มหัศจรรย์ตาลโตนด--พลังดิบ--พลังเถื่อน

-----นักวิจัย พบว่า ภาวะแห้งแล้ง หรือ เอล นิโน่ ภาวะน้ำมาก-หนาวเย็น หรือ ลา นิน่า จะเกิดเร็วขึ้น เช่นเดิม ทุก 5 ปี เหลือ 1-2 ปี และมีความรุนแรง เช่นไทย ปีเดียว เจอทั้งแห้งแล้งและน้ำท่วมหนัก อุตสหกรรมสูญกว่าแสนล้าน แต่ละภาคเสียหายเป็ยนหมื่นล้าน ซึ่งมนุษย์ต้องปรับตัวกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้้ เรือพลาสติก อาหารแห้งเช่นมาม่า ขายดีขึ้น 10 เปอร์เซนต์ สงงสารวัวควาย ต้องดำน้ำหาหญ้ากิน ลิงที่อุทยานโกสัมพีก็อด
-----นึกถึงต้นตาล ก็นึกถึง ดาบตุ่ม ตำรวจผู้เป็นวีรบุรุษ ชอบปลูกต้นไม้ และเขาสังเกตว่า ต้นตาล ไม่เคยโดนพายุพัดล้ม ทนแดด ทนแล้ง ในดินที่แห้งแล้ง แข็ง เป็นลูกรังก็ขึ้นได้ งวงตาลใช้ทำน้ำตาลโตนด ลูกตาลทำขนมได้ จาวตาลใช้บริโภคสด หรืออัดกระป๋อง ปัจจุบันเมื่อได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงาน ท่านจึงจ้างทีมงานมาช่วยปลูกให้ จากคนที่มีชาวบ้านว่าเขาเป็นคนบ้า แต่ปัจจุบันคนที่ว่าก็หากินกับต้นตาลที่ดาบตุ่มปลูกไว้นั่นเอง ในวัดที่ชลบุรี มีอยู่หลายค้น เมื่ออกลูก แม่ต้าหน้าวัดก็มาจองเอาไว้ทำขนมลูกตาล มันส่งกลิ่นหอมหวนทวนลม ล่อแมลงนานาชนิดมากินเลยทีเดียว ผมเก็บลูกแก่ไว้ 1 ลูก ให้พี่สาวไปปลูกที่มหาวิทยาลัย
-----พลังดิบ หมายถึงอย่างที่เรากินผักดิบๆสดๆ เราก็ได้พลังธรรมชาติของมันอย่างเต็มที่ครับ อย่างที่เคยบอกว่า พืช สามารถจำลองดีเอ็นเอของมัน แม้สฃว่าจะนำออกจากการทดลองไปแล้ว แต่มันยังจำลองตัวมันเหมือนว่ามันยังอยู่ในการทดลองนั้นๆ พลังธรรมชาติ เราสามรถมองเห็นได้ผ่านเคื่องมืออย่าง
กล้องเคอร์เลี่ยน จริงๆแล้วคนเราก็รู้้สึกได้ เช่น ชื่นใจในดอกไม้สดมากกว่า
ดอกไม้เทียมเป็นต้น อย่างการเอาดอกมะลิมาลอยในน้ำฝน ก็เท่ากับสกัดเอาพลังชีวิตมันออกมาแบบหนึ่ง คนญี่ปุ่นที่มาซื้อบ้านที่ในเชียงรายเชียงใหม่ก็ชื่นชอบผลไม้สดๆ ที่มีพละงชีวิตมาก และบ่นว่าคนไทยไม่ค่อยสนใจพืชพื้นถิ่นอย่างกล้วยน้ำว้า ซึ่งเป็นทั้งยารักษาโรคกระเพาะได้ดีมาก
-----พลังเถื่อน ก้อย่างที่สุนัขรอดไวเลอร์ตัวเล็กๆแต่พลังเหลือเฟือ ลากรถปิคอัพก็ยังไหว หมาพันธุ์อื่นที่ตัวโตกว่าก็เกรงกลัว แต่ถ้าเกิดในผู้หญิง มักเรียกว่า อเมซอน ผู้หญืฃิงที่แข็งแรงเหมือนผู้ชาย คุณแม่ผมเป็นผู้หญิงผอมๆ ตัวเล็กๆ ผลักผมแบบเล่นๆ มือเดียว กระเด็นเลยครับ เพราะพลังจิต ก่อให้เกิดกำลังกาย
อย่างเด็กเล้กๆ หรือประมาณ 3 ขวบสามารถจับปลาไหลได้อยู่มือ แม้จะไม่มีกล้ามเนื่อมากนัก แม้ตกจากบีนไดสูงๆ ก้ไม่เป็นไรครับ เด็กหรือสัตว์ที่ไม่ยอมให้เราอุ้ม ก็จะดิ้นจนเราไม่สามรถอุ้มได้ และรู้สึกว่าตัวหนักมาก ถ้ายอมให้อุ้มก็จะตัวเบาขึ้น อันนี้เราไม่สามรถเอาตาชั่งจับได้ แต่เคยเห็นเขาสะกดจิตคนๆหนึ่งให้ภาวนาว่าตัวหรักๆ 4 คนก็อุ้มไม่ไหว ถ้าภาวนาว่าตัวเบาๆ ทั้ง 4 คนเอานิ้วชี้ดันก็ยกขึ้นได้ครับ
