้ายแรงหรือดูแล้วมีอันตรายต่อความมั่นคงในสายตาของรัฐบาลก็สมควรได้รับการประกันตัวด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นการตั้งข้อหารุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง เหวี่ยงแห ขาดพยานหลักฐานที่มีน้ำหนัก

3) มีข้อเกตว่า นอกจากจะฉวยโอกาสนำมาเป็นผลงานของตนแล้ว รัฐบาลกำลังใช้การเข้ามาช่วยเหลือให้ได้รับประกันตัวนี้ เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของตนหรือไม่ ในการประกันตัวรัฐบาลมียื่นเงื่อนไขทางการเมืองต่อผู้ถูกคุมขัง นอกเหนือจากเงื่อนไขของศาลหรือไม่ ดังเช่นในวันเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์เรียกนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์เข้าพบ นายเทพไท เสนพงศ์ ในฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯ ฝากให้ญาติของผู้ที่ได้รับการประกันตัวช่วยดูแลไม่ให้ทำความผิดซ้ำอีก ให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ทำผิดเงื่อนไขประกันตัว รวมไปถึงการไม่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วย หากคนที่ออกมาก่อนทำผิดเงื่อนไข คนที่เหลืออาจเสียสิทธิได้รับการประกันตัวจากกระทรวงยุติธรรม


นางสาวกฤตยา ยังได้แถลงถึงกรณีการแถลงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน ในเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ย. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ได้แถลงถึงผลการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับการเสีย ชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน 89 ราย ในเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 โดยมีสาระสำคัญคือ หลังจากพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายให้ดีเอสไอ พนักงานสอบสวนได้ใช้เวลาสืบสวนมาระยะหนึ่ง ได้ข้อสรุปว่าสามารถแยกคดีได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทแรก มีจำนวน 8 คดี คือ คดีที่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่า มีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ

ประเภทที่สอง คือคดีที่ยังไม่เป็นที่ยุติว่าการเสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสมควรดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 จำนวน 6 ศพ ประกอบด้วย (1) กรณีผู้เสียชีวิตในวัดปทุมวนารามฯ จำนวน 3 ศพ จากจำนวน 6 ศพ ได้แก่ นายรพ สุขสถิต นายมงคล เข็มทอง นายสุวัน ศรีรักษา (2) กรณีพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จำนวน 1 ศพ (3) กรณีผู้เสียชีวิตบริเวณสวนสัตว์ดุสิต คือ นายมานะ อาจราญ จำนวน1 ศพ และ (4) กรณีผู้สื่อข่าวสัญชาติญี่ปุ่นเสียชีวิต บริเวณถนนดินสอ คือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ จำนวน 1 ศพ

จากกรณีดังกล่าว ศปช. มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

1) การแถลงข่าวของดีเอสไอในลักษณะนี้ เป็นการให้ข่าวที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ ก่อให้เกิดความสับสน ศปช. เห็นว่า เราสามารถแบ่งเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 ได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ (1) เหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 53 (2) เหตุการณ์วันที่ 13-18 พ.ค. 53 และ (3) เหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค. 53 ดีเอสไอควรแถลงให้ชัดในแต่ละเหตุการณ์ว่า สำนวนคดีแต่ละเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจากการแถลงของดีเอสไอจะพบว่า เหตุการณ์ช่วงที่ 2 ซึ่งประชาชนจำนวนมากถูกอาวุธปืนความเร็วสูงหรือสไนเปอร์ยิงเสียชีวิตนั้น หายไป ขณะที่สไนเปอร์เป็นอาวุธที่มีใช้เฉพาะในกองทัพและหน่วยงานของรัฐบางแห่งเท่านั้น รวมทั้งปรากฎภาพและคลิปวิดีโอชัดว่ามีทหารใช้สไนเปอร์ในปฏิบัติการ "กระชับวงล้อม" จริง ทำไมการพิสูจน์หาพยานหลักฐานในช่วงนี้ถึงหายไป

2) นับตั้งแต่ ศอฉ. ใช้กำลังทหารเข้า "ขอคืนพื้นที่" และ "กระชับวงล้อม" การควบคุมดูแลพื้นที่ใน กทม. โดยเฉพาะบริเวณที่ชุมนุมของ นปช. นั้น อยู่ภายใต้ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฎิบัติราชการตามหน้าที่ทั้งหมด ดังนั้น ศพทุกศพที่เกิดขึ้นจะต้องทำการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย ตาม ป.วิ.อาญา ม. 150 ไม่ใช่เลือกเฉพาะเป็นบางกรณีดังที่ดีเอสไอเสนอ

