กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2567
space
space
space

อปุญญาภิสังขาร VS ปุญญาภิสังขาร 


235 เรื่องของเรื่อง 450  

> ทั้งตัวมีแต่สิ่งที่ต้องแก้ไข

  เราขี้โกรธขี้โมโหขี้หงุดหงิด ตอนรู้ว่าโกรธกลับไม่อยากออกจากความโกรธ  พอหายโกรธแล้วมาคิดได้ก็เสียใจทุกครั้งค่ะ  ท้อมากที่ไม่ดีขึ้น ผิดซ้ำๆซากๆ

เวลาคิดอกุศล แค่รู้ซื่อๆ ก็พอหรือคะ  อย่างเวลาอิจฉา อคติคนอื่น กับ แม้กระทั้งสิ่งที่ไม่ควรจาบจ้วง ทุกข์จังค่ะไม่อยากเกิดความคิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นเลย  ความคิดปรุงแต่งมันห้ามไม่ได้ แต่หนูยังหยุดปรุงแต่งไม่ได้ หนูก็อยากจะปรุงแต่สิ่งดีๆอ่ะค่ะ  ช่วยติเตือนแนะนำทีนะคะ

หนูมักจะใช้ชีวิตอยู่ในความคิดบ่อยมาก  มีสมาธิกับอะไรไม่ได้ 100% เลย คิดนู่นคิดนี่

ฯลฯ

https://pantip.com/topic/42732087


235 อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งเสียทันที  ถ้าปรุงแต่งดีได้ถึงฌานสมาบัติอย่างสูง
 

     สมาธิ นั้น เป็นองค์ธรรมแกนของสมถะ หรือ เป็นตัวสมถะนั่นเอง  ยังเป็นธรรมระดับปรุงแต่ง

     พระพุทธเจ้าไม่ห้ามในการปรุงแต่ง  ปรุงแต่งเป็น  ก็ดีเป็นประโยชน์  มนุษย์เราอยู่ด้วยการปรุงแต่งมาก แต่ว่าให้ปรุงแต่งให้ดี

     ได้พูดแล้วว่า  การคิดมีสองอย่าง  คือ การคิดปรุงแต่ง กับ  การคิดเชิงปัญญา เช่น สืบสาวหาเหตุปัจจัย
 
     การคิดแบบปรุงแต่งนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเสียอย่างเดียว  ที่ดีก็มี  คือ  การคิดปรุงแต่งกุศลขึ้นมา

     ยกหลักมาว่ากัน  ความคิดปรุงแต่ง ท่านเรียกว่า อภิสังขาร  ซึ่งมี ๓ อย่าง  ปรุงแต่งไม่ดี  เป็นบาป  ก็เป็นอปุญญาภิสังขาร   ปรุงแต่งดี  ก็เป็นปุญญาภิสังขาร  เหนือขึ้นไปอีก ปรุงแต่งสูงสุด  ก็เป็นอาเนญชาภิสังขาร

     การคิดปรุงแต่งที่เป็นตัวร้าย  ท่านเรียกเป็นภาษาพระว่า อปุญญาภิสังขาร  คือปรุงแต่งความคิดและสภาพจิตที่ไม่ดี  รวมทั้งปรุงแต่งใจให้เป็นทุกข์  บีบคั้นใจตัวเอง ปรุงแต่งความโลภ ความโกรธ  เช่น  เห็นอารมณ์ที่ไม่สบายตาแล้วเกิดความชัง  เกิดความยินร้าย  เกิดความไม่สบายใจ  เก็บเอาสิ่งโน้นถ้อยคำคนนี้มาปรุงแต่ง  ทำให้ใจตัวเองมีความทุกข์  ปรุงแต่งความกลุ้ม ความกังวลอะไรต่างๆ  เหล่านี้  เรียกว่าปรุงแต่งอกุศล  เป็น อปุญญาภิสังขาร


