ธรรมมะลึกลับ4 ภาค1


คำว่า ธรรมะ, พระธรรม, สัจธรรม
มีความหมายใกล้เคียงกันมากแต่ต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อยกล่าวคือ คำว่า ธรรมะ นั้นเป็นคำกว้างๆ กลางๆ ใช้หมายรวมครอบคลุมได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นธรรมะในภาคส่วนไหน จึงแบ่งออกได้เป็น
๑. สมมุติธรรม คือ ธรรมอันไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไป อันนำบุคคลผู้ไม่รู้ไปสู่ความลุ่มหลง
๒. วิมุติธรรม คือ ธรรมแท้ อันนำบุคคลผู้รู้แจ้งไปสู่ความหลุดพ้น นำไปสู่นิพพาน
ส่วนคำว่า "ธรรมชาติ" นั้น ก็เป็นคำกว้างรองลงมาบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นอยู่อย่างนั้นเอง ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างหรือปั้นแต่งขึ้น ดังนั้น บางสิ่งจึงไม่เรียกว่าเ็ป็นธรรมชาติ เช่น การสร้างทำ, ปั้นแต่งสิ่งของต่างๆ ของมนุษย์ เรามักจะไม่เรียกว่าเป็นธรรมชาติ
ส่วนคำว่า "ธรรมดา" นั้นเป็นคำกว้างรองลงมาอีกเช่นกันใช้หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่เป็นไปตามปกติ ดังนั้น จึงมีคำว่า "ไม่ธรรมดา" เกิดขึ้น หมายถึง ธรรมะในภาคส่วนที่เกิดน้อยหรือเกิดไม่บ่อย เราจึงมักเีรียกว่า "ไม่ธรรมดา"
ส่วนคำว่า "สัจธรรม" นั้น มุ่งเน้นหมายความแคบลงอีกเช่นกัน ใช้หมายถึง "หลักการแก่นแท้" ของสรรพสิ่ง ดังนั้น สิ่งใดที่เป็นเปลือก ไม่จริงแท้ จึงไม่ได้หมายรวมอยู่ใน "สัจธรรม" เช่น ความคิดมิจฉาทิฐิผิดไปจากความจริง ย่อมไม่ถูกนับเป็นสัจธรรม
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "ธรรมะ" ที่ใช้ในความหมายแคบด้วย เช่น ใช้หมายถึงภาคฝ่ายให้คุณ, ฝ่ายดี, ฝ่ายสัมมาทิฐิ เราเรียกว่า "ฝ่ายธรรมะ" แต่ภาคฝ่ายที่ตรงข้าม จะถูกเรียกว่า "ฝ่ายอธรรม" หรือ ธรรมะฝ่ายที่ให้โทษแก่มวลมนุษย์ เ้ป็นต้น

สุดท้าย คำว่า "พระธรรม" นั้น ใช้ในความหมายแคบอีกเช่นกัน หมายถึง "ธรรมะที่ตรัสรู้และแสดง" โดยพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นั่นเอง ซึ่งพระธรรมนี้ มีลักษณะเป็น "ส่วนหนึ่ง" ของ ธรรมะ อันไม่รวม "ธรรมะที่เกิดจากการปรุงแต่งของผู้อื่น" เช่น คนที่โกหกไปเรื่อย คำโกหกของเขาไม่อาจรวมอยู่ในพระัธรรมได้ แต่พระธรรมก็ได้กล่าวถึงการโกหกของเขาว่า "มุสา" นั่นเอง
อนึ่ง พระธรรมของพระพุทธเจ้ามีลักษณะอันสอดคล้องกับ สัจธรรม, ฝ่ายธรรมะ, ธรรมชาติ เป็นต้น แต่ก็ไม่นับว่าเ้ป็นสิ่งเดียวกันเสียทีเดียว (ใช้ในความหมายต่างกันเล็กน้อย หรือมองในมุมที่ต่างกัน) ดังนั้น จึงอาจมีผู้ที่เข้าถึง "สัจธรรม" ได้มากมาย ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ก็มีได้ เป็นได้ แต่สัจธรรมนั้น อาจไม่ได้มุ่งตรงสู่นิพพานก็ได้ เป็นเพียงสัจธรรมความจริงในบางแง่ บางมุม ที่แต่ละคนอาจมองเห็นในมุมที่ต่างกันไป
นอกจากนี้ พระธรรม ยังประกอบด้วยส่วนที่เป็น "สัจธรรม" หรือความจริงแบบแก่นแท้ และส่วนที่ไม่ใช่สัจธรรม แต่ก็เป็นพระธรรมเหมือนกัน เช่น ศีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีมาก่อน แต่พระพุทธองค์ทรงตราไว้ในภายหลัง เพื่อใช้ในการเตือนสติพระสาวก ให้เห็น "ความเป็นปกติ, ธรรมดา ของพระอรหันต์ทั้งหลาย" อนึ่ง
พระธรรมในส่วนที่ไม่ใช่สัจธรรมนี้ จะกล่าวว่าไม่ใช่ความจริงแท้ ก็ไม่ได้ เพียงแต่ไม่ใช่ "ความจริงในส่วนแก่นแท้" ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น การใช้คำว่า ธรรมะ, สัจธรรม, ธรรมดา, ธรรมชาติ ประกอบกับ "พระธรรม" ในพระพุทธศาสนานั้น ก็อาจเพื่ออธิบายและอาศัยความสอดคล้องต้องกันของสิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ ตรงต่อ "พระธรรม" ของพระพุทธเจ้า ก็เท่านั้นเอง (ไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสียทีเดียว แต่ก็สอดคล้องกัน) เช่น การที่พระพุทธเจ้าสอนให้พระสาวกบางรูป เพ่งกสิณ "ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ" ก็เพ่งจาก "ธรรมชาติ" นั่นเอง ในขณะที่ "พระธรรมหมวดธาตุสี่" อันประกอบด้วย ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ อาศัยฟังจากพระวัจนะก็ได้ ไม่้ต้องเพ่ง