3) ในคดีประเภทที่ 1 ซึ่งดีเอสไอระบุว่า มีพยานหลักฐานตามสมควรว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันนั้น DSI ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า เป็นใคร กลุ่มไหน ไม่ใช้ระบุแบบเหมารวม โดยไม่แยกแยะ และจำเป็นต้องระบุพฤติกรรมด้วยว่ามีอะไรบ้างที่สามารถระบุได้เช่นนั้น

4) เห็นได้ชัดเจนว่า หลังจากผ่านเหตุการณ์มาถึง 6 เดือนแล้ว ในการสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอ มีความคืบหน้าชัดเจนเฉพาะคดีที่รัฐบาล ศอฉ. และดีเอสไอเอง อ้างมาตลอดว่าเป็นฝีมือของฝ่าย นปช. หรือฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น แต่คดีที่สาธารณะสงสัยว่าทหารหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น กลับไม่มีความชัดเจนใดใดเลย ขณะที่ในการดำเนินคดีกับแกนนำ นปช. ในข้อหาก่อการร้ายนั้น ตามสำนวนฟ้อง แกนนำ นปช. ถูกกล่าวหาโดยเชื่อมโยงว่ามีส่วนทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 90 ศพ แต่หากการสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอมีความคืบหน้าเพียงแค่นี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีกับแกนนำ นปช. ก็น่าจะมีปัญหาในเชิงพยานหลักฐาน

5) ปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของดีเอสไอเลือกที่จะมุ่งไปที่การสนับสนุนการดำเนินคดีต่อแกนนำ นปช. และหวังสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่รัฐบาล-ศอฉ. เป็นด้านหลัก มากกว่าที่จะดำเนินการอย่างเที่ยงธรรมในทุกกรณีที่มีการเสียชีวิต

6) ศปช. เห็นว่า บทบาทหน้าที่ของดีเอสไอนั้น ควรเน้นไปที่การสืบสวนสอบสวนอย่างเที่ยงธรรมในเวลาอันเหมาะสม ไม่ใช่บทบาทที่จะมาให้ข่าวที่ก่อให้เกิดความสับสนคลุมเครือและออกมาไต่สวนทางสาธารณะว่าฝ่ายใดหรือใครเป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตเพื่อหวังผลทางการเมือง หากควรเป็นบทบาทของศาลที่เป็นผู้ไต่สวนและทำคำสั่งแสดงถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย นอกจากนี้ ศปช. ยังเห็นว่าดีเอสไอควรจะต้องทำยิ่งคือ การเปิดเผยรายงานการชันสูตรศพต่อญาติของผู้เสียชีวิต ซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล

7) อันที่จริง ศปช. ยังมีความสงสัยในความสามารถของดีเอสไอที่จะทำการสืบสวนสอบสวนอย่างสุจริตเที่ยงธรรม เนื่องจากดีเอสไอ โดยเฉพาะอธิบดี เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อกรณีนี้ เนื่องจากอธิบดีดีเอสไอมีบทบาทสำคัญใน ศอฉ. มาโดยตลอด ซึ่งหากการสืบสวนสอบสวนพบว่ามีกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิต ศอฉ. ก็จะตกเป็นจำเลยด้วย

