กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
<<
กุมภาพันธ์ 2567
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
3 กุมภาพันธ์ 2567
ฟูจิ
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ศรัทธากับปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ่า
วิธีล้างบาป
ชาวพุทธต้องทำใจ
ถ้าเชื่อก็เป็นแม่ ถ้าไม่เชื่อก็เป็นสายธาร
เอกบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิกับเอกบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิผู้เกิดมาในโลก
คนในอดีตบอกอะไรคนปัจจุบัน
ภาพรวมพุทธธรรม
คคห.ทูตอินเดียว่าธรรมะพระพุทธองค์สอดคล้องท้าทายยุคสมัย
ทำไมพุทธศาสนาหายไปจากอินเดีย
กำเนิดพุทธรูปัง
อารยธรรมอินเดีย
อริยสัจ ๔ หัวใจพุทธศาสนาหมายความว่าอะไร
อปุญญาภิสังขาร VS ปุญญาภิสังขาร
อินโดฯ จัดยิ่งใหญ่
ดินแดนที่ตกอยู่ในความวุ่นวาย
หมายเหตุ
ทีนี้ มองดูเกาะใหญ่ ถัดลงไปทางใต้
มะละกาลับหาย สุมาตรา-ชวา เฟื่องฟูขึ้นมาใหม่
มะละกา ที่แดนมาเลเซียขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือ ชวา
มุสลิมอินโดฯ
ชวา ขึ้นมาล้ำ สุมาตรา
มลายู ขยายจากสุมาตรา ขึ้นยังมาเลเซีย
อิสลาม เริ่มเข้าที่ สุมาตรา
อินโดนีเซีย: ที่สุมาตรา ย้อนไปถึง ศรีวิชัย
???
อินโดจีน ส่วนล่างกับอดีตเด่นดังที่ ลังกาสุกะ
อินโดจีน ย้อนอดีตถึง ทวารวดี
จีน- อินเดีย แล้วเกิดมี อินโดจีน - อินโดนีเซีย
ภาคผนวก
คู่ต่างคู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม
พุทธในอินเดียแต่ละยุคๆ
ทัพมุสลิมเตอร์ก เก็บฉาก
ปุษยมิตร - มิหิรกุละ - ศาศางกะ ทำลายพุทธในระหว่าง
ศิวะอวตาร
นารายณ์อวตารเป็นพระพุทธเจ้า
เรื่องเกี่ยวกับโพธิสัตว์
ต้นโพธิ์ พระสถูป พระพุทธรูป
ย้ำอีกที
พระรัตนตรัย:สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง
ดูข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร
ย้ำ
วัดถ้ำ: พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย
เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา
ฮินดูฟื้น พุทธศาสนาสลบ
พุทธศาสนาประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
วัดกับถ้ำ
หลังพุทธกาล คามวาสี-อรัญญวาสี จึงมี
ถ้ำกับชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
อชันตา เอลโลรา
???
ระบบสัมพันธ์ของธรรม
รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ไม่ใช่รู้ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์
เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย
ปัญญา
สัญญา
ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้ อีกที
ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์
สมมุติ,บัญญัติ
ธรรมกับวินัยเสริมกัน
วินัยเป็นบรรทัดฐานแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องตามธรรม
วินัย
ดูหัวข้อนี้ให้ชัด
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ของธรรม
ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง
ความไม่ประมาท ช่วยปรับให้พอดี จึงเป็นทางสายกลาง
สติมา ปัญญาเกิด
มองอินเดียกับฝรั่ง ให้เห็นความแตกต่างที่เป็นคติแก่ไทย
บทบาทหน้าที่ของสติ กับ ปัญญา
ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์ ดีกว่าปล่อยให้มักง่าย
เรียบง่าย แต่ระวัง อย่าให้กลายเป็นมักง่าย
ความประมาท ความไม่ประมาท เป็นไฉน
ผู้ไม่ประมาทใช้ประโยชน์จากอนิจจัง
มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสื่อมความเจริญ
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
ถิ่นปิยชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา
???
