พุทธะ นิพพานบรรยาย ส่วน1ตอน2

อวิชชา
หมายถึงความไม่รู้แจ้งในนิพพานอันเป็นธรรมขันธ์ตัวแรกในวงจรปฏิจสมุปบาทก่อนที่จะเกิดเป็น  "สังขาร" (สังขารหมายถึงธรรมอันเกิดจากการปรุงแต่ง)
ดังนั้น อวิชชาึ จึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ ก่อนจะถูกปรุงแต่งแล้วเกิดเป็น "สังขาร" ขึ้นมาภายหลัง
กล่าวคือ ธรรมที่บริสุทธิ์มาแต่เดิมนั้น ด้วยเพราะความไม่รู้แจ้งในนิพพาน จึงทำให้ถูกปรุงแต่งไป เกิดเป็นสังขารธรรมขึ้นมา นั่นเอง
ดังนั้น อวิชชาจึงบริสุทธิ์ ไม่ใช่กิเลสอันเป็นธรรมที่ถูกปรุงแต่งแล้ว (อวิชชาย่อมแตกต่างจากกิเลส เช่นนี้) หรืออีกนัยหนึ่ง อวิชชานั้น ไม่ ใช่ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง อะไรเลย เป็นธรรมอันบริสุทธิ์แต่ฝ่ายเดียว เพียงแต่เพราะไม่รู้แจ้งในนิพพานเท่านั้นเอง จึงยังนับเป็น "อวิชชา"
อุปมาเหมือนคนโง่ ใสซื่อบริสุทธิ์ไม่รู้อะไรเลย แล้วถูกเพื่อนสามคนที่ชื่อว่า "โลภ, โกรธ, หลง" ล่อลวงไป นั่นเอง
ดังนั้น อวิชชาจึงไม่ใช่เรื่องของไสยเวท์มนต์ดำ ซึ่งไสยเวทย์มนต์ดำทั้งหลายนั้นไม่มีภาวะบริสุทธิ์ มีแต่การปรุงแต่งมากมาย มีสังขารธรรมแล้วทั้งสิ้น จึงไม่อาจเรียกว่า "อวิชชา" ได้
สิ่งที่จะมีภาวะเรียกว่า "อวิชชา" ได้ มีเพียงสิ่งเดียวก็คือ "ธรรมบริสุทธิ์" เช่น พระธรรม ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ นับเรียกได้ว่า "อวิชชา" เพราะอะไร? เพราะธรรมเหล่านี้เมื่อจิตทะลวงผ่านการปรุงแต่งด้วย "สังขารธรรม" (จึงเรียกว่า "ธรรมขันธ์" มาจาก "ธรรมะ + ขันธ์" คือ ใส่ขันธ์ลงในธรรม ขันธ์อะไร ก็คือ "สังขารขันธ์" นั่นเอง จำต้องปรุงแต่งด้วยถ้อยคำ, ภาษา, ศัพท์ต่างๆ เพื่อการสื่อสารให้เข้าใจ)  จึงถึงธรรมแท้ที่บริสุทธิ์นั้นแล้วย่อมเห็นว่ามี "อวิชชา" เป็นพื้นฐานก่อนจึงมีสังขารได้ (ตามปฏิจสมุปบาท กล่าวว่าเพราะมีอวิชชาจึงมีสังขารได้) หรือต้องมี "ธรรมอันบริสุทธิ์ก่อนจะปรุงแต่ง" (อวิชชา) มาเป็นราก เป็นเหง้าให้มันก่อน จึงจะงอกเงยเป็นต้น เกิดเป็น "สังขารธรรม" อันมี "นามรูป" (เริ่มมีคำเรียกใช้) เป็นกิ่งก้านสาขาต่อไป
แม้แต่ "จิตประภัสสร" อันบริสุทธิ์นั้นเล่า ก็ไม่ต่างกัน ล้วนมีรากเหง้ามาจากอวิชชาทั้งสิ้น

ดังนี้ บางท่านจึงกล่าวถึง "ธรรมที่ไม่อาจอธิบายได้ ไม่อาจเอื้อนเอ่ยเ็ป็นคำศัพท์ วจีสื่อสารใดๆ ได้" หรือ "ธรรมแบบจิตสู่จิต" ก็ดี อันเป็นธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ทะลวงลึกกว่า "ขันธ์แห่งธรรม, นามรูปแห่งธรรม, สังขารธรรม" ไปสิ้นขาดแล้ว อันเป็นธรรมไร้อักษร, ไร้บัญญัติ, ไร้สมมุิติ, ไร้การอธิบาย ฯลฯ นั่นเอง และถ่ายทอดได้จาก "จิตสู่จิต" เพียงเท่านั้น ไม่อาจถ่ายทอดผ่าน "วาจา" หรือ "ตำรับตำราใดๆ" ได้