8) สุดท้าย ศปช. เห็นว่า นอกจากเรื่องกรณีผู้เสียชีวิตแล้ว เราต้องไม่ลืมว่า มีประชาชนที่บาดเจ็บ บางกรณีถึงขั้นพิการ อีกจำนวนมาก สืบเนื่องจากเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. 53 ดังนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องยังต้องรับผิดชอบทำการสืบสวนสอบสวนว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำเกินกว่าเหตุด้วยหรือไม่ มีส่วนในการกระทำให้ประชาชนบาดเจ็บนับพันรายหรือไม่ และจะชดใช้ให้กับคนเหล่านั้นอย่างไร ประเด็นเรื่องการกระทำที่เกินกว่าเหตุนี้ ดีเอสไอจะต้องนำเอาข้อมูลปฏิบัติการของ ศอฉ. และกองทัพมาให้สาธารณะร่วมตรวจสอบว่ามีการใช้กำลังทหารอย่างไร ใช้อาวุธเท่าไร อย่างไร สมควรแก่เหตุหรือไม่
--
*******************************************************************************************
เจออาจารย์ธรรมศาสตร์วิเคราะห์และแจงเหตุผลเข้าไป ดูท่าทาง ศอฉ. และดิเอสไอ จะเดินไม่เป็นซะแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อน เจอยิงเป้าสถานเดียวครับ
--ผู้ที่อ้างว่าพิทักษ์ชาติ เจอข้อหาบ่อนทำลายชาติเข้าเต็มตรีน
---อย่างที่บอก ต่อให้ออก กม.นิรโทษตัวเอง แต่ศาลโลกจะไม่รับฟัง แถมยังส่อพิรุธเต็มๆ ตบหัวแล้วลุบหลังแบบนี้คนไทยรับไม่ได้หรอกนะ
----------------------------------------------------------------------------
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288956552&grpid=01&catid=

ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.
53 (ศปช.) จัดสัมมนาเรื่อง"ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี
เม.ย.-พ.ค. 53 : การแสวงหาความจริง-การรับผิด-ความยุติธรรม-ความปรองดอง"
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ห้อง ร.103
คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีผศ.ดร.ยุกติ
มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวเปิดงานโดยยกบทความของ ศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากล่าวดังต่อไปนี้


คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ
คอป. ชุดคณิต(นายคณิต ณ นคร )-สมชาย (สมชาย
หอมละออ)ใช้แนวคิดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านอย่างฉ้อฉล (abused)
พวกเขาใช้ถ้อยคำเหล่านี้เพื่อให้คณะกรรมการฯ
ฉบับของไทยดูราวกับว่าเป็นไปตามมาตรฐานโลก โดยยืม "ฉลาก"
อันเป็นที่ยอมรับกันในแวดวงสากล แต่เอามาแต่ฉลากไม่มีเนื้อหาสาระอะไรเลย
จะด้วยเจตนาที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือด้วยความเขลาไม่รู้เรื่องรู้ราวก็ตามแต่



นี่เป็นนิสัยการยืมแบบไทยๆ



สาระสำคัญของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านที่คณะกรรมการฯ ของไทยขาดก็คือ
การต้องนำเอาการปราบปรามเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นมาอยู่ในการพิจารณาด้วย
เพราะเป็นประเด็นที่สำคัญและจำเป็นในการก้าวสู่ประชาธิปไตย
คณะกรรมการเพื่อการสมานฉันท์และค้นหาความจริง (Truth and Reconciliation
Commission (TRC))
ในรูปแบบและภายใต้ชื่อต่างๆเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมายนี้
อย่างไรก็ตาม ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านก็ไม่ใช่กระบวนการที่จะดำเนินไปอย่างตรงแหน่วโดยปราศจากข้อขัดแย้งในตัวของมันเอง(dilemma)


ประเด็นหลักและข้อขัดแย้งของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน



ในแทบทุกกรณีทั่วโลก ประเด็นพื้นฐานสองประเด็นที่แต่ละสังคมต้องเผชิญ
และเป็นประเด็นแย้งกันคือ ความยุติธรรมและการสมานฉันท์(หรือการปรองดอง)
นอกจากนี้ยังมีอีกสองประเด็นที่เป็นประเด็นใหญ่เช่นกัน
แต่ยังไม่ใช่หัวใจหรือเป็นประเด็นเร่งด่วนในตอนนี้ นั่นคือ


การชดเชยหรือการเยียวยา (reparation)
และความทรงจำความยุติธรรมและการปรองดอง อาจดูเป็นสองเรื่องแยกกัน
แต่ถ้าคิดดูดีๆ จะพบว่าประเด็นพื้นฐานสองประเด็นนี้อาจเป็นสองขั้วอยู่ปลายสุดสองด้านในการพิจารณาเรื่องการปราบปรามเข่นฆ่าที่เกิดขึ้น


