สำหรับข้อ ๑ ถึง ๓ (เมตตา กรุณา มุทิตา) นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ปัญญามาก คือ เป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่ต้องใช้ความรู้และความคิดเหตุผล พอพ่อแม่เห็นลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความรู้สึกที่จะแสดงความรักออกไปได้เลย เขาอยู่ปกติ เราก็เมตตา เขามีทุกข์ เราก็กรุณา เขาสุข สำเร็จ เราก็มุทิตาได้ง่ายทันที
แต่อุเบกขานี่ยาก ต้องมีปัญญา ต้องใช้ความรู้ความคิด ต้องรู้ว่าอะไรที่เขาควรรับผิดชอบตัวเอง อะไรที่เขาควรจะหัด จะฝึก อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นกฎระเบียบกติกา จึงจะวางอุเบกขาได้
นอกจากนั้น อุเบกขา นี้ ไม่ใช่เฉยเมิน หรือ เฉยเมย แต่เป็นเฉยมอง อุเบกขา แปลว่า เฉยมอง
ที่จริง อุเบกขา แปลว่า เข้าไปมองอยู่ หรือ มองอยู่ใกล้ๆ คือเฉย แต่มองดูอยู่ตลอดเวลา หมายความว่า ถ้าเขาเพลี่ยงพล้ำ ก็พร้อมที่จะช่วย
ถ้าเฉยเมย หรือ เฉยเมิน ท่านเรียกว่าเป็น อัญญาณุเบกขา แปลว่า เฉยโง่ เป็นอกุศล เป็นบาป เพราะฉะนั้น ถ้าใครเฉยไม่รู้เรื่อง ไม่เอาเรื่องเอาราวนี่ ท่านติเตียนเลย เป็นอัญญาณุเบกขา คือเฉยโง่
การที่จะเฉยอย่างถูกต้อง ต้องมีปัญญา อุเบกขานี่สำคัญมาก ต้องมีปัญญาประกอบจึงปฏิบัติได้ อันนี้แหละเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเราจะต้องมีการพัฒนา
Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2567 |
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2567 16:16:04 น. |
|
0 comments
|
Counter : 202 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|