-----เคยไปเที่ยวพม่า เห็นผู้หญิิงแบกกลองยาวขึ้นเนินเขาไปที่ัวัด ผมก้บอกว่าจะช่วยแต่ขอโทษ ผมไม่สามารถแบกมันขึ้นบ่าไหว แสดงว่าหญิงคนนั้นทำงานหนักบ่อยๆ มีพลังภายใน หรือพลังดิบเถื่อนที่ได้จากดินฟ้าอากาศ มาอยู่ในร่างของเธอ---ไปเที่ยวตรงเนินเขาที่เป็นที่ขายของ มีสาวชาวเขามาตื๊อให้ซื้อหนังพรรค์อย่างว่า ผมก็บอกว่าไม่เอา (มีภรรยาและลูกเดินตามมาด้วย) หญิงคนนั้นก้เดินเบียดเข้ามาทางด้านหลัง ผู้อ่านก็คงรู้ว่าจะมีอวัยวะใดมาเบียดโดนตัวผมบ้าง รู้สึกว่า กล้ามเนื่อเค้าแน่นมากกว่าผู้ชายทั่วไปอีกครับ นึกถึงถ้าหากปลดปล่อยพลังในการมี เอ้อ...อ่า.. เพศสัมพันธ์์กัน ก็น่าจะยิ่งหว่าหนัง...ใดๆซะอีก อันนี้ขอโทษด้วยนะ แต่ผู้ชายส่วนใหญ่ มักจะคิดแต่เรื่องแบบนี้จริงๆนะคุณๆ ยังเคยเจอคนนนึง เขามาซื้อวิทยุที่ร้านแม่ เราซ่อมปลั๊กให้เขา ก็หน้าตาธรรมดา แต่ด้านหลังของเธอมีพลังงานทางเพศปลดปล่อยออกมาอย่างรุนแรง อาจเป็นเพราะว่า เธอยังไม่ได้แต่งงานนั่นเอง
-------พลัง มีทั้งบวกและลบ ทำไมคนสมัยก่อนไม่ให้บุรุษยุ่งกับเสื้อผ้าสตรี ผมขอเล่าละกัน วันหนึ่งที่ศูนย์ไสบาบาแม่สาย เราสวดภชัน แล้วนั่งสมาธิ รู้สึกว่าสัดพักนึงมีพลังก่อเกิดขึ้นมาทั่วตัว มีผู้หญิงแขกเดินผ่าน ชายส่าหรีบางๆปัดมาโดนหัวเข่าข้าพเจ้า เพียงแว็บเดียว หายหมดเลยครับ พลังที่ได้ หายหมดเลยเหลือเป็นศูนย์ อ๋อที่เขาว่าผู้หญิงเป็นประจุลบ ชายเป็นประจุบวก... ไฟช๊อตตตต... เป้นอย่างนี้นี่เอง
--------------------------------------------------------------------------
กาบตาลมีส่วนขอบเป็นสีดำ แข็ง เปราะ มีลักษณะคดไปมา แต่คมเหมือนมีดโกน คนโบราณเอาไว้ตัดสายสะดือเด็กทารก สมัยกัมพูชาที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน พวกคนรวยจะถูกนำมาปาดคอด้วยก้านตาล จะเป็นแผลเหวะหวะ ตายอย่างทรมานน่าดู ใบตาลใช้จารึกหนังสือโบราณ ใช้ทำพัดโบก พัดวี(ทางเหนือเรียก พัดว่า วี กริยาก็เรียกวี)
แม้แต่ในหนังสือระดับแนชั่นแนล จีออกราฟฟิก-ไทย ก็บอกว่า ลูกชิด หรือลูกต๋าว เป็นพืชที่ออกผลครั้งเดียวที่อายุ 20 ปีแล้วก็ตาย ผิดนะครับ จากสารคดีกบในกะลา คนที่ไปเก็บผลไม้นี้ กจะ็ไปเก็บได้ทุกปีจากป่าที่ต้นเดิมครับ ปีหนึ่งจะเก็บได้ครั้งเดียว โรงงาสนกรรจุปิ๊บก็หาจากประเทศเพื่อนบ้านมาด้วย แต่ก็ปีละช่วงนึงเองครับ เป็นปาล์มที่ลูกระย้าลงเกือบเรี่ยดินเหมือนต้นเด่าร้าง --หรือปาล์มเต่ารั้ง(คงอร่อยจนเต่ามารั้งกิน) (เหนือเรียก เขียง หรือเขียงหมู่ ไม่ถือว่าเป็นไม้อัปมงคลแต่อย่างใด มีแต่เอาปักกองทรายตอนสงกรานต์ ผมก็เอาไปปลูกที่สวน บ้านดงป่าเหมี้ยง จนโตมากแล้วครับ---ฝรั่งเรียงฟิชเทลปาล์ม เพราะใบคล้ายหางปลา) ปาล์มชนิดนี้มีมากมาย ต้นใหญ่ๆก็มี เป็นอีกชนิดหนึ่งอยู่แถวแม่ฮ่องสอน มีก้านลายๆแบบหนังงงู เป็นของราคาแพงเพราะหายาก---ปาล์มจั๋ง แข็งแรงทนทานใช้แต่งถายนอก ภายในอาคาร ผมเคยไปหาถอนมา แต่ก็ดึงมันไม่ออก