ความยุติธรรม <--------->การปรองดอง


ในแทบทุกกรณี การแสวงหาความยุติธรรมให้ได้อย่างเต็มที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง
หรือกลับกันคือการปรองดองกีดขวางความยุติธรรม พูดอย่างอุดมคติ
เราอยากจะได้ความยุติธรรมสูงสุดและการเยียวยาที่ครบถ้วนเพื่อจะได้ก้าวไปข้างหน้า
ในทางทฤษฎีความยุติธรรมครบถ้วยสมบูรณ์เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการปรองดอง
แต่ในความเป็นจริงเป็นไปได้ยากมาก



ทุกสังคมที่เผชิญกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน พยายามหา "จุดสมดุลย์"
(แม้ว่าในความเป็นจริงจะหา "จุดสมดุลย์" ที่ลงตัวสมบูรณ์แบบไม่ได้ก็ตาม)
เพื่อให้บรรลุได้ทั้งสองประการ
แต่จุดดังกล่าวอยู่ตรงไหนนั้นขึ้นอยู่กับกรณีความรุนแรงโหดร้ายที่เกิดขึ้น
และเงื่อนไขทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
จุดดังกล่าวสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสังคมเมื่อเวลาผ่านไป
(เช่นชิลีและอาร์เจนตินา) ในหลายประเทศ
ประเด็นการปรองดองมีน้ำหนักครอบงำประเด็นความยุติธรรม
ทำให้กระบวนการแสวงหาความยุติธรรมอ่อนแอหรือมีการลงโทษผู้กระทำผิดเพียงเบาบางเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้


