กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
23 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ระบบสัมพันธ์ของธรรม

 
 
235 เข้าถึงระบบสัมพันธ์ของธรรมแล้ว ก็จัดแยกจับโยงได้ทั่วสรรพสิ่ง
 

     จากหลักหน้าที่ต่ออริยสัจนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงจัดหมวดธรรมขึ้น อีกชุดหนึ่ง คือ
 
        ๑. ปริญไญยธรรม   ธรรมที่พึงปริญญา  คือ  พึงกำหนดรู้  ต้องรู้จัก  รู้เท่าทัน เช่น   ขันธ์  ๕  ไตรลักษณ์  เป็นต้น  ตลอดจนอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ
 
        ๒. ปหาตัพพธรรม   ธรรมที่ต้องปหาน คือ ต้องละ   เช่น   อกุศลมูล  โลภะ  โทสะ  โมหะ  ตัณหา  มานะ  ทิฏฐิ  พวกบาปอกุศลต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง   ตลอดจนในที่สุดคือ อวิชชา
 
        ๓. สัจฉิกาตัพพธรรม   ธรรมที่ต้องสัจฉิกิริยา  พึงทำให้แจ้ง  ต้องบรรลุถึง เช่น สันติ ความสงบ  วิสุทธิ  ความบริสุทธิ์  ความสะอาด  วิมุตติ   ความหลุดพ้น   ความเป็นอิสระ  พระนิพพาน
 
        ๔. ภาเวตัพพธรรม   ธรรมที่ต้องภาวนา   พึงปฏิบัติ   พึงทำให้มีให้เกิดขึ้นมา  พึงเจริญ  พึงพัฒนา  ยกตัวอย่าง ศรัทธาก็ดี  ศีลก็ดี   ปัญญาก็ดี  สมาธิก็ดี   หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น ก็ดี  ธรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อปฏิบัติ  จัดเป็น  ภาเวตัพพธรรม  ธรรมที่พึงเจริญ
 
     ภาเวตัพพธรรม   ธรรมที่พึงทำให้เกิดมี   พึงปฏิบัติ  รวมเข้าด้วยกัน  ก็มี  ๓  หมวด  เรียกง่ายๆว่า ศีล  สมาธิ  ปัญญา  มรรคมีองค์ ๘ หรือจะเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็ตาม รวมอยู่ในภาเวตัพพธรรมทั้งหมด
 
     ธรรมทั้งหมดบรรดามีนั้น  จัดลงในชุด ๔ นี้ เป็นปริญไญยธรรม  พวกหนึ่ง  เป็นปหาตัพพธรรม พวกหนึ่ง เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม พวกหนึ่ง เป็นภาเวตัพพธรรม พวกหนึ่ง
 
     พอจัดแล้ว  ก็ประสานกับหลักอริยสัจ ๔ โยงไปสู่เรื่องกิจต่ออริยสัจ
 
     เมื่อปฏิบัติกิจต่ออริยสัจถูกต้อง  ก็คือปฏิบัติต่อธรรม ๔ หมวดใน ชุดท้ายนี้
 
     นี่เป็นตัวอย่างของการจัดแยกและจับโยง ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของธรรม ที่เราจะต้องเกี่ยวข้อง และจะนำเราเข้าสู่ทางของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
 
     ตอนนี้  พอสมควรแก่เวลาแล้ว   อาตมภาพได้พูดเรื่องธรรมมา  ก็คิดว่าคงจะช่วยให้โยมผู้ศรัทธาได้เห็นภาพของพระพุทธศาสนา   ทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อมยุคพุทธกาล   สภาพของแว่นแคว้นที่พระพุทธเจ้าเสด็จไป โดยโยงเข้าหาหลักธรรมที่พระองค์ตรัส
 
     ทั้งนี้ ให้เห็นภาพรวมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักธรรมวินัย และประชุมลงในการปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท  ย้อนกลับเข้าสู่  มัชฌิมาปฏิปทา  ที่ดำเนินไปในไตรสิกขา อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องสมบูรณ์ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงประมวลเข้าไว้แล้วใน อริยสัจ ๔ ประการ
 
     คิดว่าโยมทั้งหลายคงจะมีความเข้าใจ และจะทำให้มีผลในการดำเนินชีวิต คือในการปฏิบัติธรรม อันจะทำให้ธรรมที่เจริญพัฒนาขึ้น แล้วประชุมกันเป็นธรรมกายในตัวเรา อันเป็นกายที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ต้องเห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยปัญญาที่เห็นธรรม
 
     เมื่อเราปฏิบัติธรรมหนึ่งข้อ  ก็ได้เข้ามาข้อหนึ่ง  ปฏิบัติอีกข้อก็ได้ เป็นสอง ปฏิบัติไปอีกก็ได้ ๓-๔-๕ หรือบางทีได้เป็นหมวดเป็นชุด มา ชุมนุมรวมกันเป็น ธรรมกาย ซึ่งจะเจริญพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นไปๆ
 
     แต่ในระยะแรกธรรมกายนี้ก็มีเสื่อมบ้าง  เจริญบ้าง อันนั้นหายไป อันนี้เข้ามาใหม่ ธรรมกายยุบ-ธรรมกายพอง  จนกระทั่งไปถึงมรรคผล  นิพพานเมื่อไร  ก็จะเป็นธรรมกายที่แน่นแฟ้นมั่นคง
 
     จึงขอให้โยมผู้ศรัทธาทุกท่านพัฒนาธรรมกาย ด้วยการปฏิบัติธรรม จนกว่าจะเป็นธรรมกายอันมั่นคง ที่ยืนยงอยู่ตลอดไป คือมรรคผล นิพพาน
 
     ขอให้การเดินทางมาในสถานที่อันเป็นพุทธสถานสำคัญ โดยเฉพาะสังเวชนียสถานนี้ เป็นปัจจัยทำให้ทุกท่านได้เจริญกุศลธรรม  มีศรัทธายิ่งขึ้นไป  ได้ปีติโสมนัส  ความปลาบปลื้มใจ เป็นเครื่องนำไปสู่ความงอกงามในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
     ขอให้ทุกท่านเจริญพัฒนา ร่มเย็นเป็นสุขในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งขึ้นไป โดยทั่วกัน
 


Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2567 16:00:58 น. 0 comments
Counter : 122 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space