ด้วยสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านอายตนะรับรู้ปกติของมนุษย์นั้น ย่อมเป็นเพียง "ผัสสะ" หรือ "ผลจากการรู้ด้วยวิญญาณขันธ์ปรุงแต่งไป" เท่านั้น มิใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ ย่อมเป็นการรู้ระดับสังขาร ย่อมเป็น "สังขารธรรม" ย่อมเป็นธรรมอันมีขันธ์อยู่ครอง บุคคลผู้ได้เข้าใจแล้วย่อมได้เพียง "สุตมยปัญญา" มิใช่ "ภาวนามยปัญญา" ไม่ใช่การรู้แจ้ง เกิดปัญญาทางธรรมแท้จริง แต่อย่างใด เป็นเพียงความรู้ในระดับโลกแต่เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมเท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้ "การรู้" ใดๆ ทั้งมวลล้วนคือ "ผัสสะ" อันเป็นผลมาจากการกระทบกันของอายตนะและสิ่งที่ถูกรู้ (สฬายตนะ) อันเป็นธรรมที่เกิดล่วงเลยไปไกลแล้วหลังจากถูกปรุงแต่ง (สังขาร) ยิ่งรู้มากจึงยิ่งยึดถือมาก ยิ่งได้ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์มาก ยิ่งมีขันธ์มาก เพิ่มเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์
บางท่านแก้ตัวว่า "รู้แล้ววาง" แท้แล้วแม้แต่การวาง ก็คือ ผลหลังจากการปรุงแต่ง
ปรุงแต่งว่าอะไร? ปรุงแต่งว่ามันไม่ใช่นิพพาน มันต้องวาง ก็เลยต้องวาง นั่นแหละ เพราะการปรุงแต่ง
ดังนั้น การวางในที่นี้จึงเ็ป็นการก่อกรรมอย่างหนึ่ง   อันเป็นผลมาจาก "สังขาร" ที่จิตปรุงแต่งไปว่ามันต้องวาง เพราะมันไม่ใช่นิพพาน นั่นเอง นี่ก็อวิชชา!

มรรค 
หมายถึง วิถีทางแห่งความหลุดพ้น
ในธรรมหมวด "มรรคแปด" ได้จำแนก แสดงออกให้เห็นถึงธรรมแปดประการอันเป็นธรรมดา, ปกติ ของผู้ที่หลุดพ้นจะพึงเป็น, พึงกระทำ แต่มิได้เป็นคำสั่ง หรือคำสอนให้ไปปฏิบัติตาม
เพราะการปฏิบัติตามธรรมใดก็ตาม ไม่ต่างอะไรกับ "ภาพเสมือนจริง" ที่ปรากฏบนกระจก
ด้วยว่าภาพเสมือนจริงนั้น แม้จะดูเหมือนจริงมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ "ไม่ใช่ของจริง" หากสังเกตดูให้ดีก็จะพบว่า "ภาพเสมือนจริงนั้น กลับซ้ายไปขวา" เสมอ
"ธรรม" ที่แสดงนี้จึงเป็นการแสดง "ธรรมะ ธรรมดา ธรรมชาติ" ของผู้ที่หลุดพ้นแล้วเท่านั้นเองว่าจะมีมรรคดำเนินไปอย่างไร ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้นำไปเลียนแบบ หรือทำตามแต่อย่างใด
ก็เมื่อใดที่บุคคลบรรลุธรรม เห็นแจ้งในธรรมแท้จริง ย่อมเห็นชัดว่า "ธรรมนี้ เป็น ธรรมดา มีอยู่แล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลายล้วนหยุดแล้วซึ่งความหลงเตลิดออกไปจากธรรมะที่บริสุทธิ์มาแต่ดั้งเดิม" จึงไม่ได้ไปคิด, ทำ, ปฏิบัติ, ฝึกฝนอะไรใดๆ อีก
จบลงที่ "หยุดหลง" ออกไปจากสิ่งที่เป็นธรรมอยู่แล้ว ก็เท่านั้นเอง
ธรรมนี้, มรรคนี้ ไม่ใช่ของที่พระพุทธเจ้าสร้างมาใหม่ ให้ลองใช้ ลองเล่น ลองปฏิบัติกัน อะไรก็หาไม่ เป็นสัจธรรม มีอยู่แล้ว จริงอยู่แล้ว แต่ดั้งแต่เดิมมาเช่นนั้นเองอยู่แล้ว