* ไต้หวัน: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าที่ก๊กมินตั๋งกระทำต่อชาวพื้นเมืองไต้หวันในปี
2491 และไม่นานหลังจากที่ก๊กมินตั๋งยึดครองเกาะไต้หวัน
* เกาหลี: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าภายใต้เผด็จการหลายทศวรรษ
ตั้งแต่ซิงมันรี ปักจุงฮี ถึงชุนดูวาน ในกรณีเช่น
การปราบปรามนักศึกษาและฝ่ายซ้ายอย่างที่กวางจู
ตลอดจนการสังหารหมู่ประชาชนที่เกาะเจจู (Jeju)
* ฟิลิปปินส์: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าที่กระทำต่อชาวมินดาเนาและในช่วงสงครามเย็น
* อดีตเยอรมันตะวันออก: สายสืบของ Stasi
แทรกซึมอยู่ทั่วไปในสังคมจนหากต้องการความยุติธรรมและมีการลงโทษอย่างเต็มที่แล้ว
ก็จะมีคนต้องได้รับโทษเป็นจำนวนมาก
หลายคนก่ออาชญากรรมต่อคนในครอบครัวของตัวเอง
ในท้ายที่สุดขอบเขตและเป้าหมายของการลงโทษถูกจำกัดให้แคบ
เหลือแต่เฉพาะผู้นำระดับสูง
เราอาจพูดได้ว่าอินโดนีเซียและกัมพูชามีความลังเลที่จะเผชิญกับอดีตหรือการแสวงหาความยุติธรรมด้วยเหตุผลเดียวกัน
กรณีประเทศไทยก็อาจจัดอยู่ในข่ายนี้ในหลายๆ ประเทศ ความยุติธรรมมีน้ำหนักเหนือการปรองดองที่ง่ายฉาบฉวย
(simplistic)ทำให้การแสวงหาความยุติธรรมและการลงโทษดำเนินไปโดยเสี่ยงต่อการทำให้ความตึงเครียดในสังคมยืดเยื้อออกไปหรือปะทุขึ้นมาอีก
ชิลีกับอาร์เจนตินาคือตัวอย่างในกรณีนี้ แต่กรุณาสังเกตว่าในทั้งสองกรณี
การแสวงหาความยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างล่าช้าและกินเวลา
อาร์เจนตินาหมดเวลาราวหนึ่งทศวรรษไปกับการปรองดองที่ฉาบฉวยโดยที่ไม่ค่อยมีความยุติธรรม
ต้องรอจนกระทั่งประชาธิปไตยมีความมั่นคงมากขึ้นและมีผู้นำที่กล้าตัดสินใจรื้อฟื้นประเด็นนี้ขึ้นมา
ชิลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบหรือกลุ่มผู้ปกครอง (regime change)
จริงๆ (ปิโนเชต์กับกองทัพ)
และต้องอาศัยการแทรกแซงจากผู้พิพากษาชาวสเปนรายหนึ่งในการพลิกกระแส
ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการรื้อฟื้นการแสวงหาความยุติธรรมขึ้นมา
แอฟริกาใต้ได้รับการยกย่องสำหรับการริเริ่ม ในการยึด "ความจริง"
เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
ความจริงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความยุติธรรมเข้ากับการปรองดอง
และแอฟริกาใต้ยังเป็นกรณีที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
กรุณาสังเกตว่า บางคนบอกว่าคนดำไม่ได้ยินดีนักกับกระยวนการนี้
ขณะที่บางคนในคณะกรรมการฯ ชุดอ.คณิตบอกว่าคนขาวไม่ยินดีนักกับกรณีนี้
แต่ข้อเท็จจริงเป็นทั้งสองด้านและอยู่ระหว่างสองด้าน เพราะความจริง
(อันเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงความยุติธรรมกับการปรองดอง)
คือหัวใจสำคัญ
คณะกรรมการสมานฉันท์ (TRC)
ในแอฟริกาใต้มีลักษณะเฉพาะและอาจจะไม่สามารถเลียนแบบได้
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันสอดคล้องกับเงื่อนไขของประเทศนั้น
แต่ก็เป็นเพราะการเน้นความสำคัญของความจริงในฐานะสิ่งเชื่อมโยงระหว่างความยุติธรรมกับการปรองดองด้วยกล่าวในเชิงแนวคิดแล้ว
เรื่องนี้ไม่ง่ายที่จะทำความเข้าใจ
หากมองในเชิงการเมืองมันก็ไม่เป็นที่ปรารถนาทั้งสำหรับฝ่ายผู้กระทำผิดและผู้ถูกกระทำ
มันใช้ได้กับกรณีแอฟริกาใต้(แม้ว่าความเลวร้ายของปัญหาการเหยียดผิวปรากฏชัดแจ้งอยู่แล้วก็ตาม)
เพราะเส้นแบ่งจำแนกผู้กระทำผิดกับผู้ถูกกระทำในช่วงการต่อสู้ที่รุนแรงนั้นได้พร่าเลือนไป
คนดำและคนขาวจำนวนมาก ทั้งรัฐสภาแห่งชาติแอฟริกันและผู้ปกครองผิวขาว
ต่างก็เป็นทั้งผู้ก่อความรุนแรงและเหยื่อ
ในทุกกรณี มีเรื่องควรระวังที่รองลงไปอยู่หลายเรื่องด้วยกัน อันแรก
ระดับชั้นผู้ที่ควรได้รับการลงโทษควรจะลงลึกไปจากระดับหัวหรือผู้สั่งการมากน้อยแค่ไหน?
รวมลงไปถึงผู้คุมในเรือนจำที่ทรมาณผู้ต้องข้ง
หรือทหารระดับล่างที่เหนี่ยวไกยิงด้วยไหม?
ในกรณีส่วนใหญ่ต้องรวมพวกเขาด้วย แต่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งด้วยคือ
เรื่องที่สอง ระดับและประเภทของอาชญากรรม ในกรณีส่วนใหญ่
ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ของ "การสั่งการ" ของระดับบังคับบัญชา
แต่ความทารุณโหดร้ายถูกดำเนินการโดยทหารระดับล่าง
ความยุติธรรมต้องมีความเป็นธรรมด้วย
คณะกรรมการสมานฉันท์ในประเทศใดก็ตามล้วนเผชิญกับประเด็นเหล่านี้
เราไม่อาจแน่ใจได้ว่าคณะกรรมการคอป.ให้ความใส่ใจประเด็นเหล่านี้มากมายหรือไม่
หน้าที่ของพวกเขาคือการเบี่ยงเบนประเด็นไม่ให้รัฐบาลผิดอยู่ฝ่ายเดียว
ถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้มีเพื่อแสวงหาความยุติธรรม
และสายตาสั้นเรื่องการปรองดอง
เมื่อพูดถึงหลักการเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมายาวพอสมควรแล้ว
ต่อไปนี้ขอพูดต่อเกี่ยวกับกรณีของไทย
ทำไมในหลายกรณีของไทย ความยุติธรรมจึงมักถูกโยนทิ้งไปเสมอ?
ทุกกรณีของไทย (6 ตุลา, พฤษภา 35, เมษา-พฤษภา 53) จริงๆ แล้ว
ไม่ซับซ้อนอะไรเลยเมื่อเทียบกับหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นในโลกนี้
ในแง่ที่ว่าอาชญากรรมนั้นคืออะไร อะไรถูก
อะไรผิดใครเป็นผู้กระทำและใครเป็นเหยื่อ กรณีของไทยไม่ซับซ้อนในแง่นี้
แต่กระนั้นก็ไม่ง่ายกว่ากรณีอื่นในการแสวงหาความยุติธรรมและการปรองดอง
เนื่องจากเงื่อนไขทางการเมืองสังคม และวัฒนธรรม
อย่างแรก ไม่ม ี "การเปลี่ยนแปลงระบอบ (regime change)" อย่างแท้จริง
ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สุดในการแสวงหาความยุติธรรมหรือการปรองดองใดๆ
ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองเพียงประการเดียวนี้ทำให้คณะกรรมการชุดคณิต-สมชายเป็นเรื่องตลก
เหมือนคณะกรรมการต่างๆ ก่อนหน้าที่สอบสวนกรณีพฤษภา 35 และกรณีอื่นๆ
เงื่อนไขเดียวกันนี้ทำให้การสืบสวนกรณี 6 ตุลา
หรือปัญหาชายแดนภาคใต้เป็นไปไม่ได้เลย
อะไรคือ "การเปลี่ยนแปลงระบอบ" ที่ว่า? พูดสั้นๆ ก็คือ
ผู้ที่อาจมีบทบาทโดยตรงหรือโดยอ้อมในการปราบปรามเข่นฆ่า
หรือผู้ที่มีส่วนได้เสียกับผลของการสืบสวน
จะต้องออกจากอำนาจและพ้นไปจากกลไกการแสวงหาความยุติธรรมและการปรองดอง
คณะกรรมการชุดคณิต-สมชายนั้นถูกสร้างโดยอภิสิทธิ์เพื่อรับใช้อภิสิทธิ์
ช่างน่าขันเสียจริง!

