บางครั้งฃีวิตก็ตกต่ำอย่างไร้สาเหตุ

--ไม่อยากเล่าเรื่องของตัวเองนัก แต่รู้เรื่องดีที่สุด ยกตัวอย่างได้ ไม่ต้องขออนุญาตใคร
---เดิมเป็นครูสอน รร.มัธยม ที่แม่สาย แล้วลาออกจากราชการ ลาออกมาทำไม ใครๆก็รุมแต่ว่าเรา
---ก็มันไม่ไหวแล้วสิจึงต้องลาออกมา รู้สึกว่าป่วย ต้องลาเกิน 60 วัน เกินกว่าทางราชการจะยอมได้ ลาออกก็ยังดีกว่า เค้าจะได้หาคนมาแทน
--ก็เป็นโรคเครียดลงกระเพาะลำใส้ ถ่ายไม่ออกมาเป็นเดือน จึง....(เซนเซอร์) มีเลือดออกมาด้วย--ไม่งั้นเขาก็ต้องผ่าท้องเอาออกมา.... ตายแน่ๆ

----จนเข้า กทม. มาเจอหมอดูท่านนึง แก่มากแล้วผมขาวหนวดเคราขาวโพลน ท่านบอกว่า พระเสาร์ทับลัคนา เต็มที่ ป่วย ออกจากงาน ไม่มีเงิน เสาร์จะทำลายทุกอย่าง ไม่ตายก็บุญแล้ว ท่านให้ตัดผมนิดหน่อยเอาไปทิ้งน้ำ พี่สาวมาบอกว่า ดวงดาวใหญ่มาส่งผลร้าย ไม่ว่าจะไปง่ายๆ เพราะการเล็งมุมก็ยังส่งผลอยู่ และจะส่งผลไปถึง 2-3 ปี --ที่พูดนี่รวมถึงภาคใต้เราด้วยครับ กว่าจะหมดภัยร้ายก็ต้องรอสักปีครึ่งครับ ตอนนี้ก็เจอน้ำท่วมอ่วมอยู่เลย

----หลังจากนั้นอีกหลายปี ก็เจอสิ่งแปลกๆอีกระลอกหนึ่ง เมื่อได้แต่งงานกับภรรยาคนนี้แล้ว (มีอยุ่คนเดียว) จำได้ว่าไปเสียค่าโทรศัพท์ เช้าๆก็มีพนักงานอยู่คนเดียว พอพูดถึงการเซ็นมอบฉันทะ เธอลุกขึ้นยืนชี้หน้าว่า อย่าปลอมลายเซ็นนะ จนเราปรึกษากันว่า "เธอทำเกินไปหรือเปล่า" แต่ภรรยากับผม เหมือนจะรู้ลึกๆว่า มีพลังอำนาจที่เหนือกว่ายักษ์มาร(พลังฝ่ายอธรรม) หรือเหนือกว่าดวง ที่สารถเข้าบังคับมนุษยได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว หญิงคนนั้นก็คงงงๆกับตัวเองเหมือนกัน
--พอเดินมาตรงระบียงแฟลต เจอผู้หญิงคนหนึ่ง เธอก็หยุดหลบให้เรา แต่ตามองเหมือนว่าเราเป็นฆาตกรฆ่าข่มขืนใครมาอย่างนั้น ถึงว่าอะไรๆทำไมมันช่างน่าแปลกประหลาด มหัศจรรย์ไปในทางไม่ได้ (แม้แต่พระเจ้าก้อยู่ฝ่ายตรงข้าม--ชาวคริสต์มักว่าอย่างนี้)

----บางท่านอยากรู้ว่าผมได้รับรู้แผ่นดินไหวไหม รู้ครับ(อยู่เชียงราย) เพราะกำลังเล่นคอมพ์อยู่--เน็ตนะ วิ่งออกห้องแทบไม่ทัน มันไหวนาน เหมือนคนอยู่ในกล่องยักษ์และจับเขย่า ไม่เคยเจอแบบนี้ ถ้าเมื่อก่อนเคยเจอแบบไหว 1-2ครั้ง หนึงยึก สองยึก ก็เพิ่งรู้ว่า คนที่ในอเมริกา หรือญี่ปุ่นที่เจอบ่อยๆรู้สึกอย่างไร กลัว ท้อ หมดหวัง เพราะพื้นแผ่นดินที่เราเห็นว่า มั่นคง กลัวแสดงอาการสั่นไหวทำให้บั่นทอนความเชื่อมั่นของมนุษย์ อืม สุนัขในบ้านมันแสดงอาการวิ่งพล่านมา 2-3 วัน--(ตะกุยประตู) ก่อนนั้นแล้ว




Create Date : 25 มีนาคม 2554
Last Update : 31 มีนาคม 2554 21:19:59 น. 13 comments
Counter : 1555 Pageviews.

 
สติปัฏฐาน
สติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมข้อปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่วิชชา (ความรู้แจ้ง) เป็นความเข้าใจในธรรมอันเป็นธรรมชาติโดยไม่ถูกวิชชา ตัณหาอุปาทานครอบงำ โดยเนื้อแท้อันเป็นธรรมแห่งสติปัฏฐานตามความประสงค์ของพระพุทธองค์นั้น พระองค์ท่านต้องการชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติอันดับอยู่แล้วไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ธรรมชาติอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง การเจริญสติปัฏฐานในวิถีธรรมชาติเพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือ เพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว คือพระนิพพานนั่นเอง
ในส่วนของกายานุปัสสนาสตินั้น ด้วยความเมตตาอันหาประมาณมิได้ที่พระพุทธองค์มีต่อบรรดาเวไนยสัตว์ทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่ามีหมู่สัตว์ไม่น้อยที่รอบปัญญาบารมีไม่มากพอที่จะดำเนินบนเส้นทางอันหลุดพ้นแท้จริงอันเป็นธรรมชาตินี้ได้ พระพุทธองค์จึงทรงเลือกที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์พวกนี้ซึ่งมีปัญญาน้อย เมื่อพวกนี้ไม่สามารถเห็นธรรมชาติแห่งความดับไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วได้ พระองค์จึงให้พิจารณากายว่าเป็นของไม่เที่ยง การพิจารณากายในกายซึ่งอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มีทั้งพิจารณาเรื่อง อานาปานสติ พิจารณาเรื่องอริยบททั้ง 4 คือ ยืน นั่ง เดิน นอน พิจารณาเรื่องการเคลื่อนไหวแห่งอริยบท พิจารณาเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาเรื่องความสกปรกเน่าเหม็นปฏิกูลในร่างกายของมนุษย์ พิจารณาเรื่องอวัยวะต่างๆที่มาประกอบกัน พิจารณาเรื่องซากศพทั้ง 9 วาระ การพิจารณากายในกายนี้ยังมิใช่การเจริญสติปัฏฐานเพื่อความหลุดพ้นอันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ให้พิจารณากายในกายนั้น พระองค์ท่านมีความประสงค์ว่าเมื่อพิจารณากายในกายเป็นบาทฐานแบบนี้บ่อยๆเข้าสักวันก็คงเห็นและ
เข้าใจใน “ธรรมชาติที่มันไม่เที่ยง ดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองเข้าสักวันหนึ่ง เมื่อเข้าใจ “วิถีธรรมชาติ” แล้วก็จะเป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริง
แต่สำหรับผู้มีปัญญาอยู่แล้วย่อมรู้ชัดว่า การพิจารณากายในกายก็เป็นจิตอันปรุงแต่งชนิดหนึ่งซึ่งย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติและย่อมรู้ชัดว่ากายนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติเช่นกัน
ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้นไม่ว่าจะเป็นเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา หรือเป็นเวทนา108 ตามที่พระพุทธองค์แจกแจงไว้อย่างละเอียดตามลักษณะปัญญาบารมีแห่งความเป็นพุทธวิสัยของท่านนั้น การเจริญสติในวิถีธรรมชาติในหมวดเวทนานี้ก็เพียงแต่ให้พึ่งรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า “ไม่ว่าจะเป็นเวทนาลักษณะไหน เวทนาทุกๆลักษณะนั้นก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองก็ล้วนดับโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว” ข้อความบางส่วนในอรรถกถา ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า
“สุขัง เวทนัง เวทิยามิติ ปชานาติ” ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่าเมื่อเสวยสุขเวทนาเพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาดังนี้ เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เธอรู้ตัวในสุขเวทนาอย่างนี้
ข้อความดังกล่าวนี้ก็ยืนยันอย่างชัดเจนว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่องการเจริญสติในวิถี “ธรรมชาติ”ซึ่งเป็นวิถีโดยตัวมันเอง ธรรมชาติที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าเวทนาทั้งหลายนั้นย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” เป็นความธรรมดาเป็นความธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้วที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนย่อมดับไปโดยสภาพธรรมดาธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว
ในส่วนของจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสถึงจิตใน 16 ลักษณะ คือ จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร) จิตไม่เป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นกามาวจร) จิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นแล้ว จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น จิตใน 16 ลักษณะนี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของอวิชชาความไม่รู้พายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา จนก่อให้เกิดเป็น ตัณหา อุปทาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนขึ้นมา เป็นจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา
ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ตรัสเรื่องจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงต้องการชี้ให้เห็นว่า จริง จริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลหมื่นแปดโลกธาตุนั้นล้วนตกอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมัน และโดยธรรมดาโดยธรรมชาติของมันแล้วก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว แต่ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง5 จนก่อให้เกิดตัณหา อุปทาน โดยเข้าว่ามันเที่ยงแท้แน่นอนเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เป็นจิตลักษณะต่างๆขึ้นมา
แต่โดยลักษณะของจิตต่างๆนั้น มันก็ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นกัน คือ จิตลักษณะต่างๆทั้ง 16 ลักษณะนี้มันก็ย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการเจริญสติในวิธี “ธรรมชาติ” ในหมวดจิตตานุปัสนานี้ ก็เพียงให้รู้ชัดว่า “เมื่ออวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ จิตเหล่านี้ก็ย่อมไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาธรรมชาติของมันอยู่แล้ว” นั้นเอง
ในส่วนของธรรมนุปัสสนาสตินั้น มีธรรมอยู่ 5 แบบ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้คือ
ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ โดยเนื้อหาแห่งธรรมต่างๆแล้วนี้ เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปศึกษาพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นอันเป็นสักกายทิฐิและความลังเลสงสัยอันเป็นความไม่เข้าใจในธรรม คือ วิจิกิจฉา เพื่อทำให้ความเข้าใจในธรรมทั้งปวงเกิดขึ้น เป็นความเข้าใจในธรรมที่ว่า โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว
การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงประสงค์ที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์ที่มีปัญญามากพอที่จะดำเนินไปในเส้นทาง “ธรรมชาติ” อันเป็นเส้นทางหลุดพ้นได้ แต่ยังติดที่ยังมีความไม่เข้าใจในธรรมในส่วนต่างๆที่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญามีความรอบรู้ มีความเข้าใจในธรรมเข้าใจถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาอย่างชัดเจนตามวิธี “ธรรมชาติ” แล้ว ผู้มีปัญญาเหล่านี้พึงรู้ว่า การพิจารณาธรรมเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว
เมื่อเข้าใจและเจริญสติในสติปัฏฐานทั้ง 4 ตามวิธี “ธรรมชาติ” ที่ว่า
-เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นกายในกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เมื่อเวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เมื่อจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
การเจริญและกระทำให้มากในสติปัฏฐาน 4 ไปในทางวิถี “ธรรมชาติ” ซึ่งเป็น “ธรรมชาติ”อันไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองดับไปเองในทุกส่วนของสติปัฏฐานทั้ง 4 นั้น
-ย่อมเป็น “ธรรมชาติ” แห่งความดับสนิทไม่มีเหลือโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้วด้วย
-ย่อมเป็น “ธรรมชาติ” แห่งความปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้ว
-ย่อมเป็น “ธรรมชาติ” แห่งความหยุดคิดโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว
-ย่อมเป็น “ธรรมชาติ”ล้วนๆ แห่งความหยุดนิ่งโดยสมบูรณ์อยู่แล้วงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิต
-ย่อมเป็น “ธรรมชาติ” แห่งความหยุดปรุงแต่งโดยเสร็จเด็ดขาดอยู่แล้ว
-ย่อมยังให้ โพชฌงค์ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ไปด้วย




โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:25:50 น.  

 
โพชฌงค์ธรรม
โพชฌงค์ธรรม คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ องค์แห่งการตรัสรู้หรือการบรรลุธรรมที่เป็น
โพชฌงค์ธรรมนี้ ก็คือกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรม ที่พาดำเนินไปไหนทางมรรคาแห่งความหลุดพ้น ซึ่งเมื่อเป็นความบริบูรณ์ในธรรม อันคือโพชฌงค์ นี้แล้วย่อมยังให้วิชชา คือ ความรู้แจ้งวิมุติ คือ การหลุดพ้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้บรรลุธรรมให้บริบูรณ์ เกิดขึ้น
โพชฌงค์ มีอยู่ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
กำลัง หรือ อินทรีย์แห่งธรรม 7 ประการนี้เกิดจากการเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ซึ่งสติปัฐฐาน 4 เท่านั้น มิใช่เกิดจากการ “เข้าไปทำ” ทีละขั้นทีละตอนเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ธรรม 7 ประการขึ้นจนครบแล้วพระนิพพานจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะเหตุใดเล่า
ก็เพราะว่านิพพาน คือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนี้มรรคาเส้นทางหลุดพ้นนี้จึงเป็นเส้นทางในวิถี “ธรรมชาติ” เท่านั้น “ธรรมชาติ” คือ ความไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาของมันเอง คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เมื่อเข้าใจในธรรมทั้งปวงโดยปราศจากความลังเลสงสัยแล้ว ความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น และปล่อยให้จิตไปสู่วิถีธรรมชาติที่มันดับเองไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วเองเป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วเอง
การดำเนินไปสู่วิถีธรรมชาตินั้น ก็คือ ไปด้วยกำลัง หรืออินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรมนั้นเอง
การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำทีละขั้นทีละตอน เช่นการฝึกสติด้วยการเดินจงกรม การนั่งสมาธิเพื่อให้ได้ฌาณ 4 เพื่อที่จะทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชา ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น มิใช่เส้นทาง “ธรรมชาติ” แต่อย่างใด
โพชฌงค์ธรรม 7 ประการ ที่เรียงกันตามลำดับ คือสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขานั้น มันเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลม จนกว่าจะเกิดความบริบูรณ์ในโพชฌงค์ธรรมนั้น แต่ความบริบูรณ์ในธรรมแห่งโพชฌงค์จะเหลือธรรมอันปรากฏแค่ 4 ประการ คือ สติ วิริยะ สมาธิ อุเบกาขา เท่านั้น ส่วนธัมมวิจยะ ปิติ ปัสสัทธิ เป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราว
1.สติ
เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมโดยปราศจากความลังเลสงสัยและมีความระลึกได้ว่า
-จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นกายในกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ “อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา” ทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว
ความระลึกดังกล่าวนี้ คือ สติ แห่งโพชฌงค์ธรรมนั้นเอง เป็นธรรมชาติแห่งความระลึกรู้ เป็นธรรมชาติแห่งสติ อันเป็นสัมมาสติ ในมรรคมีองค์ 8 ด้วย
2.ธัมมวิจยะ
เมื่อเข้าใจลักษณะ “ธรรมอันเป็นธรรมชาติ” ซึ่งมันไม่เที่ยงมันดับไปโดยตัวมันเองสภาพมันเองแล้ว แต่เมื่อตราบใดกำลังหรืออินทรีย์แห่งการระลึกรู้แห่งสติยังไม่บริบูรณ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งโพชฌงค์บริบูรณ์ ก็เท่ากับว่ายังมีส่วนแห่งอวิชชาตัณหาอุปทานเหลืออยู่โดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นการสอดส่องการสืบค้นธรรม การเลือกธรรมว่าอะไรคือธรรมอันปรุงแต่ง คือ อวิชชา(สังขตธาตุ) ว่าอะไรคือ ธรรมอันไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ) เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้คือธรรมอันปรุงแต่ง ก็จะได้เจริญสติระลึกรู้ว่า ธรรมอันปรุงแต่งนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ การเลือกเฟ้นธรรม การสอดส่องธรรม การสืบค้นธรรมในลักษณะเช่นนี้ ก็คือธัมมวิจยะแห่งโพฌชงค์ธรรมนั้นเอง ธัมมวิจยะจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสติการระลึกรู้แบบอนุโลมปฏิโลมซึ่งกันและกัน
แต่ที่กล่าวว่าธัมมวิจยะเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพฌชงค์ธรรมนั้น เพราะเหตุที่ว่าด้วยการอาศัยในการเข้าไปเพื่อวินิจฉัยธรรม การสอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้น ก็เพื่อยังให้เกิดกำลังหรืออินทรีย์ แห่งสติการระลึกรู้
แต่โดยเนื้อหามันนั้นการวินิจฉัยวิจัย การสอดส่อง การสืบค้น การเลือกเฟ้น ก็เป็นการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)หรือจิตปรุงแต่งด้วยลักษณะหนึ่งเช่นกัน เพราะฉะนั้นการที่สติและธัมมวิจยะคือ ธรรมสองประการนี้มันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลมนั้น มันจึงเป็นการอนุโลมปฏิโลมแบบชั่วคราว เมื่อมีสติระลึกรู้ด้วยว่า
“จิตที่ปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติ” เมื่อไหร่ อวิชชาความไม่รู้ในลักษณะปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่อง สืบค้นธรรม ก็จักไม่ปรากฏขึ้นมาอีก ธัมมวิจยะจึงเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพชฌงค์ธรรมด้วยเหตุนี้
3.วิริยะ
การที่มีสติระลึกได้ว่า “จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนของสติปัฏฐาน 4 นั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติของมันนั้น” หรือการที่เข้าไปสอดส่องสืบค้นเพื่อเลือกเฟ้นธรรม “ธัมมวิจยะ” เพื่อที่จะได้มีการเจริญสติระลึกได้ว่า “ธรรมอันปรุงแต่ง (สัขตธาตุ) ก็คือจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนของสติปัฏฐาน 4 นั้นล้วนไม่เที่ยง ดับไปเองตามธรรมชาติของมันนั้นเอง”
การมีสติระลึกได้อยู่ทุกขณะนั้นทำให้กำลังหรืออินทรีย์แห่งสติมากขึ้นไปสู่ความบริบูรณ์แห่งสติ และความบริบูรณ์ในโพชฌงค์ธรรมทุกส่วน การที่กำลังหรืออินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรมทุกส่วนมากขึ้นทุกขณะเพื่อไปสู่ความบริบูรณ์นั้น ธรรมชาติแห่งความมากขึ้นทุกๆขณะมันเป็นเนื้อหาแห่งความเพียร มันคือธรรมชาติแห่งความเพียร หรือวิริยะในโพชฌงค์ธรรม หรือ สัมมาวายาโม ในมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง แต่เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งวิริยะความเพียรบริบูรณ์แล้ว ความบริบูรณ์ในความเพียรนี้เองที่ส่งผลให้เกิด “ความเป็นปรกติ” หรือ “ความบริบูรณ์” ในโพชฌงค์ธรรมตัวอื่น
4.ปิติ
คือ ความอิ่มใจ
5.ปัสสัทธิ
คือ ความสงบจิตสงบใจ
โดยธรรมชาติแล้วตราบใดที่อวิชชา ความไม่รู้ยังคงมีอยู่ก็จะทำให้ไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมากลายเป็นความปรุงแต่งขึ้นมา เป็นความวุ่นวายในจิตอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีสติระลึกรู้ได้อยู่ว่า “จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนในสติปัฏฐาน4 นั้น” ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติ ความล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติก่อให้เกิดปิติความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบจิตสงบใจ ซึ่งเป็นอาการของจิตที่เกิดจากความสงบระงับจากการไม่ปรุงแต่งทั้งปวง
ปิติและปัสสัทธิ เป็นกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดขึ้นโดยลักษณะเนื้อหามันเอง แต่หากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาว่ามีเราและเรากำลังมีสภาวะธรรมในปิติ และปัสสัทธิอยู่ดังนี้ จิตปรุงแต่งลักษณะนี้(ซึ่งจัดอยู่ในหมวดจิตในจิต ในสติปัฏฐาน4) ก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติเช่นกัน
ปิติ และปัสสัทธิ จึงเป็นธรรมประกอบขึ้นชั่วคราวและโพชฌงค์ธรรมเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้
6.สมาธิ
เส้นทาง “ธรรมชาติ” ที่มันไม่เที่ยงล้วนดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองนั้น เป็นเส้นทางที่ “ละจาก” อวิชชา คือความไม่รู้ทั้งปวง “ไปสู่” วิชชาคือความรู้แจ้งทั้งปวง เส้นทางธรรมชาตินี้ก็คือเส้นทางไปสู่ความเป็นปรกติแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือตามกฎธรรมชาติ “การไปสู่ความเป็นปรกติ” ต้องอาศัยเนื้อหาแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งความแน่วแน่ ธรรมชาติแห่งความตั้งใจมั่น สภาพธรรมชาติแห่งความแน่วแน่ความตั้งใจมั่นนั้นคือ สภาพธรรมชาติแห่งความดำรงอยู่แน่นอน คือสภาพธรรมชาติในความต่อเนื่องแห่งธรรมอันเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งความตั้งใจมั่นนี้บริบูรณ์ก็จะทำให้เกิดความเป็นปรกติหรือความเป็นธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือนั่นเอง ความตั้งใจมั่นดังกล่าวนี้ก็คือ สมาธิแห่งโพชฌงค์ธรรม หรือธรรมชาติแห่งสมาธิ หรือสัมมาสมาธิในมรรคมีองค์8
7.อุเบกขา
ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงดับเองอยู่แล้วโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเอง คือสภาพธรรมชาติแห่งความเป็นกลาง ความวางเฉยซึ่งเกิดจากธรรมชาติ แห่งความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ความเป็นกลางความวางเฉยก็คืออุเบกขาในโพชฌงค์ธรรม คือธรรมชาติแห่งอุเบกขา หรือสัมมาทิฐิ ในมรรคมีองค์ 8
โพชฌงค์ธรรม 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา นั้นเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลมในลักษณะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งสติเต็มจนกลายเป็นธรรมชาติแห่งความบริบูรณ์ในสติ ด้วยความที่ธรรมโพชฌงค์ 7 ประการเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อสติบริบูรณ์แล้วเลยทำให้ธรรมโพชฌงค์ในส่วนอื่นบริบูรณ์ไปด้วย จนกลายเป็นโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ในทุกส่วน
เมื่อโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเป็นปรกติแห่งธรรมในทุกส่วนของโพชฌงค์แล้ว ย่อมยัง “วิชชาและวิมุติ” ให้บริบูรณ์ไปด้วย



โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:29:33 น.  

 
นิพพาน
วิชชาแปลว่าความรู้แจ้งทั้งปวง วิมุตติแปลว่าความหลุดพ้น
วิชาและวิมุตติจึงเป็นความหมายของคำว่า “นิพพาน” นั่นเอง
แต่วิชชาและวิมุตติจะบริบูรณ์เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์
และโพชฌงค์ธรรมจะบริบูรณ์ได้เพราะเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน4 นั่นเอง (เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร)
สรุปได้ว่า เมื่อบุคคลได้เจริญและกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมยังให้โพชฌงค์บริบูรณ์และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้งได้
หลักจึงอยู่ที่ว่าต้องเข้าไปเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้สติปัฏฐานบริบูรณ์เท่านั้น โดยลักษณะธรรมธาตุแห่งธรรมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะเท่านั้นคือ
1.สังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะปรุงแต่ง
2.อสังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง
สังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากอวิชชาความไม่รู้ โดยไม่รู้ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา)อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน เมื่อไม่รู้ก็เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดเป็นตัณหาอุปทานจนกลายเป็นตัวตนมีเรา มีเขาขึ้นมา(อัตตา) ซึ่งสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงเนื้อหาแห่งสังขตธาตุไม่ตรงต่อสัจจธรรม ไม่ตรงต่อ “ธรรมชาติ” ตามที่มันควรจะเป็น
การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจธรรมคือหลัก “ธรรมชาติ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะของหมวดธรรมทั้ง 4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
อสังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา) อยู่ แล้วโดยธรรมชาติของมัน อสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งตรงต่อความเป็นจริง เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุนี้เป็นเนื้อหาซึ่งตรงต่อสัจธรรมตรงต่อธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจจะธรม คือ หลักธรรมชาติ หรือ “สังขตธาตุ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่าเมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะธรรมของหมวดธรรมทั้ง4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 จึงเป็นการปรับกระบวนการไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ)ล้วนๆ ไปสู่ “ธรรมชาติล้วน” เมื่อกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆแล้ว เมื่อกลายเป็น “ธรรมชาติล้วนๆ”แล้ว สติปัฎฐานย่อมบริบูรณ์
สติปัฎฐานจะบริบูรณ์ได้ย่อมเกิดจาก “การตัดได้โดยเด็ดขาด” จากอาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) จนกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จนกลายเป็นสภาพ “ธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว” สมุทเฉจหรือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงนั้นเป็นอุบายอันแยบยลอันเกิดจากการพิจารณาว่า โดยเนื้อหาทั่วๆไปตามกฎธรรมชาตินั่น
-จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว
-จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งเมื่อไม่เที่ยงอยู่แล้วก็ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว
-จริงๆแล้วโดยธรรมชาตินั้นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วย่อมเป็น “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว”ซึ่งตรงนี้เรียกว่า ความว่างหรือสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน)
แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ในกฎธรรมชาติ ก็ทำให้อวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตปรุงแต่งลักษณะต่างๆเช่น
-จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น
-จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรารอให้ อวิชชา ตัณหา อุปทานคลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพาน”บ้าง
ถ้าหากไปพิจารณาในหมวดจิต ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ในหมวดจิตในจิตว่า
-เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
-เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
โดยความเป็นจริงแล้ว โดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ย่อมดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว คือธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว ซึ่งมันย่อมเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยสภาพธรรมชาติของมันนั่นเอง
แต่เพราะความไม่เข้าใจหลักธรรมชาติตรงนี้ อวิชชาความไม่รู้ของเราก็จะพาเราปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น” อยู่ร่ำไปแต่พุทธองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น”
เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนี้ ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วโดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว
สรุปโดยแท้จริงแล้วความว่างอันเป็นสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน) เป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง เป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
การที่จิตปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ เช่นการที่จิตปรุงแต่งว่ามีเราและเรายังไม่หลุดพ้น “การที่จิตปรุงแต่งว่า มีเราและเรารอให้อวิชชา ตัณหา อุปทาน คลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพานบ้างนั้น มันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งเพื่อปิดบัง “พระนิพพานอันเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว”ทั้งสิ้น
เมื่อจิตปรุงแต่งทุกชนิดไม่เที่ยงดับไปเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ มันก็กลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ มันก็กลายเป็นความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยเนื้อหาธรรมชาติ มันก็กลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามัน
เมื่อความว่างอันเป็นสูญญตานั้นแหละคือความหลุดพ้นอยู่แล้วคือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรุงแต่งใดๆเข้าไปจัดการ “ธรรมชาติ” เพื่อให้เกิดพระนิพพานตามความไม่รู้ ไม่เข้าใจของตนขึ้นมาอีก
เมื่อเข้าใจว่าความว่างอันเป็นสูญญตาคือความหลุดพ้นอยู่แล้ว คือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะเข้าไปปรุงแต่งว่า นี้คือความหลุดพ้น นี้คือจิตหลุดพ้น ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งมันจะกลายเป็น อวิชชาตัวสุดท้ายที่เข้าไปติดกับดักของมัน พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น” เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า “จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น” ซึ่งเป็นอวิชชาตัวสุดท้ายนี้ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว โดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาได้อย่างเข้าใจถ่องแท้แล้วว่า “ความว่างหรือสูญญตานั้นก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันคือพระนิพพานอยู่แล้ว” จิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งที่บังพระนิพพาน(อันเป็นเนื้อหาธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นโดยสภาพมันเอง) อยู่แล้วทั้งสิ้น เมื่อจิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดับไปเองอยู่แล้ว มันย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วนั่นคือความว่าง หรือสูญญตา ซึ่งมันก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว “การปล่อยให้ความว่างหรือสุญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” มันจึงกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งๆไม่ได้แล้ว มันจึงกลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว
“การปล่อยให้ความว่างหรือสูญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” จึงเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) อันทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์
เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ไปด้วย
เมื่อโพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ไปด้วย
จึงหลุดพ้นด้วยประการฉะนี้ (วิมุติญาณทัสสนะ)..............................................นิพพาน.
ไม่มีอะไรให้แบก ไม่มีอะไรให้ปล่อย ไม่มีอะไรให้วาง
ความว่างคือ พระนิพพานอยู่แล้ว




โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:33:29 น.  

 
อธิบาย......สูตรเว่ยหล่าง.
เว่ยหล่าง เป็นพระอรหันต์ในยุค 1200 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านดำรงตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน ท่านเป็นมหาโพธิสัตว์ที่มาทำหน้าที่ส่วนหนึ่งในการต่ออายุพระพุทธศาสนา ได้อย่างสมภูมิธรรมของท่าน.
เว่ยหล่าง เป็นชายผู้ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ท่านสามารถฟังธรรมและวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ประกาศไว้ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น ถือว่าท่านเป็นอริยสงฆ์ที่เด่นทางด้านปฏิสัมภิทาญาณมาก ท่านสามารถอธิบายธรรมที่ยากให้สามารถเข้าใจได้ง่าย.

1.มีอยู่วันหนึ่ง พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด เพื่อให้ทุกคนเขียนโศลก ว่าด้วยเรื่อง จิตเดิมแท้........โดยผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า จิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัตร(อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปรินายก) และจะถูกสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปรินายกองค์ที่หก แห่งนิกายเซน
ชินเชา ภิกษุผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก ผู้มีอายุกาลพรรษามากที่สุดในบรรดาลูกศิษย์ของสังฆปรินายกองค์ที่ห้าได้พยายามแต่งโศลกขึ้น มีข้อความดังนี้
“กายของเราคือต้นโพธิ์
ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองลงจับ”

แต่สังฆปรินายกได้ทราบก่อนอยู่แล้วว่า ชินเชาผู้นี้”ยังไม่ไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้ และเขายังไม่ซึมทราบในจิตเดิมแท้
อธิบาย...........ดูผิวเผิน ชินเชาผู้นี้น่าจะเป็นภิกษุที่เก่งทางด้านภาวนา เพราะท่านคอยตามรู้ตามดูกายและจิตของท่าน ท่านมีความเพียรมีความสำรวมระมัดระวัง เพื่อไม่ให้จิตของท่านเศร้าหมองไปด้วยกิเลสมลทิน
แต่แท้จริงแล้วท่านชินเชาเองกลับเป็นผู้อ่อนด้อยทางด้านภาวนาในสายตาของสังฆปรินายกองค์ที่ห้า
เพราะท่านเองยังไม่เข้าใจในหลักธรรมอันเป็นธรรมชาตินั่นเอง
การที่ชินเชาคิดว่า กายคืออะไร ใจของเราคืออะไรและต้องเช็ดมันทุกๆชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดกิเลสนั้น การคิดแบบนี้ทุกๆขณะที่ชินเชาเข้าใจเองว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ความคิดแบบนี้ก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง
เป็นการใช้จิตปรุงแต่งในธรรม เป็นการใช้จิตปรุงแต่งเพื่อเข้าไปบัญญัติว่าอะไรคืออะไร นี่คือกายนะ นี่คือจิตนะ นี่คือความเพียรนะ นี่คือความสำรวมระมัดระวังนะ นี่คือผลแห่งการภาวนานะว่าจิตเราปราศจากกิเลส.......
ในขณะที่จิตปรุงแต่งแบบนี้ตลอดเวลา โดยเนื้อหาแห่งธรรมแล้วมันจะทำให้มรรคอันแท้จริงหายไป แต่กลายเป็นการเจริญอวิชชาตัณหาอุปาทานแทน
อุปมาเหมือนกับว่า...เป็นการใช้ความปรุงแต่งเพื่อหานิพพานซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้
ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ให้ปฏิบัติแบบนี้อีก 100 กัป ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เลย
เป็นการใช้ความมีความเป็นในจิต เพื่อหาความไม่มีไม่เป็นในจิต เป็นการใช้อัตตา(ความมีตัวมีตน)เพื่อหาอนัตตา(ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน).....ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว.

ชินเชาใช้จิตปรุงแต่งเพื่อสร้าง ”ธรรมธาตุแห่งการสำรวมระวัง” ขึ้นมาทุกๆชั่วโมง
นี่ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างมหันต์....
โดยหลักธรรมชาติแห่งธรรมนั้น การที่ ”หันเห” วิถีแห่งจิตซึ่งประกอบไปด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทานด้วยความเข้าใจโดยปราศจากความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงนั้น ”ไปสู่” วิถีแห่งจิตอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตรงนี้ เป็นการสำรวมระวัง เป็นการระมัดระวัง อยู่แล้วในตัว เป็นความเพียรโดยชอบอยู่แล้ว เป็นความบริบูรณ์แห่งธรรมไปในตัวอยู่แล้ว อันก่อให้เกิดมรรคอันแท้จริง..........
เพียงแค่ ภิกษุชินเชา ไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า ในความคิดที่ว่า กายของเราคือต้นโพธิ์ ใจของเราคือกระจกอันเงาใส .................เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า ความคิดนั้นก็ดับไป
จิตปรุงแต่งชนิดนั้นก็ดับไปเอง เป็นการดับไปแบบวิถีทางธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว ไม่มีตัวตนเราเข้าไปบังคับให้มันดับให้มันไม่เที่ยง
และไม่ใช่การยอมหรือไม่ยอม ที่จะไม่ให้ฝุ่นละอองหรือกิเลสอันเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานลงมาจับ......ตามที่ภิกษุชินเชาเข้าใจ
หลักตามกฎธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง มันไม่เที่ยงอยู่แล้ว
การไม่ยอมที่จะไม่ให้อะไรมาจับกับสิ่งใดเพื่อที่จะบรรลุธรรม จึง เป็นการกระทำที่ขวางธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง
“การไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดทั้งปวงนั้น เป็นการไม่ยอมให้ฝุ่นละอองคือกิเลสลงมาจับจิตใจโดยระบบธรรมชาติอยู่แล้ว เป็นการไม่ยอมโดยสภาพธรรมเองอยู่แล้ว”
การไม่ยอม แบบภิกษุชินเชาเป็นการไม่ยอมแบบมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเข้าไปไม่ยอม
ภิกษุชินเชาจึงเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมอันใดเลย เพราะยังมีความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงอยู่.


โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:38:36 น.  