พระสงฆ์ ภิกษุ สาวก
สามคำนี้ มีความหมายต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ
พระสงฆ์ นั้นใช้หมายถึง ผู้บวชอยู่ในพระพุทธศาสนา
ส่วนคำว่า พระสาวก นั้น หมายรวมถึงทั้งผู้ที่บวชและไม่บวช หากน้อมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็นับเป็นพระสาวกได้ ดังนั้น พระสาวกจึงมีทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส
ส่วนคำว่า "ภิกษุ" นั้น หากแปลตามตำราไทย ท่านให้ไว้ว่า "ผู้ขอ" จึงมีความหมายทับซ้อนกับคำว่า "ขอทาน" เพราะขอทานก็เป็นผู้ขอเหมือนกัน
ในที่นี้ ผมจึงขออนุญาตให้คำจำกัดความคำว่า "ภิกษุ" ใหม่้ ว่าหมายถึง "ผู้รับ" อันจะต่างจาก "ขอทาน" เพราะไม่ใช่ผู้ขอ ไม่ได้กระทำกรรมด้วยการขอ แต่อยู่เฉยๆ หรือทำกิจของตนไป โดยไม่ได้มีเจตนากระทำกรรมด้วยการขออะไรจากใคร แต่พร้อมแล้วที่จะรับ ถ้ามีผู้ใดพร้อมที่จะให้ ก็รับได้ นี่จึงต่างจาก "ขอทาน"
ดังนี้ หากภิกษุไปเดินเรี่ยไร ทำกรรมด้วยการขอ ร้องขอ บอกกล่าวให้คนมาทำบุญกับตน ก็นับว่าไม่ใช่กิจของภิกษุแต่หากภิกษุนั้นอยู่เฉยๆ แล้วมีผู้กระทำให้แทนโดยตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อมีผู้ให้ ภิกษุก็รับไป อย่างนี้ นับว่าเป็นกิจของภิกษุผู้รับ ไม่ใช่ผู้ขอ
นอกจากนี้ ยังมีัคำที่เกี่ยวข้อง เช่น คำว่า "สมมุติสงฆ์" อันหมายถึง ผู้ที่ถือบวชเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติในทางพระพุทธศาสนา ยังไม่ได้เป็นพระสงฆ์แท้ ซึ่งมีได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น พระสงฆ์ที่ได้จากการบวชโดยประเพณี เป็นที่ยอมรับกันในประเทศไทย ตามประเพณีไทย แม้ว่าไม่ตรงกับธรรมวิันัย ผิดธรรมวินัย ก็นับว่าสำเร็จเป็น "สมมุติสงฆ์" ได้เช่นกัน แต่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "พระสงฆ์แท้" เท่านั้นเอง
อาทิเช่น การบวชของพระภิกษุณี ในไทยนั้น ทางคณะสงฆ์ไม่ยอมรับ เนื่องจาก "สายภิกษุณีขาดสิ้นไปแล้ว" การบวชนี้ กลับได้รับการยอมรับจากสังคมไทย สามารถบิณฑบาตรแล้วมีผู้คนอนุเคราะห์ให้ ก็นับว่าเป็น "สมมุติสงฆ์" เช่นกัน เมื่อได้ตายไปจากโลกนี้แล้ว จุติขึ้นสวรรค์ ก็สามารถ "ต่อสายธรรมบนสวรรค์" อันเป็นสายธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงโปรดไว้เมื่อครั้งเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ (และเทวดาเหล่านั้นมีอายุมากกว่ามนุษย์มากเป็นพันปีทิพย์ หลายท่านบรรลุอรหันตผลจึงยังดำรงอยู่เพื่อรอต่อสายธรรมให้ได้) เมื่อต่อสายธรรมเช่นนี้แล้ว จึงนับว่าเป็น "พระสงฆ์แท้" โดยสมบูรณ์ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "อรหันตสาวก" อีกด้วย ใช้หมายถึง พระสาวกที่ได้อรหันตผล สามารถเผยแพร่ธรรมในพระพุทธศาสนาได้ตรงนิพพาน จึงสามารถต่อสายธรรมสืบทอดพระพุทธศาสนาได้
อนึ่ง พึงเข้าใจด้วยว่า "สายธรรม" ก็อย่างหนึ่ง จำต้องสืบทอดต่อจากผู้มีธรรมจริง
"สายพระสงฆ์" ก็อย่างหนึ่ง จำต้องต่อจาก "พระสงฆ์ที่ได้บวชอย่างถูกพระธรรมวินัยจริงๆ"
ดังนั้น ผู้ต่อสายพระสงฆ์แต่ไม่ได้ต่อสายธรรม ก็ยังเป็นพระสงฆ์ได้ แม้ว่าไม่ได้มีธรรมแท้จริง
ในขณะที่ผู้มีธรรม เช่น ฆราวาสที่บรรลุอรหันตผล อาจไม่ได้ต่อสายพระก็ได้ ก็ยังนับว่ามีธรรมเช่นเดิม ซึ่งตามนัยของพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า "หากฆราวาสบรรลุธรรม ไม่ได้บวช จะละสังขารภายใน ๗ วัน" แล้วจึงได้ถึงซึ่งพระนิพพานไป นับว่า "จบกิจ" จบพรหมจรรย์ จบชาติ จบภพ โดยสมบูรณ์ ดังนี้แลฯ ...