ประการที่สอง การเมืองไทยและวาระทางสังคมสำคัญๆ
ถูกครอบงำโดยคนในเมืองใหญ่พวกเขาเลือกอยู่ข้างไหนในคราวนี้?
คำตอบเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว นี่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ประการที่สาม สังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมมากนัก ตรงกันข้าม
เชิดชูแต่ความสามัคคี สังคมไทยไม่สนใจเท่าไหร่กับสิทธิและความเป็นปัจเจก
สนใจแต่เสถียรภาพ ความมั่นคงและสถานะเดิม (status quo)
ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมสังคมไทยจึงมีขันติต่ำต่อความขัดแย้งและการเห็นต่าง
การปรองดองที่ต้องแลกด้วยการสูญเสียความยุติธรรมจึง "สมเหตุสมผล"
และรับกันได้ง่าย หรือเป็นที่พอใจสำหรับคนไทยมากกว่าคนในวัฒนธรรมอื่น
นี่คือรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทย แม้ไม่ชอบแต่ต้องอยู่กับมัน
เราอาจไม่ตระหนักว่าคำว่ายุติธรรมที่เราคุ้นเคยในภาษาไทยนั้นมาจากคำสันสกฤตที่ไม่ได้หมายความว่ายุติธรรม
"ธรรม" หมายถึงระเบียบทางสังคมที่เหมาะสมตามธรรมชาติ ในภาษาจีน บาฮาซา
มาเลย์ เขมร พม่า ไม่มีคำที่แปลตรงตัวสำหรับคำว่า ยุติธรรม
(justice)เช่นกัน คำที่ใช้หมายถึง ยุติธรรม
ในภาษาเหล่านี้ล้วนมีรากมาจากอย่างอื่น ไม่ใช่ "straight"หรือ "upright"
อย่างในภาษาละตินสำหรับ justice
แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมและการปรองดองของพุทธอย่างที่พระไพศาลว่าไว้นั้นสะท้อนถึงคุณค่าบรรทัดฐานที่คนไทยยึดถือ
สิ่งที่พระไพศาลนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและรับได้ง่าย แน่นอน
วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดคุณค่าและบรรทัดฐานที่คลุมเครือ
มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
เราถึงสามารถที่จะต่อสู้และอาจจะเปลี่ยนแปลงมันได้


ประการที่สี่ ความยุติธรรมมีเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม
ในสังคมส่วนใหญ่ ความยุติธรรมเป็นตัวแก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่ประชาชน
ระหว่างประชาชนกับรัฐ บนหลักการว่าด้วยสิทธิของปัจเจกบุคคล
ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมภายใต้กฎหมายเดียวกันแต่ระเบียบทางสังคมที่เหมาะสมในสังคมไทยไม่ใช่สิทธิปัจเจก
หรือความเป็นธรรมและความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย
ในความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ
เป้าหมายของความยุติธรรมคือการดำรงสถานะเดิม คือ
การรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลำดับชั้นภายใต้รัฐ
ความยุติธรรมในสังคมหลายแห่งไม่ใช่เป็นเรื่องขึ้นกับบุคคล (impersonal)
แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยเป็นการใช้อำนาจของรัฐของชนชั้นนำเพื่อรักษาระเบียบทางสังคมความยุติธรรมสนองรับใช้รัฐเพื่อระเบียบสังคมของชนชั้นนำ
ดังนั้น ความยุติธรรมจึงสามารถถูกเขี่ยทิ้งไปได้
หากทำอย่างนั้นแล้วชนชั้นนำได้ประโยชน์

ยิ่งกว่านั้น สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่เชื่อว่าคนธรรมดาจะสามารถปกครองและอำนวยความยุติธรรมโดยไม่ต้องพึ่งพาใบบุญจากชนชั้นนำที่ที่ปรีชาสามารถและเปี่ยมด้วยคุณธรรมความยุติธรรมจักต้องบังเกิดจากชนชั้นนำที่ทรงคุณธรรมเท่านั้น
โดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก"ผู้ทรงความยุติธรรมหนึ่งเดียว" (the Justice One)
ที่ส่งผ่านอำนาจบันดาลความยุติธรรมให้ศาลทั้งหลายอีกที
ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่ได้เป็นของประชาชน
เมื่อไหร่ที่ชนชั้นนำต้องการพักระงับความยุติธรรม
ซึ่งเป็นของพวกเขาไม่ใช่ของเรา
พวกเขาก็จะทำด้วยความมีเมตตากรุณาธิคุณต่อประชาชนเพื่อธำรงระเบียบทางสังคมที่เหมาะสม
(แน่นอน ตามทัศนะของพวกเขา)
ประการที่ห้าในสังคมไทย
การปรองดองมักจะเป็นเป้าหมายที่สูงกว่าความยุติธรรมเสมอตราบใดที่มันหมายถึงการดำเนินระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมของชนชั้นนำสืบต่อไป
หลัง2475 ยกตัวอย่าง ชนชั้นนำก็ไม่พูดปรองดอง
พวกเขาพูดแต่เรื่องกำจัดพวกคอมมิวนิสต์
ประเทศไทยต้องการการปรองดองที่มีความยุติธรรม
การปราบปรามเข่นฆ่าที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนมากนักในการที่จะชี้ถูกชี้ผิด
หาผู้กระทำผิดและผู้ถูกกระทำ
หากมีการยึดมั่นในหลักการความเป็นธรรมและความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย
แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยจะต้องไม่ไประคายเคืองอำนาจครอบงำและระเบียบสังคมของชนชั้นนำ
อุปสรรคต่อความยุติธรรมอยู่ตรงนี้

สังคมไทยมีวุฒิภาวะเพียงพอ
หรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาและเติบโตบรรลุวุฒิภาวะที่จะรับมือความขัดแย้งที่ซับซ้อนในหมู่ประชาชนและระหว่างประชาชนกับรัฐได้
สังคมไทยไม่ได้เปราะบางหรือเป็นเด็กเหยาะแหยะเสียจนกระทั่งความยุติธรรมและการปรองดองก็ยังต้องถูกควบคุมและกำกับดูแลโดยชนชั้นนำผู้ทรงคุณธรรม
การลดทอนและการพักระงับความยุติธรรมโดยอ้างการปรองดองจึงมีที่มาจากโลกทัศน์ของชนชั้นนำว่าประชาชนเป็นเหมือนเด็กและจำเป็นต้องให้ชนชั้นนำอำนวยความยุติธรรมให้
ทว่ามันเป็นไปเพื่อชนชั้นนำล้วนๆ
เพื่อรักษาระเบียบสังคมที่มีลำดับชั้นอันมีพวกเขาอยู่บนสุด
ที่มีการดำเนินการปรองดองโดยปราศจากความยุติธรรมครั้งแล้วครั้งเล่า
ความยุติธรรมไม่ใช่ยาพิษ
ความปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรมต่างหากที่เป็นยาพิษ
มันเป็นทั้งพิษทั้งมอมเมา

