กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
กันยายน 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
12 กันยายน 2567
space
space
space

ย้ำ บุญ



235 ทำสิ่งที่ดีที่งามนั่นคือการทำบุญ ทำแล้วได้สุขโสมนัสจิตแช่มชื่นเบิกบาน  ทำบาปก็ตรงข้ามคือทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ซึ่งทำแล้วได้ทุกข์โทมนัสจิตใจเศร้าหมอง


     ครั้งนั้นแล  ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า

     ดูกรคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม พึงได้พึงถึง อยู่เสมอๆ ... กล่าวคือ

     ๑. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (อัตถิสุข)  ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค (โภคสุข) ๓.  สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้  (อนณสุข)  ๔. สุขเกิดจากอนวัชชกรรม (อนวัชชสุข)

        ๑. ดูกรคฤหบดี  ก็สุขเกิดจากความมีทรัพย์ เป็นไฉน ?  คือ กุลบุตร มีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นมาด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม, เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม, นี้เรียกว่า อัตถิสุข

        ๒. ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค เป็นไฉน ? คือ กุลบุตร กินใช้ และทำสิ่งดีงามเป็นบุญทั้งหลาย  ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร  อันเก็บรวบรวมขึ้นมาด้วยกำลังแขน  อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ  ซึ่งเป็นของชอบธรรม  ได้มาโดยธรรม, เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า  ด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ... ได้มาโดยธรรม  เราก็ได้กินใช้ และได้ทำสิ่งดีงามอันเป็นบุญทั้งหลาย, นี้เรียกว่า โภคสุข

        ๓. ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ เป็นไฉน ? คือ กุลบุตร ไม่ติดหนี้สินไรๆ ต่อใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราไม่ติดหนี้สินไรๆ ต่อใครๆ เลย ไม่ว่าน้อยหรือมาก, นี้เรียกว่า อนณสุข

        ๔. ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดจากอนวัชชกรรม เป็นไฉน ? คือ อริยสาวก เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม ที่ดีงามไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรม ที่ดีงามไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรม ที่ดีงามไร้โทษ เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม ... ประกอบด้วยวจีกรรม ... ประกอบด้วยมโนกรรม  ที่ดีงามไร้โทษ, นี้เรียกว่า อนวัชชสุข

        “เมื่อตระหนักถึงความสุขจากความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์, เมื่อกินใช้ ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญาถึงโภคสุข, เมื่อมองเห็นแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมรู้ถึงทั้งสองส่วนเทียบกัน (แลเห็นว่า) ความสุข ๓ อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของความสุขที่เกิดจากอนวัชชกรรม”



 




 

Create Date : 12 กันยายน 2567
0 comments
Last Update : 13 กันยายน 2567 7:15:30 น.
Counter : 82 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space