-------------------------------------------------------------------------------
ตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer L.
ชื่อวงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ : Palmyra palm, Toddy palm, Wine palm,
Tala palm, Doub palm, Lontar palm, Fan palm,
Brab palm
ชื่อพื้นเมือง : ตะนอด ตาลโตนด ตาลใหญ่ ถาล ทอถู
ท้าง ทะเนาด์ โหนด
ชนิดพืช [Plant Type] : ปาล์มต้นเดี่ยว
ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 25 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีขาวอมเหลือง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ก.พ.-มี.ค.
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ช้า
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แสงแดดจัด
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 30-40 เซนติเมตร ขณะที่ต้นยังเตี้ยอยู่จะมีทางใบ
แห้งติดแน่น
----ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว รูปค่อนช้างกลมคล้ายพัด เรียงสลับ กว้าง 1-1.5 เมตร แผ่นใบหนา สีเขียว ปลายใบ
จักลึกถึงครึ่งแผ่นใบ ก้านใบหนาสีเหลืองยาว 1-1.5 เมตร มีหนามเเข็งตามขอบก้านใบ
----ดอก (Flower) : สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อละ
8-16 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร
----- ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ผลติดเป็นกลุ่มแน่น ทรงกลม สีน้ำตาลถึงม่วงเข้ม ปลายผลสีเหลือง
ผิวมัน ขนาด 15-20 เซนติเมตร ผลสุกสีดำ ติดผลง่าย
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกกลางแจ้งเป็นกลุ่ม เป็นแถวหรือต้นเดี่ยว สามารถ
ปลูกตามชายทะเลได้ ไม่ชอบอากาศเย็น ทนดินเค็ม ผลสวยดึงดูดสัตว์ ควรปลูกต้นที่มีขนาดเล็กดีกว่าขุดล้อม
ต้นใหญ่
ประโยชน์ : ผลกินได้ เมื่อสุกมีกลิ่นหอม ผสมแป้งทำขนมหวาน จาวเชื่อม ทำขนม รากและใบใช้ผสมทำยาสมุนไพร
งวงตาลต้มน้ำดื่มแก้พิษตานซาง ขับพยาธิ กาบหรือก้านใบอังไฟแล้วบีบเอาน้ำกินแก้ท้องร่วง ท้องเสียหรืออมแก้ปากเปื่อย