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
สันโดษ ไม่สันโดษ ดีไม่ดี
ได้ดุลพอดี ที่เป็นลักษณะทางสายกลาง
ปัญญา ชี้นำเข้ามาและเดินหน้าในทางสายกลาง
อธิษฐานจิต
ใช้เวลาสักนิด กับ เรื่องภวังคจิต
สายมู
???
สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้มและให้ครบ
อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งทันที ปรุงแต่งดีได้ถึงฌานสมาบัติ
พระพุทธเจ้ากับเพลง
จะอาศัยสิ่งกล่อมหรือจะใช้วิริยะและปัญญา
อิสรภาพของมนุษย์ จะได้ด้วยการศึกษาที่ถึงธรรม
พระพุทธเจ้ามา ประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
ความรักต้องคู่กับความรู้
คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะโยนิโสมนสิการ
มีโยนิโสมนสิการ เรื่องร้ายก็กลายเป็นดี
รูปกาย ธรรมกาย
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
มุสลีมะอินโด ฯ
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป นามกายเจริญเอง
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา
ถ้าสังเวชเป็น ก็จะได้เห็นธรรมกาย
มุสลิมเตอร์ก มุสลิมมองโกล รุ่งแล้วเลือนลับ
จากยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่ยุคมุสลิมเตอร์ก
สุหนี่นำอิสลามครองสะเปน จ่อแดนจีน
ชีอะฮ์ แ ย ก อ อ ก ม า
อิสลามแผ่ไพศาล
อิสลามรวมอาหรับ
เมตตาที่มีปัญญา จึงพาโลกสู่สันติสุขได้
???
รักษาแผ่นดินไทย ให้เป็นแผ่นดินธรรม
จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ถ้าคนประสานกับธรรม ก็มีทางแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
พุทธะโยงเราเข้าถึงธรรม
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
จากเทพสู่ธรรม จากธรรมสู่กรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก
ย้ำ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
โพธิพฤกษ์ โพธิญาณ
มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม
???
๕ แคว้น ที่ยิ่งใหญ่
ย้ำอุเบกขา
มาฆบูชา พัฒนาความรักแห่งวาเลนไทน์
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน
มนุษย์กับมนุษย์รักกัน แต่มนุษย์ต้องอยู่ให้ดีกับธรรม
ถึงความรักจะดี ก็ไม่พอ
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
ละชั่ว ทําดียังไม่พอ ต้องต่อด้วย
หัวใจเดียว แต่มีสี่ห้อง
มาฆบูชาขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา
สาระของโอวาทปาติโมกข์
มาฆบูชา กับ หัวใจพระพุทธศาสนา
ราชคฤห์ ศูนย์อํานาจการเมือง
หัวใจธรรม จากจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาในมือของพุทธบริษัท
ร่องรอยที่เหลือ และเค้าการฟื้นฟูหลังหมดสิ้น
อวสานมาถึง เมื่อทัพมุสลิมเตอร์กลงดาบสุดท้าย
เทียบ ปทท.
นาลันทากับความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนา
วัดพุทธ ต้นกําเนิดมหาวิทยาลัยของโลก
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เกิดการศึกษาแก่มวลชน
ฟูจิ
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ศรัทธากับปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ่า
ศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ราชสังคหวัตถุ ๔
หลักธรรมที่อโศกราชาใช้ปกครองบ้านเมือง
อโศกราชากล้าหาญในทางสันติ
เทียบกันแล้ว สรุปได้
ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ
อโศกธรรม หรือ คหัฐวินัย
ธรรมวิชัย:หลักการใหญ่ที่นําเข้าสู่พุทธธรรม
อโศกมหาราช อโศกธรรม
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
ทรัพย์และอํานาจ สู่ความหมายและคุณค่าใหม่
ธรรมวิชัย
ไม่ประมาท ก็ไม่เสื่อม
วัดพระราม
ชมพูทวีปในพุทธกาล
สังเวชนียสถาน ๔
ย้อนทางเข้าสู่แดนพุทธภูมิ
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ธรรม เป็นอิสระจากคน คนถึงธรรม เป็นอิสระจากสังขาร
ธรรม
อย่างหนึ่งที่พระองค์ตรัสไว้ ที่พึงระลึกในเวลานี้ ก็คือ
ธรรมในแง่ความจริง
ของสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะความ
ไม่เที่ยง
คือภาวะที่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วก็
ดับไป
การที่เรามา ณ สถานที่นี้มองในแง่หนึ่งก็เป็นเครื่องเตือนใจของเราให้ระลึกถึงความจริงข้อนี้
จะเห็นว่า สถานที่นี้ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้เหลือแต่ซากเพียงนิดเดียวเท่านั้น และแม้แต่ซากเท่าที่มองเห็น เหล่านี้ก็ยังต้องอาศัยการขุดการแต่งจึงปรากฏได้ เพราะผ่านกาลเวลายาว นานตั้ง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว สถานที่นี้ก็ทรุดโทรมแตกหักปรักพังไป ความ เป็นอนิจจังก็เข้ามาครอบงําสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย
ไม่เฉพาะแต่พระคันธกุฎีเท่านั้น พระพุทธเจ้าเองก็ทรงล่วงลับดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มองกว้างออกไป ที่ตั้งของพระคันธกุฎีนี้คือเมืองราชคฤห์ทั้งหมด ที่เคยเป็นเมืองหลวง เป็นราชธานีของมหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ คือ แคว้นมคธเคยเต็มไปด้วยผู้คนประชาชนพลเมืองมากมาย บัดนี้ก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นร่องรอย
ราชคฤห์ไ
ด้กลายเป็นที่รกร้างถิ่นห่างไกลอยู่ในชนบท เป็นบ้านนอกไป
นี้คือความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราจะเห็นได้ในเรื่องของความเสื่อม และความเจริญของสังคม ของประเทศชาติตลอดจนอารยธรรมทั้งหลาย ดังที่ สังคมอินเดียที่เป็นชมพูทวีปได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ประเทศ
อินเดีย
นี้ เคยเป็นดินแดนแห่ง
อารยธรรม
มีความเจริญก้าวหน้า เป็นศูนย์กลางทางความคิด สติปัญญา และวิทยาการต่างๆ มากมาย แต่บัดนี้ อินเดียก็เสื่อมลงไป อารยธรรมก็จบสิ้นสลายลงไปเป็นยุคๆ จน กล่าวได้ว่า อินเดียที่เคยเป็นอู่เป็นแหล่งที่เกิดและที่ดํารงอยู่ของอารยธรรม ต่อมาก็ได้กลายเป็นสุสานของอารยธรรม