โลกธาตุ
ในจักรวาลมีดวงดาวมากมาย ในจำนวนดาวมากมายเหล่านี้ มีทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ ในจำนวนนี้ ยังมีดาวที่เรียกว่า "โลกธาตุ" คือ ดาวมี "รูปธรรมชีวิต" ดำรงอยู่ ในรูปแบบที่ต่างกันไป ทั้งที่มีวัตถุสสารประกอบเป็นสังขาร และที่ไม่มีวัตถุสสารประกอบเป็นสังขาร มีเพียงพลังงานละเอียด, พลังชีวิต ประกอบเป็นวิญญาณขันธ์ก็มี
ดาวดวงไหนไม่มีรูปธรรมชีวิตดำรงอยู่ ไม่เรียกว่า "โลกธาตุ" ดาวดวงไหนมีรูปธรรมชีวิตดำรงอยู่ จึงเรียกว่า "โลกธาตุ"
ในบรรดาโลกธาตุทั้งหลาย มีทั้งโลกธาตุที่มี "พุทธะ" ดำรงอยู่ หรือเป็นแดนเกิดของ "พุทธะ" จำนวนมาก เรียกว่า "พุทธเกษตรโลกธาตุ" หรือ "พุทธเกษตร" เฉยๆ ก็ได้ เช่น สุขาวดีพุทธเกษตร, อภิรตีพุทธเกษตร, พหุสคันโธพุทธเกษตร ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งในพุทธเกษตรเหล่านี้จะมีพุทธะดำรงอยู่ตลอด ไม่มีที่สิ้นสุด ดังแสงธรรมไร้ประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุดฉะนั้น
โลกธาตุที่เหลืออื่นๆ นอกนั้น อาจมีหรือไม่มีพระพุทธะ ไปเกิด, ไปตรัสรู้, ไปปรินิพพาน "ในบางวาระ" เป็นครั้งคราวไป ดังนั้น บางโลกธาตุจึงมี "ช่วงที่ว่างจากพุทธะ" ช่วงนั้น โลกธาตุันั้นก็เหมือน "ดับมืดลง" เรียกว่า "ยุคมืด" จนเมื่อมีพระพุทธะมาเกิด, มาตรัสรู้แล้ว พระองค์แรก โลกธาตุนั้นจึงพ้นจาก "ยุคมืด" ได้ จากนั้น จึงเกิดมีพุทธะองค์อื่นๆ สืบต่อเนื่อง ตามๆ กันมา พระุพุทธะพระองค์แรกที่ตรัสรู้ จึงถูกเรียกว่า "พระพุทธเจ้า" หรือเจ้าแห่งพุทธะ เป็นดั่งเจ้าเหนือพุทธะองค์อื่นๆ ทั้งมวล เป็นผู้นำสูงสุดเีพียงหนึ่งเดียวในหมู่พุทธะเหล่านั้น



Create Date : 13 สิงหาคม 2556
Last Update : 13 สิงหาคม 2556 0:06:32 น. 1 comments
Counter : 1586 Pageviews.

 
มาแบบลึกลับ คนเขียนก็ลึกลับ คล้ายชาวต่างดาว
จขกท เพียงแค่ถ่ายทอด แต่คิดว่าคนนี้นะ รู้จริง


โดย: jesdath วันที่: 22 สิงหาคม 2556 เวลา:1:56:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.