-----------------------------------------------------

ความเป็นมาของตาลโตนด


ตาลโตนดจัดเป็นไม้ตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งในโลกซึ่งมีมากกว่า 4,000 ชนิด (Species) เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนับเป็นร้อยปี และอยู่กับจังหวัดเพชรบุรี มาตั้งแต่โบราณกาล และผลิตผลจากต้นตาลโดยเฉพาะน้ำตาลโดนดยังเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำขนมหวานเมืองเพชร ซึ่งมีชี่อเสียงตั้งแต่อดีดจนถึง ปัจจุบัน ดังคำสวดสุบินกุมารที่มีอายุมากกว่าร้อยปี กล่าวว่า

โตนดเต้าแลจาวตาล เป็นเครื่องหวานเพชรบุรี
กินกับน้ำตาลปี ของมากมีมาช่วยกัน

จากตำนานของจังหวัดเพชรบุรีกล่าวว่าในปี พ.ศ. 2134 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เสด็จมาประทับแรม ณ พระตำหนักโตนดหลวง (อยู่ในเขตตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ) เพื่อประพาสทางทะเล



นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดน่าจะมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดียขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ส่วนภาคใต้พบมากที่อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา การแพร่กระจาย ของตาลโตนดนั้น นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า การแพร่กระจายของตาลโตนดนั้น สัตว์ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน เช่น เวลาช้างกินเมล็ดตาลโตนด จะกลืนทั้งเมล็ด และช้างจะเดินทางไกลนับเป็นร้อยๆกิโลเมตร ทำให้ตาลโตนดแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้เช่นกัน ตรงข้ามกับวัว ควาย ซึ่งชอบ เมล็ดตาลโตนดสุกเหมือนกัน แต่วัว ควายได้แต่แทะ และดูดกินส่วนของเส้นใยของเมล็ดตาล พอหมดรสหวานก็จะทิ้งไว้ใกล้เคียงบริเวณเดิม ไม่ได้แพร่พันธุ์ไปไกลๆ
-----------------------------------------------------------
ตาล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Borassus flabellifer L. L.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน]
อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Liliopsida
อันดับ Arecales
วงศ์ Arecaceae
สกุล Borassus
L.
สปีชีส์ B. flabellifer L.
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Borassus flabellifer L. L.

ตาล เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาด ใหญ่ สกุล (Genus) Borassus ในวงศ์ (Family) Palmae เป็นปาล์มที่ แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 ซม. ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 ซม. และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 ซม. โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 ซม. และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 ซม. ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 ต้นตาล
* 2 ลูกตาล
* 3 จาวตาล
* 4 ผลตาล
* 5 เมล็ด
* 6 เปลือก
* 7 ใบ
* 8 ทางตาล
* 9 ลำต้น
* 10 เกร็ด
* 11 ดูเพิ่ม