เวลานี้
อินเดียกลายเป็นตู้โชว์ของอดีต
คือไม่มีอะไรที่ดีงามยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน มีแต่เรื่องของความรุ่งเรืองในอดีต
เวลาเรามาอินเดีย ก็มาชมสิ่งที่เป็นหลักฐานแสดงความเจริญในอดีตเท่านั้น ส่วนในปัจจุบันเราจะได้เห็นแต่สภาพที่น่าสลดหดหู่ใจ ถ้าเราทำใจไม่ถูกก็จะมีแต่ความหดหู่เศร้าหมองขุ่นมัว หรือบางที ก็รำคาญหงุดหงิดด้วย จึงต้องเตือน กันอยู่เสมอว่า ถ้ามาอินเดียแล้วต้องทําใจให้ถูก
อันนี้จึงเป็นคติเตือนใจ ให้มองเห็นความหมายหลายอย่าง นอกจากให้คติในอนิจจังความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลายแล้ว ยังทําให้เรามองตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา ถึงเรื่องความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และได้ความรู้จากการศึกษาสังคมของคนอินเดียด้วย
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธศาสนาเคยเจริญ ผู้คนก็มีความศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ต่อมา ถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งขึ้น แผ่ไพศาล ประชาชนก็มีความเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ครั้นมาถึง
บัดนี้
ประเทศอินเดียเป็นอย่างไร สภาพที่เราเห็นมีแต่ความยากจนข้นแค้น สกปรกรกรุงรัง ญาติโยมหลายคนอาจมีความไม่สบายใจ ถ้าเราไม่ได้ทําใจตามคําสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะสงสัยข้องใจว่ามันเป็นอย่างนี้ไปได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความเสื่อมความเจริญ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะน้อมนํามาพิจารณาให้เกิดประโยชน์ เป็นเรื่องทางสติปัญญาทั้งสิ้น
ดูอย่างง่ายๆ ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมีขึ้นมาอันเกี่ยวข้องกับ
สถานที่
นี้ จะเป็น
พระคันธกุฎีบนเขาคิชฌกูฏ
นี้ก็ดี หรือกว้างออกไปข้างล่าง คือ เมือง
ราชคฤห์
ตลอดจนดินแดนที่เราผ่านมา คือมหาอาณาจักรมคธทั้งหมดที่เป็น
ชมพูทวีป
มีเมือง
ปาฏลีบุตร
ของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าที่เมืองราชคฤห์นี้ เพราะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ชมพูทวีปแห่งแคว้นมคธนี้แผ่ไพศาล จนได้กล่าวแล้วว่าใหญ่กว่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือในยุคใดๆ ก็ตามของชมพูทวีป
ปัจจุบัน
นี้ไม่ว่าเมืองราชคฤห์หรือปาฏลีบุตร หรือปัฏนา ก็มีแต่ความเสื่อมโทรมทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่แสดงถึงความเจริญ ถ้าไม่มีประวัติศาสตร์ ไม่มีนักค้นคว้า ไม่มีนักโบราณคดีมาเล่าขานบรรยายแสดงหลักฐาน คนก็ไม่รู้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ที่ไหน ปาฏลีบุตรอยู่ที่ไหน สิ่งเหล่านี้สูญหาย ปรักหักพัง ทลายไป หายไป พร้อมกับกาลเวลา แม้แต่มหาอาณาจักรต่างๆ ก็หมดไปได้
พระพุทธเจ้าทรงเตือนเรา สอนเราไว้แต่พุทธกาล ดังที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก ตรัสเล่าเรื่องราวของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีต
บางพระสูตร
ก็ตรัส ถึงเมืองใหญ่ๆ เช่นใน
มหาสุทัสสนสูตร
พระองค์ได้ตรัสแสดงเรื่องของเมืองกุสาวดีอันยิ่งใหญ่ในอดีต ตรัสพรรณนาถึงความรุ่งเรืองงดงามความใหญ่โต ของสิ่งก่อสร้างในพระราชวังต่างๆ แล้วท้ายที่สุดพระองค์ก็ตรัสว่า บัดนี้สิ่ง เหล่านั้นทั้งหมดได้สูญสลายสิ้นไปกับกาลเวลาแล้ว
นี่แหละคือความเป็นอนิจจัง
บางแห่ง
ก็ตรัสถึงความเป็นไปในพระชนมชีพของพระองค์เองว่า พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาสาวกและพระสาวกมากมายแวดล้อมเป็นบริวาร พระวรกายของพระองค์ก็สง่างาม มีฉัพพรรณรังสีเป็นที่ชื่นชม เสด็จไปทรงบําเพ็ญพุทธกิจในที่ต่างๆ ปรากฏเป็นเหตุการณ์อันตื่นตาตื่นใจมากมาย
พระองค์ตรัสถึงความรุ่งเรืองและความสําเร็จในพระชนมชีพของพระองค์ แล้วลงท้ายก็ตรัสว่า ในที่สุดพระองค์ก็ต้องจากไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสังขาร มีความไม่เที่ยง จะต้องสูญสิ้น หรือแตกดับไปเป็นธรรมดา ทั้งหมดนั้นคือการที่พระองค์ตรัสเตือนเราให้น้อมรําลึกถึงธรรม อันเป็นความจริงของสิ่งทั้งหลาย
ฉะนั้น เมื่อเราได้มายังสถานที่ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์อย่างนี้แล้ว ในแง่หนึ่งก็ให้มีความเจริญศรัทธาว่า เราได้มาเฝ้าถึงที่ประทับของพระองค์แล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่มีต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่พร้อมกันนั้น ศรัทธาของชาวพุทธก็ไม่ตันอยู่แค่นั้น แต่จะนําไปสู่ปัญญาขั้นที่หนึ่ง คือทําให้ระลึกถึงคําสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสแสดงไว้แล้วนํามาประพฤติปฏิบัติ
เมื่อเราต้องการแสดง
ศรัทธา
ด้วยการบูชาพระพุทธเจ้า และนําเอาดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้ พระองค์ก็ตรัสเตือนว่า การบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนที่เป็น
อามิสบูชา
นี้ ยังไม่ใช่เป็นการบูชาที่มีผลมากอย่างแท้จริง ถ้าจะบูชาให้ได้ผลอย่างแท้จริง ก็ต้องบูชาด้วยการปฏิบัติคือนําเอาธรรมของพระองค์มา
ใช้ประโยชน์
ให้เกิดผลใน
ชีวิต
ของเราอย่างแท้จริง
ฉะนั้น
ปฏิบัติบูชา
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ธรรมบูชา
คือ การบูชาด้วยธรรม ซึ่งตรงกับการปฏิบัติธรรมนั่นเอง ถ้าเราทําได้สําเร็จ ก็จะทําให้การมานมัสการสถานที่สําคัญ มีสังเวชนียสถาน เป็นต้น เกิดผลเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
นอกจากนั้น ก็
น้อมนําจิตใจ
มาระลึกนึกถึงธรรมในความหมาย อย่างที่กล่าวเมื่อกี้ คือการระลึกถึงความจริงของสังขารทั้งหลายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วจะได้ไม่ฝากชีวิตเอาไว้กับของที่ไม่เที่ยง แท้แน่นอนเหล่านั้น
สิ่งเหล่านี้ล่วงลับไป แตกดับไป ก็เห็นๆกันอยู่ มองลงมาตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรินิพพานสิ้นไป มหาสาวกทั้งหลาย ๘๐ องค์ หรือพระสาวกกี่องค์ก็ตาม ก็ปรินิพพานหมด อาณาจักรมคธในสมัยราชคฤห์ ก็สลายไป อาณาจักรมคธในสมัยปาฏลีบุตรก็สลายไป