บุคคลผู้มี "อวิชชา-ความหลง" เป็นผู้เตลิดออกไปจากธรรมนี้เอง ทั้งที่ธรรมนี้ก็มีอยู่แล้วทั้งสิ้น, มรรค นี้่ก็มีอยู่แล้วทั้งสิ้น เป็นสัจธรรม ดั้งเดิม ธรรมดา ธรรมชาติ เช่นนี้เอง ไม่ต้องสร้าง, ไม่ต้องรักษา, ไม่ต้องทำลายอะไร จึงจะให้มีธรรมนี้ มรรคนี้ แต่อย่างใดเลย
อุปมาดั่งบุรุษเตลิดไปหา "เส้นชัยของตน" ย่อมระลึกอย่างนี้ว่า "นี่คือเส้นทางของเราหนอ, นี่คือ มรรคาแห่งเราหนอ" เราจะพึงดำเนินไปยังมรรคาหรือทางสายนี้จน กว่าจะถึงเส้นชัยนั้น
เมื่อบุรุษมีสติ พึงระลึกขึ้นได้ว่า "ก็เส้ยชัยนั้น ตนแลเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเอง" หามีผู้ใดเป็นผู้สร้างขึ้นไม่ แลเมื่อตนนั้นกำหนดเส้นชัยนั้นขึ้นมา มรรคย่อมเกิด, ระยะทางย่อมมี ฯลฯ ดังนี้   

เมื่อบุรุษมีสติตื่นขึ้นระลึกได้เช่นนั้น ความหลงเตลิดไปก็หยุดลง, สิ้นลง, ดับลง, จบลง เท่านั้นเอง มรรคทั้งแปดประการย่อมมีอยู่เช่นนั้นเอง อยู่แล้ว เป็นสัจธรรมที่ไม่ต้องสร้างขึ้นก็มีอยู่แล้ว เพราะเป็นสัจธรรม, 
เป็นสัจธรรมที่ไม่ต้องรักษาก็มีอยู่แล้ว เพราะเป็นสัจธรรม, เป็นสัจธรรมที่ไม่ต้องทำลายสิ่งใดลงไป ก็มีอยู่แ้ล้วเพราะเป็นสัจธรรม ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่ของเก่าแ่ต่เป็นเช่นนั้นเองครบทั้งมรรค ๘ ประการนั้นแลฯ
อาสวักขยญาณ 
หมายถึง ญาณหยั่งรู้ถึงที่สุดแห่งกิเลส, หยั่งรู้ได้ทันถึงความดับไปแห่งกิเลส ซึ่งจะมีในผู้ที่ได้ "อภิญญาตัวที่หก" อันนำไปสู่การบรรลุอรหันตผล
โดยอาสวักขยญาณนี้ มีได้ในพระอรหันต์ทุกองค์ แต่ในพระพุทธเจ้าทรงรู้ได้ทุกสิ่ง เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า "สัพพัญญูญาณ" อันมิใช่ "อาสวักขยญาณ" แต่พระอรหันตสาวกทั่วไปจะมีเพียง "อาสวักขยญาณ" ไม่ได้มีสัพพัญญูญาณ จึงไม่อาจรู้ได้ทุกสิ่ง
ทว่า แม้ไร้ซึ่งสัพพัญญูญาณ ก็ไม่ใช่ปัญหาของการถึงซึ่งนิพพานเลย เพราะเพียง "อาสวักขยญาณ" ก็เพียงพอแล้ว
ดังนั้น จึงมีวลีอธิบายอีกอย่างว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ" หมายถึง พระอรหันตสาวก สามารถถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรู้ทุกสิ่ง ใช้เพียงอาสวักขยญาณก็เพียงพอแล้ว
ส่วนที่พระพุทธเจ้าต้องรู้ได้ทุกสิ่งนั้น เพราะเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระพุทธเจ้า ทำให้ปวงสัตว์ทั้งหลาย เชื่อมั่น, ศรัทธา, ไม่มีความคลางแคลงใจในธรรม จึงจะสามารถบรรลุธรรมที่ฟังจากพระพุทธเจ้าได้