[แก้] ต้นตาล
ต้นตาล

ต้นตาลตัวผู้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากต้นตาลตัวเมียเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นตาลตัวผู้จะออกงวงเป็นช่อ ไม่มีผล ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "จั่น" ถ้าการเวียนของทางใบวนไปทางซ้ายมือจะเป็นตาลตัวผู้ ต้นตาลตัวผู้จะสังเกตจาก ใบและงวง เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของต้นตาลตัวผู้อย่างชัดเจน ส่วนต้นตาลตัวเมียนั้นจะมีลักษณะ การเรียงตัวของทางใบ ถ้ามีการเรียงตัววนไปทางขวามือจากบริเวณโคนไปสู่ยอดจะเป็นต้นตาลตัวเมีย แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ต้นตาลตัวเมียจะต่างจากต้นตาลตัวผู้ตรงที่ต้นตาลตัวเมียจะมีลูกเป็นช่อ ๆ หรือชาวบ้านเรียกว่า "ทะลายตาล"

จังหวัดเพชรบุรีมีต้นตาลมากที่สุดในประเทศไทย ดังปรากฏหลักฐานจาก “นิราศเมืองเพชร” ของสุนทรภู่ ความตอนหนึ่งว่า ทุกประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ด้วยเหตุนี้ ต้นตาลจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีคู่กับเขาวัง หรือพระนครคีรี ปรากฏเป็นตราและธงประจำจังหวัดเพชรบุรี สืบมาจนถึงทุกวันนี้

ต้นตาลเมืองเพชร ให้ผลผลิตน้ำตาลโตนดที่ ดีที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณตราบจนถึงปัจจุบัน จึงมีชื่อเสียงติดปากคนทั่วไปว่า “น้ำตาลเพชรบุรี” เพราะมีรสหวานหอมอร่อย มีรสชาติกลมกล่อมชวนรับประทาน จนเป็นที่มาของคำว่า “หวานเหมือนน้ำตาลเมืองเพชร” ดังนั้นต้นตาลจึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี โดยทั่วไปชาวชนบท ชาวนาจะปลูกข้าวและทำตาลควบคู่กันไป ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกต้นตาลไว้บริเวณคันนา ในตัวเมืองเพชรบุรี ก็ปรากฏว่ามีการปลูกต้นตาลเช่นกัน บริเวณที่มีต้นตาลมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ท้องทุ่งตำบลหนองไม้เหลือง ตำบลโตนดหลาย ตำบลไร่ส้ม ตำบลโรงเข้ เป็นต้น และทุกท้องที่ในเขตอำเภอบ้านลาด เมื่อมองผ่านต้นตาล จะมองไม่เห็นท้องฟ้าอีกด้านหนึ่ง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการทำนา 2 ครั้ง เป็นผลให้ต้นตาลปรับสภาพไม่ทัน เพราะพื้นที่มีน้ำมากเกินไป กลายเป็นที่มีน้ำท่วมขัง ต้นตาลไม่ได้พักตัวที่เรียกว่า “แต่งตัว” ในที่สุดก็ต้องยืนต้นตายภายในเวลาไม่นานนัก เพราะระบบนิเวศเปลี่ยนจากเดิม ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ

ต้นตาลในจังหวัดเพชรบุรี ยังแบ่งออกได้เป็น 2 พันธุ์ ดังนี้

* ตาลบ้าน มีจำนวนเต้าตาลในแต่ละผล 1-4 เต้า แบ่งสายพันธุ์ย่อยได้อีก 3 พันธุ์ คือ
o ตาลหม้อ มีผลขนาดใหญ่ ผิวดำคล้ำ
o ตาลไข่ มีผลสีขาวเหลือง ผลขนาดเล็กกว่า แต่เต้าตาลใหญ่ขนาดใกล้เคียงกับตาลหม้อ (มีเนื้อหุ้มเต้าตาลบาง)
o ตาลจาก มีผลในทะลายแน่นคล้ายทะลายจาก
* ตาลป่า มีผลเล็กขนาดตาลไข่ มีผลเขียวคล้ำ มีเต้า 1-2 เต้า ลำต้นสีเขียวสด ก้านใบยาว (บางคนเรียกว่า ตาลก้านยาว) พบแถบเขาแด่น อำเภอบ้านลาด และในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตาลป่ายังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมักขึ้นอยู่ในป่า