แต่ อ้อ! ยังมีสิ่งที่คงอยู่ นั่นดูสิแม้
อาณาจักร
เหล่านี้จะสิ้นไป
สังคม
จะสลายไป ผู้คนจะหมดไป แต่
ภูเขา
ยังอยู่
ดิน
ยังอยู่
ฟ้า
ยังอยู่ สิ่งที่เห็นอยู่คือสิ่งเหล่านี้
ดิน น้ำ ลม ไฟ ภูเขา ทะเล
ยังมีในทะเลก็ยังมีคลื่นซัดฝั่งอยู่ตลอดเวลา
แม้
อาณาจักร
ทั้งหลายจะผ่านพ้นล่มสลายลงไป สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ จะหมดสิ้นไป แต่ธรรมชาติก็ยังทําหน้าที่ของมันต่อไป เช่น เราไปยืนอยู่
ริมฝั่งทะเล
จะเห็นคลื่นซัดฝั่ง ทําหน้าที่ของมันตลอดเวลา
สองพันปีสามพันปี
มันเคยทําอย่างไร มันก็ทําของมันอยู่อย่างนั้น
กาลเวลาผ่านไป มนุษย์ล่วงลับไป อาณาจักรล่มสลายไป
อารยธรรม
ต่างๆ สูญสิ้นไป คลื่นทะเลก็ยังซัดฝั่งอยู่ตามเดิม เหมือนดังว่า
ธรรมชาติ
นี่แหละยืนยงคงอยู่แท้จริง
แต่มองไปอีกทีหนึ่ง แม้แต่
ธรรมชาติ
เหล่านี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อย่างเช่น
ภูเขา ดิน น้ำ ลม ไฟ
มันก็ไม่ได้คงสภาพอยู่ ภูเขาก็เปลี่ยนแปลงไป แต่อาศัยกาลเวลายาวนาน
ดังจะเห็นได้ง่าย ตามทางที่เราจะเดินทางต่อไปอีก ยังสถานที่อีก มากมายในไม่ช้า เช่น สถานที่ที่
พระพุทธเจ้าตรัสรู้
ที่
แม่น้ำเนรัญชรา
เมื่อไปเห็นที่นั่น เราก็จะได้
คติธรรม
ที่ยิ่งชัดขึ้นมาว่า ที่นั่น ณ ริมฝั่ง
แม่น้ำ
ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แน่นอนตัวสถานที่และบริเวณพร้อมทั้งสิ่ง แวดล้อมย่อมเปลี่ยนไป แต่คงจะมีดิน มีน้ำ มีแม่น้ำอยู่ตรงนั้น กล่าวคือ
แม่น้ำเนรัญชรา
อยางไรก็ตาม หาเป็นเช่นนั้นไม่
แม่น้ำเนรัญชรา
ปัจจุบัน ก็ไม่เหมือนอย่างเก่า บัดนี้ มันไม่เป็นแม่น้ำแล้ว แต่เป็นแม่ทราย คือ น้ำไม่เหลืออยู่ในสภาพที่จะให้เราได้เห็น เราจะเห็นแต่ทราย เมื่อเดินลงไป เราสามารถเดินข้ามแม่น้ำได้ เพราะมีแต่ทรายทั้งนั้น
นั่นคือความเปลี่ยนแปลงของ
สังขาร
แม้แต่
ธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม
ดิน น้ำ ลม ไฟ
ก็เปลี่ยนแปรสภาพของมันไปในรูปต่างๆ
ฉะนั้น ไม่ว่าจะมองอะไร ก็เป็นอนิจจังทั้งสิ้น มีแต่ความเปลี่ยนแปลงไป คติเหล่านี้ก็มาสอนใจของเราว่า อย่าเอาชีวิต และความสุขของเราไปฝากไว้กับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เราต้องเร่งสร้างความดีงาม สิ่งที่ประเสริฐให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตของเราด้วยการปฏิบัติธรรม ธรรมเท่านั้นที่จะทําให้เราเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม มีชีวิตที่ประเสริฐ
ถ้ามัวแต่เอาชีวิตของเราไปฝากไว้กับสิ่งภายนอก เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ก็จะไม่ได้สาระที่แท้จริง เพราะสิ่งเหล่านี้จะล่วงลับดับสลายไปสิ้น ทําอย่างไรเราจึงจะประสบสาระที่แท้จริงได้ธรรมคือความจริงเท่านั้นที่จะทําให้เราเข้าถึงสาระอันนี้
พระพุทธองค์ก็ทรงนําไว้เป็นแบบอย่างแล้ว โดยที่พระองค์ได้ทรงเข้าถึง
ธรรม
คือ
ความจริง
ที่ทําให้พระองค์ซึ่งเป็น
มนุษย์