เนื่องจาก "นิพพาน" นี้ เป็นสิ่งที่ละเอียดเกินไปกว่าบุคคลทั่วไปจะเข้าใจได้ จึงจำเป็นต้องแสดงสัจธรรมความจริงทั้งหลายทั้งปวงให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เกิดความศรัทธาเป็นเบื้องต้น เท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้เอง พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น จึงมิได้มีไว้เพื่อความหลุดพ้นทุกข์หรือรู้แจ้งถึงพระนิพพานโดยตรงเลย เป็นเพียง "องค์ประกอบหนึ่ง" ที่เสริมให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และหมดความลังเลสงสัยในธรรม เท่านั้นเอง
ส่วนธรรมที่ทำให้ผู้ฟังบรรลุนั้น ล้วนเป็น "ใบไม้หนึ่งกำมือ" ทั้งสิ้น อันจะส่งผลให้ผู้ฟังได้ถึงซึ่ง "อาสวักขยญาณ" อันแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
ด้วยเหตุนี้ "แม้ได้อ่านไตรปิฎกจนเจนจัดแล้ว" ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้เลย  เพราะธรรมที่ได้นั้นล้วนไม่ใช่ธรรมที่เรียกว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ"
อุปมาดั่งคนป่วย ไปเอายาของผู้อื่นมากินเอง โดยไม่ได้พบหมอ ไม่มีการสนทนาสอบถามประวัติอาการป่วย ไม่มีการวิเคราะห์คนไข้ ผู้ป่วยไม่ยอมพบหมอ (พระพุทธเจ้า) ผู้ป่วยผู้นั้นคิดว่าไปเอายามากินเองก็ได้ แล้วก็กินยาทั้งหมดไป แต่ไม่อาจหายได้เลย เพราะไม่รู้ว่าตัวเอง "ป่วยเป็นอะไร" ตั้งแต่แรกแล้ว นั่นเอง
ดังนั้น การอ่านไตรปิฎกและรู้ถึงพระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น จึงได้เพียง "สุตมยปัญญา" เท่านั้น จนตราบเมื่อได้พบ "ผู้มีธรรมแท้" และได้รับ "พระธรรมใบไม้หนึ่งกำมือ" ที่แก้โรคโง่เฉพาะตัวของคนๆ นั้นแล้ว จึงจะบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง
อนึ่ง "อาสวักขยญาณ" นั้น ไม่ใช่ญาณที่หยั่งถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นญาณพื้นๆ กำลังญาณไม่มาก ได้จาก "ขณิกสมาธิ" เท่านั้น เพียงมีสติว่องไวเท่าทันกิเลสที่ดับไปเอง (ตามความไม่เที่ยง เพราะกิเลสไม่มีแก่นธรรม ไม่มีธาตุใดๆ เป็นแก่นสาร ไม่เหมือนจิตที่มี "มโนธาตุ" เป็นแก่นสารอยู่ กิเลสจึงไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไปตามธรรมชาติได้) ก็นับเป็นอาสวักขยญาณแล้ว
แต่ที่พระอรหันต์ได้แจ้งในนิพพานได้นั้น ไม่ใช่ด้วยอาสวักขยญาณเท่านั้น แต่เพราะศรัทธาในพระพุทธเจ้า เชื่อเรื่องนิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัส แม้ตนไม่อาจหยั่งถึงได้ด้วยตนเอง แต่อาศัยอาสวักขยญาณ ก็ช่วยให้แจ้งในเรื่องนิพพานได้ด้วยศรัทธา คือเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นเอง
อนึ่ง พึงเข้าใจว่าอาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณที่หยั่งถึงซึ่งนิพพานได้เอง



Create Date : 31 สิงหาคม 2556
Last Update : 31 สิงหาคม 2556 0:33:44 น. 0 comments
Counter : 1239 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.