ประโยชน์ของต้นตาล ต้นตาลเป็นต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี ที่แข็งแรงยืนยง สามารถทนแล้ง ทนฝน และกระแสลมร้อนหนาวตามสภาพดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก นอกจากต้นตาลจะให้ประโยชน์ในการทำน้ำตาลโตนดแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของต้นตาลยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีก เช่น
[แก้] ลูกตาล

ตาลตัวเมียจะมีลูกตาลต้องตัดเมื่อยังไม่สุก เพื่อให้ได้เต้าตาลหรือ ลอนตาล ในลูกตาลหรือผลตาล 1 ผล จะมีเต้าตาลประมาณ 2-3 เต้า ภายในเต้าตาลอ่อนนี้มีน้ำขังอยู่ รับประทานได้ทันที หรือนำมาหั่นบาง ๆ ใส่น้ำแข็งไส โรยน้ำหวาน และนมข้น นมสด บางครั้งก็นำไปต้มในน้ำเชื่อม เรียกว่า ลอนตาลลอยแก้ว

ตาลตัวเมียที่กำลังจะมีลูกตาลแต่ยังไม่มีลูกตาลเรียกงว่า งวงตาล
[แก้] จาวตาล

เกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อผลหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาต้นตาลตัวเมียจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า “งอกตาล” ส่วนนี้จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาล เมื่อแทงยอดพ้นดินขึ้นมาจะเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป

จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ในการนี้ จะต้องใช้ความชำนาญผ่าเอาเปลือกแข็งชั้นนอก ซึ่งเปรียบเสมือนกะลามะพร้าวออกก่อน จากนั้นจะต้องผ่าเอาเปลือกชั้นรอง คือส่วนที่เป็นน้ำเพื่อขัดผิวนอกด้วยใบไผ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ใบซอ เพื่อให้เมือกหรือไคลหมดไปจนขาวสะอาด เมื่อสะเด็ดน้ำแล้ว นำลงกระทะทองเหลืองเชื่อมกับน้ำตาลทาย ต่อไปก็จะได้ “จาวตาลเชื่อม” หรือนิยมเรียกกันว่า “ลูกตาลเชื่อม”


การเชื่อมจาวตาลนิยมทำเป็น 2 แบบคือ เชื่อมเปียก จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล หรือเชื่อมแห้ง จาวตาลจะมีเกร็ดน้ำตาลจับแข็ง ซึ่งสะดวกต่อการบรรจุในภาชนะและเก็บได้นาน

ถ้านำจาวตาลเชื่อมไปรับประทานพร้อมกับข้าวเหนียวมูนน้ำกะทิ เติมงาคั่วผสมน้ำตาลทราย เกลือป่น และมะพร้าวใย จะได้ขนมอร่อยอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ข้าวเหนียวโตนด หรือข้าวเหนียวหน้าโตนด หรือข้าวเหนียวลูกตาล

นอกจากนี้ เมื่อนำลูกตาลสุกมายีเนื้อสีเหลืองแล้วผสมกับแป้งข้าวเจ้า ตั้งตากแดดไว้สักครู่ใหญ่ เติมน้ำตาลพอควร แล้วนำมาใส่ห่อใบตองหรือใส่กระทง นำไปนึ่งให้สุกในลังถึง หรือหม้อหวด ก็จะได้ขนมเนื้อนุ่มฟูคล้ายขนมเค้ก เรียกว่า “ขนมตาล” นับเป็นขนมอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยไม่ต้องใช้ผงแป้งฟูแต่อย่างใด
[แก้] ผลตาล

หรือลูกตาลที่ยังไม่แก่จัด ถ้านำเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แล้วหั่นออกเป็นชิ้นบาง ๆ ก็จะได้หัวตาลอ่อนนำไปปรุงเป็น “แกงคั่วหัวตาล” นับเป็นอาหารที่มีรสอร่อยกลมกล่อม แกงหัวตาลจะทำคล้ายแกงคั่ว มีส่วนผสมของกะทิ กระชาย ปลาย่าง ปลากรอบ หรือกุ้งสด แต่ส่วนใหญ่แกงหัวตาลของชาวเพชรบุรีนิยมใช้เนื้อย่าง หรือเนื้อเค็มหั่นบาง ๆ ผสมลงไปพร้อมกันใส่ใบส้มซ่าแทนใบมะกรูด หรืออาจใช้หอยขมมาแกะเนื้อใส่ผสมลงไปด้วย