 
3.ในวันหนึ่ง พระสังฆปรินายกเว่ยหล่างได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้
...........ในระบบการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาของเรานั้น เรามิได้กำหนดลงไปที่จิต หรือกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ หรือว่าเราจะไปจับเอาตัวความหยุดนิ่งปราศจากความเคลื่อนไหวทุกประการ ก็หามิได้.
สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้น ไม่ควรทำ เพราะจิตเป็นของมืดมัวมาเสียก่อนแล้ว และเมื่อเรามองเห็นชัดว่า มันเป็นเพียงตัวมายาตัวหนึ่งเท่านั้นแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปจดจ่อกับมัน สำหรับการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้นเล่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว และตลอดเวลา
ที่เราขับไล่อกุศลวิตกออกไปเสียให้สิ้นเชิง มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในตัวเรา นอกจากความบริสุทธิ์อย่างเดียว
เพราะว่ามันเป็นด้วยอกุศลวิตก นี่แหละ ที่ทำให้ตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเอง)ต้องเศร้าหมองไป ถ้าเราเพ่งจิตของเรา กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ เราก็มีแต่จะสร้างอวิชชาอันใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง เท่านั้น คืออวิชชาแห่งความบริสุทธ์ เพราะเหตุที่อวิชชา เป็นสิ่งที่ไม่มีที่ตั้งอาศัย จึงเป็นความเขลาที่เราจะไปอิงอาศัยมัน.
ตัวความบริสุทธิ์นั้นไม่มีสัณฐาน ไม่มีรูปร่าง แต่มีคนบางคนที่อุตริถึงกับประดิษฐ์”รูปร่างของความบริสุทธิ์”
ขึ้นมา แล้วก็กุลีกุจอกับมันในฐานะเป็นปัญหาสำคัญของความหลุดพ้น. เมื่อถือหลักความคิดเช่นนี้ คนเหล่านั้นก็กลายเป็น ผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธ์เสียเองแล้ว จิตเดิมแท้ของเขา ก็ถูกทำให้เศร้าหมองไปเพราะเหตุนั้น.

อธิบาย.....จากข้อความข้างต้น....เว่ยหล่าง พยายามอธิบายว่า การเจริญกัมมัฏฐานภาวนา คือ ธรรมชาติแห่งธรรม นั่นเอง
ธรรมชาติ มิใช่การกำหนด.......เพราะธรรมชาติคือสภาพสภาวะมันเอง มันดับเอง มันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว จะมี”เรา”.....เข้าไปกำหนดลงไปที่จิตทำไมอีก จิตที่เป็นของมืดมัวชนิดใด เช่นจิตที่เป็นโทสะ จิตที่เป็นราคะ ก็ล้วนแต่ดับในตัวมันเองอยู่แล้ว.......ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว...... เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า.....มันก็ดับเองอยู่แล้ว ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว

การจดจ่อและการกำหนด.....ไม่ใช่”การรู้ชัดว่า” ตามสติปัฏฐาน.........
การจดจ่อและการกำหนดจิต เป็นอวิชชาซ้อนเข้ามาตัวหนึ่งที่มองไม่เห็นมัน...เป็นการยึดมั่นถือมั่นในเวทนาก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน
แต่”การรู้ชัดว่า”.....ตามสติปัฏฐาน เป็นการรู้ซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติ เป็นสติ ที่ประกอบไปด้วยสมาธิและปัญญา ครบตามมรรคมีองค์ 8
เป็นปกติแห่งการรู้ เป็นธรรมชาติแห่งการรู้ ........มิใช่การบังคับเข้าไปกำหนดจดจ่อ ซึ่งขวางต่อธรรมชาติ
“การรู้ชัดว่า”.........ชัด ในที่นี้ หมายถึง ปกติแห่งการรู้ ธรรมชาติแห่งการรู้ ปกติมันเอง.....ธรรมชาติมันเอง
การกำหนดจดจ่อ.......มันเป็นการที่เอาจิตเข้าไปดำริเข้าไปริเริ่ม....เพื่อที่จะให้มันชัดเจนตามความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งมันเป็นการเจริญตัณหาอุปาทานขึ้นมาอีกเนืองๆ
นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจตรงนี้ อริยบทต่างที่เคลื่อนไหวไม่ว่าจะยืน นั่ง เดิน นอน มักจะคล้ายหุ่นยนต์ แข็งทื่อ....เพราะคอยเอาจิตเข้าไปกำหนดและจดจ่อ กลัวจิตจะปรุงแต่ง เลยเอาการรู้ไปไว้กับการก้าวย่าง การเคลื่อนไหวของร่างกาย......ตรงนี้ เป็นการปิดบัง อริยสัจ......ไม่ใช่แนวทางปฏิบัติ

การกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์....... ตรงนี้เป็นการใช้จิตปรุงแต่งซ้อนลงไป ซ้อนลงไปเพื่อเข้าไปบัญญัติสภาวะที่มันเป็นความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้ว.....มันคือ อวิชชาแห่งความบริสุทธิ์.
จิตที่ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน จิตที่ไม่ปรุงแต่ง........อันเกิดจากขันธ์ 5 มันดับโดยตัวมันเองตามหลักธรรมชาติ ก็คือ จิตที่บริสุทธิ์ นั่นเอง
แต่การที่เข้าไปกำหนดว่านี่คือความบริสุทธิ์......การกำหนดนั่นแหละเป็นการทำให้เกิดการแปดเปื้อนขึ้นมา
ด้วยอวิชชาที่ไม่สามารถมองเห็นมัน เพราะความที่ไม่เข้าใจในความหมายในคำว่า “ธรรมชาติ”
มันบริสุทธิ์มันเองอยู่แล้ว......อย่าเข้าไปประดิษฐ์รูปร่างแห่งความบริสุทธิ์เข้ามาอีก

ใช้ การกำหนด เพื่อ ทำธรรมชาติแห่งธรรมให้ปรากฏ.......มันเหมือนหาเขาในตัวกระต่าย
หาเท่าไรก็หาไม่เจอ....... เพราะการกำหนดไม่ใช่ธรรมชาติ***
การพยายามจะ “จับฉวย” หรือ “กุมตัว” สิ่งเหล่านี้ที่เป็นธรรมชาติมันเองอยู่แล้ว เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อธรรมชาติของมันอย่างตรงกันข้าม



โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:41:29 น.  

 
4.ภิกษุ ฉิต่าว ได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมานานเป็นสิบปี ท่านไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานที่ว่า “สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร. ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรมหรือธรรมอันปรุงแต่ง) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง(กล่าวคือนิพพาน)
ย่อมปรากฏขึ้น”
พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง ได้อธิบายว่า “ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง หรือแห่งการเกิดดับ ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ. นิพพานเป็นการแสดงออกของ..........ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง....แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น ก็ไม่มี ความเห็น ว่าเป็นการแสดงออก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์ แต่อย่างใด”


อธิบาย ....นิพพานไม่มีปรากฎแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับนั้น....เป็นการดับสนิทไม่มีเหลือปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน....
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป....นั้น เป็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแห่งอวิชชาทั้งปวง
เมื่อจิตเราเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดต่อเครื่องขัดข้องคืออวิชชาทั้งหลาย การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปก็ย่อมไม่มีโดยสภาพแห่งธรรมนั้นแล้ว และไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ......เพราะเนื้อหาแห่งพระนิพพานคือธรรมชาติล้วนๆ....เป็นสภาพมันเองอยู่อย่างนั้นแบบนั้น......
เป็นความอิสระอย่างเด็ดขาด “โดยที่ไม่ต้องอาศัยอะไรกับอะไร....เพื่ออะไร”
นิพพานเป็นการแสดงออกของสภาพธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ......การแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกโดยตัวมันเองโดยโดยสภาพมันเอง......จึงไม่ควรให้มีความเห็นใดๆเข้าไปบัญญัติอีกว่านี่คือการแสดงออก
นี่คือนิพพาน นี่คือธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ.....การมีความเห็นเช่นนี้ทำให้ ธรรมชาติอันแท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมนั้นหายไป และการมีความเห็นเช่นนี้กลายเป็นอวิชชาเข้ามาแทนที่
หากจิตเราปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น......เมื่อจิตชนิดนี้ดับไปโดยตัวมันเอง.....นั่นแหละ.....ถึงจะเป็นการหลุดพ้นโดยแท้จริงโดยเนื้อหาของมันเอง.....เป็นสภาพมันล้วนๆอยู่อย่างนั้น


โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:43:13 น.  

 
5.ภิกษุ ฮังฉิ ท่านได้เดินทางมายังเมืองโซกาย เพื่อทำความเคารพพระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง
พระสังฆปรินายกถามว่า ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า.....แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไร ที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย
พระสังฆปรินายกถามอีกว่า แล้วเดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน “ชั้นแห่งคุณวิเศษ” ชั้นไหนเล่า?
ภิกษุ ฮังฉิ ตอบอีกว่า.....จะมี “ชั้นแห่งคุณวิเศษ” อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เกี่ยวข้อง

ด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?

