- ตถตา ศรัทธา (ความเชื่อ) ว่าไปแล้ว เหลือประเด็นสุดท้าย ความสงบ (สมาธิ) ตถตาตามความเข้าใจ กับตถตาความจริง ต่างกันอย่างไร? ความเชื่อ ความสงบ นั้นทางธรรมนั้นเป็นอย่างไร? - Pantip สมาธิ ความสงบ นี่เรื่องใหญ่ แต่ที่จริงก็หย่ายทุกเรื่องนั่นแหละ สมาธิ แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิ ที่พบเสมอ คือ "จิตตัสเสกัคคตา" หรือเรียกสั้นๆว่า "เอกัคคตา" ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่าย ไม่วอกแวก คัมภีร์รุ่นอรรถกถาระบุว่า สมาธิ คือ ภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิต และไขความว่า หมายถึง การดำรงจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์หนึ่งเดียว อย่างเรียบสม่ำเสมอ และด้วยดี หรือแม้แต่แค่จิตตั้งมั่น จะใช้คำพูดสมาธิ สมถะ ก็คือกัน สมถะ แปลง่ายๆ ว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึง วิธีทำใจให้สงบ ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งของสมถะ คือ สมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า “อารมณ์”) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิต นี้เรียกว่า “สมาธิ”- เต็มๆ ที่https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=90- เป็นเรื่องของการฝึกการทำการปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องที่นำไปคิดคาดเดาเอาว่านั่นนี่โน่นมันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อย่างที่เห็นๆทั่วๆไป - แถวๆนี้ก็มี อุทกดาบส-อาฬารดาบส บรรลุญาน เป็นมิจฉาสมาธิ - Pantip- ดูมิจฉาสมาธิสั้นๆ- ในอกุศลจิต เอกัคคตา หรือสมาธิ ก็เกิดได้ ดังที่ อภิ.สํ.๓๔/๒๗๕-๓๓๖/๑๐๑-๑๒๗ แสดงการที่เอกัคคตา สมาธินทรีย์ และมิจฉาสมาธิ ประกอบร่วมอยู่ในจิตที่เป็นอกุศล และอรรถกถาได้ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ในขณะเอามีดฟาดฟันลงที่ตัวของสัตว์ ไม่ให้ผิดพลาด ในเวลาตั้งใจลักของเขา และในเวลาประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลนี้ มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล เปรียบดังเอาน้ำราดในที่แห้งฝุ่นฟุ้ง ฝุ่นสงบลงชั่วเวลาสั้น ไม่นาน ก็จะแห้ง มีฝุ่นขึ้นตามเดิม- แนววิธีเจริญสมาธิพอมองเห็น จากตัวอย่างนี้ ฯลฯ พอมาอยู่อเมริกาคนเดียวในที่สงบ ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำสมาธิฉันเริ่มจากการเพ่งจุดที่เพดาน ขณะที่นอน จุดอะไรก็ได้ ให้จิตร่วมเป็นจุดเดียว ขณะที่นั่งก็จะหาจุดอะไรก็ได้ที่อยู่ตรงหน้า จนรู้สึกว่าจิตเกือบจะรวมได้แล้ว ก็ทำต่อไปเรื่อยๆจนวันหนึ่งมีญาติมาจากเมืองไทย ฉันพาเขาไปซื้อของที่ห้าง ฉันขี้เกียจเดินขอนั่งรอในรถ ขณะที่รอ ฉันก็ใช้เวลาที่รอเพ่งจุดขี้ผึ้ง นานเป็นชั่วโมง ฉันรู้สึกเหมือนตัวจะลอยได้ มันเบาหวิว ไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็นอะไรเลย มันว่างเปล่า ฉันจึงรู้ว่าฉันทำได้แล้ว มันเป็น ความสบายโล่งอย่างบอกไม่ถูก บุญกุศลคงจะสนองฉัน ฉันดีใจมากที่ทำสำเร็จ ตั้งแต่นั้นมา ฉันอยากจะทำสมาธิเมื่อไหร่ก็ทำได้ แม้เพียงนั่งอยู่แค่ไม่กี่นาทีก็ทำได้ทุกครั้งที่ฉันเหนื่อย เครียด ฉันก็จะหยุดจิตนั่งสมาธิแค่ ๑๕ นาทีก็หายเหนื่อย คุณไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกที่วัด แค่เพียง ทำจิตให้นิ่งได้ สักวันหนึ่งคุณก็จะพบความสุขที่แท้จริงลักษณะไทย | ย้อนเรื่องราวชีวิตจริงที่ยิ่งกว่านิยาย | Facebook- มิจฉา ผิด (ตรงข้ามกับสัมมา ถูก, ชอบ)- มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ - มิจฉาวายามะ พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น- มิจฉาวิมุตติ หลุดพ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง - มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)- มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจแน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น - มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด ได้แก่ ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยาบาท ดำริเบียดเบียนเขา - มิจฉาญาณ รู้ผิด เช่นความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ - มิจฉัตตะ ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิด มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ ๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ ๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ ๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ ๙. มิจฉาญาณ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (ตรงข้ามกับสัมมัตตะ) - สัมมัตตะ ความเป็นถูก, ภาวะที่ถูก มี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้นตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ ๑๐. สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ พระอรหัตตผลวิมุตติ; เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐ ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