หัวตาล นิยมนำไปลอยน้ำตาลใส โดยตัดเฉพาะส่วนหัวลูกตาลที่ค่อนข้างอ่อนร้อยกับเส้นตอกเป็นพวง ประมาณพวงละ 7-10 หัว แล้วนำไปลอยน้ำตาลใสที่กำลังเคี่ยวเดือดพล่านอยู่ในกระทะ เมื่อสุกดีแล้วจึงนำขึ้นเอาไปรับประทานได้

ผิวนอกของลูกตาล เมื่อเอามีดปาดออกชาวบ้านเรียกว่า “พลอมออก” นิยมนำไปเป็นอาหารสำหรับวัว มีกลิ่นยอมและรสออกหวานเล็กน้อย
[แก้] เมล็ด

เมล็ดตาล สุก ถ้านำไปล้างและฟอกให้สะอาด แล้วนำไปตากแห้งจะมีลักษณะฟูฝอยละเอียดสวยงามคล้ายขนสัตว์ นิยมนำไปเป็นของเล่นสำหรับเด็ก โดยใช้หวี หรือแปรงจัดรูปทรงได้หลายแบบ สมมติว่าคล้ายช่างทำผม หรือตัดย้อมให้เป็นสีต่าง ๆ นับเป็นของเล่นของเด็กผู้หญิงอีกอย่างหนึ่ง
[แก้] เปลือก

เปลือกแข็ง คือส่วนที่เป็นกะลา หลังจากที่ผ่าเอาจาวตาลออกแล้ว นิยมนำไปทำเชื้อเพลิง เมื่อนำไปเข้าเตาเผาจะได้ถ่านสีดำที่มีเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนสูง ปัจจุบันมีผู้รับซื้อถ่านที่ผลิตได้จากเปลือกแข็งของลูกตาลจำนวนมาก เพื่อเป็นสินค้าส่งออก นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบของยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และลดกรดในกระเพาะอีกด้วย

ในส่วนที่เป็นกะลานั้น หากเลือกลูกที่สวยงามมาผ่าครึ่งเป็นสองฝา นำมาขัดเช็ดถูผิวนอกให้สะอาดเกลี้ยงเกลาจนขึ้นเงา เซาะขอบด้านในของฝาหนึ่งกับขอบนอกของอีกฝาหนึ่ง แล้วแต่งขอบด้านนอกและด้านใน ให้สวมปิดเข้ากันได้สนิทดี ก็ใช้แทนตลับหรือกล่องสำหรับเก็บสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กระดุม เข็ม ใบจาก เส้นยาสูบ
[แก้] ใบ

ใบตาลและ ทางตาล สามารถทำเป็นพัด โดยตัดเจียน แล้วเย็บริมขอบให้เข้ารูป หรืออาจคัดเลือกใบตาลอ่อนแล้วรีดให้เรียบ นำมาจักเป็นใบ ๆ แล้วเย็บเป็นพัดใบตาลแบบพับก็ได้ ซึ่งเหมาะที่จะพกติดตัวไปได้ พัดแบบนี้อาจผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก โดยตกแต่งสีสันให้สวยงาม


นอกจากนี้ ใบตาลอ่อนยังสามารถนำมาจักสานทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ สำหรับแขวนให้เด็กดูเล่นได้อีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน กุ้ง ตั๊กแตน ชฎา หรือทำเป็นรูปสัตว์ ใส่ขาล้อแบบล้อเกวียนให้เด็ก ๆ ลากเล่น หรือนำมาจักเป็นเส้นตอก ถ้าใช้เส้นใหญ่มักสานขึ้นเป็นรูปกระเช้า ถ้าใช้ตอกเส้นเล็กนิยมสานเป็นกระเป๋าสตางค์

หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ สามารถใช้แทนช้อนชั่วคราว เพื่อตักขนมและอาหาร โดยเฉพาะข้าวกระทงที่เคยขายดีขนรถไป นิยมใช้ช้อนใบตาลก่อนที่จะมาใช้ช้อนพลาสติกดังเช่นปัจจุบัน ส่วนใบตาลขนาดใหญ่ นิยมนำมาผ่าซีกแล้วหักงอผูกกับส่วนที่เป็นก้าน เรียกว่า “หักคอม้า” นำไปมุงหลังคา ทำปะรำ มุงกระท่อม หรือโรงนา มีอายุใช้งานประมาณ 2-3 ปี


ข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ใบตาลสำหรับงานศิลปหัตถรรม "ต้นตาลบ้านเรา" เอกสารประกอบผลงานทางวิชาการ โดย วิทยา อยู่เย็น. โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน อ.บ้านลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 email : wit_2501@hotmail.com
[แก้] ทางตาล

ทางตาล เป็นส่วนของก้านของใบตาล สามารถลอกผิวนอกส่วนที่อยู่ด้านบน เรียกว่า “หน้าตาล” มาฟั่นเป็นเชือกสำหรับผูกวัว ล่ามวัว แม้จะใช้ได้ไม่ทนทานเท่าเชือกที่ทำจากต้นปอหรือต้นเส้ง แต่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องตากแดดตากฝน เพราะมีความชุ่มน้ำ ซึ่งหากใช้เชือกที่ทำจากวัสดุอื่นก็จะเปื่อยผุพังเร็ว

ส่วนทางตาลตอนโคน ซึ่งอยู่ติดกับต้นตาลนั้น มีจำนวน 2 แฉก เมื่อทางตาลแก่จัดจนใบแห้งจะร่วงหล่นลงมาเอง ชาวบ้านเรียกส่วนโคนนี้ว่า “ขาตาล” มีลักษณะบางและแบน จึงเหมาะกับการนำมาตัดใช้เป็นคราด หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบก็จะเรียกว่า “กาบตาล” สำหรับกอบสิ่งของที่เป็นกอง เช่น ใช้กอบมูลวัว กอบขี้เถ้า กอบเมล็ดข้าว เป็นต้น

อนึ่ง ขาตาลขณะที่แก่จัดแต่ยังไม่ถึงกับแห้งกรอบ ให้ตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขาตาล นำมาทุบด้วยของแข็งหรือสันขวาน จนเส้นใยฟุ้งกระจายดีแล้ว จึงนำแปรงที่ทำจากตะปูแปรงส่วนที่ไม่ต้องการออก จนเหลือแต่เส้นในเป็นเส้นฝอยเรียบวางเรียงเส้นขนานกัน จากนั้นนำไปมัดรวมกันคล้ายมัดวุ้นเส้น หรือเส้นหมี่ แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วมัดรวมเป็นมัดใหญ่เพื่อส่งจำหน่ายร้านรับซื้อ สำหรับเป็นแปรงหยากไย่ หรือทำไม้กวาด
[แก้] ลำต้น

ลำต้นตาล ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จัดว่าลำต้นแก่พอสมควร สามารถนำเปลือกนอก ซึ่งมีความแข็งและมีเสี้ยนตาล เป็นเส้นสีดำแทรกอยู่ในเนื้อไม้ หากนำมาแปรรูปแล้วจะได้ไม้กระดาน ขนาด 4-6 นิ้ว หรือนำมาประดิษฐ์เป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลายรูปแบบ
[แก้] เกร็ด

* ตาลเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

[แก้] ดูเพิ่ม

* มะพร้าว
* ขนมตาล



Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2553 16:51:12 น. 3 comments
Counter : 5295 Pageviews.

 
แวะมาทักค่ะ จากคนบ้าพิศวาส


โดย: cinanan วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:05:02 น.  

 
ยินดีครับ ผู้เป็นที่รักของคนบ้า และคนดีๆ ต่างก็ำพากันมาพิศวาท


โดย: jesdath วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:44:12 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: เมย์ IP: 118.175.189.196 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:16:57:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.