หากผู้ที่เริ่มศึกษาธรรมและยังไม่เข้าใจธรรมทั้งปวง อ่านข้อความที่ภิกษุ ฮังฉิ โต้ตอบกับพระสังฆปรินายก
แล้ว คงนึกในใจว่า ภิกษุรูปนี้คงเป็นภิกษุผู้มีปัญญาอันมืดบอดเพราะท่านไม่เกี่ยวข้องไม่ใส่ใจในอริยสัจซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ได้ตรัสรู้ และคงจะออกอาการงงๆที่พระสังฆปรินายกได้ฟังการโต้ตอบธรรมของท่านฮังฉิแล้ว ถึงกับตั้งท่านฮังฉิเป็นหัวหน้าคณะในนิกายเซน
โดยแท้จริงแล้ว ในสายตาของพระสังฆปรินายก ภิกษุ ฮังฉิ ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เรียบร้อยแล้ว
ท่านถึงกล้าแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อเผยแพร่ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้ให้คงอยู่ต่อไป

การที่เข้าไปแตะต้องในอริยสัจทั้งหลาย ก็คือการเอาจิตไปปรุงแต่งเรื่องอันเกี่ยวกับว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุทำให้เกิดทุกข์..........การที่เอาจิตเข้าไปปรุงแต่งก็คือการพิจารณาธรรมอันเกี่ยวกับอริยสัจนั่นเอง
การพิจารณา ก็คือ การปรุงแต่งทางจิตนั่นเอง เป็นสังขตธรรม เป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานอย่างหนึ่ง****

การที่ภิกษุ ฮังฉิ ท่านตอบว่า ไม่มีชั้นแห่งคุณวิเศษอะไรที่ไหน หมายถึงท่านกำลังบอกว่า ท่านเองก็ไม่ใช้จิตปรุงแต่งว่าท่านบรรลุธรรมอะไรชั้นไหนอย่างใด ไม่ได้ใช้จิตปรุงแต่งเข้าไปบัญญัติว่าท่านเป็นพระอรหันต์

การพิจารณา หรือ การบัญญัติว่าบรรลุธรรม .....มันกลายเป็นเครื่องเสียดแทง มันคืออวิชชาอย่างหนึ่ง
ที่ทำให้ธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆอันเป็นสภาพนิพพานธรรมอันแท้จริงไม่ปรากฏไม่แสดงออก



โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:45:03 น.  

 
6.พระสังฆปรินายกกล่าวกับภิกษุจิหว่าง ว่า “ไม่ว่าท่านกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่าให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวกับสิ่งใด จงอย่าไปรู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างอริยบุคคล กับบุคคลธรรมดา อย่าไปคิดว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กระทำ กับสิ่งที่ถูกกระทำ จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น แล้วท่านจะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา”

อธิบาย ข้อความข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ยืนยันว่า คำสอนของพระพุทธองค์โดยแท้จริงนั้นเนื้อหาแห่งธรรมเป็นเรื่องเดียวกันไม่มีความแตกต่าง ถึงแม้จะแยกแตกออกเป็นนิกายต่างๆก็ตาม
ลูกศิษย์และเพื่อนสหธรรมมิกหลายฝ่ายต่างก็ถามข้าพเจ้าว่า “อาจารย์ราเชนทร์ คำสอนของท่านเหมือนคำสอนของพวกนิกายเซน ใช่หรือเปล่า?”
ข้าพเจ้าตอบว่า ไม่ใช่แค่เหมือน แต่ข้าพเจ้าก๊อปปี้คำสอนมาเลยทั้งหมด เพราะในความเป็นจริงเส้นทางหลุดพ้นที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ก็มีหนทางเดียวเท่านั้น คือ เอกมรรคโควิสุทธิยา หรือเส้นทางธรรมอันเป็นธรรมชาติ
คำว่าเซน ในความรู้สึกของนักปฏิบัติสายเถรวาทในประเทศไทยนั้น เป็นสำนักที่สอนให้บรรลุโดยฉับพลัน
ไม่ให้ติดรูปแบบ ไม่ให้นั่งทำสมาธิเลย เป็นสำนักที่หลุดพ้นโดยใช้ปัญญาล้วนๆ...........สายเถรวาทหลายๆสำนัก สอนบรรดาพวกลูกศิษย์ตน ให้นั่งสมาธินานๆ เดินจงกรมแบบย่างหนอ ยกหนอ สอนให้พิจาณาธรรมมากๆ สอนให้ตามรู้ตามดู บางสำนักก็สอนจนถึงขนาดว่าสรุปธรรมให้กับบรรดาลูกศิษย์ของตนว่า
“เพียงตัวรู้ตัวเดียวก็พอ”........บางสำนักก็ให้เริ่มต้นคำบริกรรมว่า”พุทโธ” โดยให้นั่งหลับตาแล้วให้บริกรรมคำว่า พุทโธไว้ในใจแบบไวๆจนจิตสงบนิ่งตามความเข้าใจของคณาจารย์เจ้าสำนัก
แต่คณาจารย์ฝ่ายเซนอย่างเช่นสังฆปรินายกเว่ยหล่าง กลับกล่าวว่า “จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น แล้วท่านจะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา”
ถ้าอ่านอย่างผิวเผินด้วยความไม่เข้าใจในธรรม ก็จะคิดไปว่า ท่านเว่ยหล่างนั้นสอนลูกศิษย์ไม่ให้นั่งสมาธิ
เอะอะ..อะไรก็จิตเดิมแท้ ก็จิตเดิมแท้...............

แต่ในความเป็นจริง คำกล่าวของเว่ยหล่างนั้นตรงกับคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ท่านตรัสไว้ว่า
“ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.”
แปลได้ว่า......การเจริญ การกระทำให้มากแห่งสติปัฏฐาน ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้เต็มบริบูรณ์ได้
โพชฌงค์เต็มบริบูรณ์นั้น ย่อมหมายถึง สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรม 1 ใน 7 ของโพชฌงค์ 7 ย่อมเต็มบริบูรณ์ไปด้วย
ซึ่งแปลอีกครั้งตามหลักแห่งตรรกศาสตร์ แปลได่ว่า.....การเจริญ การกระทำให้มากแห่งสติปัฏฐาน ย่อมยัง
สมาธิสัมโพชฌงค์เต็มและบริบูรณ์ไปด้วย
เพราะเหตุที่ว่า การเจริญสติปัฏฐาน โพชฌงค์ วิชชา วิมุติ เป็นเส้นทางหลุดพ้น
หากการที่ใช้จิตปรุงแต่งว่าจะนั่งสมาธิแล้วคิดว่าจะทำฌาน 4 เพื่อให้หลุดพ้น แล้วนั่งไปเรื่อยๆจนกว่าจิตจะสงบ สมาธิตรงนี้ ก็ยังไม่ใช่สมาธิสัมโพชฌงค์ และไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโพชฌงค์บริบูรณ์ วิชชาและวิมุติบริบูรณ์(เพื่อการหลุดพ้น).....แต่การนั่งสมาธิโดยที่จิตดำริริเริ่มปรุงแต่งแบบนี้ เป็นการเจริญอวิชชาตัณหาอุปาทานล้วนๆ.......เป็นการคิดผิด ดำเนินในแนวทางที่ผิดมาแต่ต้น......
การเจริญและการกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานนั้น “การเจริญ และการกระทำให้มาก” ก็คือ การปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้นนั่นเอง
การปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น ย่อมยังสมาธิสัมโพชฌงค์เต็มบริบูรณ์ไปด้วย หรือ “อยู่ในสมาธิตลอดเวลา” ตามที่เว่ยหล่างกล่าวไว้
“สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์”. นั้น เป็นธรรมที่หนุนเนื่องซึ่งกันและกัน การเกิดอินทรีย์แห่งธรรมเป็นการเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นความสามัคคีแห่งธรรม.

เพราะฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า เซนคือสำนักที่สอนบรรลุโดยฉับพลันและเป็นการบรรลุโดยใช้ปัญญา และไม่ให้นั่งสมาธิ ก็ดูจะเป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอย
ตามความเข้าใจในธรรมของข้าพเจ้า เซนนั้น คือคณาจารย์ที่สามารถวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้ วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย และการที่จะบรรลุได้โดยฉับพลันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่ปัญญาของแต่ละคนในการวิเคราะห์ธรรมและสรุปธรรมว่าลงตัวหรือไม่เท่านั้น
ข้าพเจ้าอ่าน เซน หรือ สูตรเว่ยหล่างมา กว่าจะเข้าใจกว่าจะสรุปธรรมได้ทุกกระบวนความก็ใช้เวลาถึง 5 ปี
ไม่เห็นจะฉับพลันตรงไหน จะออกไปทางอืดอาดยืดยาดเชื่องช้าเสียด้วย.........
คำสอนที่พระพุทธองค์ได้นำมาประกาศนั้น เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ เป็นหลักธรรมอันคือธรรมชาติ
หากคณาจารย์สำนักใดนิกายไหน สามารถอธิบายธรรม ”เป็นเนื้อหาเดียวกัน” กับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ก็ถือว่าสำนักนั้นหรือนิกายนั้น สามารถถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธองค์ได้อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา
การศึกษาธรรมให้ดูที่คำสอนคำอธิบาย ไม่ใช่ให้ดูว่านี่คือนิกายไหน คณาจารย์นี้เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังหรือไม่



โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:47:02 น.  

 
7.ภิกษุรูปหนึ่งนำโศลกซึ่งแต่งขึ้นโดย คณาจารย์ที่ชื่อ ออหลุน มาท่องบ่นอยู่ว่า....
“ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจาก ความนึกคิดทั้งปวง
เมื่ออารมณ์ต่างๆ มิได้กลุ้มรุมจิต
ต้นโพธิ(เครื่องหมายแห่งปัญญา) ก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน”

พระสังฆปรินายก ได้ยินโศลกนี้ จึงพูดว่า “โศลกนี้ย่อมแสดงว่า ผู้แต่งยังไม่ทันเห็นจิตเดิมแท้อย่างเต็มที่ ถ้าใครรับเอาข้อความมาถือปฏิบัติ ก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้นแต่จักกลับผูกรัดตัวเองหนาแน่นยิ่งขึ้น”
แล้วพระสังฆปรินายก ก็แต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า
“เว่ยหล่าง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ
ที่จะกลั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง
อารมณ์ต่างๆย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ
และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน?”