ผู้หนึ่งเปลี่ยนเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงสั่งสอน ตรัสเตือนเราอยู่เสมอ ตามคติในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักการสําคัญที่เราสวดกันอยู่ แม้แต่ญาติโยมก็ได้ยิน พระสงฆ์สวดอยู่บ่อยๆ เมื่อไปในงานพิธีที่วัด
ดังความใน
พระสูตร
หนึ่งที่ตรัสว่า
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ
เป็นต้น
(องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖)
ซึ่งมีใจความว่า
พระตถาคตหรือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ความจริงที่เป็นภาวะตามธรรมดา ก็คงอยู่ ของมันอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริง คือหลักที่เป็น
ธรรมนิยาม
นั้น แล้วก็ทรงนำมาแสดงชี้แจงทำใหํเข้าใจได้ง่าย
อันนี้แหละ คือตัวความจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามบําเพ็ญพุทธกิจสั่งสอนเรา เพื่อให้เราเข้าใจ และเข้าถึง ไม่ใช่จะอยู่แค่ติดตามไปดูเห็นใกล้ชิดพระองค์เท่านั้น
การที่มีพระพุทธเจ้านั้น ความมุ่งหมายและประโยชน์ของพระองค์ที่แท้ก็คือ การที่พระองค์เป็นผู้ที่จะ
นําเรา
ในการ
พัฒนาตน
ให้เข้าถึงความจริงนั้น
ธรรม
คือ
ความจริง
นั้นก็
มีอยู่ เป็นอยู่ ปรากฏอยู่
ตลอดเวลา
ตามธรรมดาของมัน
แต่เราไม่มีดวงตาปัญญาที่จะมองเห็น พระองค์มีปัญญามาค้นพบธรรม และนําธรรมนั้นมาแสดง เราได้ฟังคําสอนของพระองค์ และ มองตามที่พระองค์ทรงชี้บอกเปิดเผยให้ แล้วเราก็สามารถเข้าถึงความจริง นั้นได้
เมื่อเข้าถึงความจริงแล้ว
เราก็
เห็นธรรมอันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น
นั่นเอง เมื่อเห็นธรรมและเข้าถึงธรรมที่พระองค์เห็นแล้ว เราก็จะมีชีวิตที่ดีงาม ประเสริฐ เข้าถึงสิ่งที่สูงสุดเช่นเดียวกับพระองค์ แล้วเราก็จะมีความสุขเป็นอิสระแท้จริง
พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการสําคัญว่า ไม่ต้องการให้สาวกหรือผู้ใดมาติดยึดขึ้นต่อพระองค์ ความสัมพันธ์กับพระองค์มีเพียงแค่ว่า
อาศัยพระองค์เป็นสื่อที่ช่วยชักนําไปสู่สิ่งดีงาม
คือเข้าถึงธรรมนั่นเอง
พระพุทธเจ้าทรงย้ำนัก ในเรื่องความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อพระองค์
เริ่มต้นด้วยศรัทธา
เมื่อเรามีศรัทธาในพระพุทธองค์ ก็ทำให้เราเข้ามาหาและฟังคําสอนของพระองค์ จากการฟังคําสอนของพระองค์ ก็ทําให้เราพัฒนาปัญญาขึ้นมาเพื่อเข้าถึงความจริงตามที่พระองค์ทรงเข้าถึงมาแล้ว ด้วยปัญญาของเราเอง เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงเข้าถึงแล้ว
เพราะฉะนั้น ศรัทธาจึงนําไปสู่ปัญญา และการพึ่งพาอาศัยก็เพื่อนําไป สู่อิสรภาพ นี้คือประโยชน์ที่แท้จริงของการนับถือพระพุทธศาสนา
ฉะนั้น เมื่อเราได้เดินทางมาถึงสถานที่นี้และได้เจริญศรัทธา จึงเป็นประโยชน์มาก เมื่อศรัทธามีกําลังแรงกล้าขึ้น ก็จะทําให้เรามีกําลังใจเข้มแข็ง ในการที่จะเล่าเรียนศึกษาประพฤติปฏิบัติตามคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทําให้การปฏิบัติของเราหนักแน่นจริงจัง
Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2567 12:51:53 น.
0 comments
Counter : 160 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com