ประเทศไทยจะต้องเลิกการปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรม
และเริ่มแสวงหาความยุติธรรมเพื่อก้าวไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมที่ประชาชนสามารถอยู่ด้วยกันได้ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
นี่เป็นวิถีทางที่สังคมที่ซับซ้อนจัดการกับความขัดแย้ง
ไม่ใช่การอวดอ้างการปรองดองที่ฉาบฉวยว่างเปล่าโดยปราศจากความยุติธรรม

------------------------------
โปรดติดตามการอภิปรายหัวข้อเรื่อง "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน :
กรณีศึกษาจากต่างประเทศ" โดยมี ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีประเทศเกาหลีใต้ คือ
การยอมรับอำนาจประชาชนในการต่อสู้กับรัฐ
และการที่ประชาชนใช้อาวุธกับรัฐเมื่อรัฐใช้ความรุนแรงก่อน

ดร.แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
เปรียบเทียบกรณีความรุนแรงในประเทศอาร์เมเนียกับไทย
แสดงให้เห็นว่าประเทศอาร์เมเนียมีบทบาทของสภายุโรปเข้ามาแทรกแซง
ช่วยเข้ามาค้นหาความจริงและทำกันอยู่ในขณะนี้


น.ส.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนอิสระ
ยกตัวอย่างกรณีของประเทศอาร์เจนติน่า มีความน่าสนใจ คือ
สามารถปฏิรูปสถาบันหลักที่เป็น"ภัยสยอง" สร้างความกลัวในการอุ้มคนหาย
ในเชิงรูปธรรมเขาสามารถปลดนายทหารระดับสูงออกไปได้ 3ใน4
และการทำให้กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นโมฆะ
กลไกในการทำให้เกิดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านต้องมีเการเปลี่ยนสถาบันก่อน
มีการเยียวยาและชดเชยอย่างเหมาะสม
การเยียวยาเป็นนามธรรมมีการขอโทษและยอมรับผิดออย่างจริงใจ
การปฏิรูปสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าประชาชน
และนิรโทษกรรมอย่างมีเงื่อนไข


และอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวถึงกรณีกัมพูชา ชิลี
แอฟริกาใต้เปรียบเทียบกับประเทศไทยได้อย่างน่าสนใจ
โดยการยกโมเดลเทียบกับประเทศไทยเรื่อง "ลืม มึน งง" รวมทั้งการประกาศ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่ากับมีการนิรโทษกรรมล่วงหน้า
------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------
-------เออ อ่า นาง สว.โรสนา และ อจ.ตุ๊ดที่ออกช่อง 11 ไม่รู้ว่าจะหลับตาพูดไปถึงไหนนะ ให้โอกาสเสื้อแดงพูดบ้างสิ (แต่ เออ พวกเขาอยู่ในคุกซะเยอะ มีนศ.โดนยัดคุกมา 6 เดือนแล้ว และที่โดนซ้อมให้นอมรับว่ามาชุมนุมก็มี) ระวังเด็กอนุบาลมันหัวเราะเยาะเอานะ----ตอนนี้คนทั้งเมืองเขารู้ความจริงกันหมดแล้ว มีแต่นายม๊าก กับพ่อแม่เท่านั้นที่เชื่อว่า พวกเขาใส่ซื่อประดุจเด็กอัณฑะใส ทางพรรค ปชป.มัวแต่ห่วงโนยุบ ลองนึกถึงว่าใครทำประชาชนไว้ ถ้าพวกเขาขอเอาคืน อย่าว่าแต่จะหาเสยงเลย แค่เดินผ่านหน้าบ้านประชาชนให้ครบทุกจังหวัดให้ได้ก่อน ----และยิ่งน้ำท่วม ช่วยแค่ไร่ละพันสองพัน แต่สวนยางภาคใต้เล่นไร่ละ17000 บาท โยไม่ต้องท่วมถึง7 วันก็ได้ มันไม่หาเสียงมากไปหน่อยหรือพวกมรึงเอ๋ย
-------------------------------------------------------------


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2553 11:42:00 น. 0 comments
Counter : 1248 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
20 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.