อธิบาย นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักปฎิบัติธรรมติดกันมาก คือ ติดปรุงแต่งอันเกี่ยวกับเส้นทางหรือมรรคที่จะหลุดพ้น
ความหมายของนิพพาน ก็คือ ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้
ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ ก็คือ สภาพสภาวะของมันเองโดยตัวมันเองนั้น ปรุงแต่งไม่ได้
เส้นทางหลุดพ้นนั้น(มรรค) ก็คือ เส้นทางอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรม
ธรรมชาตินั้น เป็นกระบวนการเป็นสภาพมันเอง “เป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง” การที่ใช้จิตปรุงแต่งว่า เรามีวิธีที่จะเข้าไปจัดการกับจิตทั้งหลายนั้นออกเสียจากความนึกคิด และ ด้วยเหตุจากวิธีและเครื่องมือของเรา จะทำให้อารมณ์คือเวทนาต่างๆเข้ามากลุ้มรุมจิต(หมายถึง เราจะได้ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลาย) สภาวะแห่งความหลุดพ้นก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน.........การที่ใช้จิตปรุงแต่งแบบนี้ ก็บ่งบอกอยู่แล้วในตัวว่าผู้แต่งโศลกนี้ยังไม่เข้าใจในธรรม ยังไม่เข้าใจว่ามรรค


หรือเส้นทางที่หลุดพ้นอันแท้จริงนั้นเป็นเช่นไร (การปรุงแต่งในวิธีในมรรคนั้น เป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานอย่างหนึ่งด้วย)
วิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง หรือ วิธีและเครื่องมือโดยธรรมชาติ นั้น เป็นอย่างไรเล่า?
โดยธรรมชาติ อารมณ์หรือเวทนาต่างๆมันก็ดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว***
โดยธรรมชาติ เมื่อไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดทั้งปวง ความคิดทั้งปวงนั้นมันก็ดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว***
การรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงนั้นมันไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเอง
การรู้ชัดว่าความคิดทั้งปวง(จิต)นั้น มันไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเอง........นั้น เป็นการเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ซึ่งย่อมทำให้โพชฌงค์ธรรมเต็มบริบูรณ์โดยตัวมันเองด้วย และย่อมทำให้วิชชาและวิมุติเต็มบริบูรณ์โดยตัวมันเองด้วยเช่นกัน.
“นี่คือ....ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ นี่คือ....นิพพาน”
เว่ยหล่างจึงแต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า ท่านไม่มีวิธีและเครื่องมือนั้น จึงถูกต้อง
ยิ่งปรุงแต่ง.....ในวิธีอันหลุดพ้นว่าต้องทำอย่างนี้ เพื่อการนี้.
วิธีหลุดพ้นอันแท้จริง(วิธีธรรมชาติ).....ก็จะหายไป



โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:49:58 น.  

 
8.พระสังฆปรินายกกล่าวไว้ว่า “เมื่อภาวะที่แท้แห่งจิตของเราปราศจากมลทิน ปราศจากความโง่
และปราศจากความกระวนกระวาย เมื่อเราตรวจตราภายในจิตของเราด้วยปรัชญาอยู่ทุกขณะโดยไม่ว่างเว้น เมื่อเราไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งทั้งหลาย และไม่ยึดติดอยู่กับวัตถุที่ปรากฏ เราก็เป็นอิสระและเสรี
เราจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมไปทำไม เมื่อเราอาจบรรลุจุดประสงค์ได้โดยไม่มีปัญหา ไม่ว่าเราจะเหลียวซ้ายหรือแลขวา....... ทั้งนี้เนื่องจากความพยายามของเราเองที่เราตระหนักชัด
ถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และ เนื่องจากการตระหนักชัดกับการปฎิบัติธรรม นั้น
เป็นสิ่งที่ต้อง ปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ใช่ค่อยทำค่อยไปทีละขั้น ............
การวางหลักเกณฑ์ในธรรมจึงไม่จำเป็น เพราะธรรมทั้งหลาย ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วในเนื้อหา........เราจะสามารถไปกำหนดเป็นขีดขั้นได้อย่างไร? “

อธิบาย การที่เราเข้าไปวางหลักเกณฑ์ในธรรมซะเอง โดยไม่เข้าใจว่าเส้นทางหลุดพ้นนั้นเป็นเส้นทางแห่งธรรมชาติ มันเป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง...... การที่เราดำริเอาจิตไปปรุงแต่งในวิธีหลุดพ้น ว่าจะต้องทำตรงนี้ เพื่อตรงนี้ซึ่งเป็นการค่อยทำค่อยไปทีละขั้นนั้น การวางหลักเกณฑ์เช่นนี้ เป็นการขวางธรรมชาติ.......ทำให้ไม่สามารถบรรลุนิพพานธรรมได้.....
พระพุทธองค์ก็ไม่เคยทรงวางหลักเกณฑ์ใดๆ.....

การที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “มรรคอันหลุดพ้นนั้นมีองค์แปด” หรือตรัสไว้ว่า “โพชฌงค์ธรรม 7 ประการที่เต็มบริบูรณ์ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุติย่อมบริบูรณ์”นั้น ไม่ใช่เป็นการที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นมาเอง ก็หาไม่..........

มรรคมีองค์แปด หรือ โพชฌงค์ 7 มันเป็นอินทรีย์แห่งธรรม....... มันเป็นกำลังของธรรมทั้งหลายที่จะพาจิตให้พ้นจากอาสวะกิเลส อวิชชาตัณหาอุปาทานทั้งปวง
อินทรีย์หรือกำลัง แห่งธรรมนี้......มันเกิดจากการที่เราเข้าใจในอริยสัจ ว่าอะไรคือปัญหา ปัญหาเกิดจากอะไรและต้องแก้ไขอย่างไร เมื่อเข้าใจและปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติแห่งมัน......
การปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามวิถีแห่งธรรมชาติทุกๆขณะนั่นแหละ “เป็นการเกิดและเพิ่ม” อินทรีย์หรือกำลังแห่งธรรม ไปในตัวพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร ปีติ ปัสสัทธิ อุเบกขา ที่มีอยู่ในมรรคมีองค์แปด หรือ โพชฌงค์ 7 ก็ตาม
ในเส้นทางหลุดพ้น ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึง อรหันตผล นั้น อินทรีย์แห่งธรรมทั้งหลายนั้นประกอบขึ้นมาด้วยความสามัคคี หรือ ความพร้อมเพรียงแห่งธรรมเท่านั้น***
การตระหนักชัดถึงภาวะแห่งจิต กับ การปฏิบัติธรรมนั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติพร้อมกันไป.

ความเข้าใจผิดและเข้าไปดำริปรุงแต่ง เพื่อวางหลักเกณฑ์ในธรรมซะเอง วางเพื่อเข้าไปทำทีละอย่างทีละขั้นตอน เช่น ดำริว่าต้องนั้งสมาธิให้ถึงฌาน 4 เสียก่อน และต้องฝึกสติในท่าเดินจงกรมเสียก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาธรรมว่าควรวางจิตอย่างไร วางจิตได้ขนาดนี้แล้ว ยังขาดเหลืออวิชชาตัวไหนอีก และต้องจัดการกับมันอย่างไร .................พระพุทธองค์ท่านไม่เคยสอน....ว่าทำเช่นนี้แล้ว จะพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้. เป็นการปฏิบัติธรรมที่เต็มไปด้วยความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา) เป็นความลังเลสงสัยที่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้เลย หากตนเองได้ปักใจเชื่อแล้วว่า การวางหลักเกณฑ์เพื่อเข้าไปทำที่ละอย่างที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องนั้น การปฏิบัติแบบนี้ ก็ไม่สามารถบรรลุชั้นโสดาบันได้เลย เพราะยังไม่สามารถเข้าใจกระบวนการแห่งธรรมที่แท้จริง ยังมีความลังเลสงสัยอยู่.
การที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มรรคหรือโพชฌงค์ มีธรรมตัวไหนบ้าง ธรรมแต่ละตัวมีหน้าที่อย่างไรและเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรนั้น เป็นการแจกแจงธรรมโดยอาศัย ปฏิสัมภิทาญาณแห่งความเป็น
พุทธวิสัยของพระพุทธองค์ เป็นการแจกแจงธรรมเพื่อให้เราเรียนรู้และขจัดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงเท่านั้น.