     ส่วนการปรุงแต่งดี   ปรุงแต่งเป็นบุญ  ปรุงแต่งเป็นความสุข  ทำให้เกิดกุศล ทำให้สร้างสรรค์  ทำให้ความดีงามเจริญเพิ่มพูน  ทำให้ใจสดชื่นผ่องใส อย่างที่เราเดินทางบุญจาริกมา ได้เห็นได้ฟังแล้วคิดไปในทางกุศล  มีศรัทธาแรงขึ้น เกิดปีติปลาบปลื้ม เป็นต้นนี้ เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
 
     มนุษย์เราที่อยู่ในระดับของปุถุชน  หนีไม่พ้นการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปติเตียนการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง ให้ปรุงแต่งดีเถอะ ปรุงแต่งเป็นบุญเป็นกุศล  ทำใจให้มีสุข  ปรุงแต่งใจให้สบาย  ปรุงแต่งความดี  ท่านไม่ว่า  ท่านเรียกว่า  เป็นปุญญาภิสังขาร
 
     แม้กระทั่งเจริญสมาธิได้ฌาน   ก็เป็นปุญญาภิสังขาร  ยังปรุงแต่งดีอยู่นั่นแหละ จนกระทั่งถึงอรูปฌานก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นอาเนญชาภิสังขาร  เป็นการปรุงแต่งที่ประณีตขึ้นไป  ก็ยังไม่พ้นการปรุงแต่งอยู่นั่นเอง
 
     เพราะฉะนั้น  สมาธิที่เราบำเพ็ญกันนี่  อย่าว่าแต่สมาธิธรรมดาเล็กน้อยเลย แม้แต่สมาธิสูงเยี่ยมยอดขนาดอรูปฌาน ได้สมาบัติสมบูรณ์แล้ว ก็ยังเป็นการปรุงแต่งอยู่คือเป็นอาเนญชาภิสังขาร
 
     การปรุงแต่งอย่างนี้  ก็ทำให้จิตพัฒนาไปถึงขั้นสูง แต่ก็ต้องระวัง ต้องมีสติอยู่เสมอ มิฉะนั้นมันก็จะเป็นการกล่อม

ฯลฯ

235 ศึกษาสัมมาสังกัปปะเสริมอีก  450 

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=24-10-2023&group=82&gblog=68

ศึกษาแบบประยุกต์เทียบเคียงเอา  มิใช่ศึกษาตรงตัวอักษรตามแบบทีเดียว

นำตัวอย่างมาให้ดูแล้วเทียบเคียงกับความคิดเราเอง 

-   “ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงความดำริใดๆมาก  ใจของเธอก็ยิ่งน้อมไปทางความดำรินั้นๆ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก  ยิ่งคิดคำนึงถึงกามวิตกมาก  เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย  ทำแต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปทางกามวิตก ... ฯลฯ ... ถ้าภิกษุ ยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็ละทิ้งกามวิตกเสีย ทำแต่เนกขัมมวิตกให้มาก จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปทางเนกขัมมวิตก...”


9 คิดเรื่องนี้ มันก็ไม่คิดเรื่องนั้น  คิดเรื่องนั้นมันก็ไม่คิดเรื่องอื่น   จิตมันคิดได้ขณะละเรื่องละราว คิดเรื่องที่ทำให้ทุกข์  (มันก็ทุกข์) ไม่คิดเรื่องที่เป็นสุข  คิดเรื่องที่เป็นสุข  (มันก็สุข)  ไม่คิดเรื่องนอกนี้   ฯลฯ  กลับไปกลับมา (กลับกลอก)  ท่านจึงเปรียบจิตเหมือนนักมายากล  (หลอกคนดูให้หลง) 

235 ระดับยอดคนก็ตามนี้

- ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด
 
    “บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ   มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น  ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ดำริข้อดำรินั้น, ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต  (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย”  (องฺ.จตุกฺก.21/35/46)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=13-11-2023&group=88&gblog=126

 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2567
Last Update : 3 มิถุนายน 2567 8:10:52 น. 0 comments
Counter : 225 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space