และเมื่อเราเข้าใจธรรมตรงนี้แล้ว การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การกินข้าว การทำหน้าที่การงาน การยืน การเดิน การคุยกับเพื่อน การอาบน้ำ การนอน การเคลื่อนไหวในการไปและการมา ก็จะคล่องแคล่วไม่ติดขัด อยู่ท่ามกลางระหว่างได้อย่างลงตัวโดยไม่จำกัดกาล(อกาลิโก) ....เป็นการปฏิบัติธรรมที่เสมอกันด้วยธรรมอันเป็นธรรมชาติ ในการเคลื่อนไหวร่างกายในอริยบททั้ง 4 ได้อย่างลงตัวและเหมาะสมในทางธรรม.
จริงๆแล้ว ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหา.
ผู้ที่เข้าใจประโยคนี้ได้ชัดเจนรองลงมาจากพระพุทธองค์ ก็คือ พระพาหิยะ นั่นเอง
ท่านเป็นพระอรหันต์ที่บรรลุธรรม “เร็วที่สุด” ใช้เวลาน้อยกว่าใครในการพิจารณาธรรมและปฏิบัติเพื่อบรรลุ

ก็เพราะท่านเข้าใจว่า การปรุงแต่งทั้งปวงในทุกเรื่องของจิตนั้น ล้วนบังพระนิพพานทั้งสิ้น
ก็เพราะท่านเข้าใจว่า ธรรมชาติมันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
ก็เพราะท่านเข้าใจว่า จิตที่ปรุงแต่งทั้งปวงนั้นมันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
ก็เพราะท่านเข้าใจว่า.......ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านยังไม่หลุดพ้น ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านไม่หลุดพ้นเพราะเหตุใด ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านหลุดพ้นแล้ว ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่านี่คือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ........
และเมื่อท่านเข้าใจว่า.......ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องดำริใดๆ เพื่อเข้าไปแก้ไขธรรมชาติที่มันลงตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องดำริใดๆ เพื่อเข้าไปลูบคลำบัญญัติธรรมอันเป็นธรรมชาติว่ามันคืออะไรขึ้นมาอีก.........ท่านพาหิยะก็ลุถึงวิชชาคือความรู้แจ้งทั้งปวง ลุถึงวิมุติคือความหลุดพ้น โดยท่านใช้เวลาเพียงชั่วครู่เดียว
นิพพานอยู่แล้วโดยตัวมันเองสภาพมันเอง........นิพพานอยู่แล้ว .

นิพพาน......... อยู่แล้ว .


โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:51:43 น.  

 
ข้อความบางส่วนที่น่าสนใจ...........ในสูตรเว่ยหล่าง
1.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จิตเดิมแท้ (essence of mind)ของเรา ซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น เป็นของ”บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ” และต้องอาศัย จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น มนุษย์เราจึงจะเข้าถึง
ความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ.

2.การที่ใครจะบรรลุอนุตตรสัมโพธิได้ ผู้นั้นจะต้องรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า
จิตเดิมแท้ อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้. ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น
ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้นทุกๆสิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง
กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป. ตถตา(คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้,
ซึ่งเป็นชื่อของจิตเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด. ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไร ใจของผู้นั้น ก็ยังคงอยู่ในสภาพแห่ง”ความเป็นเช่นนั้น”. สถานะเช่นนี้ ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้ ถ้าสามารถมองเห็น
สิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้ ก็จะได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด.

3.จิตเดิมแท้นั้น เป็นของบริสุทธิ์ อย่างบริสุทธิ์แท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองอย่างสมบูรณ์แท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจากตัว จิตเดิมแท้.

4.มันเป็นการบังเอิญในวันนั้น เมื่อธงริ้วกำลังถูกลมพัดสะบัดพริ้วๆ อยู่ในสายลม ภิกษุสองรูปเกิดโต้เถียงกันขึ้นว่าสิ่งที่กำลังไหวสั่นระรัวอยู่นั้น ได้แก่ลมหรือได้แก่ธงนั้นเล่า เมื่อไม่มีทางตกลงกันได้ อาตมาจึง
เสนอข้อตัดสินให้แก่ภิกษุสองรูปนั้นว่า ไม่ใช่ลมหรือธงทั้งสองอย่าง ที่แท้จริงที่หวั่นไหวจริงๆนั้นได้แก่จิต
ของภิกษุทั้งสองรูปนั้นเองต่างหาก.

5.คนที่ไม่รู้จัก จิตเดิมแท้ ของตนเอง และยังแถมมีความเขลาไปว่า............. การบรรลุพุทธรรมนั้น มีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆที่กระทำกันทางกายภายนอก(ไม่เกี่ยวกับจิต) นี้แหละคือคนจำพวกที่เข้าใจอะไรได้ยาก.

6.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ผู้ใดอยากทำการปฏิบัติ(ทางจิต) จะทำที่บ้านก็ได้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านี้ ที่จะต้องอยู่ในสังฆาราม พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น อาจเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญ พวกที่อยู่ในสังฆาราม แต่ละเลยต่อการปฏิบัตินั้น ไม่แตกต่างอะไรไปจากชาวบ้าน
ที่อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ใจบาป.

7.ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น
ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในฌานมันจะมีมาเอง(แม้จะไม่ตั้งใจทำ)

8.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การบำเพ็ญ “สมาธิที่ถูกวิธี” นั้น ได้แก่ การทำเป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส ไม่ว่าคราวยืน นั่ง หรือนอน

9.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การนั่ง เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา? ในนิกายของเรานี้ การนั่ง หมายถึง
การได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด และมีจิตสงบได้ในทุกๆกรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา การกัมมัฏฐานภาวนานั้น หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน ต่อ “ความแน่วไม่หวั่นไหว” ของจิตเดิมแท้.
10.เมื่อเราสามารถน้อมจิตของเราไปตามทางแห่งธรรมะอันแท้ และถูกตรงในทุกโอกาส และเมื่อปัญญาแจ่มแจ้งอยู่ในใจของเราไม่ขาดสาย จนกระทั้งเราสามารถตีตัวออกห่างเสียได้ทั้งจากความรู้แจ้งและความไม่รุ้ ไม่ข้องแวะด้วยความจริงหรือความเท็จ, เมื่อนั้นแหละ เราอาจจะถือว่า ตัวเราได้รู้แจ่มชัดแล้วใน
“ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ “ หรืออีกนัยหนึ่ง, ได้ลุถึงแล้วซึ่งพุทธภาวะ

11.ปรัชญา(ปัญญา) คือ “สิ่งที่ใจเป็น”
สมาธิ คือ “สิ่งที่พุทธะเป็น”
ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะต่อกันและกัน
แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์
คำสอนข้อนี้จะเข้าใจได้ ก็แต่โดยการ “ประพฤติดูจนช่ำชอง”
ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย
คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิ โดยไม่แยกกัน.

12.การเริ่มต้นปฏิบัติ “ด้วยการแสวงหานั้น” เป็นการถือเอาทางผิดโดยสิ้นเชิง
เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในเราเองแล้ว เรื่องของมันก็คือทำให้เห็นแจ้งออกมา ไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา.

13.การพยายามจะ “จับฉวย” หรือ “กุมตัว” สภาวธรรมเหล่านี้ เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อธรรมชาติแท้ของมันอย่างตรงกันข้าม

14.ฉันไม่รู้(สึกว่ามี) ธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย

15.การทำจิตให้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง คือ ศีลของภาวะที่แท้แห่งจิต
การทำจิตให้เป็นอิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลาย คือสมาธิ ของภาวะที่แท้แห่งจิต
สิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง นั่นแหละคือ วัชร (วัชร หมายถึง ภาวะที่แท้แห่งจิต)
การมา และ การไป เป็นสมาธิในขั้นต่างๆ
16.ความเป็นตัวตนนั้นไม่ใช่อะไร นอกจากเป็นภาพลวงอันเกิดจาก การประชุมกันของขันธ์ห้า
และภาพลวงนี้ ก็ไม่มีอะไรที่จะเกี่ยวข้องกับความจริงแท้.
17.การยึดมั่นว่า มีตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเองไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น)สำหรับเราที่จะยึดหมาย หรือ มุ่งไปสู่
ย่อมเป็นธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง
18.ผู้เดินทาง ควรกำจัดความคิดทั้งมวลเสีย ความดีก็เช่นเดียวกับความชั่ว สิ่งนี้ย่อมเป็นเพียงหนทางที่เรียกกันว่า”ภาวะที่แท้แห่งจิต” เท่านั้น โดยแท้จริงแล้ว ย่อมไม่อาจเรียกเป็นชื่อใดๆได้ “ธรรมชาติอันไม่เป็นของคู่” นี้ คือ “ธรรมชาติที่แท้จริง”




โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:53:25 น.  

 
...........................................................
...........................................................
...........................................................
..........................................................
...........................................................
ยินดี
ที่ไม่รู้จัก
กวน มึน โฮ
.........................................................
...........................................................
............................................................
..........................................................


โดย: นักบวชนิกายเซน. IP: 49.229.77.44 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:56:47 น.  

 
ทั้งแก่นธรรมมะ ทั้งแนวเซนสดๆเลย นิพพานชั่วลัดนิ้วมือเดียว ท่านช่างคัดเลือกข้อธรรมมะมาให้ ขอคุกเข่าโขกศรีษะขอบคุณหมื่นครั้งครับ---ซาบซึ้งใจจริงๆครับ


โดย: jesdath วันที่: 31 มีนาคม 2554 เวลา:20:57:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.